อาการท้องอืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลมเรอ)
อาการท้องอืด
(Flatulence)
ชาวเยอรมันผายลมต้อนรับไฟกำมะถันเนื่องกับการลงโทษในนรกที่กล่าวถึงในสารตราพระสันตะปาปาของสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3 ในหนังสือ พรรณนาเรื่องพระสันตะปาปา (Depictions of the Papacy) ของผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์มาร์ติน ลูเทอร์ปี ค.ศ. 1545
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10R14.2
ICD-9787.3
MeSHD005414

คำศัพท์แพทย์ภาษาอังกฤษว่า flatulence (อาการท้องอืด[1][2]) ใช้ในวรรณกรรมแพทย์โดยมีความหมายว่า "ลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ที่ขับออกผ่านทวารหนัก" หรือ "ลักษณะหรือภาวะที่มีลมในกระเพาะอาหารหรือลำไส้"[3] โดยคำว่า flatulent ก็ "กำหนดโดยหรือมีผลเป็นแก๊สที่เกิดในลำไส้หรือกระเพาะอาหาร ซึ่งน่าจะทำให้ท้องอืดเนื่องจากการย่อยอาหาร"[4] รากศัพท์ภาษาอังกฤษมาจากคำละตินว่า flatus ซึ่งแปลตามศัทพ์ว่า "ลมพัด ลมผาย"[5] และราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า "๑. ลมเรอ ๒. ลมผาย"[6] อนึ่ง คำว่า flatus ก็เป็นศัพท์แพทย์โดยหมายถึงแก๊สที่เกิดในกระเพาะหรือลำไส้ด้วย[7] อย่างไรก็ดี แม้คำจะมีความหมายเช่นนี้ แต่แก๊สในกระเพาะลำไส้โดยส่วนหนึ่งก็เป็นอากาศภายนอกที่กลืนเข้าไป และดังนั้น ลม/แก๊สเช่นนี้จึงไม่ได้เกิดเพียงในกระเพาะลำไส้เท่านั้น การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เนื่องกับการแพทย์ในเรื่องนี้เรียกว่า flatology[8]

การผายลมในกระเพาะและลำไส้ออกทางทวารหนักเป็นเรื่องปกติ แม้จะมีปริมาณและบ่อยครั้งต่างกันมากในระหว่างบุคคลต่าง ๆ และลมที่ผายก็จะเหม็นอย่างเป็นกลิ่นเฉพาะโดยเป็นปกติด้วยเหมือนกัน แม้จะเหม็นน้อยมากไม่เท่ากัน ลมจะดำเนินไปสู่ทางทวารหนักโดยอาศัยการบีบตัวอย่างพิเศษของกล้ามเนื้อลำไส้ ส่วนเสียงตดมีเหตุจากการสั่นของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักด้านใน และบางครั้งเกิดจากแก้มก้นที่ปิดอยู่ ทั้งเสียงและกลิ่นเนื่องจากการผายลมอาจเป็นเรื่องน่าอายหรือเรื่องตลกในวัฒนธรรมต่าง ๆ

มีอาการ 4 อย่างหลัก ๆ เนื่องกับแก๊สในลำไส้ คือ เจ็บปวด/ท้องอืด/ท้องพอง ลมในกระเพาะลำไส้มากเกิน ตดเหม็นมาก และกลั้นตดไม่ได้ อนึ่ง การเรอก็รวมอยู่ด้วยในเรื่องนี้[9] คือปกติมนุษย์ขับแก๊สส่วนเกินออกจากร่างกายได้ 2 ทาง คือ การขับออกทางปาก (เรอ) และการขับออกทางทวารหนัก (ผายลม หรือตด) หากแก๊สนั้นไม่ขับออกมาจะทำให้สะสมไว้ในทางเดินอาหาร แล้วทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ปวดมวนในท้อง และเกิดอาการท้องอืดตามมา

อาการ[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว มีปัญหา 4 อย่างหลัก ๆ เกี่ยวกับแก๊สในลำไส้ ซึ่งอาจจะเกิดเดี่ยว ๆ หรือร่วมกัน

ท้องอืดหรือปวดท้อง[แก้]

คนไข้อาจกล่าวว่าท้องอืด/ท้องพอง เป็นความไม่สบาย/ความปวดเนื่องจากลมที่ค้างอยู่ ในอดีต โรคลำไส้ที่ไม่ใช่โรคกาย (functional bowel disorder) เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) ที่ทำให้ท้องอืดก็โทษว่าเพราะผลิตแก๊สในลำไส้เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่มีหลักฐานสำคัญ 3 อย่างที่ค้านทฤษฎีนี้

  1. ในคนปกติ แม้มีแก๊สเข้าไปในลำไส้เล็กมาก (30 มล./นาที) ก็ยังรู้สึกปกติโดยไม่บ่นว่าปวดท้องหรือท้องอืด แล้วก็จะผายออกทางทวารหนักตามธรรมดาโดยไม่มีปัญหาอะไร[10]
  2. งานศึกษาต่าง ๆ ที่มุ่งกำหนดปริมาณแก๊สทั้งหมดที่คนไข้ IBS ผลิต รวมทั้งแก๊สที่เรอออกทางปาก ล้มเหลวเป็นประจำในการแสดงว่าคนไข้ผลิตแก๊สมากกว่าคนปกติ แม้สัดส่วนของไฮโดรเจนที่ผลิตจะเพิ่มขึ้นในคนไข้เป็นบางส่วน แต่นี่ไม่มีผลต่อปริมาณทั้งหมด[11]
  3. มันรู้แล้วว่า ปริมาณแก๊สกระเพาะและลำไส้ทั้งหมดที่ผลิตโดยคนไข้ IBS ผู้บอกว่าปวดท้องและท้องอืด ไม่ทำให้คนปกติบ่นว่าปวดท้อง

คนไข้ที่บ่นว่าท้องอืดบ่อย ๆ พบว่า มีท้อง (โดยวัดที่เอว) พองออกจริง ๆ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งวันแล้วหายไปในช่วงนอนตอนกลางคืน การมีท้องพองออกบวกกับความจริงว่า ปริมาณแก๊สในกระเพาะลำไส้ไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้งานศึกษามุ่งสร้างภาพแสดงการกระจายแก๊สของลำไส้ในคนไข้ที่ท้องอืด แล้วพบว่า แก๊สไม่ได้กระจายอย่างเป็นปกติ คือมีแก๊สที่รวมกันเป็นตอน ๆ ที่ทำให้ท้องอืดเฉพาะที่ ๆ[10] ดังนั้น ข้อสรุปก็คืออาการท้องพอง ท้องอืด ปวดท้อง เช่นนี้ เป็นผลของการเคลื่อนที่ผิดปกติของแก๊สในลำไส้ ไม่ใช่ของการผลิตแก๊สเพิ่มขึ้น

ปริมาณเกิน[แก้]

พิสัยของปริมาณแก๊สกระเพาะลำไส้ที่ผลิตโดยปกติจะต่างกันมากในระหว่างบุคคล (476-1,491 มล./24 ชม.)[8] แก๊สในลำไส้ถ้าไม่ใช่อากาศที่กลืนเข้าไป ก็จะเกิดจากกระบวนการหมักอาหารและเครื่องดื่มในท้อง การกลืนอากาศจำนวนน้อยเข้าไปเป็นเรื่องปกติเมื่อทานหรือดื่ม ซึ่งก็จะขับออกทางปากโดยการเรอซึ่งก็เป็นปกติเช่นกัน การกลืนอากาศเข้าไปเกินปกติจะเรียกว่า อาการกลืนอากาศ (aerophagia) ซึ่งได้แสดงในรายงานกรณีคนไข้จำนวนหนึ่งว่าเป็นเหตุของแก๊สกระเพาะลำไส้ที่เพิ่มขึ้น แต่นี่ก็ยังพิจารณาว่าเป็นเหตุที่มีน้อย

