โคเซ็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคเซ็น
高等専門学校 (こうとうせんもんがっこう)
สัญลักษณ์ประจำสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น
ประเภทรัฐและเอกชน
สถาปนาค.ศ. 1962 (12 แห่งแรก)
อธิการบดีทานิกุจิ อิซาโอะ
ผู้ศึกษา56,754 คน (2023)[1]
ประเทศประเทศญี่ปุ่น, ประเทศไทย
เว็บไซต์kosen-k.go.jp

โคเซ็น (ญี่ปุ่น: 高専、こうせん、KOSEN) หรือแบบเต็มเรียกว่า โคโตเซ็นมองกักโค (ญี่ปุ่น: 高等専門学校 (こうとうせんもんがっこう)、kōtō-senmon-gakkō、อังกฤษ: National Institute of Technology, แปลไทย: สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ) เป็นสถาบันทางการศึกษาขั้นสูงรูปแบบหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ที่มุ่งฝึกอบรมวิศวกรเชิงปฏิบัติและวิศวกรที่มีความคิดในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มีสถาบันระดับชาติ ท้องถิ่นและภาคเอกชนทั้งสิ้น 57 แห่งในญี่ปุ่น มีนักศึกษาประมาณ 60,000 คน[1] โดยรวมอีกประมาณ 3,000 คนในหลักสูตรขั้นสูงแล้ว

ในความเป็นจริงแล้ว โคเซ็นไม่ได้มีเพียงเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ยังมีในประเทศมองโกเลีย ไทย และเวียดนาม โดยมีการปรับเปลี่ยนภายใต้วัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ [2]

โคเซ็นในประเทศญี่ปุ่น[แก้]

โคเซ็นในประเทศญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้นมาในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1950 จากการที่ในช่วงเวลานั้นมีความต้องการวิศวกรในการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ ในปี ค.ศ. 1962 รัฐบาลจึงได้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งชาติ (โคเซ็น) ขึ้นมาทั้งสิ้น 12 แห่ง ดังนี้ ฮาโกดาเตะ, อาซาฮิกาวะ, ฟุกุชิมะ, กุมพพำพดดสทดืรดืดนด่นด่ดน่ดน่ดน่ดนด่นด่ดนด่นดืดนืดนดืด



มะ, นางาโอกะ, นุมะซุ, ซูซูกะ, อะกะชิ, อุเบะ, ทากามัตสึ, นิอิฮามะ และ ซาเซโบะ[3]

โคเซ็นนั้นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยแบบปกติตรงที่ โคเซ็นนั้นรับนักศึกษาที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและให้การศึกษาเป็นเวลา 5 ปี (ห้าปีครึ่งสำหรับวิทยาลัยเทคโนโลยีสำหรับการค้าทางทะเล (商船高専)) และตามด้วยการศึกษาเฉพาะทางสองปี

ตารางเทียบอายุกับระดับชั้นการศึกษาโคเซ็น[4][5]
มัธยมศึกษาตอนต้น
อายุ (ปี) สายสามัญ KOSEN ภาษาญี่ปุ่น
16 มัธยมศึกษาปีที่ 4 ปี 1 高専一年生
17 มัธยมศึกษาปีที่ 5 ปี 2 高専二年生
18 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี 3 高専三年生
อุดมศึกษาและเทียบเท่า
อายุ (ปี) สายตรงทั่วไป KOSEN ภาษาญี่ปุ่น
19 บัณฑิตปี 1 ปี 4 高専四年生
20 บัณฑิตปี 2 ปี 5 高専五年生
21 บัณฑิตปี 3 หลักสูตรขั้นสูงปี 1 専攻科
- บัณฑิตปี 4-6 หลักสูตรขั้นสูงปี 2
- บัณฑิต (ปริญญาตรี)
- มหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
- ดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก)
หมายเหตุ

โคเซ็นมุ่งเป้าไปที่การให้การศึกษาที่หลากหลาย รวมถึงให้การศึกษาวิชาทั่วไปอย่างสมดุล เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น ตลอดจนวิชาเฉพาะทาง การศึกษาเฉพาะทางเน้นการทดลองและการฝึกในเชิงปฏิบัติ และออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะเฉพาะทางที่เกือบเทียบเท่าระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิจัยเพื่อสำเร็จการศึกษาได้รับการออกแบบเพื่อปลูกฝังทักษะประยุกต์เพื่อให้นักศึกษาสามารถเป็นวิศวกรที่พึ่งพาตนเองได้ และได้มีการผลิตงานวิจัยระดับสูงที่สามารถนำไปนำเสนอในงานประชุมวิชาการ[6]

นักศึกษาที่จบการศึกษา 5 ปีแล้วนั้น ร้อยละ 60 เลือกที่เข้ารับการทำงานทันทีหลังจากเรียนจบ ส่วนอีกร้อยละ 40 เลือกที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ไม่ว่าทั้ง หลักสูตรขั้นสูง 2 ปี หรือ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อรับการศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี[7]

โคเซ็นในต่างประเทศ[แก้]

ประเทศไทย[แก้]

โคเซ็นในประเทศไทย เริ่มต้นมาจากการร่วมมือทางด้านการศึกษา การให้คำแนะนำ และหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ส่วนทางด้านกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้มีการร่วมมือในการส่งนักเรียนไปศึกษาที่โคเซ็นประเทศญี่ปุ่นมาก่อนหน้านี้แล้ว จนกระทั่งในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรม ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (KOSEN) ต่อมาในวันที่ 23 สิงหาคม นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ โดยมีรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แห่งประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคโดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ[8] แต่ก็ได้ถ่ายโอนไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในภายหลัง[9]

ในประเทศไทยมีการจัดตั้งทั้งสิ้น 2 วิทยาเขต คือ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นที่แรก และ สถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นแห่งที่สอง โดยรัฐบาลไทยมีความหวังในการผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ นักเทคโนโลยี และนวัตกร กลับมาทำงานที่เขต EEC โดยมีระยะดำเนินการ 13 ปี[10] ทางองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน Yen Loan สำหรับให้ทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อที่ KOSEN ประเทศญี่ปุ่น และสำหรับการฝึกอบรมอาจารย์และผู้บริหารไทยโคเซ็นในประเทศญี่ปุ่น[11]

ส่วนเรื่องหลักสูตรนั้น ทั้ง 2 สถาบันมีหลักสูตรที่แตกต่างกัน แต่เป็นหลักสูตรอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ทั้งหมด ยกเว้นหลักสูตรวิศวกรรมการผลิตของ KOSEN-KMITL ที่เป็นหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ โดยทาง KOSEN-KMITL มีทั้งสิ้น 4 หลักสูตร คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering), วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering), วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical and Electronics Engineering) และ วิศวกรรมการผลิต (Production Engineering)[12] ส่วน KOSEN-KMUTT มีทั้งสิ้น 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ (Automation Engineering) หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ (Bio Engineering) [13] และหลักสูตรวิศวกรรมเกษตร (Agri Engineering)[14]

ไทยโคเซ็นมีความใกล้เคียงกับโคเซ็นของญี่ปุ่นคือ การเรียนที่เรียนทั้งสิ้น 5 ปี และมีหลักสูตรขั้นสูง (Advance Course) ให้เรียนอีก 2 ปี อย่างไรก็ตามหลักสูตรของทั้ง 2 วิทยาเขตก็ไม่ได้ยกจากของญี่ปุ่นมาทั้งหมด เนื่องจากมีการปรับปรุงให้เข้ากับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายและกฎหมายในประเทศไทย ทำให้มีบางวิชาที่เพิ่มเข้ามาจากหลักสูตรของโคเซ็นญี่ปุ่น เช่น วิชานักศึกษาวิชาทหาร[15] เป็นต้น และบางวิชาที่หลักสูตรมัธยมปลายทั่วไปไม่มี เช่น วิชาเขียนแบบวิศวกรรม วิชาภาษาญี่ปุ่น วิชาเวิร์คชอพ เป็นต้น

ทุนการศึกษาในหลักสูตรโคเซ็นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้[16]

