องค์การความร่วมมืออิสลาม
องค์การความร่วมมืออิสลาม
| |
---|---|
ธง | |
คำขวัญ: "To safeguard the interests and ensure the progress and well-being of Muslims" | |
รัฐสมาชิก รัฐสังเกตการณ์ รัฐที่ถูกระงับ | |
ศูนย์อำนวยการ | ญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย |
ภาษาทางการ | |
ประเภท | ศาสนา |
สมาชิก | 57 ประเทศ |
ผู้นำ | |
• เลขาธิการ | ฮุซัยน์ อิบรอฮีม ฏอฮา |
ก่อตั้ง | |
• ลงนามในกฎบัตร | 25 กันยายน พ.ศ. 2512 |
ประชากร | |
• 2018 ประมาณ | 1.8 พันล้าน |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 27.949 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 19,451 ดอลลาร์สหรัฐ |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 9.904 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 9,361 ดอลลาร์สหรัฐ |
เอชดีไอ (2018) | 0.672 ปานกลาง · 122 |
เว็บไซต์ www |
องค์การความร่วมมืออิสลาม (อังกฤษ: Organisation of the Islamic Cooperation, OIC; อาหรับ: منظمة التعاون الإسلامي, อักษรโรมัน: Munaẓẓama at-Taʿāwun al-ʾIslāmiyy; ฝรั่งเศส: Organisation de la coopération islamique, OCI) อดีตมีชื่อว่า องค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of the Islamic Conference) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งใน ค.ศ. 1969 ประกอบด้วย 57 รัฐสมาชิก แบ่งเป็นประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ 48 ประเทศ[1] องค์การนี้ระบุว่าตนเป็น "เสียงส่วนรวมของโลกมุสลิม" และทำงานเพื่อ "ปกป้องและป้องกันผลประโยชน์ของโลกมุสลิมด้วยการสนับสนุนสันติภาพสากลและความปรองดอง"[2]
ทาง OIC มีคณะผู้แทนถาวรในสหประชาชาตืและสหภาพยุโรป ภาษาทางการของ OIC คือภาษาอาหรับ, อังกฤษ และฝรั่งเศส รัฐสมาชิกทั้งหมดมีประชากรรวมมากกว่า 1.8 พันล้านคนใน ค.ศ. 2015[3] ซึ่งมีจำนวนต่ำกว่าหนึ่งส่วนสี่ของประชากรโลก[4]
โอไอซีมีบทบาทในประเทศไทยในกรณีพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยส่งตัวแทนมาสังเกตการณ์เก็บข้อมูลในพื้นที่
ประวัติ
[แก้]ณ วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1969 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่มัสยิดอัลอักศอในเยรูซาเลม อะมีน อัลฮุซัยนี อดีตมุฟตีแห่งเยรูซาเลม เรียกการลอบวางเพลิงนี้เป็น "อาชญากรรมของชาวยิว" และเรียกร้องให้ประมุขแห่งรัฐมุสลิมทั้งหมดจัดประชุมสุดยอด[5] ไฟไหม้ที่ "ทำลายหลังคาไม้เก่าบางส่วนและมินบัรอายุ 800 ปี"[6] ทางอิสราเอลกล่าวหาว่าเป็นอาการป่วยทางจิตของผู้กระทำความผิดที่เป็นนักมูลฐานนิยมคริสเตียนชาวออสเตรเลียนามว่าเดนิส ไมเคิล โรฮาน และทางการประชุมอิสลามระบุเป็นความผิดของขบวนการกับลัทธิไซออนิสต์เป็นการทั่วไป[7]
ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1969 การประชุมอิสลาม ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดของตัวแทนจาก 24 ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม (ตัวแทนส่วนใหญ่เป็นประมุขแห่งรัฐ) จัดขึ้นที่ราบัต ประเทศโมร็อกโก[5][2] โดยมีมติออกมาว่า
รัฐบาลมุสลิมจะปรึกษากันเพื่อส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคำสอนอันเป็นอมตะของศาสนาอิสลาม[5]
6 เดือนต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1970 จึงได้มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอิสลามครั้งแรกที่ญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย[7] ต่อมาใน ค.ศ. 1972 จึงมีการจัดตั้งองค์การการประชุมอิสลาม (OIC, ภายหลังเป็นองค์การความร่วมมืออิสลาม) ขึ้น[8]
รัฐสมาชิก
[แก้]องค์การความร่วมมืออิสลามมีสมาชิก 57 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 56 ที่เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ (ยกเว้นปาเลสไตน์) บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, ไทย, รัสเซีย และนอร์เทิร์นไซปรัส (ภายใต้ชื่อ "รัฐไซปรัสของตุรกี") เป็นรัฐสังเกตการณ์ และกลุ่มกับองค์การอื่น ๆ ก็สามารถเป็นผู้สังเกตการณ์ได้[9]
แอฟริกา
[แก้]เอเชีย
[แก้]ยุโรป
[แก้]อเมริกา
[แก้]ตำแหน่ง
[แก้]ความขัดแย้งกับประเทศไทย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Pew Forum on Religion and Public Life. December 2012. "The Global Religious Landscape: A Report on the Size and Distribution of the World’s Major Religious Groups as of 2010 เก็บถาวร 23 มีนาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." DC: Pew Research Center. Article เก็บถาวร 26 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ 2.0 2.1 About OIC. Oic-oci.org. Retrieved 7 November 2014.
- ↑ The Pew Forum on Religion and Public Life. December 2012. "The Global Religious Landscape: A Report on the Size and Distribution of the World’s Major Religious Groups as of 2010 เก็บถาวร 23 มีนาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." DC: Pew Research Center. Article เก็บถาวร 26 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "Members of the OIC—Organization of Islamic Cooperation". Worlddata.info. 1969-09-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Ciment, James; Hill, Kenneth, บ.ก. (6 December 2012). Encyclopedia of Conflicts Since World War II, Volume 1. Routledge. pp. 185–6. ISBN 9781136596148. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2023. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
- ↑ LIEBER, DOV (22 August 2017). "PA, Hamas [allege] Jews planned 1969 burning of Al-Aqsa Mosque". The Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017.
- ↑ 7.0 7.1 "The organization 'Islamic Conference' (OIC)". elibrary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017.
- ↑ Esposito, 1998, p.164.
- ↑ "Observers". Organisation of Islamic Cooperation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 14 January 2023.
- ↑ Alsharif, Asma (16 August 2012). "Organization of Islamic Cooperation suspends Syria". U.S. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2019. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Al-Huda, Qamar. "Organisation of the Islamic Conference". Encyclopedia of Islam and the Muslim World. Edited by Martin, Richard C. Macmillan Reference, 2004. Vol. 1. p. 394, 20 April 2008.
- Ankerl, Guy. Coexisting Contemporary Civilisations: Arabo-Muslim, Bharati, Chinese, and Western. Geneva, INUPress, 2000, ISBN 2-88155-004-5.
- รู้จักองค์การการประชุมอิสลาม (โอไอซี) prachatai.com
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Organisation of Islamic Cooperation