แก๊สที่อยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม (เช่น น้ำอัดลม) โดยมากก็ขับออกโดยการเรอเช่นกัน ส่วนแก๊สที่ผลิตในลำไส้เองจะเป็นส่วน 74% ของแก๊สกระเพาะและลำไส้ในคนปกติ ปริมาณของแก๊สที่ผลิตจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ ซึ่งปกติจะไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ก็ยังต่าง ๆ กันในระหว่างบุคคล คนไข้บางคนโน้มเอียงในการผลิตแก๊สมากขึ้นเนื่องจากองค์ประกอบจุลินทรีย์ในท้องของตน[10]

แบคทีเรียในท้องมีมากที่สุดในลำไส้ใหญ่ ในขณะที่ลำไส้เล็กเกือบจะปลอดเชื้อ การหมักดองจะเกิดขึ้นเมื่อมีอาหารที่ไม่ได้ดูดซึมเหลือเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ดังนั้น ยิ่งกว่าองค์ประกอบจุลินทรีย์ อาหารที่ทานจะเป็นปัจจัยหลักในการผลิตแก๊สในกระเพาะลำไส้[10] และโปรแกรมอาหารที่มุ่งลดอาหารซึ่งหมักดองได้และเหลือไปถึงลำไส้ใหญ่ก็พบว่า ลดปริมาณแก๊สอย่างสำคัญ อย่างไรก็ดี ก็ยังต้องเน้นว่า ปริมาณแก๊สลำไส้ที่เพิ่มจะไม่ทำให้รู้สึกท้องอืดปวดท้องในบุคคลปกติ เพราะการเคลื่อนที่ของแก๊สที่ผิดปกติจะทำให้รู้สึกปวดท้อง ท้องพอง ท้องอืด ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อย

กลิ่น[แก้]

แม้ลมในกระเพาะลำไส้จะมีกลิ่นตามสรีรภาพของมนุษย์ แต่เพราะเหม็นขึ้นในคนไข้บางคนก็จะทำให้เป็นทุกข์เมื่อเข้าสังคม กลิ่นเหม็นเพิ่มขึ้นเป็นประเด็นการรักษาต่างกับปัญหาอื่น ๆ ในเรื่องแก๊สในลำไส้[12] แต่คนไข้บางคนอาจจะไวกลิ่นเหม็นตดมากเกินไป และในกรณีที่รุนแรง อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคทางจิตเวชคือ olfactory reference syndrome (ORS) ซึ่งเป็นสภาวะที่คนไข้มีความเชื่อผิด ๆ และความหมกมุ่นอย่างคงยืนว่า มีกลิ่นตัวเหม็นทำให้ผู้อื่นรังเกียจ[13][14]

การกลั้นตดไม่ได้[แก้]

การกลั้นตดไม่ได้ (gas incontinence) อาจนิยามได้ว่า เป็นการควบคุมการผายลมไม่ได้ โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยของอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ (fecal incontinence) และปกติเกี่ยวกับการทำงานบกพร่องของกลไกการกลั้นอุจจาระ นักวิชาการบางท่านพิจารณาการกลั้นตดไม่ได้ว่าเป็นอาการแรก และบางครั้งเป็นอาการเดียว ของอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้[15]

เหตุ[แก้]

แก๊สในลำไส้ประกอบด้วยแก๊สจากทั้งภายในภายนอกร่างกายในปริมาณต่าง ๆ[16] แก๊สภายนอกมาจากการกลืนเมื่อทานอาหารหรือดื่มน้ำ หรือเมื่อกลืนน้ำลายที่มีมากเกินบ่อยเกิน (ซึ่งอาจเกิดเมื่อคลื่นไส้หรือเป็นผลของโรคกรดไหลย้อน) เป็นอากาศที่รับเข้ามาทางปาก กล่าวคือ เมื่อเราพูดหรือกลืนอาหารก็จะกลืนอากาศเข้าไปด้วย และสาเหตุอื่น ๆ อีก ได้แก่ ทานอาหารเร็วเกินไปทำให้เคี้ยวไม่ละเอียด เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม สูบบุหรี่ ใช้ฟันปลอมที่ไม่เหมาะสม ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแก๊ส

แก๊สภายในมาจากกระบวนการย่อยอาหารหรือเป็นผลผลิตพลอยได้ในการย่อยอาหารบางประเภท หรือเมื่ออาหารย่อยไม่สมบูรณ์ เช่นเมื่อมีไขมันในอุจจาระเกิน (steatorrhea) เป็นแก๊สที่ผลิตขึ้นจากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่ทำปฏิกิริยาย่อยสลายกากอาหาร เหตุทุกอย่างที่ทำให้อาหารย่อยได้ไม่สมบูรณ์ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอาจทำให้ท้องอืดเมื่อมาถึงลำไส้ใหญ่ เพราะจะเกิดการหมักโดยยีสต์และโพรแคริโอตไม่ว่าที่อยู่เป็นปกติหรือมีมากกว่าปกติในทางเดินอาหาร

อาหารที่ทำให้เกิดลมในท้องปกติจะมีพอลิแซ็กคาไรด์บางอย่างสูง โดยเฉพาะโอลิโกแซ็กคาไรด์ เช่น inulin อาหารรวมทั้งถั่ว, ผลิตภัณฑ์นม, หัวหอม, กระเทียม, พืชในกลุ่มหอมและกระเทียมในสกุล Allium เช่น กระเทียมต้น หอมแดง กุยช่าย, พืชวงศ์ผักกาดบางประเภท, มันเทศ, มันฝรั่ง, มะม่วงหิมพานต์, แก่นตะวัน, ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี, และยีสต์ในขนมปัง ส่วนพืชผักในสกุล Brassica รวมทั้งกะหล่ำปลี บรอกโคลี พืชพวกกะหล่ำที่เป็นดอกเป็นใบอื่น ๆ เชื่อว่า เพิ่มทั้งปริมาณลมและกลิ่น[17][18]

ในถั่ว แก๊สดูเหมือนจะเกิดจากโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่ซับซ้อน ซึ่งทนต่อการย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้เป็นพิเศษ แต่ดูเหมือนจะย่อยได้โดยจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารรวมทั้งอาร์เคียที่ผลิตมีเทนคือ Methanobrevibacter smithii โอลิโกแซ็กคาไรด์เช่นนี้จะผ่านลำไส้ส่วนบนโดยไม่เปลี่ยนแปลง และเมื่อมาถึงลำไส้ส่วนล่าง แบคทีเรียจึงเริ่มกินมันแล้วสร้างแก๊สเป็นจำนวนมาก[19]

สำหรับคนที่ไม่ทนต่อแล็กโทสซึ่งเป็นน้ำตาลอย่างหนึ่งในนม แบคทีเรียในลำไส้ที่กินแล็กโทสอาจสร้างแก๊สเป็นจำนวนมากเมื่อได้นมหรืออาหารที่มีนม

ความสนใจในเหตุของท้องอืดเริ่มจากการบินในระดับสูงและการเดินทางในยานอวกาศของมนุษย์ เพราะความกดอากาศซึ่งต่ำ การมีที่จำกัด และความเครียดที่เกิดเนื่องกับกิจกรรมเช่นนี้โดยเฉพาะ ๆ เป็นเหตุให้น่าเป็นห่วง[19] ในเรื่องการปีนเขา ปรากฏการณ์ตดในที่สูง (high altitude flatus expulsion) ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเริ่มตั้งแต่ 200 กว่าปีก่อน

