ข้ามไปเนื้อหา

พันธมิตรกองทหารอิสลามต่อต้านการก่อการร้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันธมิตรกองทหารอิสลามต่อต้านการก่อการร้าย
التحالف الإسلامي العسكري لمحاربة الإرهاب
ก่อตั้ง15 ธันวาคม 2015; 8 ปีก่อน (2015-12-15)
ประเภทพันธมิตรทางทหาร
สถานะตามกฎหมายประจำการ
วัตถุประสงค์การต่อต้านการก่อการร้าย
สํานักงานใหญ่รียาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ที่ตั้ง
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
โลกอิสลาม
สมาชิก
41 ประเทศ
ภาษาทางการ
อาหรับ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส
เลขาธิการใหญ่
พลตรี โมฮัมเหม็ด บิน สะอีด อัลโมเกดี
ผู้บัญชาการทหาร
รอฮีล ชะรีฟ (ปากีสถาน)[ต้องการอ้างอิง]
เว็บไซต์imctc.org

พันธมิตรกองทหารอิสลามต่อต้านการก่อการร้าย (อาหรับ: التحالف الإسلامي العسكري لمحاربة الإرهاب; อังกฤษ: Islamic Military Counter Terrorism Coalition; อักษรย่อ: IMCTC) เป็นพันธมิตรต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในโลกอิสลาม ที่รวมตัวกันเพื่อการแทรกแซงทางทหารต่อต้านรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ และกิจกรรมต่อต้านการก่อการร้ายอื่น ๆ[1][2] การสร้างพันธมิตรได้รับการประกาศครั้งแรกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2015[3][4] ซึ่งพันธมิตรนี้มีศูนย์ปฏิบัติการร่วมในรียาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย[5]

เมื่อมีการประกาศแนวร่วมมีสมาชิก 34 ประเทศ ประเทศเพิ่มเติมได้เข้าร่วมและจำนวนสมาชิกถึง 41 ประเทศเมื่อประเทศโอมานเข้าร่วมในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016[6] ครั้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2017 อดีตเสนาธิการทหารบกปากีสถาน นายพล (เกษียณ) รอฮีล ชะรีฟ ได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรกของพันธมิตรกองทหารอิสลามต่อต้านการก่อการร้าย[7][8] โดยผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Joint statement on formation of Islamic military alliance to fight terrorism". Kingdom of Saudi Arabia - Ministry of Foreign Affairs. 15 December 2015. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  2. "Islamic military coalition holds first meeting in Riyadh". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 11 April 2016.
  3. "Saudi Arabia Unveils 34-Country 'Islamic Military Alliance'". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2015-12-15.
  4. DeYoung, Karen (2015-12-15). "Saudi Arabia launches 'Islamic military alliance' to combat terrorism". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2015-12-16.
  5. Oliver Miles (16 December 2015). "Is Saudi Arabia's anti-terrorist alliance real?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 December 2015.
  6. Cafiero, Giorgio (5 January 2017). "Why did Oman join Saudi Arabia's anti-terrorism alliance?". Al Monitor. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  7. "Defence minister confirms Raheel Sharif's appointment to Islamic military alliance".
  8. PTI. "Pak's Raheel Sharif appointed chief of Saudi-led military coalition". khaleejtimes.com. สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]