อำเภอนบพิตำ
อำเภอนบพิตำ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nopphitam |
คำขวัญ: น้ำตกกรุงชิง ต้นประสวยยิ่ง เด่นจริงคลองกลาย แร่ธาตุป่าไม้ ค่ายลูกเสือจังหวัด เมืองประวัติโบราณ | |
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอนบพิตำ | |
พิกัด: 8°43′12″N 99°45′6″E / 8.72000°N 99.75167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 720.156 ตร.กม. (278.054 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 33,662 คน |
• ความหนาแน่น | 46.74 คน/ตร.กม. (121.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8021 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอนบพิตำ เลขที่ 246 หมู่ที่ 1 ถนนท่าศาลา-โรงเหล็ก ตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
นบพิตำ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสามของจังหวัดนครศรีธรรมราช รองจากอำเภอทุ่งสง และอำเภอชะอวด ตามลำดับ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 52 กิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอนบพิตำตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และอำเภอสิชล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าศาลา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าศาลา อำเภอพรหมคีรีและอำเภอพิปูน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านนาสาร (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
ประวัติ
[แก้]ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า เมื่อมหาศักราช 1588 ปีมะเมีย (ตรงกับ พ.ศ.2209) พระพนมวังและนางสะเดียงทองสร้างป่าเป็นนา และบำรุงพระมหาธาตุ ณ เมืองจรุงสระ นอกเมืองนครดอนพระ มีการสร้างป่าเป็นนา ในท้องที่ที่อยู่ในเขตอำเภอนบพิตำ ในปัจจุบัน
พบว่าน่าจะเป็นไปได้ที่กล่าวถึงนั้นคือบริเวณบ้านนบและบ้านพิตำในเขต อำเภอนี้เคยเป็นที่สร้างทำนบกั้นน้ำ สำหรับ "สร้างป่าเป็นนา" สอดคล้องกับที่ จ.ส.ต.เล็ก สุขประชา เล่าว่า บริเวณนี้เคยมีคันดินใหญ่มาก
ซึ่งเชื่อมต่อกับนาและแนวร่องน้ำที่ติดต่อกับคลองกลาย มีคำว่าพนัง ซึงเป็นชื่อวัดเก่าแก่ คือ วัดพนังตรา ที่ตอนหลังกลายเป็น "วัดนางตรา" ก็บ่งถึงความเกี่ยวโยงกับเรื่อง “นบ” กั้นน้ำ อันน่าจะมีส่วนเรียกบ้านนี้ว่า "นบพิตำ"
ส่วนคำว่า "พิตำ" สันนิฐานกันว่า เป็นคำภาษาทมิฬเพี้ยนมาจาก "ติรำ" ซึ่งหมายถึง"น้ำ" "นบพิตำ" จึงน่าหมายถึงทำนบกั้นน้ำดังกล่าวแล้ว การที่ชนชาติทมิฬเข้ามาเกี่ยวพันกับภาคใต้ส่วนนี้ มีประจักษ์พยานอยู่มาก เช่น ศิลาจารึก ภาษาทมิฬที่วัดพระบรมธาตุ เป็นต้น
ท้องที่อำเภอนบพิตำเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอท่าศาลา กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอนบพิตำ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] และต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอนบพิตำ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองท้องที่
[แก้]อำเภอนบพิตำแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 38 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[3] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1 | นบพิตำ | Nopphitam | 9
|
8,263
|
|
2 | กรุงชิง | Krung Ching | 11
|
10,279
| |
3 | กะหรอ | Karo | 9
|
7,441
| |
4 | นาเหรง | Na Reng | 9
|
7,787
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอนบพิตำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลนาเหรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเหรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนบพิตำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนบพิตำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรุงชิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกะหรอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะหรอทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนบพิตำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 53. March 22, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.