การติดเชื้อโปรโตซัว Giardia lamblia (giardiasis) สัมพันธ์กับการมีลมในท้องเพิ่มขึ้น[20]

กลไก[แก้]

การผลิต องค์ประกอบ และกลิ่น[แก้]

ลมในลำไส้เป็นผลผลิตพลอยได้ของกระบวนการหมักโดยแบคทีเรียในทางเดินกระเพาะลำไส้/ทางเดินอาหาร (GI tract) โดยเฉพาะในลำไส้ใหญ่[21] มีรายงานว่าการกลืนอากาศเกินปกติ ก็เป็นเหตุให้มีแก๊สในลำไส้มากเหมือนกัน แต่นี่เชื่อว่า มีน้อย[22] ปริมาตรกว่า 99% ของลมมีองค์ประกอบเป็นแก๊สที่ไม่เหม็น[8] รวมทั้งออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน และมีเทน ไนโตรเจนไม่ได้ผลิตในท้อง แต่เป็นองค์ประกอบของอากาศตามธรรมชาติ คนไข้ที่มีแก๊สในลำไส้เกินที่โดยมากประกอบด้วยไนโตรเจนจะมีอาการกลืนอากาศ (aerophagia)[23] ส่วนไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนล้วนแต่ผลิตในท้อง และมีส่วนถึง 74% ของปริมาตรแก๊สกระเพาะและลำไส้ในบุคคลปกติ[24] มีเทนและไฮโดรเจนติดไฟได้ ดังนั้น ลม (รวมตด) ที่มีแก๊สเหล่านี้ก็จะติดไฟได้[25]

แต่มนุษย์ทั้งหมดไม่ได้มีแก๊สกระเพาะลำไส้ที่มีมีเทน ยกตัวอย่างเช่น ในงานศึกษาที่ศึกษาอุจจาระของผู้ใหญ่ 9 คนงานหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองเพียง 5 คนเท่านั้นที่มีอาร์เคียในลำไส้ที่สามารถผลิตมีเทน[26] การมีมีเทนในลมลำไส้อาจมีสหสัมพันธ์กับโรคอ้วน ท้องผูก และกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น เพราะอาร์เคียที่ทำการออกซิไดส์ไฮโดรเจนให้เป็นมีเทนจะโปรโหมตให้หมักคาร์โบไฮเดรตได้สมบูรณ์กว่า มีผลให้เกิดกรดไขมันแล้วดูดซึมเข้าไปในร่างกายมากกว่า[27]

สารประกอบที่เหลือของลม (ปริมาตรน้อยกว่า 1%) เป็นตัวให้กลิ่น โดยดั้งเดิมแล้ว สารประกอบเช่น อินโดล, skatole, แอมโมเนีย, และกรดไขมันลูกโซ่สั้น เชื่อว่า เป็นเหตุให้มีกลิ่น แต่หลักฐานต่อมา ๆ พิสูจน์ว่า ปัจจัยหลักมาจากการรวมตัวของสารประกอบกำมะถันที่ระเหยได้ (VSC)[8][28] มันรู้มาก่อนแล้วว่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S), methyl mercaptan (MM, หรือ MT), dimethyl sulfide (DMS), dimethyl disulfide (DMDS) และ dimethyl trisulfide (DMTS) มีอยู่ในลม สารระเหยกลุ่ม benzopyrrole รวมทั้งอินโดลและ skatole มีกลิ่นเหมือนลูกเหม็น และดังนั้น น่าจะไม่มีบทบาทสำคัญในกลิ่นที่เฉพาะของตด

งานศึกษาหนึ่งได้แสดงอย่างน่าเชื่อถือว่า ความเข้มข้นของ H2S มีสหสัมพันธ์กับกลิ่นเหม็นของตด ตามด้วย MM และ DMS[23] ซึ่งยืนยันด้วยความจริงว่า H2S อาจเป็น VSC ที่มีมากที่สุด แต่ผลที่ว่านี้มาจากผู้ร่วมการทดลองที่ทานอาหารซึ่งมากไปด้วยถั่ว Phaseolus vulgaris (pinto bean) เพื่อให้เกิดตด ส่วนงานศึกษาอื่น ๆ แสดงว่า MM มีบทบาทมากที่สุดต่อกลิ่นในคนไข้ที่ไม่ได้ทานอาหารอะไรเป็นพิเศษ[8]

มีหลักฐานแล้วว่า MM, DMS และ H2S (ซึ่งมีกลิ่นเป็นผักเน่า กะหล่ำปลี และไข่เน่า ตามลำดับ) ล้วนแต่มีอยู่ในตดมนุษย์ในระดับความเข้มข้นที่เลยขีดซึ่งสามารถได้กลิ่นได้[8] และรู้ด้วยว่า การเพิ่มอาหารกรดอะมิโนที่ประกอบด้วยกำมะถัน จะเพิ่มกลิ่นเหม็นของตดอย่างสำคัญ และดังนั้น กลิ่นจึงน่าจะเป็นการรวมกันของ VSC โดยมีสารระเหยที่ไม่ใช่กำมะถันเป็นองค์ประกอบเพียงเล็กน้อย[23]

แต่กลิ่นเช่นนี้ก็อาจมีเหตุจากการมีแบคทีเรียจำนวนมากหรือการมีอุจจาระที่ไส้ตรง อาหารที่สมบูรณ์ด้วยโปรตีน โดยเฉพาะที่มีกรดอะมิโนซึ่งประกอบด้วยกำมะถัน มีหลักฐานแล้วว่าเพิ่มกลิ่นเหม็นของตดอย่างสำคัญ

ปริมาณและการเคลื่อนไหวของแก๊สในลำไส้[แก้]

ปริมาตรของลมในลำไส้ปกติอยู่ระหว่าง 476-1,491 มล. ต่อ 24 ชม.[8][21] ความต่างระหว่างบุคคลจะขึ้นอยู่กับอาหารอย่างมาก และดังนั้น การตดแต่ละวันจึงต่าง ๆ กันมาก โดยพิสัยปกติอยู่ที่ 8-20 ครั้งต่อวัน[23] ปริมาตรที่ตดแต่ะละครั้งก็ต่างกันเหมือนกัน (ระหว่าง 5-375 มล.)[8][21][24] โดยอาจรวมเป็นปริมาณ 0.5-1 ลิตรต่อวัน

ปริมาณการตดครั้งแรกตอนเช้าจะมากกว่าที่ทำในช่วงวันอย่างสำคัญ[8] นี่อาจจะเป็นเพราะการสะสมแก๊สในลำไส้ใหญ่เมื่อนอน การบีบตัวของทางเดินอาหารระดับสูงสุดในช่วง 2-3 ชม. แรกหลังตื่น หรือการบีบตัวของลำไส้เนื่องกับการขยายตัวของไส้ตรงที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของลม[10]

เดี๋ยวนี้รู้แล้วว่า แก๊สเคลื่อนไปในท้องอย่างเป็นอิสระจากอาหารแข็งและอาหารเหลว และการเคลื่อนที่เช่นนี้มีประสิทธิภาพเมื่อตั้งกายตรงมากกว่าเมื่อนอน[10] มันเชื่อว่า แก๊สลำไส้ปริมาตรมากจะมีแรงต้านน้อย และสามารถขับโดยการเกร็งคลายกล้ามเนื้อของท้องเพียงเล็กน้อย คือเกร็งกล้ามเนื้อในส่วนต้น และคลายกล้ามเนื้อในส่วนปลาย เป็นกระบวนการที่เชื่อว่าไม่มีผลต่ออาหารแข็งและอาหารเหลวภายในทางเดินอาหาร[10]

