เขตสัมพันธวงศ์

พิกัด: 13°43′52″N 100°30′50″E / 13.731°N 100.514°E / 13.731; 100.514
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สัมพันธวงศ์)
เขตสัมพันธวงศ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Samphanthawong
บรรยากาศของเยาวราชยามค่ำคืน
บรรยากาศของเยาวราชยามค่ำคืน
คำขวัญ: 
พระทองคำล้ำค่า ซุ้มประตูจีนงามตา แหล่งการค้าทองคำ สืบสานวัฒนธรรมไทย–จีน เที่ยวชิมสตรีตฟู้ดเยาวราช สำเพ็งตลาดเก่า ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์[1]
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตสัมพันธวงศ์
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตสัมพันธวงศ์
พิกัด: 13°43′53″N 100°30′51″E / 13.73139°N 100.51417°E / 13.73139; 100.51417
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด1.416 ตร.กม. (0.547 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด19,546[2] คน
 • ความหนาแน่น13,803.67 คน/ตร.กม. (35,751.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10100
รหัสภูมิศาสตร์1013
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 37 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/samphanthawong
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สัมพันธวงศ์ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่มีขนาดพื้นที่เล็กและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุด สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตสัมพันธวงศ์ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

เขตนี้เป็นสถานที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ตอนแรกเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พวกเขาได้ย้ายมาจากเขตพระนครในปัจจุบัน โดยมีถนนวานิช 1 หรือ "ถนนสำเพ็ง" เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีน จวบจนสร้างถนนเยาวราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2435 ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางชาวจีนจนถึงปัจจุบัน

อำเภอสัมพันธวงศ์ สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 ตั้งอยู่ที่สามแยกถนนทรงวาดตัดกับถนนปทุมคงคา ตำบลศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งอยู่ในเขตวัดสัมพันธวงศาราม จึงสันนิษฐานได้ว่าอำเภอสัมพันธวงศ์คงตั้งชื่อตามวัดที่ตั้งนั่นเอง (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายไปตั้งที่ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย) โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล

ต่อมาได้มีการยุบรวม "อำเภอสามแยก" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตึกแถวสี่แยกถนนทรงวาดกับถนนเยาวราช มีเขตปกครอง 6 ตำบล และ "อำเภอจักรวรรดิ" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ข้างสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ มีเขตปกครอง 18 ตำบล มาขึ้นกับอำเภอสัมพันธวงศ์ แล้วแบ่งเขตปกครองใหม่ออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลสัมพันธวงศ์ ตำบลจักรวรรดิ และตำบลตลาดน้อย

ต่อมาใน พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติจัดการบริหารราชการใหม่ในเขตนครหลวง อำเภอสัมพันธวงศ์ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตสัมพันธวงศ์ แบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตสัมพันธวงศ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
จักรวรรดิ Chakkrawat
0.484
5,886
12,161.16
แผนที่
2.
สัมพันธวงศ์ Samphanthawong
0.483
7,324
15,163.56
3.
ตลาดน้อย Talat Noi
0.449
6,336
14,111.36
ทั้งหมด
1.416
19,546
13,803.67

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางสายสำคัญในเขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่

สถานที่สำคัญ[แก้]

ถนนเยาวราช[แก้]

ถนนเยาวราช มีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร โดยเกือบตลอดถนนทั้งสายจะเต็มไปด้วยร้านขายทองและร้านอาหาร และเป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยมากที่สุดในประเทศไทย

ในปัจจุบันมีประตูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของไชนาทาวน์อยู่ ซึ่งได้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ตั้งอยู่กลางวงเวียนโอเดียน สุดถนนเยาวราช

วัดและศาลเจ้า[แก้]

วัดและศาลเจ้าที่สำคัญ ได้แก่

สถานที่สำคัญอื่น ๆ[แก้]

เทศกาล[แก้]

ในช่วงเทศกาล ถนนเยาวราชจะปิดทั้งสาย

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงนเขตสัมพันธวงศ์. "วิสัยทัศ/คำขวัญ." [ออนไลน์.] เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkok.go.th/samphanthawong/page/sub/13300/วิสัยทัศ/คำขวัญ. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 สิงหาคม 2562.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  3. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°43′52″N 100°30′50″E / 13.731°N 100.514°E / 13.731; 100.514