โมเฮนโจ-ดาโร

พิกัด: 27°19′45″N 68°08′20″E / 27.32917°N 68.13889°E / 27.32917; 68.13889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โมเหนโจ-ดาโร)
โมเฮนโจ-ดาโร
Moen-jo-daro
Mohenjo-daro
Mohenjo-daro
แสดงที่ตั้งภายในแคว้นสินธ์
Mohenjo-daro
Mohenjo-daro
โมเฮนโจ-ดาโร (ประเทศปากีสถาน)
ที่ตั้งลาร์กานะฮ์, แคว้นสินธ์, ประเทศปากีสถาน
พิกัด27°19′45″N 68°08′20″E / 27.32917°N 68.13889°E / 27.32917; 68.13889
ประเภทที่อยู่อาศัย
พื้นที่250 ha (620 เอเคอร์)[1]
ความเป็นมา
สร้างศตวรรษที่ 26–25 ก่อนคริสตกาล
ละทิ้งศตวรรษที่ 19 ก่อนคริสตกาล
วัฒนธรรมอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
ชื่อทางการซากโบราณคดีที่โมเฮนโจดาโร
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: ii, iii
อ้างอิง138
ขึ้นทะเบียน1980 (สมัยที่ 4)
พื้นที่240 เฮกตาร์

โมเฮนโจ-ดาโร (อังกฤษ: Mohenjo-daro, /mˌhɛn ˈdɑːr/; สินธ์: موئن جو دڙو, muˑənⁱ dʑoˑ d̪əɽoˑ หมายถึง 'เนินของคนตาย';[2][3] อูรดู: موئن جو دڑو ) เป็นโบราณสถานในแคว้นสินธ์, ประเทศปากีสถาน ถูกสร้างประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุโบราณ และหนึ่งในเมืองยุคแรกสุดของโลก คู่กับอารยธรรมอียิปต์โบราณ, เมโสโปเตเมีย, ไมนอส และการัล เมื่ออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุสิ้นสุดลง โมเฮนโจ-ดาโร ก็ถูกทิ้งไปในศตวรรษที่ 19 ก่อนคริสตกาล และไม่มีใครพบอีกเลยจนกระทั่งคริสตทศวรรษที่ 1920 และกลายเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1980[4] ปัจจุบัน บริเวณมีความเสี่ยงจากการสึกกร่อนและการบูรณะที่ไม่ถูกต้อง[5]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ไม่มีใครทราบถึงชื่อเดิมของเมือง จากการวิเคราะห์ตราของโมเฮนโจ-ดาโร อิราวตัม มหาเทวัน (Iravatham Mahadevan) คาดการณ์ว่า ชื่อเก่าของเมืองนี้คือ กุกกุตารมะ (Kukkutarma "เมือง [-รมะ] ของไก่ตัวผู้ [กุกกุตะ]").[6] การแข่งไก่ชน อาจเป็นพิธีกรรมทางศาสนาของเมือง ซึ่งเต็มไปด้วยไก่ที่ใช้ในทางศาสนามากกว่าอาหาร โมเฮนโจ-ดาโรอาจเป็นจุดกระจายของการเลี้ยงไก่บ้านทั่วโลก[7]

ชื่อปัจจุบันของโมเฮนโจ-ดาโรมาจากการตีความหลายแบบ เช่น "เนินของคนตาย" ในภาษาสินธี และ "เนินของโมฮัน" (โมฮันคือพระกฤษณะ).[3][8]

ที่ตั้ง[แก้]

ที่ตั้งสถานที่สำคัญและสันนิษฐานของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ รวมไปถึงที่ตั้งของโมเฮนโจ-ดาโร

โมเฮนโจ-ดาโร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสินธุ ในอำเภอลาร์กานะฮ์, แคว้นสิทธ์, ประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำฆักการ์-ฮักรา (Ghaggar-Hakra River) ตัวเมืองตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงของลุ่มแม่น้ำสินธุ ห่างจากเมืองลาร์กานะฮ์ไปประมาณ 28 กิโลเมตร (17 ไมล์)[9] บริเวณสันเขาเคนเป็นที่โดดเด่นในอดีต เพราะสามารถป้องกันเมืองจากน้ำท่วม แต่หลังจากท่วมหลายครั้ง ทำให้สันเขาส่วนใหญ่จมลงไปในชั้นตะกอน แม่น้ำสินธุยังคงไหลในฝั่งตะวันออกของบริเวณนี้ แต่ทางที่แม่น้ำฆักการ์-ฮักราไหลผ่านในฝั่งตะวันตก ปัจจุบันแห้งสนิท[10]

ประวัติ[แก้]

โมเฮนโจ-ดาโรถูกสร้างในศตวรรษที่ 26 ก่อนคริสตกาล[11] โดยเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุโบราณ ที่รู้จักกันในชื่อ อารยธรรมฮารัปปา[12] ซึ่งพัฒนาประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงสูงสุด อารยธรรมสินธุขยายไปไกลทั่วปากีสถานและอินเดีย โดยฝั่งตะวันตกถึงชายแดนประเทศอิหร่าน ทางใต้ถึงรัฐคุชราตของอินเดีย และทางเหนือถึงด่านนอกที่แบกเตรีย ที่มีใจกลางเมืองที่สำคัญอยู่ที่ฮารัปปา, โมเฮนโจ-ดาโร, โลธาล, คาลิบันกาน, โธฬาวีรา (Dholavira) และราคิการ์ฮี (Rakhigarhi) โมเฮนโจ-ดาโรเป็นเมืองที่พัฒนาที่สุดในเวลานั้น เพราะมีระบบวิศวกรรมโยธาและการผังเมืองที่ซับซ้อน[13] เมื่ออารยธรรมสินธุล่มสลายประมาณ 1900 ปีก่อนคริสตกาล โมเฮนโจ-ดาโรก็ถูกทิ้งไป[11]

นักโบราณคดีบางคนเชื่อว่า น้ำท่วมครั้งสุดท้ายทำให้ตัวเมืองจมลงไปในโคลน เป็นสาเหตุให้ต้องทิ้งเมืองไป[14]

ภูมิอากาศ[แก้]

โมเฮนโจ-ดาโร มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน BWh) ที่มีฤดูร้อนสูงมากและมีฤดูหนาวอ่อน ๆ อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่มีการบันทึกอยู่ที่ 53.5 องศาเซลเซียส (128.3 องศาฟาเรนไฮต์) และอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีการบันทึกคือ −5.4 องศาเซลเซียส (22.3 องศาฟาเรนไฮต์) บริเวณนี้ไม่ค่อยมีฝน แต่จะมีในช่วงฤดูมรสุม (กรกฎาคม–กันยายน) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของโมเฮนโจ-ดาโร อยู่ที่ 100.1 มม. และมักเกิดในฤดูมรสุม ใน ค.ศ. 1994 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีสูงสุดอยู่ที่ 413.1 มม. และใน ค.ศ. 1987 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีน้อยสุดอยู่ที่ 10 มม.

ข้อมูลภูมิอากาศของโมเฮนโจ-ดาโร
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 29.4
(84.9)
36.5
(97.7)
45.5
(113.9)
48.5
(119.3)
53.5
(128.3)
51.7
(125.1)
47.6
(117.7)
46.0
(114.8)
43.5
(110.3)
49.5
(121.1)
39.2
(102.6)
30.6
(87.1)
53.5
(128.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.8
(76.6)
26.2
(79.2)
32.1
(89.8)
38.7
(101.7)
43.8
(110.8)
44.2
(111.6)
40.9
(105.6)
38.7
(101.7)
37.5
(99.5)
35.2
(95.4)
30.5
(86.9)
24.8
(76.6)
34.78
(94.61)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 16.0
(60.8)
17.0
(62.6)
22.7
(72.9)
28.8
(83.8)
33.9
(93)
35.8
(96.4)
34.4
(93.9)
32.8
(91)
31.1
(88)
26.7
(80.1)
21.1
(70)
16.0
(60.8)
26.36
(79.45)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 7.3
(45.1)
7.9
(46.2)
13.3
(55.9)
18.9
(66)
24.0
(75.2)
27.4
(81.3)
27.9
(82.2)
27.0
(80.6)
24.7
(76.5)
18.2
(64.8)
11.8
(53.2)
7.3
(45.1)
17.98
(64.36)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −5.4
(22.3)
-4.0
(24.8)
2.2
(36)
3.0
(37.4)
13.0
(55.4)
15.6
(60.1)
18.4
(65.1)
18.0
(64.4)
14.5
(58.1)
0.0
(32)
-1.0
(30.2)
-4.0
(24.8)
−5.4
(22.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 2.6
(0.102)
5.8
(0.228)
3.4
(0.134)
2.9
(0.114)
2.2
(0.087)
2.5
(0.098)
39.9
(1.571)
26.6
(1.047)
6.6
(0.26)
0.4
(0.016)
0.9
(0.035)
6.3
(0.248)
100.1
(3.941)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 0.2 0.5 0.9 0.2 0.3 0.4 1.9 1.4 0.3 0.1 0.1 0.3 6.6
แหล่งที่มา: PMD (1991–2020) [15]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Crispin Bates; Minoru Mio (22 May 2015). Cities in South Asia. Routledge. ISBN 978-1-317-56512-3.
  2. Mohenjo-Daro (archaeological site, Pakistan) on Encyclopedia Britannica website Retrieved 25 November 2019
  3. 3.0 3.1 Gregory L. Possehl (11 November 2002). The Indus Civilization: A Contemporary Perspective. Rowman Altamira. p. 80. ISBN 978-0-7591-1642-9.
  4. "Mohenjo-Daro: An Ancient Indus Valley Metropolis".
  5. "Mohenjo Daro: Could this ancient city be lost forever?". BBC. 27 June 2012. Retrieved 27 October 2012.
  6. อิรวธรรม มหาเทวัน "'Address’ Signs of the Indus Script" (PDF). Presented at the World Classical Tamil Conference 2010. 23–27 June 2010. The Hindu.
  7. Poultry Breeding and Genetics เก็บถาวร 2016-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. R. D. Crawford (1990). Elsevier Health Sciences. pp. 10–11, 44.
  8. "Mohenjo-daro An Ancient Indus Valley Metropolis". www.harappa.com.
  9. Roach, John. "Lost City of Mohenjo Daro". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-27. สืบค้นเมื่อ 8 April 2012.
  10. "Sarasvati: Tracing the death of a river". DNA Pakistan. 12 June 2010. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  11. 11.0 11.1 Ancientindia.co.uk. Retrieved 2 May 2012.
  12. Beck, Roger B.; Linda Black; Larry S. Krieger; Phillip C. Naylor; Dahia Ibo Shabaka (1999). World History: Patterns of Interaction. Evanston, IL: McDougal Littell. ISBN 978-0-395-87274-1.
  13. A H Dani (1992). "Critical Assessment of Recent Evidence on Mohenjo-daro". Second International Symposium on Mohenjo-daro, 24–27 February 1992.
  14. Possehl, Gregory (February 1967). "The Mohenjo-daro Floods: A Reply". American Anthropologist. 69 (1): 32–40. doi:10.1525/aa.1967.69.1.02a00040. JSTOR 670484.
  15. "Flood Forecasting Division Lahore". สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]