นักวิจัยที่ตรวจสอบปลายประสาทรับรู้ในช่องทวารหนักไม่พบว่า มันสำคัญในการช่วยเก็บน้ำไว้ในทวารหนัก แล้วคาดว่า บทบาทของมันอาจเพื่อแยกแยะระหว่างลมกับอุจจาระ ดังนั้น จึงช่วยตรวจจับว่าต้องถ่ายอุจจาระหรือเพื่อส่งสัญญาณว่าถ่ายเสร็จแล้ว[29]

เสียงตดจะขึ้นอยู่กับความแน่นของกล้ามเนื้อหูรูดและความเร็วของแก๊สที่ขับออก โดยยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น มีน้ำหรือไม่ และมีไขมันร่างกายแค่ไหน เสียงสูงต่ำของตดจะมีผลกระทบจากการปิดของปากทวารหนัก ในมนุษย์ การตดบางครั้งจะบังเอิญ เช่น เมื่อไอ จาม หรือเมื่อถึงจุดสุดยอด ส่วนในกรณีอื่น ๆ สามารถจงใจตดได้โดยเกร็งกล้ามเนื้อท้องและลำไส้ ในขณะที่คลายกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก แล้วมีผลเป็นการผายลมออก

การรักษา[แก้]

เนื่องจากปัญหาแก๊สในลำไส้จะทำให้มีอาการต่าง ๆ กัน การรักษาจึงขึ้นอยู่กับเหตุ

ท้องปวดท้องพอง[แก้]

แม้จะไม่มีผลต่อการผลิตแก๊ส สารลดแรงตึงผิวสามารถลดความรู้สึกไม่สบายที่เนื่องกับลมในทอง โดยช่วยให้แก๊สละลายเข้าในน้ำหรือในเนื้ออุจจาระ[30] ยาผสมไซเมทิโคนรายงานว่าทำงานโดยโปรโหมตการรวมตัวของฟองอากาศเล็ก ๆ เข้าเป็นฟองใหญ่ทำให้ขับออกได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะโดยเรอออกหรือผายลม แต่ก็ไม่ได้ลดการผลิดแก๊สในลำไส้ใหญ่และก็ไม่ได้ลดตด เพราะเพียงแค่ทำให้ฟองอากาศใหญ่ขึ้นและขับออกได้ง่ายขึ้น[30] ยาอื่น ๆ รวมทั้งยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก (prokinetics), lubiprostone, ยาปฏิชีวนะ และสารเสริมชีวนะ (probiotics) ก็ใช้ในการรักษาท้องอืดสำหรับคนไข้ที่มีโรคลำไส้ที่ไม่ใช่โรคกายเช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น โดยมีหลักฐานบ้างว่ายาพวกนี้อาจช่วยลดอาการ[31]

หลอดยืดหยุ่นได้ที่สอดเข้าในทวารหนักสามารถใช้ดูดเอาแก๊สกระเพาะและลำไส้เข้าใส่ในถุงเก็บลม ซึ่งเป็นวิธีที่จำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาลเป็นบางครั้ง เมื่อคนไข้ไม่สามารถขับลมออกได้โดยปกติ[32]

ปริมาณ[แก้]

วิธีหนึ่งในการลดปริมาณลมที่ผลิตก็คือการเปลี่ยนอาหาร ซึ่งลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่หมักดองได้ ทฤษฎีนี้เป็นมูลฐานของโปรแกรมอาหารคือ FODMAP diet ซึ่งให้ลดโอลิโกแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ มอโนแซ็กคาไรด์ และ polyol ที่หมักดองได้[33]

มีเครื่องเทศบางอย่างที่รายงานว่ามีผลต้านการผลิตแก๊สในลำไส้ เครื่องเทศรวมทั้งยี่หร่า ผักชี เทียนตากบ ยี่หร่าฝรั่ง และอื่น ๆ เช่น Trachyspermum ammi (ajwain), ขมิ้น, ยางของพืชสกุล Ferula, Dysphania ambrosioides (wormseed, Jesuit's tea, Mexican-tea, payqu/paico, epazote, หรือ herba sancti Mariæ), และสาหร่ายทะเลญี่ปุ่น Saccharina japonica (kombu, 昆布, 다시마, 海带)[ต้องการอ้างอิง] แป้งโดยมากรวมทั้งมันฝรั่ง ข้าวโพด ก๋วยเตี๋ยว และข้าวสาลี สร้างแก๊สเมื่อกำลังสลายในลำไส้ใหญ่[16] แก๊สในลำไส้สามารถลดลงได้โดยหมักถั่ว ซึ่งทำให้สร้างแก๊สน้อยลง หรือหุงต้มมันด้วยสารละลายที่ได้จากการหมักดองรอบสุดท้าย พืชวงศ์ถั่วบางชนิดทนการหุงต้มนาน ๆ ได้ ซึ่งอาจช่วยสลายโอลิโกแซ็กคาไรด์ให้เป็นน้ำตาลธรรมดา ๆ อนึ่ง ผลิตภัณฑ์ถั่วหมักดองเช่น มิโซะ มีโอกาสสร้างแก๊สในลำไส้น้อยกว่า

แบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กติกในกระบวนการหมักดองเช่น Lactobacillus casei และ Lactobacillus plantarum สามารถลดลมกระเพาะและลำไส้ในมนุษย์[34] ผลิตภัณฑ์เสริมชีวนะ (probiotics) รวมทั้งโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ นมเปรี้ยวเป้นต้น เชื่อว่าลดลมในกระเพาะลำไส้เมื่อใช้ฟื้นสภาพความสมดุลของแบคทีเรียประจำลำไส้[35] โยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ มีแบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กติก เช่น เชื้อ Lactobacillus acidophilus ซึ่งอาจช่วยลดลมในกระเพาะลำไส้ อนึ่ง L. acidophilus อาจทำให้สภาวะภายในลำไส้เป็นกรดมากขึ้น ซึ่งสนับความสมดุลตามธรรมชาติเพื่อกระบวนการหมักดอง เป็นเชื้อที่มีขายเป็นอาหารเสริม ส่วน Prebiotics ซึ่งเป็นส่วนผสมอาหารที่ช่วยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (เช่น แบคทีเรียและรา) เจริญพันธุ์หรือทำงาน ปกติจะเป็นโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่ย่อยไม่ได้ เช่น fructooligosaccharide จะเพิ่มลมในกระเพาะลำไส้โดยวิธีเดียวกันกับที่กล่าวในเรื่องภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

อาหารเสริมที่มีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารอาจลดลมในกระเพาะลำไส้ได้อย่างสำคัญ เพราะช่วยย่อยอาหารที่ปกติจะไม่ย่อยและสนับสนุนจุลินทรีย์ให้ทำการในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ มีการเสนอว่า เอนไซม์ alpha-galactosidase ซึ่งสามารถย่อยน้ำตาลซับซ้อนบางอย่างได้ มีประสิทธิผลลดปริมาณและความบ่อยของตด[36] เอนไซม์ alpha-galactosidase, lactase, amylase, lipase, protease, cellulase, glucoamylase, invertase, diastase, pectinase, และ bromelain ล้วนมีขายในตลาด ไม่ว่าจะโดยเดี่ยว ๆ หรือรวมกัน

ยาปฏิชีวนะ rifaximin ซึ่งมักใช้รักษาอาการท้องร่วงที่มีเหตุจากจุลินทรีย์ E. coli อาจลดทั้งการผลิตแก๊สในลำไส้และความบ่อยครั้งในการตด[37]

กลิ่น[แก้]

บิสมัท[แก้]

กลิ่นจากตดสามารถแก้ได้ด้วยยา bismuth subgallate ซึ่งสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (เช่นยี่ห้อ Devrom ในสหรัฐ) เป็นยาที่ใช้อย่างสามัญในคนไข้ที่ผ่าตัดทำรูเปิด (ostomy) ผ่าตัดลดความอ้วน (bariatric surgery) กลั้นอุจจาระไม่ได้ และมีกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น[38][39]

ส่วน bismuth subsalicylate เป็นสารประกอบที่เข้ายึดกับไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) งานศึกษาหนึ่งรายงานว่าการทาน 524 มก. ต่อครั้ง วันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 3-7 วันช่วยลด H2S ในอุจจาระของทั้งมนุษย์และหนูมากกว่า 95%[40] สารประกอบบิสมัทอีกอย่างคือ bismuth subnitrate ก็พบว่าเข้ายึดกับ H2S เหมือนกัน[41] งานศึกษาอีกงานหนึ่งแสดงว่า บิสมัทออกฤทธิ์เสริมร่วมกับยาปฏิชีวนะต่าง ๆ เพื่อยับยั้งแบคทีเรียที่รีดิวซ์ซัลเฟตและดังนั้น จึงยับยั้งการผลิตซัลไฟด์[42]

นักวิชาการบางพวกเสนอทฤษฎีว่า H2S มีส่วนให้เกิดลำไส้ใหญ่อักเสบที่มีแผลเปื่อย (ulcerative colitis) และดังนั้น บิสมัทจึงอาจช่วยรักษาสภาวะนี้[43] อย่างไรก็ดี การให้บิสมัทแก่หนูไม่ได้ป้องกันไม่ให้เกิดลำไส้ใหญ่อักเสบที่มีแผลเปื่อยแม้ว่าลำไส้จะผลิต H2S ลดลง[43] อนึ่ง หลักฐานปี 2009 แสดงว่า H2S ในลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบที่ยึดไว้อยู่แล้ว โดยเป็นซัลไฟด์ของเหล็กหรือโลหะอื่น ๆ[8]

โอกาสบิสมัทเป็นพิษหนักมีน้อยมากโดยอาจเกิดเมื่อใช้ในขนาดมาก[44]

ถ่านปลุกฤทธิ์ (activated charcoal)[แก้]

แม้จะเป็นวิธีรักษาปัญหาการย่อยอาหารต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณ ถ่านปลุกฤทธิ์ (activated charcoal) ไม่ได้ลดทั้งปริมาณลมหรือการปล่อยแก๊สที่มีกำมะถัน และไม่ลดอาการเกี่ยวกับท้อง (หลังจากทานถ่านปลุกฤทธิ์ขนาด 0.52 กรัม 4 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 1 อาทิตย์)[45] ผู้ทำงานศึกษาเสนอว่า ความอิ่มตัวของจุดที่สร้างพันธะได้ของถ่านเมื่อดำเนินผ่านท้องเป็นเหตุให้ไม่มีผล งานศึกษาอีกงานสรุปว่า ถ่านปลุกฤทธิ์ (4 กรัม) ไม่มีผลต่อการผลิตแก๊สไม่ว่าจะทดลองนอกกายหรือในกาย[46]

แต่นักวิชาการพวกอื่นก็รายงานว่า ถ่านปลุกฤทธิ์ได้ผล งานศึกษาในสุนัข 8 ตัวสรุปว่า ถ่านปลุกฤทธิ์ที่ให้ทางปาก (ไม่ทราบขนาด) ลด H2S ถึง 71% และเมื่อรวมใช้กับสมุนไพร Yucca schidigera (Mojave yucca, Spanish dagger) และ zinc acetate การลดก็จะเพิ่มถึง 86% แม้ปริมาณลมและการขับลมจะไม่ลดลง[47] ส่วนงานศึกษาปี 1981 รายงานว่า ถ่านปลุกฤทธิ์ที่ให้ทางปาก (ไม่ทราบขนาด) ป้องกันไม่ให้ขับลมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและไม่ให้เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเจนในลมหายใจที่ปกติจะเกิดหลังจากทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมาก[48]

เสื้อผ้าและอุปกรณ์ภายนอก[แก้]

ในปี 1998 นาเชสเตอร์ "บัก" ไวเมอร์ แห่งเมืองพูโบล รัฐโคโลราโด ได้จดสิทธิบัตรสำหรับชุดชั้นในชุดแรกที่มีตัวกรองถ่านซึ่งเปลี่ยนได้ เป็นชุดชั้นในที่กันอากาศรั่ว (และกลิ่น) ได้เป็นอย่างดี และมีรูเพื่อสอดตัวกรองถ่าน[49] ในปี 2001 นายเชสเตอร์ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาชีววิทยาสำหรับสิ่งประดิษฐ์ของเขานี้[50]

ต่อมาจึงมีการวางตลาดขายสินค้าคล้าย ๆ กันในปี 2002 แต่แทนที่จะเป็นชุดชั้นในทั้งตัว ผู้บริโภคสามารถซื้อแผ่นสอดคล้ายกับผ้าอนามัย เป็นแผ่นสอดที่บรรจุถ่านปลุกฤทธิ์[51] นักประดิษฐ์คือสองสามีภรรยาไมราและไบรอัน โคแนนท์แห่งเมือมิลิลานี รัฐฮาวาย ยังอ้างในเว็บไซต์ว่า ได้ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์นี้ขึ้น (4 ปีหลังจากนายเชสเตอร์ได้จดสิทธิบัตร) เพราะการทดสอบของพวกเขา "สรุป" ว่า ผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดควรจะเป็นแผ่นสอด[52]

การกลั้นตดไม่อยู่[แก้]

การกลั้นตดไม่อยู่เป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ และดังนั้น จึงรักษาโดยวิธีคล้าย ๆ กัน

ผายลมบอกโรค[แก้]

การผายลมกับอุจจาระเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ว่าผายลมนั้นสิ่งที่ออกมาคือแก๊ส เป็นการระบายสิ่งที่ไม่ดีออกมาจากร่างกายโดยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

หากวันทั้งวันไม่ผายลมเลยนั้นแสดงว่ากำลังผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อุดตัน หรือมะเร็ง หากเกิดกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอาจบอกได้ว่าในลำไส้มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารไม่ทำงาน อาหารก็ไม่ย่อย เมื่อไปถึงลำไส้ใหญ่แบคทีเรียจะมาทำหน้าที่ช่วยย่อย เมื่อย่อยมากก็เกิดแก๊สมากขึ้นตามมา

ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อถุงน้ำดีไม่ทำงานทำให้ย่อยสลายไขมันได้ไม่ดี จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืดและผายลมหลังอาหารอยู่บ่อย ๆ ตลอดจนผู้ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคตับอ่อนอักเสบ และผู้ที่มีอาการท้องผูกล้วนเป็นสาเหตุของผายลมได้

ผายลมกับพฤติกรรม[แก้]

ผายลมนอกจากจะเกิดจากโรคภัยแล้ว ยังเกิดจากพฤติกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

  1. อาหารที่กระตุ้นการผายลมและมีกลิ่นเหม็น การทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากกว่าผัก ทำให้แบคทีเรียที่สร้างแก๊สเติบโตได้ดีในลำไส้ใหญ่ เพราะอาหารประเภทนี้จะใช้เวลาย่อยประมาณ 72 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ทำให้เกิดการหมักหมมทำให้เกิดเสียงและกลิ่นเหม็น นอกจากเนื้อสัตว์แล้วยังมี ถั่วแห้งต่าง ๆ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ขนมปังสด ช็อกโกแลต กาแฟ แตงกวา อาหารทอด ผัดกาดแก้ว ขนมหวานเมอแรง ถั่วลิสง ไช้เท้า ครีม (นม) ปั่น เป็นต้น
  2. พฤติกรรมกระตุ้นผายลม ได้แก่ การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้อาหารย่อยไม่หมดและทำให้ท้องอืด หรือท้องไม่ทันอืดก็เรอออกมาเสียก่อน สุขภาพของฟัน เช่น ผู้สูงอายุที่ฟันไม่ดีทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด พูดมากหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ทำให้ต้องกลืนลมเข้าท้องในปริมาณมาก ขาดการออกกำลังกาย เพราะการผายลมเกิดจากการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ซึ่งมักเป็นไปตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย

สังคมและวัฒนธรรม[แก้]

ในวัฒนธรรมต่าง ๆ การตดในที่สาธารณะจัดว่าน่าอาย แต่ขึ้นอยู่กับบริบท ก็สามารถเป็นเรื่องตลกได้ด้วย บุคคลมักพยายามอั้นตดเมื่ออยู่ในวงสังคม หรือจะหลบไปอยู่ตรงที่สามารถซ่อนเสียงและกลิ่นได้ แต่ในวัฒนธรรมอื่น ๆ นี่อาจจะไม่น่าอายยิ่งกว่าการไอ

แม้การตดในวัฒนธรรมดังที่ว่าทั่วไปจะพิจารณาว่า ไม่ค่อยน่าพอใจในที่สาธารณะ แต่การตดในสถานการณ์ที่เป็นส่วนตัวมากกว่า โดยเฉพาะในเด็ก ๆ อาจใช้เป็นตัวเสริมเรื่องตลก เช่น "Pull my finger"[A] หรืออาจทำเป็นเรื่องตลกเอง การยอมรับได้ทางสังคมของเรื่องตลกเกี่ยวกับตดทั้งในวงการบันเทิงและในสื่อ จะต่าง ๆ กันไปตามเวลาและวัฒนธรรม มีนักแสดงที่ใช้ตดเป็นเครื่องมือจนกระทั่งมีบัญญัติคำภาษาอังกฤษเรียกนักแสดงเหล่านั้นว่า flatulist เบาะวูปปี้ (whoopee cushion) เป็นอุปกรณ์เล่นตลกที่ประดิษฐขึ้นต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งจะทำเสียงเหมือนตดถ้านั่งบนเบาะ ในปี 2008 แอ๊ปทำเสียงตดหนึ่งสำหรับไอโฟนได้รายได้ถึง 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 330,000 บาท) ในวันเดียว[53]

มีการเล่นตดของเด็กในสหรัฐที่เรียกว่า "Touch Wood" ที่บันทึกไว้ตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890[54] ซึ่งเรียกว่า Safety ในช่วงคริสต์วรรษที่ 20 ในสหรัฐ และยังเล่นอยู่แม้ในปี ค.ศ. 2011[54] รวม ๆ ก็คือ เด็กผู้ตดจะต้องพูดว่า "Safety" หรือแตะที่ไม้ก่อนที่เพื่อนจะกล่าววลีที่ได้กำหนดไว้ก่อนอื่น ๆ ถ้าพูดไม่ทัน จะต้องยอมให้เพื่อนต่อย[54]

ในเดือนมกราคม 2011 รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของประเทศมาลาวี (George Chaponda) กล่าวว่า กฎหมายต่อต้านการทำมลภาวะของประเทศ (2011 Malawian Air Fouling Legislation) จะทำให้การตดในที่สาธารณะผิดกฎหมาย รายงานข่าวต่าง ๆ ในเรื่องนี้ ได้เยาะเย้ยถากถางคำของเขาด้วยหัวพาดข่าวที่เล่นคำเล่นสำนวน ต่อมาเขาก็ได้ถอนคำพูดของเขา[55]

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[แก้]

ตดของวัวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปล่อยมีเทนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม เพราะมันยังเรอเป็นมีเทนอีกด้วย เนื่องด้วยการย่อยอาหารของมัน[56]

บ่อยครั้งมีการโทษตดว่าเป็นแหล่งสำคัญของแก๊สเรือนกระจก อาศัยความเชื่อผิด ๆ ว่า มีเทนที่ปล่อยโดยปศุสัตว์จะอยู่ในตดของมัน[57] แม้ปศุสัตว์จะเป็นตัวการปล่อยมีเทนถึง 20% ทั่วโลก[58] แต่ 90-95% ก็ปล่อยออกทางลมหายใจหรือผ่านการเรอ[59]

ในวัว ลมผายและลมเรอจะผลิตโดยจุลินทรีย์สร้างมีเทนที่เรียกว่า methanogen (จุลชีพก่อมีเทน) ที่อยู่ในระบบย่อยอาหารของวัว ข้อเสนอลดการผลิตมีเทนในวัวรวมทั้งการให้อาหารเสริม เช่น ออริกาโน[B] และสาหร่ายทะเลเป็นต้น และการทำพันธุวิศวกรรมต่อจุลินทรีย์ในท้องวัวเพื่อให้สร้างมีเทนน้อยลง[56]

เนื่องจากประเทศนิวซีแลนด์มีผลิตภัณฑ์การเกษตรเป็นจำนวนมาก จึงอาจสามารถจัดการการปล่อยมีเทนเข้าสู่สิ่งแวดล้อมของปศุสัตว์ได้มากเทียบกับแก๊สเรือนกระจกอื่น ๆ ประเทศยังเป็นภาคีในพิธีสารเกียวโต ดังนั้น จึงพยายามทำการต่าง ๆ เพื่อลดแก๊สเรือนกระจก และมีการเสนอภาษีเกษตร (agricultural emissions research levy) ซึ่งทันทีก็ได้ชื่อว่า ภาษีตด เป็นการเสนอกฎหมายที่ชาวเกษตร กลุ่มล็อบบี้เพื่อการเกษตร และนักการเมืองฝ่ายค้านออกมาต่อต้าน

การบันเทิง[แก้]

การตดได้ตามความพอใจได้บันทึกไว้ในประวัติตั้งแต่สมัยออกัสตินแห่งฮิปโปในหนังสือของเขาคือ เมืองของพระเจ้า (The City of God) (ศตวรรษที่ 5 หลังคริสต์ศักราช) คือเขาได้กล่าวถึงชายที่ "สามารถควบคุมท้องไส้ของตนเองจนกระทั่งสามารถตดอย่างต่อเนื่องได้ตามความพอใจ เพื่อให้ฟังเหมือนเพลง"[60] การตั้งใจตดเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้อื่นรู้จักกันในยุโรปตั้งแต่สมัยกลางและหลังจากนั้น

Le Pétomane (ไอ้บ้าตด) เป็นนักแสดงชาวฝรั่งเศสคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียง ใช้เสียงตดเลียนแบบเสียงต่าง ๆ และมีโชว์เป็นของตนเอง ในปัจจุบันก็ยังมีนักแสดงผู้มีชื่อเวทีว่า มิสเตอร์มีเทน ซึ่งก็ยังสร้างความบันเทิงเช่นเดียวกัน อนึ่ง ภาพยนตร์สำหรับครอบครัวปี 2002 Thunderpants เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กชายที่มีปัญหาเรื่องตดตั้งแต่กำเนิด ต่อมาได้ใช้ความสามารถในการตดของเขาในฐานะเป็นนักบินอวกาศ