  • ประเภทที่ 1 ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษา ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ในชั้นปีที่ 1 ถึง 7 เพื่อกลับมาเป็นครู ณ สถาบันไทยโคเซ็น รุ่นละ 12 คน จำนวน 6 รุ่น
  • ประเภทที่ 2 ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาสถาบันไทยโคเซ็นในชั้นปีที่ 1 ถึง 2 จากนั้นไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่นในชั้นปีที่ 3 ถึง 5 จำนวน 180 คน
  • ประเภทที่ 3 ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาสถาบันไทยโคเซ็นตลอดทั้งหลักสูตร จำนวน 900 คน โดยจะได้รับทุนไปแลกเปลี่ยนที่สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น 1 ภาคการศึกษาในชั้นปีที่ 4 (อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสถาบันจัดการแลกเปลี่ยนไว้เพียง 1 เดือน[17][18])
  • ประเภทที่ 4 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 5 ปี ทั้งจากประเภทที่ 2 และ 3 จำนวน 328 คนจะได้รับทุนศึกษาต่อในระดับ Advance Course (เทียบเท่าปริญญาตรี) อีก 2 ปี และได้รับทุนไปแลกเปลี่ยน ที่สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ครั้งละ 1 ภาคการศึกษา รวม 2 ครั้ง
ประเภททุน จำนวนคน หลักสูตรโคเซ็นห้าปี Advanced Courses การบรรจุหลังสำเร็จการศึกษา
ปี 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 ปี 5 ปี 6 ปี 7
1 72 ศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น เป็นครู/บุคคลากรในสถาบันไทยโคเซ็น โดยอาจปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมโดยไม่เต็มเวลา
2 180 ศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น ศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น - - เป็นบุคคลากรในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคอุตสาหกรรมใน EEC โดยต้องมาปฏิบัติการสอนที่สถาบันไทยโคเซ็นแบบไม่เต็มเวลาด้วย

หรือ เป็นครู/บุคคลากรในสถาบันไทยโคเซ็น

3 900 ศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น โดยมีการแลกเปลี่ยน 1 ภาคการศึกษา ในชั้นปีที่ 4 ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น - -
4 328 - - - - - ศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น และมีการแลกเปลี่ยน ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น รวม 2 ภาคการศึกษา

ประเทศมองโกเลีย[แก้]

ประเทศเวียดนาม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "高等専門学校とは・・・". กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.
  2. "海外にも日本式高専が!? その実態に迫る". Gekkan Kosen. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.
  3. "History". National Institute of Technology. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
  4. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น(Facebook). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
  5. Kobe City College of Technology. (2562). 高専とは?. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
  6. "国立高等専門学校の学校制度上の特色". Institute of National Colleges of Technology, Japan. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.
  7. "Message from the President". National Institute of Technology, Kitakyushu College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-29. สืบค้นเมื่อ 29 January 2022.
  8. "สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2561". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 24 November 2022.
  9. "รายงานประจำปี 2565 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)" (PDF). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 2023-11-14.
  10. "ครม.เห็นชอบตั้งสถาบัน Thai KOSEN ที่ สจล. และ มจธ. สร้างคนทำงานด้าน Sci-Tech". Techsauce Team. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.
  11. "JICA Thailand Office(JICAタイ事務所)". JICA Thailand Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
  12. "ประวัติ KOSEN-KMITL". สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สืบค้นเมื่อ 29 January 2022.
  13. กรุงเทพธุรกิจ. (2563). KOSEN KMUTT ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ เคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
  14. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). Fact Sheet Thai KOSEN. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
  15. "นักศึกษา KOSEN-KMITL ชั้นปีที่ 1 รายงานตัวนักศึกษาวิชาทหาร". สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สืบค้นเมื่อ 29 January 2022.
  16. "หนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ ๐๔๒๗๘/๓๘๖๕ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑" (PDF). กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 24 November 2022.
  17. "รวมภาพบรรยากาศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนตุลาคม 2565". สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สืบค้นเมื่อ 21 December 2022.
  18. "การเรียนรู้ ณ ประเทศญีปุ่น". ห้องเรียนวิศว์-วิทย์ มจธ. สืบค้นเมื่อ 21 December 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]