สถาปัตยกรรมวิชัยนคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รายโคปุระของวิรูปักษะมณเทียร ในฮัมปี รัฐกรณาฏกะ

สถาปัตยกรรมวิชัยนคร (กันนาดา: ವಿಜಯನಗರ ವಾಸ್ತುಶಿಲ್ಪ) พบสร้างในช่วงปี ค.ศ. 1336–1565 เป็นวลีทางสถาปัตยกรรมที่ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในยุคจักรวรรดิวิชัยนคร ในบริเวณอินเดียใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงวิชัยนครบนลุ่มแม่น้ำตุงคพาทรา หมู่โบราณสถานที่ฮัมปีถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของสถาปัตยกรรมวิชัยนคร และได้รับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก นอกจากการสร้างโบสถ์พราหมณ์ขึ้นใหม่ในอาณาจักร ยังมีการปรับปรุงและซ่อมแซมโบสถ์พราหมณ์เก่าจากยุคก่อนวิชัยนคร เช่น หมู่โบสถ์พราหมณ์ที่เขามหากุตะ เป็นสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมจากอาณาจักรจลุกยะตะวันตก ในขณะที่หมู่โบสถ์พราหมณ์แห่งฮัมปีนั้นสร้างมาตั้งแต่ก่อนยุควิชัยนคร สมัยที่เรียกหมู่ศาสนสถานนี้ว่า ปัมปาตีรถะ ราวปี ค.ศ. 689

ในเมืองหลวงวิชัยคร มีหมู่โบราณสถานหลายร้อยแห่ง ในจำนวนนี้ 56 แห่งได้รับสถานะการคุ้มครองโดยยูเนสโก, 654 แห่งได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาลของรัฐกรณาฏกะ และอีก 300 แห่งนังไม่ได้รับสถานะการคุ้มครองจากหน่วยงานใด ๆ [1]

สถาปัตยกรรมวิชัยนครสามารถจัดแบ่งกว้าง ๆ ออกเป็นเชิงศาสนา, เชิงการปกครอง และ เชิงที่อยู่อาศัย[2] รูปแบบของวิชัยนครเป็นการผสมผสานกันของรูปแบบจากอาณาจักรก่อนหน้า คือ จลุกยะ, ฮอยศาลา, ปันทยะ และ โจฬะ[3]

ศาสนถาน[แก้]

โบสถ์พราหมณ์ยุคกลางศตวรรษที่ 14 ที่ศรีนครี หนึ่งในโบสถ์พราหมณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่สร้างโดยจักรพรรดิแห่งวิชัยนคร

โบสถ์พราหมณ์ยุควิชัยนครมักมีโครงสร้างปกคลุมที่แข็งแรง ในโบสถ์พราหมณ์เล็ก ๆ จะมีเพียง ครรภคฤห์ (ห้องประดิษฐานเทวรูป) และระเบียง ส่วนในโบสถ์พราหมณ์ขนาดกลางประกอบด้วยครรภคฤห์, ศุกันสี, นวรังคะ หรือ อันตรละ ที่เชื่อมโถงด้านในกับมณฑป และรังคมณฑปด้านนอก และในโบสถ์พราหมณ์ขนาดใหญ่จะมี รายโคปุระ เป็นหอทางเข้า (คำว่า “ราย” ด้านหน้าเพื่อระบุว่าสร้างโดย “รายะ” แห่งจักรวรรดิวิชัยนคร) สร้างขึ้นแบบโจฬะ บนยอดของโคปุระมี ศลศิขร รูปแบบที่ได้รับอิทธิพลทมิฬ-ทราวิฑนี้ เป็นที่นิยมในรัชสมัยของกฤษณเทวราย และสืบเนื่องมาในอีก 200 ปี ตามเทวสถานในแถบอินเดียใต้[4] ตัวอย่าง รายโคปุรัม เช่นที่ เจนนเกสวะมณเทียร ในเบลูร์, กรณาฏกะ และหมู่โบสถ์พราหมณ์ที่ศรีไสลัมและศรีรังคัม นอกจากองค์ประกอบหลัก ๆ เหล่านี้แล้ว ยังทีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อาจพบ เช่น โถงปิดสำหรับเวียนเทียน (ปรทักษิณปฐา) รอบครรภคฤห์, มหามณฑป (โถงใหญ่), กัลยณมณฑป (โถงพิธี) และอ่างเก็บน้ำ[5]

เสาของอาคารต่าง ๆ ฝั่งที่หันออกด้านนอกอาคารมักมีงานแกะสลักแสดงภาพของม้า หรือ สิ่งมีชีวิตในตำนานที่มีหน้าตาคล้ายกับกริฟฟินในตำนานตะวันตก เรียกว่า “ยัลลิ” อีกด้านหนึ่งของเสาทีหันหน้าเข้าในอาคารมีกแกะสลักเรื่องราวจากตำนานฮินดู[6] เสาที่ไม่มีงานแกะสลักม้าหรือยัลลี มักตกแต่งด้วยเรื่องราวจากตำนานฮินดูโดยรอบอย่างเดียว เสาบางเสามีเสาขนาดเล็ก ๆ ล้อมเสาหลักตรงกลาง ลักษณะความประดิดประดอยในงานแกะสลักนี้ แสดงให้เห็นถึงฝีมือและความวิจิตรของช่างแกะสลักในยุคสมัยนั้น ๆ อย่างชัดเจน[7]

คำศัพท์[แก้]

  • มณฑป – โถงที่มีเสา
  • มหามณฑป – โถงเปิดที่มีเสา
  • รังคมณฑป – โถงปิดที่มีเสา
  • กัลยณมณฑป – โถงสำหรับพิธีกรรมและเทศกาลพิเศษ
  • ครรภคฤห์ – ห้องภายในที่ประดิษฐานเทวรูปของเทพเจ้าองค์ประธาน
  • นวรังคะ หรือ อันตรละ – ทางเดินที่เชื่อมห้องต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
  • ศุกันสี – โถงนั่งคอย

อ้างอิง[แก้]

  1. Global Heritage Fund เก็บถาวร 27 กันยายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Hampi – A Travel Guide, pp 36, Department of Tourism, India
  3. Art critic Percy Brown calls Vijayanagara architecture a blossoming of Dravidian style, A Concise History of Karnataka, pp 182, Dr. S.U. Kamath, History of Karnataka, Arthikaje
  4. The elaboration of ceremonial observances produced a corresponding elaboration in the temple system, says art critic Percy Brown, A Concise History of Karnataka, pp 183, Dr. S.U. Kamath
  5. The attached colonnettes and sculptured animals are a significant artistic innovation of the reign of king Krishnadevaraya, New Light on Hampi, Recent research in Vijayanagara, edited by John M. Fritz and George Michell, pp 8
  6. A Concise History of Karnataka, pp 183, Dr. S.U. Kamath