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Pull my finger เป็นเรื่องตลกหรือเป็นการล้อเล่นเกี่ยวกับตด คือคนแรกจะบอกอีกคนหนึ่งให้ดึงนิ้วของคนแรก ผู้ก็จะตดไปพร้อม ๆ กันเพื่อล้อเล่นว่า การดึงนิ้วเป็นเหตุให้ตด
  2. ออริกาโน (Oregano) เป็นไม้ดอกสปีชีส์ Origanum vulgare ในวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) จากเขตอบอุ่นของยูเรเชียตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ บวกกับเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใบมีกลิ่นหอม และใช้เป็นเครื่องเทศที่สำคัญของอาหารชาวตะวันตก

อ้างอิง[แก้]

  1. "flatulence", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) อาการท้องอืด
  2. "flatulence", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, อาการท้องอืด
  3. "Flatulence". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015. 1 : the quality or state of being flatulent; 2 : flatus expelled through the anus
  4. "Medical Dictionary: Flatulent". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015. 1 a : likely to cause gas b : marked by or affected with gas generated in the intestine or stomach
  5. "Flatulent". Online Etymological Dictionary. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015. a blowing, a breaking wind
  6. "flatus", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕
  7. "Medical Dictionary: Flatus". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015. gas generated in the stomach or bowels
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 Tangerman, Albert (1 October 2009). "Measurement and biological significance of the volatile sulfur compounds hydrogen sulfide, methanethiol and dimethyl sulfide in various biological matrices". Journal of Chromatography B. 877 (28): 3366–3377. doi:10.1016/j.jchromb.2009.05.026. PMID 19505855.
  9. Kumar & Clark Clinical Medicine (6th ed.). Edinburgh: Saunders. 2005. p. 266. ISBN 0702027634. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 Azpiroz, F (1 July 2005). "Intestinal gas dynamics: mechanisms and clinical relevance". Gut. 54 (7): 893–895. doi:10.1136/gut.2004.048868. PMC 1774596.
  11. King, TS; Elia, M; Hunter, JO (10 October 1998). "Abnormal colonic fermentation in irritable bowel syndrome". The Lancet. 352 (9135): 1187–9. doi:10.1016/S0140-6736(98)02146-1. PMID 9777836.
  12. Bailey, J; Carter, NJ; Neher, JO (15 June 2009). "FPIN's Clinical Inquiries: Effective management of flatulence". American Family Physician. 79 (12): 1098–100. PMID 19530642.
  13. Phillips, KA; Gunderson, C; Gruber, U; Castle, D (2006). Delusions of body malodour: the olfactory reference syndrome (PDF). Olfaction and the brain. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 334–353. ISBN 978-0-521-84922-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-01-08. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. "Olfactory reference syndrome: a systematic review of the world literature". 2011. PMID 20529415. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  15. The ASCRS textbook of colon and rectal surgery, New York: Springer Publishing, 2007, ISBN 0-387-24846-3 {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  16. 16.0 16.1 "Gas in the Digestive Tract". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  17. "Flatulence: Causes, remedies, and complications". Medical News Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 April 2018.
  18. "Paleo Foods: Brassicas (and not Just the Ones you Know) | Paleo Leap". Paleo Leap | Paleo diet Recipes & Tips (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 14 September 2014. สืบค้นเมื่อ 17 April 2018.
  19. 19.0 19.1 McGee, Harold (1984). On Food and Cooking. Scribner. pp. 257–8. ISBN 0-684-84328-5.
  20. Flanagan, PA (August 1992). "Giardia—diagnosis, clinical course and epidemiology: A review". Epidemiology and Infection. 109 (1): 1–22. PMC 2272232. PMID 1499664.
  21. 21.0 21.1 21.2 Tomlin, J; Lowis, C; Read, NW (June 1991). "Investigation of normal flatus production in healthy volunteers". Gut. 32 (6): 665–669. doi:10.1136/gut.32.6.665. PMC 1378885. PMID 1648028.
  22. Hemmink, GJ; Weusten, BL; Bredenoord, AJ; Timmer, R; Smout, AJ (October 2009). "Aerophagia: excessive air swallowing demonstrated by esophageal impedance monitoring". Clinical Gastroenterology and Hepatology. 7 (10): 1127–9. doi:10.1016/j.cgh.2009.06.029. PMID 19602452.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Levitt, MD; Furne, J; Aeolus, MR; Suarez, FL (November 1998). "Evaluation of an extremely flatulent patient: case report and proposed diagnostic and therapeutic approach". The American Journal of Gastroenterology. 93 (11): 2276–2281. doi:10.1111/j.1572-0241.1998.00635.x. PMID 9820415.
  24. 24.0 24.1 Suarez, F; Furne, J; Springfield, J; Levitt, M (May 1997). "Insights into human colonic physiology obtained from the study of flatus composition". American Journal of Physiology. 272 (5 Pt 1): G1028-33. PMID 9176210.
  25. Mercer, Bobby (18 April 2009). How Do You Light a Fart?: And 150 Other Essential Things Every Guy Should Know about Science. Adams Media. p. 71. ISBN 9781440519871. สืบค้นเมื่อ 2 October 2014.[ลิงก์เสีย]
  26. Miller, TL; Wolin, MJ; de Macario, EC; Macario, AJ (1982). "Isolation of Methanobrevibacter smithii from human faeces". Applied and Environmental Microbiology. 43 (1): 227–32. PMC 241804. PMID 6798932.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. Pimentel, Mark; Gunsalus, Robert P; Rao, Satish SC; Zhang, Husen (2012). "Methanogens in Human Health and Disease". The American Journal of Gastroenterology Supplements. 1 (1): 28–33. doi:10.1038/ajgsup.2012.6. ISSN 1948-9498.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Suarez, FL; Springfield, J; Levitt, MD (July 1998). "Identification of gases responsible for the odour of human flatus and evaluation of a device purported to reduce this odour". Gut. 43 (1): 100–4. doi:10.1136/gut.43.1.100. PMC 1727181. PMID 9771412.
  29. Read, M. G.; Read, N. W. (1982). "Role of anorectal sensation in preserving continence". Gut. 23 (4): 345–347. doi:10.1136/gut.23.4.345. PMC 1419736. PMID 7076012.
  30. 30.0 30.1 Brecević, L; Bosan-Kilibarda, I; Strajnar, F (1994). "Mechanism of antifoaming action of simethicone". Journal of Applied Toxicology. 14 (3): 207–11. doi:10.1002/jat.2550140311. PMID 8083482.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  31. Schmulson, M; Chang, L (May 2011). "Review article: the treatment of functional abdominal bloating and distension". Alimentary Pharmacology & Therapeutics. 33 (10): 1071–86. doi:10.1111/j.1365-2036.2011.04637.x. PMID 21488913.
  32. "Flatus tube". Gastro Training. สืบค้นเมื่อ 3 April 2016.
  33. Staudacher, HM; Whelan, K; Irving, PM; Lomer, MC (October 2011). "Comparison of symptom response following advice for a diet low in fermentable carbohydrates (FODMAPs) versus standard dietary advice in patients with irritable bowel syndrome". Journal of Human Nutrition and Dietetics. 24 (5): 487–95. doi:10.1111/j.1365-277X.2011.01162.x. PMID 21615553.
  34. "Study shows secret to gas-free beans". 26 April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2006. สืบค้นเมื่อ 10 September 2007.
  35. Rubin, Jordan S.; Joseph Brasco (2003). Restoring Your Digestive Health. Kensington Books. ISBN 978-0758202826.[ต้องการเลขหน้า]
  36. Ganiats, TG; Norcross, WA; Halverson, AL; Burford, PA; Palinkas, LA (1994). "Does Beano prevent gas? A double-blind crossover study of oral alpha-galactosidase to treat dietary oligosaccharide intolerance". The Journal of Family Practice. 39 (5): 441–5. PMID 7964541.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. Di Stefano, M; Strocchi, A; Malservisi, S; Veneto, G; Ferrieri, A; Corazza, GR (2000). "Non-absorbable antibiotics for managing intestinal gas production and gas-related symptoms". Alimentary Pharmacology & Therapeutics. 14 (8): 1001–8. doi:10.1046/j.1365-2036.2000.00808.x. PMID 10930893.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Turnbull, G (2005). "The Ostomy Files:The Issue of Oral Medications and a Fecal Ostomy". Ostomy Wound Management. 51: 14–16.
  39. "Colostomy Guide". 2006-01-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2007. สืบค้นเมื่อ 10 September 2007.
  40. Suarez, F.L.; Furne, J.K.; Springfield, J.R.; Levitt, M.D. (1998). "Bismuth subsalicylate markedly decreases hydrogen sulfide release in the human colon". Gastroenterology. 114: A420. doi:10.1016/S0016-5085(98)81700-9. ISSN 0016-5085. PMID 9558280.
  41. Levitt, MD; Springfield, J; Furne, J; Koenig, T; Suarez, FL (April 2002). "Physiology of sulfide in the rat colon: use of bismuth to assess colonic sulfide production". Journal of Applied Physiology. 92 (4): 1655–60. doi:10.1152/japplphysiol.00907.2001. PMID 11896034.
  42. Ohge, H; Furne, JK; Springfield, J; Sueda, T; Madoff, RD; Levitt, MD (7 November 2003). "The effect of antibiotics and bismuth on fecal hydrogen sulfide and sulfate-reducing bacteria in the rat". FEMS Microbiology Letters. 228 (1): 137-4 2. doi:10.1016/s0378-1097(03)00748-1. PMID 14612249.
  43. 43.0 43.1 Furne, JK; Suarez, FL; Ewing, SL; Springfield, J; Levitt, MD (July 2000). "Binding of hydrogen sulfide by bismuth does not prevent dextran sulfate-induced colitis in rats". Digestive Diseases and Sciences. 45 (7): 1439–43. PMID 10961726.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. Gordon, MF; Abrams, RI; Rubin, DB; Barr, WB; Correa, DD (March 1995). "Bismuth subsalicylate toxicity as a cause of prolonged encephalopathy with myoclonus". Movement Disorders. 10 (2): 220–2. doi:10.1002/mds.870100215. PMID 7753066.
  45. Suarez, FL; Furne, J; Springfield, J; Levitt, MD (January 1999). "Failure of activated charcoal to reduce the release of gases produced by the colonic flora". The American Journal of Gastroenterology. 94 (1): 208–12. doi:10.1111/j.1572-0241.1999.00798.x. PMID 9934757.
  46. Potter, T; Ellis, C; Levitt, M (March 1985). "Activated charcoal: in vivo and in vitro studies of effect on gas formation". Gastroenterology. 88 (3): 620–4. doi:10.1016/0016-5085(85)90129-5. PMID 3917957.
  47. Giffard, CJ; Collins, SB; Stoodley, NC; Butterwick, RF; Batt, RM (15 March 2001). "Administration of charcoal, Yucca schidigera, and zinc acetate to reduce malodorous flatulence in dogs". Journal of the American Veterinary Medical Association. 218 (6): 892–6. doi:10.2460/javma.2001.218.892. PMID 11294313.
  48. Hall RG, Jr; Thompson, H; Strother, A (March 1981). "Effects of orally administered activated charcoal on intestinal gas". The American Journal of Gastroenterology. 75 (3): 192–6. PMID 7015846.
  49. Weimer, Chester (1997-01-14). "Protective underwear with malodorous flatus filter". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2013. สืบค้นเมื่อ 27 July 2007.
  50. "The 2001 Ig Nobel Prize Winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2011. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  51. Conant, Brian J.; Myra M. Conant (6 November 2001). "Flatulence deodorizer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2007.
  52. "About the Inventor". Flat-D Innovations Inc. สืบค้นเมื่อ 10 September 2007.
  53. Chen, Brian X. (24 December 2008). "iPhone Fart App Rakes in $10,000 a Day". Wired News.
  54. 54.0 54.1 54.2 Fishlock, Diana (8 June 2011). "Penn State professor's essay on farting takes the prize". The Patriot-News. Harrisburg, Pennsylvania. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011. Trevor Blank [...] found Pennsylvania boys playing "Safety," a farting game, the same as Blank had as a kid in Maryland, and the same game John Bourke documented in the 1890s, when it was called "Touch Wood." Basically, a boy who farts must say "Safety" or touch wood before his friends say another key phrase. If not, they're allowed to punch him. (It usually is boys who make farting a game or a weapon.)
  55. Chibewa, Joe (4 February 2011). "Chaponda: Oops I goofed, you can fart!". Marevi Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
  56. 56.0 56.1 Kean, Sam (2018). "Tummy Trouble". Distillations. Science History Institute. 4 (1): 5. สืบค้นเมื่อ 26 June 2018.
  57. ABC Southern Queensland: "Could skippy stop cows farting and end global warming?" February 3, 2006. Example of error. Although the article doesn't specify whether the methane is released by flatulence or eructation, it appears the headline-writer assumes it's through flatulence. เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  58. Nowak, Rachel (24 September 2004). "Burp vaccine cuts greenhouse gas". New Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2008. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
  59. "Bovine belching called udderly serious gas problem—Global warming concerns spur effort to cut methane." เก็บถาวร 13 สิงหาคม 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน By Gary Polakovic. Los Angeles Times, July 13, 2003.
  60. The City of God Against the Pagans. Philip Levine, editor and translator. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press,. 1966. XIV.24.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: others (ลิงก์)

