วงศ์ถั่ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์ถั่ว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนปลายปัจจุบัน[1]
ดอกของกระถินณรงค์ (Acacia auriculiformis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ถั่ว
วงศ์: วงศ์ถั่ว
Lindl.[2] (Leguminosae Jussieu, nom. cons.).[3]
สกุลต้นแบบ
Faba (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Vicia)
Mill.
วงศ์ย่อย[4]
ความหลากหลาย
730 สกุลและ 19,400 สปีชีส์
แผนที่การกระจายพันธุ์ของวงศ์ถั่ว โดยพบในชีวนิเวศหลัก 4 แห่ง: ป่าเขตร้อน, เขตอบอุ่น, แถบหญ้า และ อวบน้ำ[5]
ชื่อพ้อง

วงศ์ถั่ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Fabaceae หรือ Leguminosae)[6] เป็นวงศ์พืชดอกที่มีจำนวนมากและมีความสำคัญทางการเกษตรมากที่สุด โดยรวมต้นไม้, ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุกยืนต้นหรือฤดูเดียวด้วย พืชเหล่านี้สามารถจดจำได้ง่ายจากผลไม้ (ถั่ว) กับส่วนหูใบ วงศ์นี้มีการกระจายอย่างกว้างขวาง และเป็นวงศ์พืชบกที่มีจำนวนวงศ์ประมาณ 765 สกุลและมีสปีชีส์ที่เป็นที่รู้จักเกือบ 20,000 สปีชีส์ ทำให้เป็นพืชที่มีจำนวนสปีชีส์มากเป็นอันดับ 3 โดยเป็นรองเพียงวงศ์กล้วยไม้และวงศ์ทานตะวัน[7][8][9][1]

การจัดจำแนก[แก้]

ผลของVicia sativa

พืชในวงศ์นี้แยกได้เป็น 3 วงศ์ย่อยคือ Mimosoideae Ceasalpinioideae และ Papilionatae อย่างไรก็ตาม นักพฤกษศาสตร์บางกลุ่มเช่นในหนังสือ The Family of Flowering Plants ที่เขียนโดย J. Hutchinson เมื่อ พ.ศ. 2516 และหนังสือ Plant Systematics ที่เขียนโดย S.B. Jones Jr. Luchsinger และ A.E. Luchsinger เมื่อ พ.ศ. 2522 ได้จัดให้พืชวงศ์ถั่วทั้งหมดอยู่ในอันดับ Leguminales หรือ Fabales แบ่งเป็น 3 วงศ์ คือ Mimosaceae Ceasalpinaceae และ Papilionaceae[10] สำหรับการจัดจำแนกของกรมป่าไม้ ยังถือตามแบบที่จัดให้พืชตระกูลถั่วอยู่ในวงศ์ Leguminosae และมี 3 วงศ์ย่อย[11]

ลักษณะทั่วไป[แก้]

ส่วนใหญ่พืชตระกูลถั่วเป็นไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มลุก ใบเรียงสลับ มักเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบ หรือใบประกอบแบบขนนก อาจเป็นชนิดขนนกชั้นเดียวหรือขนนก 2 ชั้น มีหูใบบนก้านใบและบนราคิสอาจมีต่อมหรือหนาม ใบแผ่กางในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อแบบต่างๆ เช่น ช่อกระจะ ช่อเชิงลด ช่อกระจุกแน่น และช่อแยกแขนง[10] ลักษณะของดอกแตกต่างกันตามวงศ์ย่อย[10] ผลมีลักษณะเป็นฝักแตกได้ หรือแตกไม่ได้ บางชนิดมีลักษณะค่อนข้างกลม มีปีกแผ่ออกไปโดยรอบ เรียกว่าผลแบบซามารา เช่น ผลประดู่[10]

ลักษณะดอกของแต่ละวงศ์ย่อยเป็นดังนี้[10]

  • วงศ์ย่อย Mimosoideae เป็นช่อกระจุกแน่น ช่อกระจะ หรือช่อเชิงลด ดอกย่อยขนาดเล็ก เรียงชิดกันแน่น สมมาตรแบบรัศมี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อติดกันตรงโคนเป็นหลอดสั้นๆ หรือแยกจากกัน เกสรตัวผู้เป็นโครงสร้างที่เด่นของดอก มีเท่ากลีบดอกหรือมากกว่า ก้านเกสรตัวผู้ยาว เกสรตัวเมียมีรังไข่ตั้งตรง และอาจมีก้านชูรังไข่สั้นๆ ตัวอย่างเช่น ดอกกระถิน ดอกไมยราบ ตัวอย่างพืชในกลุ่มนี้เช่น ไมยราบต้น ไมยราบเถา
ดอกของWisteria sinensis ซึ่งเป็นดอกในวงศ์ย่อย Papilionatae
  • วงศ์ย่อย Papilionoideae ดอกเป็นแบบสมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบเป็นแบบพาพิลิโอเนเซียส เกสรตัวผู้ 10 อัน แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 9 อันเชื่อติดกัน ก้านเกสรตัวผู้เชื่อมติดกันตลอดความยาว อีกกลุ่มมี 1 อัน แยกเป็นอิสระ เกสรตัวเมียมีรังไข่ยาวแบนตั้งตรง หรืออาจจะโค้งเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ดอกแค ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้เช่น หิ่งเม่น โสนขน ถั่วผี
  • วงศ์ย่อย Ceasalpinioideae ดอกเป็นแบบสมมาตรด้านข้าง แต่บางชนิดคล้ายกับเป็นสมมาตรแบบรัศมี กลีบเลี้ยง 5 กลีบแยกเป็นอิสระ กลีบดอก 5 กลีบเป็นแบบซีซาลพิเนเซียส เกสรตัวผู้ส่วนมากมี 10 อันหรือน้อยกว่า แยกกันเป็นอิสระ บางชนิดมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน ก้านเกสรตัวผู้มักยาวไม่เท่ากัน เกสรตัวเมียยาวและโค้งเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ดอกชงโค ดอกทรงบาดาล ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ ได้แก่ ชุมเห็ด มะขาม


การนำพืชตระกูลถั่วไปใช้ประโยชน์[แก้]

การใช้ประโยชน์จากพืชตระกูลถั่วที่สำคัญคือการใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ซึ่งการใช้ปุ๋ยพืชสดจากพืชตระกูลถั่วมีได้ 2 แบบคือ[12]

  • ปุ๋ยพืชสดสำหรับพืชไร่บนดินดอน พืชตระกูลถั่วที่นำมาใช้ได้ ต้องมีเมล็ดแข็งแรง งอกง่าย โตเร็ว แข่งกับวัชพืชได้ดี ออกดอกได้เร็ว ง่ายต่อการไถสับกลบลงในดิน ต้านทานต่อโรคพืช พืชตระกูลถั่วที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสดคือ ปอเทือง ถั่วพุ่ม และถั่วพร้า
  • ปุ๋ยพืชสดสำหรับในนาข้าวและที่ลุ่ม ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ องทนต่อสภาพน้ำขัง อายุสั้น ไม่ไวต่อแสง นิยมใช้พืชที่เกิดปมบนลำต้น เช่น โสนแอฟริกัน

ในปัจจุบันมีความพยายามนำวัชพืชที่เป็นพืชตระกูลถั่วมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสด เพราะวัชพืชเหล่านี้จะติดปมรากได้ดีกว่า ไม่ต้องคลุกเชื้อไรโซเบียม มีเมล็ดมากอยู่แล้วตามธรรมชาติ[13] วัชพืชตระกูลถั่วที่ถูกเสนอให้ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนขน ซึ่งพบทั่วไปตามที่ลุ่ม เหมาะที่จะใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Stevens, P. F. "Fabaceae". Angiosperm Phylogeny Website. Version 7 May 2006. สืบค้นเมื่อ 28 April 2008.
  2. Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x.
  3. Watson L.; Dallwitz, M. J. (2007-06-01). "The families of flowering plants: Leguminosae". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 9 February 2008.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 6subfamilies
  5. Schrire, B. D.; Lewis, G. P.; Lavin, M. (2005). "Biogeography of the Leguminosae". ใน Lewis, G; Schrire, G.; Mackinder, B.; Lock, M. (บ.ก.). Legumes of the world. Kew, England: Royal Botanic Gardens. pp. 21–54. ISBN 978-1-900347-80-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2010.
  6. International Code of Nomenclature for algae, fungi, and plants. เก็บถาวร 2013-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Article 18.5 states: "The following names, of long usage, are treated as validly published: ....Leguminosae (nom. alt.: Fabaceae; type: Faba Mill. [= Vicia L.]); ... When the Papilionaceae are regarded as a family distinct from the remainder of the Leguminosae, the name Papilionaceae is conserved against Leguminosae." ออกเสียงภาษาอังกฤษเป็น: /fəˈbsi(i), -si, -si/, /ləˌɡjməˈnsi/ และ /pəˌpɪliˈnsii/
  7. "List of plants in the family Fabaceae". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 28 April 2021.
  8. Christenhusz, M. J. M.; Byng, J. W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1.
  9. Judd, W. S., Campbell, C. S. Kellogg, E. A. Stevens, P.F. Donoghue, M. J. (2002), Plant systematics: a phylogenetic approach, Sinauer Axxoc, 287-292. ISBN 0-87893-403-0.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 อุบลวรรณ อุโพธิ์ (2530). พรรณไม้ในวงศ์ถั่ว. สงขลา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
  11. ก่องกานดา ชยามฤต (2541). คู่มือจำแนกพรรณไม้. กรุงเทพฯ: สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. ISBN 9747626306.
  12. สมศักดิ์ วังใน (2541). การตรึงไนโตรเจน: ไรโซเบียม -พืชตระกูลถั่ว. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  13. จักรกฤษณ์ หอมจันทร์ และสงัด ปัญญาพฤกษ์ (กรกฎาคม–ธันวาคม 2540). การติดปมข้ามระหว่างวัชพืชตระกูลถั่วกับถั่วเศรษฐกิจ. วารสารวิจัย มข. 2(2): 62–71. ISSN 0859-3957.
  14. นิวัต เหลืองชัยศรี (2543). โสนขน: วัชพืชตระกูลถั่วอีกทางเลือกสำหรับทำปุ๋ยพืชสด. วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(2): 42–45. ISSN 1513-296X.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:Americana Poster