ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิหารซาเคร-เกอร์

พิกัด: 48°53′12.1″N 2°20′34.8″E / 48.886694°N 2.343000°E / 48.886694; 2.343000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หาวิหารพระหฤทัยแห่งมงมาทร์
Basilique du Sacré-Cœur
ตัวโบสถ์มองจากด้านล่างเนินเขา
ศาสนา
ศาสนาโรมันคาทอลิก
จังหวัดมุขยมณฑลปารีส
สถานะองค์กรมหาวิหารรอง
ปีที่อุทิศ1919
ที่ตั้ง
ที่ตั้งปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
พิกัดภูมิศาสตร์48°53′12.1″N 2°20′34.8″E / 48.886694°N 2.343000°E / 48.886694; 2.343000
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกโปล อะบาดี
ลงเสาเข็ม1875
เสร็จสมบูรณ์1914
ลักษณะจำเพาะ
ความยาว85 เมตร (279 ฟุต)
ความกว้าง35 เมตร (115 ฟุต)
ความสูงสูงสุด83 เมตร (272 ฟุต)
วัสดุหินทราเวอร์ทีน
เว็บไซต์
Basilica of the Sacré Cœur

มหาวิหารพระหฤทัยแห่งมงมาทร์ (ฝรั่งเศส: Basilique du Sacré-Cœur de Montmartre) เป็นโบสถ์และมหาวิหารรองในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดของกรุงปารีส หรือที่เรียกกันว่า "มงมาทร์" สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่พระหฤทัยของพระเยซู ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่มีนักท่องเที่ยวมาเยื่ยมชมมากเป็นอันดับ 2 ของกรุงปารีส[1] โดยถือเป็นอนุสาวรีย์ของทั้งสองด้าน คือการเมือง และวัฒนธรรม

โบสถ์ได้ถูกออกแบบโดยโปล อะบาดี ซึ่งเป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศสที่เป็นหนึ่งใน 77 สถาปนิกผู้ชนะการประกวด เริ่มการก่อสร้างในปี ค.ศ.1875 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ.1914 โดยได้รับการแต่งตั้งโดยสมบูรณ์ (วางศิลาฤกษ์) ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีค.ศ.1919

ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันตั้งแต่ 06.00 น. จนถึง 22.30 น. โดยสามารถเข้าชมบริเวณโดมได้ตั้งแต่ 09.00 น. จนถึงเวลา 19.00 น. หรือ 18.00 น. ในช่วงฤดูหนาว

โบสถ์พระหฤทัยยามค่ำคืน

การก่อสร้าง

[แก้]

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบสถ์มีความเป็นเอกลักษณ์มากในยุคนั้น โดยสถาปนิกเจ้าของโครงการ โปล อะบาดี ได้เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบโรมัน-ไบแซนไทน์ (Romano-Byzantine) ซึ่งจัดว่าแปลกใหม่ เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูบาโรก (Neo-Baroque) ดั่งที่ปรากฏที่โรงอุปรากรปาแลการ์นีเยอย่างสิ้นเชิง การออกแบบโบสถ์ได้หยิบยกสัญลักษณ์ของลัทธิชาตินิยมในสมัยนั้นมาเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น ประตูทางเข้า อันประกอบไปด้วยช่องโค้ง (ซุ้มประตู) 3 ช่อง ด้านบนประดับรูปสำริด ของนักบุญแห่งประเทศฝรั่งเศส คือ นักบุญโยนออฟอาร์ค และนักบุญพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส โดยมีระฆังหนักกว่า 19 ตัน หล่อในปีค.ศ.1895

ตัวโบสต์ก่อจากหินปูนประเภททราเวอร์ทีน ซึ่งมีเหมืองตั้งอยู่ที่เมือง ชาโต้-ลองดง ในเขตชานเมืองปารีส โดยคุณสมบัติพิเศษของหินชนิดนี้จะมีการคายแคลเซียมออกมาเป็นระยะ ทำให้คงความขาวของสิ่งปลูกสร้างได้ยาวนาน ในสภาวะภูมิอากาศต่างๆได้

ภายหลังจากการเริ่มต้นก่อสร้างส่วนฐานรากไม่นาน อะบาดี ก็ถึงแก่กรรมลงในปีค.ศ.1884 โดยได้มีสถาปนิกอีก 5 คนรับผิดชอบต่อ โดยในระหว่างการก่อสร้าง สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ทำให้การก่อสร้างหยุดชะงักลง จนเสร็จสิ้นภายหลังสงครามในปีค.ศ.1919

มูลค่าการก่อสร้างทั้งหมดคิดเป็นเงินประมาณ 7 ล้านฟรังก์ โดยมาจากเงินบริจาคทั้งสิ้น โดยผู้มีจิตศรัทธาสามารถมีส่วนร่วมในการอุทิศเงินสร้างส่วนต่างๆของโบสถ์ได้อีกด้วย และยังได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นให้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

ทิวทัศน์นครปารีสถ่ายจากยอดเขามงมาทร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Paris monuments". Paris Digest. 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-09-07.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Jacques Benoist, Le Sacre-Coeur de Montmartre de 1870 a nos Jours (Paris) 1992. A cultural history from the point of view of a former chaplain.
  • Yvan Crist, "Sacré-Coeur" in Larousse Dictionnaire de Paris (Paris) 1964.
  • David Harvey. Consciousness and the Urban Experience: Studies in the History and Theory of Capitalist Urbanization. (Baltimore: The Johns Hopkins University Press) 1985.
  • David Harvey."The building of the Basilica of Sacré-Coeur", coda to Paris, Capital of Modernity (2003:311ff) Harvey made use of Hubert Rohault de Fleury. Historique de la Basilique du Sacré Coeur (1903–09), the official history of the building of the Basilica, in four volumes, printed, but not published.
  • Raymond A. Jonas. “Sacred Tourism and Secular Pilgrimage: and the Basilica of Sacré-Coeur”. in Montmartre and the Making of Mass Culture. Gabriel P. Weisberg, editor. (New Brunswick, NJ: Rutgers University Press) 2001.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]