อ้างอิงอื่น ๆ[แก้]

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2551

Bibliography

  • Allen, V. (2007) On Farting: Language and Laughter in the Middle Ages. Palgrave MacMillan.
  • Bolin, T. D. & Stanton, R. (1997). Wind Breaks. Allen & Unwin. ISBN 978-1-86448-321-5.
  • Dawson, Jim (1999). Who Cut the Cheese?: A Cultural History of the Fart. Ten Speed Press. ISBN 1-58008-011-1.
  • Dawson, Jim (2006). Blame it on the Dog: A Modern History of the Fart. Ten Speed Press. ISBN 1-58008-751-5.
  • Franklin, Benjamin (2003). Japikse, Carl (บ.ก.). Fart Proudly ((Reprint) ed.). Frog Ltd/Blue Snake. ISBN 1-58394-079-0.
  • Persels, J., & Ganim, R. (2004) Fecal Matters in Early Modern Literature and Art: Studies in Scatology. (Chap. 1: The Honorable Art of Farting in Continental Renaissance).
  • von Schmausen, D. (2002). Official Rules, New World Odor International Freestyle Farting Championship. LULU. ISBN 1435709195.
  • เธอตดที่หน้าต่าง แค่ลมที่พัด ไม่มีตัวตน...อย่าทำแบบนี้เลย แบบนี้เลย...

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]