อาการจาม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าอภิปราย หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ทันที โดยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน ซึ่งเมื่อตรวจสอบและแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออก |
จาม (Sneeze) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | R06.7 |
ICD-9 | 784.99 |
จาม (อังกฤษ: sneeze หรือ sternutation) เป็นกลไกกึ่งอัตโนมัติของการขับลมออกจากปอดผ่านทางจมูกและปากอย่างรวดเร็ว มักเกิดจากอนุภาคแปลกปลอมระคายเคืองเยื่อเมือกของจมูก
องค์ประกอบทางชีวภาพ[แก้]
หน้าที่ของการจามเป็นการขับเมือกซึ่งมีอนุภาคแปลกปลอมหรือสารระคายออก และช่วยทำความสะอาดโพรงจมูก ในระหว่างการจามเพดานอ่อนและลิ้นไก่กดลงในขณะที่ส่วนหลังของลิ้นยกขึ้นเพื่อปิดช่องทางผ่านทางปากบางส่วน เพื่อให้ลมที่ถูกขับจากปอดจะออกมาผ่านทางจมูก และเนื่องจากปากปิดบางส่วนจึงทำให้มีปริมาณอากาศจำนวนหนึ่งผ่านออกทางปากด้วย แรงและปริมาณของการขับอากาศผ่านทางจมูกมีความหลากหลาย
กลไกโดยรวม[แก้]
การจามมักเกิดเมื่อมีอนุภาคแปลกปลอมหรือมีสิ่งกระตุ้นภายนอกที่เพียงพอผ่านขนจมูกมาถึงเยื่อเมือกของจมูก ซึ่งจะกระตุ้นให้ฮิสทามีนหลั่ง และเกิดการระคายเซลล์ประสาทในจมูกแล้วส่งสัญญาณประสาทไปยังสมองเพื่อกระตุ้นการจามผ่าเครือข่ายประสาทไทรเจมินัล (trigeminal nerve network) จากนั้นสมองแปรสัญญาณแรกเริ่ม กระตุ้นกล้ามเนื้อคอหอยและหลอดลม และมีการเปิดช่องปากและโพรงจมูกให้กว้างขึ้นเพื่อให้เกิดการปล่อยอากาศและอณูชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ การจามที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการทำงานของอวัยวะในส่วนบนของร่างกายหลายอวัยวะ การจามเป็นการตอบสนองที่เป็นรีเฟล็กซ์ที่อาศัยใบหน้า คอ และกล้ามเนื้อหน้าอก
![]() |
บทความเกี่ยวกับแพทยศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ |