ข้ามไปเนื้อหา

การตั้งครรภ์

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาวะตั้งครรภ์)

การตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรสามที่สาม
สาขาวิชาสูติศาสตร์, การผดุงครรภ์
อาการขาดประจำเดือน, เจ็บเต้านม, คลื่นไส้และอาเจียน, รู้สึกหิว, ปัสสาวะบ่อย[1]
ภาวะแทรกซ้อนการแท้งบุตร, ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์, โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์, โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง[2][3]
ระยะดำเนินโรคประมาณ 40 สัปดาห์นับตั้งแต่ประจำเดือนครั้งสุดท้าย (38 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ)[4][5]
สาเหตุการร่วมเพศ, เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์[6]
วิธีวินิจฉัยชุดทดสอบการตั้งครรภ์[7]
การป้องกันการคุมกำเนิด (รวมการรับประทานยาคุมกาเนิดฉุกเฉิน)[8]
การรักษาการฝากครรภ์,[9] การทำแท้ง[8]
ยากรดโฟลิก, ยาเสริมธาตุเหล็ก[9][10]
ความชุก213 ล้าน (2012)[11]
การเสียชีวิตลดลง 230,600 (2016)[12]

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง[4][13] เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด[14] การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง[6] การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง[5][13] หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์[4][5]

เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด[5] นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด[2] ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์[15] จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย[16]

ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์[17][18] ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครรภ์[19]

อภิธานศัพท์

[แก้]
William Hunter, Anatomia uteri humani gravidi tabulis illustrata, 1774

ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์หนึ่งของภาวะการตั้งครรภ์ คือ gravidity เป็นภาษาละติน แปลว่า "หนัก" และบ้างเรียกหญิงตั้งครรภ์ว่า หญิงมีครรภ์ (gravida)[20] ในทำนองเดียวกัน คำว่า ภาวะเคยคลอด (parity, ย่อว่า "para") ใช้สำหรับจำนวนครั้งที่หญิงคนหนึ่งคลอดบุตร โดยนับฝาแฝดและการคลอดแฝดอื่นเป็นการตั้งครรภ์หนึ่งครั้ง และปกตินับรวมการตายคลอดด้วย ในทางการแพทย์ หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ เรียก หญิงไม่เคยตั้งครรภ์ (nulligravida) ส่วนหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกจะเรียก หญิงมีครรภ์แรก (primigravida)[21] และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลังจากนั้น เรียก หญิงมีครรภ์หลายครั้ง (multigravida หรือ multiparous)[20][22] ฉะนั้น ระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งที่สอง อาจอธิบายหญิงคนหนึ่งว่า gravida 2, para 1 และเมื่อคลอดมีชีพว่า gravida 2, para 2 การตั้งครรภ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ตลอดจนการแท้ง การแท้งเองหรือการตายคลอดทำให้ค่าภาวะเคยคลอดน้อยกว่าจำนวนหญิงมีครรภ์ (gravida number) ในกรณีฝาแฝด แฝดสาม ฯลฯ จำนวนหญิงมีครรภ์และค่าภาวะเคยคลอดเพิ่มเพียงหนึ่งเท่านั้น หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์โดยมีอายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ เรียก ไม่เคยคลอด (nulliparous)[23]

สรีรวิทยา

[แก้]
ลำดับเหตุการณ์การตั้งครรภ์ตามอายุครรภ์

การเริ่มต้น

[แก้]
การปฏิสนธิและการฝังตัวในมนุษย์

เหตุการณ์ที่ใช้กำหนดการเริ่มตั้งครรภ์ที่ใช้มากที่สุดคือวันแรกของระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายของหญิงนั้น และอายุทารกในครรภ์ที่เรียก อายุครรภ์ ทางเลือกนี้เป็นผลจากไม่มีวิธีที่สะดวกในการรับรู้เวลาที่ไข่ที่ปฏิสนธิฝังตัวในผนังมดลูก ในกรณีการปฏิสนธินอกกาย อายุครรภ์คำนวณได้จากวันที่ดึงเซลล์ไข่ออกมา + 14 วัน[24]

ร่างกายหญิงยังผ่านการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมการปฏิสนธิที่กำลังเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มระยะมีประจำเดือนก่อนแล้ว รวมถึงการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนกระตุ้นถุงน้อย (follicle stimulating hormone) ซึ่งกระตุ้นการสร้างถุงน้อย และการสร้างเซลล์ไข่ตามลำดับ เพื่อให้ได้เซลล์ไข่ที่เจริญเต็มที่ หรือคือเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง การปฏิสนธิคือเหตุการณ์ที่เซลล์ไข่รวมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย คือ ตัวอสุจิ หลังจุดปฏิสนธิ ผลิตภัณฑ์ของเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงและชายที่รวมกันเรียก ไซโกตหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว การรวมเซลล์สืบพันธุ์เพศชายและหญิงปกติเกิดขึ้นหลังการร่วมเพศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการตั้งครรภ์เกิดเอง แต่ยังเกิดได้จากเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เช่น การใส่เชื้ออสุจิเทียมและการปฏิสนธินอกกาย ซึ่งอาจทำโดยเป็นทางเลือกสมัครใจหรือเนื่องจากเป็นหมัน

บ้างใช้เหตุการณ์ปฏิสนธิเป็นเครื่องหมายเริ่มต้นการตั้งครรภ์ ซึ่งอายุที่ได้เรียก อายุการปฏิสนธิ (fertilization age) และเป็นทางเลือกของอายุครรภ์ ปกติการปฏิสนธิเกิดราวสองสัปดาห์ก่อนระยะมีประจำเดือนที่คาดหมายครั้งถัดไปของหญิงนั้น หรือหากไม่ทราบวันในกรณีปัจเจก ที่ใช้บ่อยคือบวก 14 วันเข้ากับอายุการปฏิสนธิเพื่อหาอายุครรภ์ และกลับกัน

การพัฒนาการของตัวอ่อนและทารกในครรภ์

[แก้]
ขั้นตอนการเริ่มต้นของมนุษย์ในรูปเอ็มบริโอ (human embryogenesis)

เมื่ออสุจิและเซลล์ไข่ถูกเข้ามามาในรังไข่ ข้างใดข้างหนึ่งของผู้หญิงแล้ว เมื่อรวมกันแล้วในท่อรังไข่ ไข่ที่เรารู้จักกันจะอยู่ในรูปของ zygote จะเดินทางเคลื่อนตัวไปยังมดลูก เป็นการเดินทางที่ใช้เวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์กว่าจะสมบูรณ์ เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวภายใน 24 ถึง 36 ชั่วโมงหลังจากที่อสุจิและไข่มารวมกัน. เซลล์แบ่งตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่รวดเร็วและเซลล์ที่พัฒนาที่เรารู้กันในรูปตัวอ่อน (blastocyst). ตัวอ่อนนี้จะมาถึงมดลูกและฝังตัวยึดติดกับผนังมดลูก ขั้นตอนนี้เราเรียกว่า การฝังตัว (implantation)

การพัฒนาของเซลล์ที่จะกลายมาเป็นทารกเรียกว่า embryogenesis ในช่วงแรกจะอยู่ใน 10 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ในช่วงเวลานี้, เซลล์จะเริ่มแยกระบบต่าง ๆ ของร่างกาย มีการสร้างพื้นฐานของอวัยวะ, ร่างกายและระบบประสาท. ในช่วงท้ายของตัวอ่อนนั้นจะเริ่มมีมือ,ตา,ปากและหูเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ในช่วงเวลานี้ มีการพัฒนาโครงสร้างที่สำคัญที่จะใช้ดูแลตัวเอ็มบริโอ, รวมทั้ง รก (placenta)และ สายสะดือ (umbilical cord) รกนั้นจะเชื่อมกับผนังมดลูกเพื่อให้ตัวเอ็มบริโอได้ดูดซึมอาหาร รวมถึงการกำจัดของเสีย และแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านทางเลือดของแม่ สายสะดือ คือสายเชื่อมต่อระหว่างรกกับตัวเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์

หลังจากอายุครรรภ์ 10 สัปดาห์, เอ็มบริโอได้กลายเป็นทารกแทนแล้วนั้น นี่คือจุดเริ่มต้นทารกในครรภ์, ความเสี่ยงในการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนดจะลดลงอย่างรวดเร็ว,[25] เมื่อเติบโตจากเอ็มบริโอเป็นทารกจะมีขนาดความยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร (1.2 นิ้ว) , เรามองเห็นหัวใจทารกจากการอัลตราซาวนด์ ดูความเคลื่อนไหว และพัฒนาการต่าง ๆในระหว่างการตั้งครรภ์ของทารก, รวมไปถึงระบบของร่างกายและโครงสร้างในช่วงต้นที่ตัวอ่อนพัฒนาเป็นทารก. อวัยวะเพศจะเริ่มปรากฏขึ้นในเดือนที่ 3 ของของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ยังคงเติบโตทั้งน้ำหนักและขนาดตัว, แม้ว่าการเติบโตทางกายนั้นหลัก ๆ จะอยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์

การทำงานของสมอง มีการตรวจพบได้ในระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ 5 และ สัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์, แม้ว่านี่จะเป็นการพิจารณาแบบดั่งเดิมเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทเป็นจุดกำเนิดของระบบความคิด เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนามากต่อไปของการตั้งครรภ์ ระบบประสาทเริ่มต้นที่สัปดาห์ที่ 17 , และไปสัปดาห์ที่ 28 ระบบประสาทจะเริ่มพัฒนาทวีคูณไปจนถึง 3-4 เดือนหลังจากทารกเกิด[26]

การเปลี่ยนแปลงของมารดา

[แก้]
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมของผู้หญิงในระหว่างตั้งครรภ์ ลานนมจะมีขนาดใหญ่และสีคล้ำขึ้น

ในระหว่างตั้งครรภ์ผู้หญิงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา (physiological) มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงหัวใจและหลอดเลือด(cardiovascular) , โลหิตวิทยา (hematologic), ระบบการเผาผลาญ (metabolic), ไต (renal) และระบบทางเดินหายใจ (respiratory) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สำคัญอย่างมากในกรณีที่มีภาวะโรคแทรกซ้อน ร่างกายจะต้องเปลี่ยนทั้งสรีระวิทยาและร่างกายจะต้องรักษาความสมดุลกลไกของร่างกายไว้ให้คงที่เพื่อเตรียมไว้ให้ทารกระหว่างตั้งครรภ์ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด, การหายใจและระดับการเต้นของหัวใจ ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ มีการระงับการทำงานของแกนการประสานงานระบบประสาท (hypothalamic axis) และการมาของรอบประจำเดือน

ทารกเมื่อยู่ในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์แล้วจะดูเหมือนเป็นการปลูกถ่ายสิ่งมีชีวิต (allograft) ได้เสร็จสมบูรณ์แต่ก็ดูเหมือนเป็นสิ่งผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ เพราะมีความแตกต่างทางพันธุ์กรรมจากผู้หญิง[31] เหตุผลหลัก ๆ ก็คือ เมื่อการตั้งครรภ์สำเร็จแล้วระบบภูมิคุ้มกันของแม่จะมีความทนทานมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นมากในการตั้งครรภ์นี้อาจจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดความรุนแรงของโรคติดเชื่อ (infectious diseases) บางชนิด

การตั้งครรภ์จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง หรือ 3 ไตรมาส, ในแต่ละไตรมาสเวลาประมาณ 3 เดือน .[32][33] สูตินรีแพทย์กำหนดแต่ละไตรมาสเป็นเวลา 14 สัปดาห์,รวมทั้งหมด 42 สัปดาห์,แม้ว่าเฉลี่ยเวลาตั้งครรภ์จริงจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ก็ตาม[34] ไม่มีกฏที่เคร่งครัดอะไรกับอาการที่แตกต่างออกไปจากนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอธิบายในโอกาสต่อไป

ไตรมาสแรก

[แก้]
มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดตามระยะเวลาการตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส

Minute ventilation จะเพิ่มขึ้น 40% ในไตรมาสแรก.[35] ครรภ์จะโตขึ้นเท่าลูกมะนาวในช่วง 8 สัปดาห์ อาการและลำบากของการตั้งครรภ์หลาย ๆ อย่างจะปรากฏขึ้นในไตรมาสแรก (symptoms and discomforts of pregnancy) ซึ่งจะอธิบายในส่วนต่อมา[36]

ไตรมาสที่สอง

[แก้]
ในตอนปลายของไตรมาสที่สอง,มดลูกขยายจนเห็นได้ชัดจนเห็น"เด็กดิ้น". แม้ว่าหน้าอกจะได้รับการพัฒนาตั้งแต่แรกของการตั้งครรภ์ แต่ความเปลี่ยนแปลงจะปรากฏชัดในไตรมาสนี้

สัปดาห์ที่ 13 ถึง 28 ของการตั้งครรภ์จะเรียกว่าไตรมาส 2 ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มชีวิตชีวาในช่วงนี้, อาการวิงเวียนในตอนเช้าและอาการเจ็บป่วยจะค่อย ๆ จางหายไป เมื่อมีทารกแล้วมดลูกสามารถโตได้ถึง 20 เท่าจากขนาดปกติในระหว่างตั้งครรภ์

แม้ว่าทารกเริ่มจะมีการเคลื่อนไหวและใช้เวลากับการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายในช่วงไตรมาสแรก ในไตรมาสที่สองทารกจะเริ่มมีเคลื่อนไหวที่เรียกได้ว่า "รวดเร็วขึ้น", จนรู้สึกได้ ซึ่งมักจะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในเดือนที่สี่, และรู้สึกมากขึ้นเป็นพิเศษในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ถึง 21หรือหญิงที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนจะรู้สึกได้ในสัปดาห์ที่ 19 แต่มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่หญิงตั้งครรภ์บางคนจะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกจนกระทั่งเวลาผ่านมา ในช่วงไตรมาสที่ 2, หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเริ่มสวมชุดคลุมท้อง

ไตรมาสที่สาม

[แก้]
มดลูกขยายจนมีขนาดใหญ่และท้องของผู้หญิงก็ใหญ่ขึ้นมาก.ดูจากภาพด้านซ้ายจะแสดงขนาดของแต่ละเดือน, ส่วนภาพด้านขวาจะแสดงให้เห็นช่วง 4 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์มดลูกจะลดต่ำลง

น้ำหนักที่จะขึ้นในไตรมาสสุดท้ายนี้ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ขึ้นมากที่สุดในตลอดการตั้งครรภ์. ท้องของหญิงตั้งครรภ์เริ่มลดเนื่องมาจากทารกเริ่มเคลื่อนต่ำลงตำแหน่งที่พร้อมสำหรับการเกิด ในช่วงไตรมาสที่สอง, ช่องท้องของหญิงตั้งครรภ์จะอยู่ในสภาพที่ตั้งออกมามาก แต่ในช่วงไตรมาสที่สามจะเคลื่อนตัวลงมาค่อนข้างต่ำ และท้องผู้หญิงสามารถสามารถยกขึ้นและลงได้ ทารกในครรภ์สามารถเคลื่อนไหวย้ายไปมาได้จนแม่รู้สึกได้ การเคลื่อนไหวของทารกที่แข็งแรงรวดเร็วจนทำให้เกิดความเจ็บปวดกับหญิงตั้งครรภ์ได้ สะดือ (navel)ของหญิงตั้งครรภ์อาจจะนูนขึ้นได้เนื่องจากการขยายช่องท้อง(abdomen)ของเธอ

ส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะ (Head engagement) ของทารกในครรภ์นำศีรษะลง (cephalic presentation), การหายใจจะช่วยบรรเทาความดันของช่องท้องส่วนบนได้ นอกจากนี้ยังบรรเทาความรุนแรงของกระเพาะปัสสวะที่มีขนาดเล็กลง และเพิ่มความดันในอุ้งเชิงกรานและทวารหนัก

ในช่วงไตรมาสที่สาม กิจกรรมและตำแหน่งการนอนของมารดาอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อันเนื่องมาจากระบบการหมุนเวียนของเลือดมีพื้นที่จำกัด ตัวอย่างเช่น มดลูกในครรภ์ที่มีการขยายตัวขึ้นมีผลการไหลเวียนของโลหิตโดยมีการบีบการทำงานของหลอดเลือดดำ (vena cava) ลดต่ำลง, โดยการนอนตะแคงตำแหน่งด้านซ้ายปรากฏว่าสามารถให้ออกซิเจนสู่ทารกได้ดีกว่า.[37]

ระยะเวลา

[แก้]

ระยะห่างของช่วงเวลาที่สำคัญของการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับวันเริ่มต้น

การวัดจะอ้างจากกลุ่ม (reference group) ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีรอบของประจำเดือน (menstrual cycle) 28 วัน และเป็นวันเริ่มทางธรรมชาติในการคลอดบุตร ความหมายคือ ช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์จะอยู่ช่วงประมาณ 283.4 วันของอายุครรภ์ (gestational age) โดยเริ่มการนับคือวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (last menstrual period) ที่จะต้องจดจำได้โดยแม่, และ 280.6 วันโดยการประมาณการอายุครรภ์จากการวัดเวลาอัลตราซาวนด์การคลอดบุตร (obstetric ultrasound) ของเส้นผ่าศูนย์กลางความยาวของกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ (fetal biparietal diameter ย่อว่า BPD) ในไตรมาสที่สอง[38] ส่วนขั้นตอนวิธีการอื่นนั้นต้องคำนึงถึงตัวแปรที่มีความหลากหลายอื่น ๆ เช่น เป็นลูกคนแรกหรือเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ (เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่เป็น ผู้ที่คลอดบุตร/ตั้งครรภ์ครั้งแรก (primipara) หรือผู้ที่คลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง/ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง (multipara) เชื้อชาติของ, อายุ, ระยะของรอบเดือนและความสม่ำเสมอของมารดา) แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ค่อยได้ใช้ในสำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อให้มีสิ่งอ้างอิงถึงมาตรฐาน ระยะเวลาของการตั้งครรภ์โดยปกติทั่วไปคือ 280 วัน (หรือ 40 สัปดาห์) ของอายุครรภ์

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) คือ 8-9 วันเป็นวันที่ครบรอบการคำนวณเป็นวิธีการที่ถูกต้องที่สุด ความหมายก็คือ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของการเกิด เกิดในวันที่ครบ 40 สัปดาห์ของอายุครรภ์ มีร้อยละ 50 เกิดภายในสัปดาห์ของช่วงระยะเวลานี้ และประมาณร้อยละ 80 ภายใน 2 สัปดาห์[38] เป็นการประมาณของวันที่ครบกำหนดคลอด,แอปพลิเคชันที่อยู่บนมือถือ (mobile apps) มีความสอดคล้องกับการประมาณการแบบอื่นๆ และมีความถูกต้องกับปีอธิกสุรทิน (leap year คือวันที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) ในขณะที่วงล้อตั้งครรภ์ที่ทำจากกระดาษสามารถแตกต่างจากกันโดย 7 วันและมักจะไม่ถูกต้องนักสำหรับปีอธิกสุรทิน [39]

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะใช้กฏ Naegele's rule กันมาก(กฏนี้มักจะใช้กับผู้ที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิด) ซึ่งได้รับการพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 19. การคำนวณวันครบกำหนดคาดมาจากวันแรกของรอบระยะเวลาที่ผ่านมาปกติประจำเดือน (LMP ย่อมากจาก Last menstrual period[ช่วงที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย] หรือ LNMP ย่อมาจาก Last normal menstrual period[ช่วงที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายปกติ]) โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยที่รู้กันโดยอาจจะคลาดเคลื่อน เช่น ความสั้นยาวของรอบของประจำเดือน การตั้งครรภ์ปกติโดยมากจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ ตามวิธีการ LNMP-based method เช่น สมมติว่าผู้หญิงมีความยาวรอบประจำเดือนตามที่คาดการณ์ไว้ 28 วันและการรตั้งครรภ์จะอยู่ในวันที่ 14 ของรอบนั้น

การวัดจากการนับวันที่ไข่ตกนั้น (ovulation) การเกิดโดยเฉลี่ยจะประเมินให้เป็น 268 วัน (38 สัปดาห์กับอีก 2 วัน), มีค่าสัมประสิทธิ์ (coefficient of variation) ของการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 3.7%.[40]

ความแม่นยำของวันที่ในการตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญมาก, เพราะมันจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณผลของการทดสอบการคลอดต่าง ๆ (prenatal tests), (ตัวอย่างคือผล triple test ซึ่งเป็นการตรวจเลือดสตรีตั้งครรภ์เพื่อตรวจกรองภาวะทารกผิดปกติ) ซึ่งมีผล (induce) กับการที่ต้องตัดสินใจในกระบวนการคลอด ถ้าทารกเลยกำหนดเวลาตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ถ้าเปรียบเทียบประจำเดือนครั้งสุดท้ายและการอัลตร้าซาวด์ผลของการครบกำหนดช้าเร็วของอายุครรภ์ต่างกัน นั่นอาจหมายความว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้าผิดปกติจึงต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

ขั้นตอนข้อกำหนดทางกฎหมายของการตั้งครรภ์กำหนดได้ว่าหากมีการเริ่มต้นตั้งแต่ทารกเจริญเติบโตในครรภ์(fetal viability) ซึ่งมีความแตกต่างกันทั่วโลก บางครั้งก็รวมไปถึงน้ำหนักและทั้งอายุครรภ์.[41] นอร์เวย์เริ่มที่ครรภ์ 16 สัปดาห์,อเมริกาและออสเตรเลียเริ่มที่ 20 สัปดาห์,อังกฤษเริ่มที่ครรภ์ 24 สัปดาห์และอิตาลีกับสเปนเริ่มที่ 26 สัปดาห์.[41][42][43]

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกที่อายุครรภ์เกินกำหนด

[แก้]

การตั้งครรภ์ที่ถือว่า "ครบกำหนด" หมายถึงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์จึงจะถือว่าสมบูรณ์ (ซึ่งจะถือว่าอยู่ในช่วงจากสัปดาห์ที่ 37 ไปสัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์), แต่น้อยกว่า 42 สัปดาห์ของอายุครรภ์ (การเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 42 ไปยังสัปดาห์ที่ 43 ของการตั้งครรภ์ หรือระหว่าง 259 ถึง 294 วันนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย) วิทยาลัยสูตินารีแพทย์ในสหรัฐอเมริกา (American College of Obstetricians and Gynecologists) ได้แนะนำช่วงระยะของการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น[44]

  • ระยะแรก (Early Term): ช่วงระหว่าง 37 สัปดาห์ 0 วันและ 38 สัปดาห์ 6 วันของอายุครรภ์ (gestational age)
  • ระยะครบกำหนด (Full Term): ช่วงระหว่าง 39 สัปดาห์ 0 วันและ 40 สัปดาห์ 6 วัน ของอายุครรภ์
  • ระยะตอนปลาย (Late Term): ช่วงระหว่าง 41 สัปดาห์ 0 วันและ 41 สัปดาห์ 6 วันของอายุครรภ์

เหตุการณ์ที่จะพิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด (preterm) ที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ (359 วัน) และเหตุการณ์ที่จะพิจารณาให้คลอดเมื่ออายุครรภ์เกินกำหนด (postterm) ก็คือ เมื่ออายุครรภ์เกินจาก 42 สัปดาห์ (294 วัน)[44][45] เมื่อการมีตั้งครรภ์เกินกว่า 42 สัปดาห์ (294 วัน) มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น.[46][47] ดังนั้นการตั้งครรภ์ที่ไม่ซับซ้อน, สูตินารีแพทย์มักจะกำหนดเวลาให้คลอด (induce labour) ในช่วงสัปดาห์ที่ 41 ถึง 42[48][49]

การคลอดก่อน 39 สัปดาห์โดยการผ่าตัดนั้น (Caesarean section), แม้จะพิจารณาแล้วถือว่า "ครบกำหนด" ผลของมันก็คือการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตของทารกก่อนที่ทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ เมื่อไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์จริง ๆ[50] เพราะว่านี่จะเป็นปัจจัยที่รวมไปถึงจะทำให้ปอดของทารกทำงานไม่เต็มที่, มีการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทารกยังไม่แข็งแรง, ปัญหาในการให้อาหารเนื่องจากสมองทารกพัฒนาการช้า, และโรคดีซ่าน (jaundice) ที่ทำให้เด็กตัวเหลือง ตาเหลืองเนื่องจากตับยังไม่สามารถพัฒนาหรือทำงานได้อย่างเต็มที่ บางโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยหนัก (neonatal intensive care unit) ที่เป็นทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญ หญิงตั้งครรภ์เมื่อถึงเวลาที่ครบกำหนดคลอดแล้วเพื่อความสะดวกและที่จะลดขั้นตอนเหตุผลต่าง ๆ ที่ไม่ได้มาจากแพทย์.[51] ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดมาจากการผ่าคลอดซึ่งจะพบได้บ่อยในอัตราการเกิด

เมื่อไม่นานมานี้วงการการแพทย์มีงานวิจัยที่ให้ความสำคัญกับคำศัพท์เฉพาะในการคลอดก่อนกำหนด (preterm) และ การคลอดอายุครรภ์เกิดกำหนด (postterm) ทารกยังโตไม่เต็มที่ (premature) และ ทารกคลอดเกินกำหนด (postmature). การคลอดก่อนกำหนดและการคลอดเมื่ออายุครรภ์เกิดกำหนดมีความชัดเจนดังที่กล่าวไว้ด้านบน, ในภาวะที่ทารกยังโตไม่เต็มที่และทารกที่คลอดก่อนกำหนดแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ความสัมพันธ์อย่างมากกับขนาดทารกและขั้นตอนการเจริญเติบโตในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์[52][53]

การคลอดบุตร

[แก้]

การคลอดบุตรคือ กระบวนการที่ทารกกำลังจะถือกำเนิดขึ้น

ผู้หญิงเมื่อพิจารณาว่าจะคลอดเมื่อเธอรู้สึกได้ว่ามดลูกได้บีบตัว ซึ่งอาการนี้จะมาพร้อมกับปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง (ปากมดลูกเปิด) – แรกเริ่มปากมดลูกบางลงและเปิดขยายออก ขณะที่คลอดบุตรถือเป็นประสบการณ์อย่างที่รู้กันดีว่าเป็นความเจ็บปวด แต่หญิงตั้งครรภ์บางคนก็มีรายงานว่าไม่เจ็บปวด ในขณะที่บางคนก็พยายามจะช่วยหาทาเร่งเพื่อจะได้คลอดเร็วขึ้นและลดความรู้สึกตื่นเต้น การเกิดส่วนใหญ่จะเกิดจากการคลอดธรรมชาติที่ทารกออกมาจากปากมดลูก แต่บางครั้งในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนและหญิงตั้งครรภ์เกิดความทรมานจนทำให้เกิดการผ่าตัดคลอด (cesarean section)

ในช่วงเวลาทันทีหลังจากคลอด, ทั้งแม่ละลูกฮอร์โมนมีความเกี่ยวพันกัน แม่หลั่งสารฮอร์โมน (oxytocin เป็นฮอร์โมนออกฤทธิ์ที่มดลูกซึ่งช่วยให้มดลูกหดตัวและกระตุ้นการเกิดน้ำนม), ฮอร์โมนนี้ก็ยังจะถูกสร้างอยู่เรื่อยๆ เมื่ออยู่ในระหว่างให้นมบุตร (breastfeeding) จากผลการศึกษาว่าการสัมผัสกันทางผิวหนังระหว่างแม่และลูกน้อยแรกเกิดของเธอทันทีนั้นจะเกิดประโยชน์กับทั้งแม่และลูกน้อย การตรวจสอบจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) การกอดหรือการสัมผัสจากมารดาหลังคลอดจะช่วยลดอาการที่ทารกแรกเกิดร้องไห้ได้, จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแม่และทารกให้ดีขึ้น และช่วยแม่ให้นมลูกได้สำเร็จ พวกเค้าแนะนำเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด (neonates) ว่าควรจะอนุญาตให้แม่อยู่กับลูกครั้งแรกสองชั่วโมงหลังจากคลอดเพื่อให้เกิดความผูกพัน ในช่วงเวลานี้ทั้งแม่และทารกน้อยมีแนวโน้มที่จะช่วยเพิ่มความพร้อมในช่วงเวลาต่อจากนี้ไปของทารก[54]

ช่วงเวลาหลังคลอด

[แก้]

ช่วงเวลาหลังคลอดเกิดขึ้นทันทีหลังจากทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาและขยายเวลาต่ออีกประมาณหกสัปดาห์ ช่วงเวลานี้ร่างกายของแม่จะเริ่มกลับไปเหมือนกับช่วงก่อนคลอดรวมไปถึงฮอร์โมนและการเปลี่ยนแปลงขนาดของมดลูกอีกด้วย

การวินิจฉัย

[แก้]

การเริ่มต้นตั้งครรภ์จะทราบได้โดยการตรวจพบจากอาการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับอาการของหญิงตั้งครรภ์เองหรือโดยใช้เครื่องทดสอบทางการแพทย์ ประมาณการได้ว่าผู้หญิง 1 ใน 475 อยู่ที่ 20 สัปดาห์ และผู้หญิง 1 ใน 2,500 คนจะคลอด, หญิงเหล่านั้นปฏิเสธที่จะยอมรับว่าพวกเขากำลังตั้งครรภ์ซึ่งเรียกว่า การปฏิเสธของการตั้งครรภ์ (denial of pregnancy)[55] มีหญิงบางคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์แต่ผู้หญิงเหล่านั้นมั่นใจว่ามีการตั้งครรภ์เนื่องจากมีบางอย่างเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ภาวะนี้เรียกได้ว่าการตั้งท้องเที่ยม (pseudocyesis)[56]

สัญญาณทางกายภาพ

[แก้]
เส้นสีดำบริเวณท้องล่าง เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ประมาณในสัปดาห์ที่ 22

หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์จะรู้ถึงจำนวนอาการที่เกิดขึ้นที่บ่งบอกเป็นสัญญาณว่าได้เกิดการตั้งครรภ์แล้ว อาการเหล่านี้รวมไปถึงอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าที่มากขึ้นกว่าปกติ, ความอยากอาหารบางชนิดที่ไม่ใช่สิ่งที่เคยกินและปัสสวะบ่อยขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน

จำนวนของสัญญาณทางการแพทย์ (medical signs) เบื้องต้นที่บอกได้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ [57][58] อาการเหล่านี้มักจะปรากฏภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากตั้งครรภ์ แม้ว่าจะสัญญาณเหล่านี้จะไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็เป็นที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาการเหล่านี้เป็นการวินิจฉัยด้วยตัวเองซึ่งนำมารวมกันกับการตั้งข้อสัญนิษฐานในการวิฉิจฉัยตั้งครรภ์ สัญญาณเหล่านี้จะรวมไปถึงการตรวจเจอฮอร์โมน hCG ในเลือดและปัสสาวะ (hCG ย่อมาจาก human chorionic gonadotropin) ประจำดือนขาด เลือดออกในขณะที่มีการฝังตัวอ่อนในมดลูกในช่วงสัปดาห์ที่สามหรือสี่หลังจากประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย, อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นกว่าปกตินานเกิดกว่าสองสัปดาห์หลังจากมีการตกไข่ เกิดอาการ Chadwick's sign คือ ปากมดลูก, บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกและช่องคลอดมีสีคล้ำลง, Goodell's sign คือ อาการอ่อนตัวของบริเวณช่องคลอดปากมดลูก, Hegar's sign คือสัญญาณจากการอ่อนตัวของ uterus isthmus และมีสีคล้ำลงของแนวกลางช่องท้องด้านล่าง-มีเส้นสีคล้ำบริเวณท้องล่างเกิดขึ้น (Linea nigra), (เส้นสีคล้ำที่เกิดบริเวณท้อง, รอยดำเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ช่วงเวลาที่เกิดมักจะเกิดในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์).[57][58] การเจ็บเต้านม เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรกและพบมากในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อย.[59] และหลังจากนั้นลานนมจะสีคล้ำลงอันเนื่องมากจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน.[60] อาการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นตลอดการตั้งครรภ์

แม้ว่าจะมีสัญญาณเหล่านี้ทั้งหมด ผู้หญิงบางคนอาจไม่ได้ตระหนักว่าพวกเธอกำลังตั้งครรภ์เพราะเหมือนกับว่าพวกเธออยู่ห่างไกลพร้อมในการตั้งครรภ์ ในบางกรณี, มีจำนวนน้อยที่ไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ของตัวเองจนกระทั่งถึงเวลาคลอด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เกิดจากหลายปัจจัย รวมไปถึงผู้ที่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ (มักพบในวัยรุ่น), ยาบางอย่าง (ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์เด็ก), และในผู้หญิงอ้วนที่ไม่สนใจการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวเอง และในคนอื่น ๆ ที่ปฏิเสธการตั้งครรภ์ของตัวเอง

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

[แก้]

การตรวจสอบการตั้งครรภ์สามารถทำได้โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าการทดสอบการตั้งครรภ์ต่าง ๆ[61] สามารถตรวจพบฮอร์โมนที่เกิดจากรกที่เกิดขึ้นใหม่ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทราบได้จากผลการตรวจเลือดและการตรวจปัสสวะสามารถตรวจพบใน 12 วันหลังจากการปฏิสนธิ.[62] ผลการตรวจการตั้งครรภ์จากเลือดตรวจสอบได้ละเอียดกว่าการตรวจจากผลปัสสวะ (ให้ผลน้อยในกรณีผลตรวจเชิงลบที่เป็นเท็จ).[63] สามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้จากที่บ้านซึ่งเป็นการตรวจปัสสวะ โดยปกติแล้วจะสามารถตรวจพบได้ 12 ถึง 15 วันหลังจากเกิดการปฏิสนธิ การตรวจเลือดสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่วันที่ตัวเอ็มบริโอได้เกิดการตั้งครรภ์แล้ว การทดสอบห่าง 48 ชั่วโมเป็นประโยชน์ในเรื่องการตั้งครรภ์ การตรวจสอบระดับของฮอร์โมนที่เรียกว่า ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะช่วยตรวจสอบได้ว่าทารกในครรภ์มีโอกาสรอดหรือไม่ในผู้ที่เกิดภาวะแท้งคุกคาม (มีเลือดออกในครรภ์).[64]

อัลตร้าซาวน์

[แก้]

การตรวจอัลตร้าซาวน์ในทางสูตินารีแพทย์ สามารถช่วยในตรวจพบโรคที่เป็นแต่กำเนิดได้ในระยะแรก เพื่อทราบประมาณวันที่ครบกำหนดคลอดรวมไปถึงการตรวจสอบพบถุงการตั้งครรภ์หลายถุง (multiple pregnancy)[65] สามารถตรวจสอบการประมาณการวันครบกำหนดคลอดได้เล็กน้อยของทารก แต่ที่ถูกต้องกว่าวิธีนี้ก็คือขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย.[66] ในผู้ที่มีความเสียงต่ำก็ไม่มีความชัดเจนว่า อัลตราซาวนด์เป็นผลทำให้เกิดการคลอดบุตรก่อน 24 สัปดาห์[67] การถ่ายภาพอัลตราซาวนด์เป็นประจำหลังจาก 24 สัปดาห์การตั้งครรภ์ไม่ได้ถูกพิสูจน์ว่ามีผลทั้งในมารดาหรือทารกที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอด.[68] ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่แนะนำ.[67] ภาพอัลตร้างซาวน์ 3 มิติ ให้รายละเอียดที่ทันสมัยมากขึ้นสำหรับการวินิจฉัยก่อนคลอดกว่าเก่าที่เป็นเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ 2 มิติ.[69] ในขณะที่การอัลตร้าซาวน์ 3 มิติเป็นที่นิยมกับผู้ปกครองที่ต้องการถ่ายภาพก่อนคลอดเป็นของที่ระลึก,[70] ทั้งอัลตร้าซาวน์ 2 มิติ และ 3 มิติ ถูกรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ไม่ใช่ทางการแพทย์[71] แต่ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่าการอัลตราซาวนด์ที่จะมีผลกระทบทางด้านใด ๆ การแพทย์[72] ภาพต่อไปนี้เป็นภาพอัลตราซาวนด์ 3 มิติถูกนำมาดูว่าในแต่ละขั้นตอนของการตั้งครรภ์เป็นอย่างไร

การจัดการ

[แก้]

การดูแลตัวเองก่อนคลอด

[แก้]

ดูแลรักษาทางการแพทย์ก่อนคลอดคือ การดูแลโดยแพทย์และพยาบาลเพื่อให้คำแนะนำสำหรับผู้หญิงในช่วงเวลาทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ จุดมุ่งหมายของการดูแลก่อนคลอดที่ดีก็คือ สามารถระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในช่วงต้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกับหญิงตั้งครรภ์ถ้าเป็นไปได้ (การแนะนำก็จะเป็นเรื่องสารอาหารที่จะนำไปบำรุงร่างกาย, การออกกำลังกาย รวมไปถึงการรับประทานวิตามิน ฯลฯ) และในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ที่เหมาะสมนั้นจะต้องมาจากผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาล ฯลฯ

โภชนาการ

[แก้]

ความสมดุลของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญของการตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดี. การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ก็คือมีการรับประทานที่สมดุลกันทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน มีการรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายของผักและผลไม้มักจะช่วยให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดี ผู้ที่ได้รับอาหารจนเกิดผลกระทบเป็นปัญหาสุขภาพผลจากความต้องการทางศาสนาหรือความเชื่อทางจริยธรรมมีความจำเป็นที่จะต้องปรึกษามืออาชีพหรือนักโภชนาการด้านสุขภาพสำหรับที่จะให้คำแนะนำที่จำเป็นเฉพาะด้านสำหรับเรื่องการตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิค (หรือเรียกว่าโฟเลตหรือวิตามินบี 9) ในปริมาณที่เพียงพอเพื่อจะช่วยลดความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่จะบกพร่องท่อประสาท ตัวอย่างเช่น spina bifida ซึ่งเป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง, ข้อบกพร่องร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นตอนทารกเกิด (birth defect)  Neural tube เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหลอดยาวไปตามแนวสันหลังในระยะเอ็มบริโอส่วนหน้าเจริญไปเป็นสมอง ส่วนหลังเจริญไปเป็นไขสันหลัง ซึ่งส่วนนี้จะถูกพัฒนา 28 วันแรกของการการตั้งครรภ์ สิ่งที่อธิบายมาทั้งหมดนี้เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นในการได้รับกรดโฟลิคในปริมาณที่เพียงพอ[73][74] โฟเลต (มาจาก folia, ใบไม้) ซึ่งมีมากในผักโขม (ทั้งสด, แช่เข็งหรือแบบบรรจุกระป๋อง) และสามารถพบได้ในผักใบเขียว เช่น สลัด, หัวผักกาด, บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง และในผลไม้เช่น มะนาวและแตงโม ถั่วชิกพี (chickpeas จะอยู่ในรูปของครีมหรือ falafel) และไข่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี (แป้งก๋วยเตี๋ยว) จะเสริมด้วยกรดโฟลิค[75]

DHA mega-3 เป็นกรดไขมันที่สำคัญของโครงสร้างในสมองและจอประสาทตา และสามารถพบได้ตามธรรมชาติในนมแม่ DHA เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ควรได้รับปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ และพยาบาลก็ให้การดูแลโภชนาการที่ดีของหญิงตั้งครรภ์และสุขภาพของทารกในครรภ์ เด็กทารกที่กำลังพัฒนาไม่สามารถผลิต DHAได้ดีจึงมีจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่สำคัญนี้จากแม่ผ่านทางรกในระหว่างตั้งครรภ์และในนมแม่หลังคลอด[76]

แร่ธาตุสารอาหารที่หลากหลายมีความสำคัญมากต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคของโลกที่ยังมีโภชนาการที่ไม่ดีนัก[77] ในส่วนพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศโซนยุโรปตะวันตกและในสหรัฐอเมริกา สารอาหารบางอย่างเช่น วิตามินดีและแคลเซียม ที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูกอาจต้องใช้จากอาหารเสริม[78][79][80]

แบคทีเรียที่เป็นอันตรายหรือพยาธิอาจปนเปื้อนอาหาร รวมถึง ลิสทีเรีย (Listeria ที่เป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย) และ โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasma gondii ซึ่งเป็นปาราสิตชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดในแมวและสัตว์เลือดอุ่นอื่น ๆ เชื้อนี้จะเจริญในผนังลำไส้ของลำไส้เล็ก) ควรระมัดระวังในการล้างผลไม้และผักให้สะอาดที่สุดเพื่อที่จะให้เชื้อโรคเหล่านี้หมดออกไปจากการปนเปื้อนในอาหารและควรมีความรอบคอบในการปรุงอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ที่เหลือหรือเนื้อสัตว์แปรรูป. ชีสอ่อนอาจมีลิสทีเรีย ถ้าในนมดิบอาจจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น. อุจจาระแมวมีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งของโรคท็อกโซพลาสโมชิสถ้ามีการสัมผัสกับอุจจาระแล้วล้างมือไม่สะอาดจะมีความเสี่ยงกับกลุ่มผู้หญิงที่กำลังตั้งท้อง เพราะหากเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายของคุณแม่แล้ว จะส่งต่อไปยังลูกน้อยในท้องผ่านทางรกได้ อาจเป็นสาเหตุทำให้แท้งลูก หรืออาจทำให้ลูกที่คลอดออกมาเกิดความผิดปกติทางร่างกายได้ เช่น หูหนวก ตาบอด มีอาการทางระบบประสาท ปัญญาอ่อน ฯลฯ หญิงตั้งครรภ์นี้ยังมีแนวโน้มที่จะได้รับเชื้อ Salmonella ซึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ ติดเชื้อจากไข่และสัตว์ปีก ซึ่งควรจะปรุงอาหารให้สุก การสร้างสุขอนามัยที่ดีในห้องครัวสามารถลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้[81]

การเพิ่มของน้ำหนัก

[แก้]

การเพิ่มขึ้นของปริมาณของน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพในระหว่างตั้งครรภ์มีความแตกต่างกันไป.[82] น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เป็นเพียงบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวของทารกและรกเพิ่มขึ้น และรวมถึงของเหลวพิเศษสำหรับการไหลเวียนและน้ำหนักที่จำเป็นในการให้สารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์[83] น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจำเป็นที่สุดเกิดขึ้นในภายหลังที่มีการตั้งครรภ์[83]

สถาบันทางการแพทย์ แนะนำว่าโดยภาพรวมของน้ำหนักในระหว่างการตั้งครรภ์ของผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ (ดัชนีมวลกายที่อยู่ระหว่าง 18.5–24.9) น้ำหนักควรจะมีการขึ้น 11.3–15.9 กิโลกรัม (25–35 ปอนด์) สำหรับการตั้งครรภ์เดี่ยว.[84] ในหญิงตั้งครรภ์ที่น้ำหนักน้อย (คือค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5) น้ำหนักควรจะเพิ่ม 12.7–18 กิโลกรัม (28–40 ปอนด์), ในขณะที่ผู้มีน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25–29.9) แนะนำว่าน้ำหนักควรจะขึ้น 6.8–11.3 กิโลกรัม (15–25 ปอนด์) และสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลกาย>30) น้ำหนักควรจะเพิ่มขึ้น 5–9 กิโลกรัม (11–20 ปอนด์).[85]

ในระหว่างการตั้งครรภ์ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไปและน้อยเกินไปมีผลกระทบต่อทั้งตัวมารดาเองและทารกในครรภ์[83] การเข้าไปดูแลให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในเรื่องการเพิ่มของน้ำหนักตัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวไม่ถึงเกณฑ์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนนัก [83] การมีน้ำหนักเกินหรือมากเกินไปในการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนสำหรับแม่และทารกในครรภ์ รวมไปถึงการผ่าตัดคลอด, ความดันโลหิตสูงในระหว่าตั้งครรภ์ (gestational hypertension), ภาวะครรภ์เป็นพิษ (pre-eclampsia), ทารกมีขนาดโตกว่าปกติ (macrosomia) และการคลอดติดไหล่ (shoulder dystocia).[82] อีกทั้งลดน้ำหนักหลังตั้งครรภ์ได้ยาก.[82][86]

ประมาณ 50% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอังกฤษมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนก่อนการตั้งครรภ์.[86] มีการวิจัยแล้วพบว่าการลดน้ำหนักจากการควบคุมอาหารเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการตั้งครรภ์[86] การตรวจสอบไม่พบหลักฐานของอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย[86]

การใช้ยา

[แก้]

หญิงตั้งครรภ์ที่มีการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีผลชั่วคราวหรือถาวรต่อในทารกในครรภ์ ดังนั้นแพทย์จำนวนมากไม่ต้องการสั่งยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะกังวลที่จะส่งผลเกี่ยวกับความผิดปกติของทารก (teratogenicity) ในระหว่างการใช้ยา

มีการแบ่งประเภทของยาออกเป็น A,B,C,D และ X ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) มีระบบการให้คะแนนเพื่อที่จะให้คำแนะนำรักษา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ได้รับจากการรักษาของตัวมารดาเองและความเสี่ยงที่เกิดต่อทารกในครรภ์ ยานั้นหมายรวมไปถึงวิตามินต่าง ๆ (multivitamins) ได้ทำการศึกษาในมนุษย์มาแล้วว่ายาในกลุ่ม A ว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดต่อทารกในครรภ์ ส่วนยาอื่น ๆ เช่น ยาตาลิโดไมด์ (thalidomide) ได้ศึกษามาแล้วว่ามีผลต่อความพิการของทารกซึ่งจัดยากลุ่มนี้ในกลุ่ม X.[87]

การใช้สารเสพติด

[แก้]

การใช้ยาเสพติดเพื่อความบันเทิงใจ (recreational drugs) ในช่วงการตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้

  • การได้รับเอทานอล (Ethanol คือ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากธรรมชาติผ่านวิธีการหมัก) ในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกเกิดภาวะทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์ (fetal alcohol syndrome) และความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่มีผลกระทบมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (fetal alcohol spectrum disorder) จากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าการดื่มระดับปานกลางในระหว่างการตั้งครรภ์อาจจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดทารกในครรภ์ แต่ไม่สามารถบอกเป็นจำนวนแน่นอนว่าการดื่มเท่าไหร่ในระหว่างตั้งครรภ์จึงจะรับประกันได้ว่าปลอดภัย[88]
  • การสูบบุหรีและการตั้งครรภ์ เมื่อมีการตั้งครรภ์แล้วสูบบุหรี่จะทำให้เกิดปัญหาหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องระบบประสาทและทางกายภาพ.[89] การสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้มีความเสี่ยงที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด (premature rupture of membranes), รกลอกตัวออกก่อนกำหนด (placental abruption) และ ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa)[90] นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงสูงกว่า 30% ที่ทารกจะคลอดก่อนกำหนด[91]
  • การใช้สารโคเคนในระหว่างตั้งครรภ์ มีความสำพันธ์กับ, การคลอดก่อนกำหนด, การผิดปกติของทารก และ โรคสมาธิสั้น.
  • การใช้ยาบ้าในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิด การคลอดก่อนกำหนด และ ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด[92] มีการศึกษาผลการตรวจสอบอื่น ๆ ได้เปิดเผยว่ามีผลในเด็กแรกเกิดในช่วงระยะสั้นเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมของทารกที่แม่มีการใช้ยาบ้านนั้นมีอาการสมาธิสั้นและการเจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน[93] นอกจากนี้มีการศึกษาว่าแม่ที่ได้รับยาบ้าก่อนคลอดบุตรเชื่อได้ว่ามีผลระยะยาวในแง่ของการพัฒนาระบบของสมองของเด็ก ซึ่งกินเวลาไปหลายปี[92]
  • การใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องอาจจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อเด็กต่อไปในการใช้ชีวิต

การสัมผัสกับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม

[แก้]

ความเสี่ยงของมดลูกเมื่อสัมผัสกับการสารผิดจากสิ่งแวดในขณะตั้งครรภ์ มีความสามารถพอที่จำทำให้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการก่อนคลอดของตัวเอ็มบริโอหรือทารก รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ผลกระทบนี้อาจเกิดมาจากสารพิษ สารและมลพิษ รวมไปถึงความผิดปกติแต่กำเนิด รวมไปถึง ผลกระทบของมลพิษไปยังสมอง (neuroplastic effects of pollution) ส่งผลในการพัฒนาการความผิดปกติของระบบประสาทของบุตรหลานต่อไปในการใช้ชีวิต. นี่เป็นผลกระทบที่รุนแรงโดยเฉพาะในเวลาตั้งครรภ์ ซึ่งก็หมายรวมถึง สารพิษที่มาจากปรอทและสารพิษที่มาจากตะกั่ว เพื่อลดการสำผัสกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพยาบาลผดุงครรภ์แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำว่าควรมีการตรวจสอบสีที่ใช้ทาบ้านที่สร้างก่อนปีคริสต์ศักราช 1978 ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากออร์แกนิค หลึกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ระบุว่าเป็น"สารพิษ" หรือสินค้าใด ๆ มีมีคำเตือนการใช้อยู่บนฉลาก.[94]

กิจกรรมทางเพศ

[แก้]

ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ยังสามารถมีกิจกรรมทางเพศได้ในตลอดการตั้งครรภ์.[95] การวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าระหว่างการตั้งครรภ์มีทั้ง หญิงตั้งครรภ์ที่มีความต้องการทางเพศและหญิงตั้งครรภ์ความสัมพันธ์ทางเพศมีความถี่ที่ลดลง.[96][97] เนื้อหาของในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการทางเพศที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองและลดลงในระหว่างไตรมาสที่ 3.[98][99] ในบางคนจะมีความรู้สึกถูกดึงดูดกับหญิงที่ตั้งครรภ์ (ความรู้สึกทางเพศเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์, รู้จักกันดีใน maiesiophilia)

เพศสัมพันธ์ในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นพฤติกรรมความเสี่ยงต่ำ ยกเว้นต่อเมื่อแพทย์หรือผู้ให้บริการการดูแลสุขภาพแนะนำว่าให้ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยง แต่ในสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีที่ไม่ได้ป่วยหรืออ่อนแอ ก็อาจจะไม่ปลอดภัยเมื่อใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยง ให้คู่รักมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่รุนแรงกับบริเวณมดลูก[100]

การออกกำลังกาย

[แก้]

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกปกติในระหว่างการตั้งครรภ์จะช่วยพัฒนา (หรือรักษา) สมรรถภาพทางร่างกาย อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีการวิจัยกับหญิงตั้งครรภ์ที่ยากจนสามารถที่จะสรุปได้ว่าการออกกำลังกายมีความเสี่ยงและประโยชน์ต่อทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารก[101]

คลินิคฝึกหัดของสูติศาตร์ของสถาบันในประเทศแคนนาดา ได้แนะนำว่า "ผู้หญิงทุกคนไม่มีข้อห้ามการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ทั้งควรได้รับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการออกกำลังกายแอโรบิกและความแข็งแรง เป็นสิ่งที่ดีต่อการใช้ชีวิตประจำวันและสุขภาพที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์ของพวกเธอ" แม้ว่าข้อกำหนดของระดับของการออกกำลังกายที่ปลอดภัยยังไม่ถูกตั้งขึ้น, ผู้หญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำก่อนการตั้งครรภ์และผู้เป็นผู้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน การตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีควรจะสามารถมีส่วนร่วมในโปรแกรมการออกกำลังกายความเข้มสูง เช่นการวิ่งเบา ๆ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เวลาน้อยกว่า 45 นาที จะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ถ้าพวกเขามีความใส่ใจที่จะดูความเป็นไปได้ว่าสามารถที่จะเพิ่มแรงในการออกกำลังกายและมีความระมัดระวังที่จะไม่กลายเป็นทำให้ตื่นเต้นมากเกินไป ในกรณีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์หรือการคลอดบุตร มีการแนะนำในการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีหากไม่ได้ทุกวันของสัปดาห์ โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์ควรที่จะมีส่วนร่วมในความหลากหลายของกิจกรรมสันทนาการที่มีปลอดภัย ลดกีฬาที่มีความเสี่ยงสูง เช่นการขี่ม้า หรือเล่นสกีหรือกีฬาที่ความเสี่ยงของการบาดเจ็บในช่องท้อง เช่น ฟุตบอลหรือฮ็อกกี้[102]

วิทยาลัยสูตินรีแพทย์ของอเมริการายงานว่าในอดีตที่ผ่านมา, ความกังวลหลักของการออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์ การจดจ่ออยู่กับทารกในครรภ์และสนใจเกี่ยวกับประโยชน์สิ่งที่จะเกิดกับทารก การพัฒนาศักยภาพของของทารก ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทารก อย่างไรก็ตามพวกเค้าก็ยังเขียนกำกับว่าสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายตอนตั้งครรภ์ควรที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน, มีโอกาสน้อยที่จะมีความเสี่ยงสูงต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามมีหลาย ๆ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมให้หญิงตั้งครรภ์ควรติดต่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพโดยตรงเพื่อจะดำเนินการออกกำลังกายตามโปรแกรมที่ได้ถูกจัดไว้ รวมไปถึงข้อห้ามให้คนที่ตั้งครรภ์ห้ามออกกำลังกายเมื่อพบว่าพวกเธอมีอาการดังต่อไปนี้ คือ มีเลือดออกทางช่องคลอด, ผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก ก่อนที่จะออกแรง, วิงเวียนปวดศีรษะเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้ออ่อนแอ, ภาวะที่จะคลอดก่อนกำหนด,ทารกมีการเคลื่อนไหวที่ลดลง การรั่วของถุงน้ำคร่ำ และมีอาการปวดน่องและบวม (เข้าข่าย อักเสบของหลอดเลือดดำ).[102]

การนอน

[แก้]

จะชี้ให้เห็นว่าการทำงานกะ และการสัมผัสกับแสงจ้าในเวลากลางคืนเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างน้อยที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาทางสภาวะจิตใจและพฤติกรรมของทารกในแรกเกิด.[103] กลไกที่จะนำเสนอก็คือ ระบบเซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม (circadian rhythm เป็นส่วนที่ควบคุมการนอนหลับ,การหลั่งฮอร์โมน,การเผาผลาญอาหาร,อุณหภูมิของร่างกาย ฯลฯ) ของมารดาและพัฒนาการต่าง ๆ ของทารก[103]

อาการและสิ่งที่รู้สึกไม่สบายกายในช่วงตั้งครรภ์

[แก้]
ฝ้า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเม็ดสีในระหว่างตั้งครรภ์

อาการและสิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่สบายกายในช่วงตั้งครรภ์ คือ สิ่งที่แสดงออกมาในแง่ของสุขภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเวลาตอนตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ได้รบกวนกิจกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดภัยอะไรสำคัญของสุขภาพทั้งต่อมารดาและทารก ในให้ผลทางตรงกันข้ามกับคำว่า ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ยังคงไม่สามารถแยกได้ชัดเจนระหว่างอาการที่ไม่สบายตัวเมื่อเทียบกับอาการแทรกซ้อน และบางทีในแง่ความรู้สึกไม่สบายกับอาการแทรกซ้อนก็มาจากพื้นฐานเดียวกันแต่ก็จะดูถึงความรุนแรง. ตัวอย่างเช่น อาการคลื่นไส้อาเจียนอาจจะทำให้รู้สึกไม่สบาย (แพ้ท้อง) แต่ถ้ารุนแรงและก่อให้เกิดการอาเจียน จนทำให้น้ำในร่างกายไม่สมดุลแล้ว (water-electrolyte imbalance) นั่นจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ (hyperemesis gravidarum หมายถึง ผู้ตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรงน้ำหนักลดมากกว่า ร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ ขาดสมดุลกรดด่างและเกลือแร่จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล).

อาการที่พบบ่อยในช่วงเวลาตั้งครรภ์ คือ

ภาวะแทรกซ้อน

[แก้]

ในแต่ละปีตามที่องค์การอนามัยโลก ได้สำรวจว่ามีการป่วยที่มีผลมาจากตั้งครรภ์ (บางครั้งเป็นอย่างถาวร) มากกว่า 20 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้ "มีชีวิตของผู้หญิง 8 ล้านคนมีอาการเจ็บป่วยและมีผู้หญิงมากกว่า 500,000 คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตในปี 1995 เป็นผลมาจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร."[106]

ตัวอย่างดังต่อไปนี้เป็นบางส่วนของภาวะแทรกซ้อนการตั้งครรภ์:

โรคแทรกซ้อน

[แก้]

นอกจากอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่สามารถขึ้นได้แล้ว, หญิงตั้งครรภ์อาจจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ นั่นคือโรคหรืออาการอื่น ๆ (ไม่ได้เกิดโดยตรงจากการตั้งครรภ์) ที่อาจกลายเป็นสิ่งร้ายแรงหรือมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์

  • โรคเบาหวานและการตั้งครรภ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเบาหวาน (ไม่ใช่จำกัดเฉพาะการเป็นเบาหวานในขณตั้งครรภ์) และการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในเด็กรวมถึงการคลอดก่อนกำหนด, ทารกเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของทารก(ทำให้ทารกตัวโตเกินไป) โรคอ้วนของทารกในครรภ์ (macrosomia) ภาวะที่น้ำคร่ำมากเกินไป (polyhydramnios) และมีการเกิดข้อบกพร่องในทารกแรกคลอด
  • โรค SLE และการตั้งครรภ์ (Systemic lupus erythematosus and pregnancy) เป็นตัวเพิ่มอัตราความเสี่ยงของการเสียชีวิตในมดลูกของตัวอ่อนในครรภ์ การแท้งธรรมชาติ (การคลอดก่อนกำหนด) เช่นเดียวกับโรคลูปัส (เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง)
  • โรคต่อมไทรอยด์ในขณะตั้งครรภ์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์และมารดาที่เป็น ผลกระทบที่เป็นอันตรายของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ยังสามารถขยายกินเวลาไปถึงช่วงหลังการตั้งครรภ์ และการส่งผลต่อการพัฒนาระบบสมองในชีวิตในวัยเด็ก การตั้งครรภ์ปกติก็มีอัตราฮอร์โมนไทรอยด์จะเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์อยู่แล้วซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์โดยที่ไม่มีใครสังเกตเห็นก่อนที่อาการจะเลวร้ายลงไป
  • เลือดแข็งตัวง่ายในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นแนวโน้มของหญิงตั้งครรภ์ที่จะพัฒนาจนไปเป็นการเกิดลิ่มเลือด (เลือดอุดตัด) การตั้งครรภ์เองเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเลือดแข็งตัวง่าย (การตั้งครรภ์-รวมไปถึงอาการเลือดแข็งตัวง่าย), เป็นกลไกการปรับตัวทางสรีรวิทยาเพื่อป้องกันช่วงภาวะหลังคลอดที่มีเลือดออก[109] อย่างไรก็ตาม, เมื่อรวมกับภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะลิ่มเลือดและเส้นเลือดอุดตัน[109]

ระบาดวิทยา

[แก้]

อัตราการตั้งครรภ์ของประชากรหญิง ขึ้นอยู่กับวัยแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทั้งเรื่องประเทศและภูมิภาค และมักจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่หลากหลาย เช่น วัฒนธรรมทางสังคมและศาสนาเป็นบรรทัดฐาน การเข้าถึงการคุมกำเนิด และการได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น อัตราการเจริญพันธุ์รวม (The total fertility rate :TFA) ในปี 2013 โดยเป็นที่คาดกันว่าจะเป็นที่สูงที่สุดอยู่ในประเทศไนเจอร์ (เด็กเกิดใหม่ 7.03 คน/ผู้หญิงหนึ่งคน) และที่น้อยที่สุดคือ ประเทศสิงค์โปร์ (เด็ก 0.79/ผู้หญิงหนึ่งคน)[110]

ในยุโรป วัยเจริญพันธุ์เฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทางตะวันตก ทางภาคเหนือและภาคใต้ของยุโรป, อายุของหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกจะอยู่ที่ 26-29 ปี, เพิ่มขึ้นจากปี 1970 ที่อยู่ระหว่างอายุ 23-25 ​​ปี ในจำนวนของประเทศในแถบยุโรป เช่น สเปน อายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่คลอดบุตรคนแรกที่ได้ตอนนี้ข้ามเกณฑ์มาเป็นอายุ 30 ปี

สิ่งนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในยุโรป, เอเชีย, ญีปุ่นและสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่าอายุเฉลี่ยของมารดาได้เพิ่มขึ้น และแพร่กระจายรวมไปถึงประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเช่น จีน, ตุรกี และอิหร่าน ในสหรัฐอเมริกาที่มีอายุการคลอดบุตรคนแรกคือ 25.4 ในปี 2010[111]

สังคมและวัฒนธรรม

[แก้]
รูปปั้น "วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ"

วัฒนธรรมส่วนใหญ่, หญิงตั้งครรภ์จะมีสถานะพิเศษในสังคมและได้รับการดูแลอย่างระมัดระวังอย่างยิ่ง.[112] ในเวลาเดียวกันที่พวกเธอมีความคาดหวังที่จะได้รับการปฏิบัติที่ดี เช่น มีการผลิตลูกชายและทายาท. ในสังคมแบบโบราณหลาย ๆ ที่, การตั้งครรภ์ก่อนมีการแต่งงาน จะมีความเจ็บปวดจากการคว่ำบาตรของแม่และ (ลูกนอกสมรส) เด็ก

สิ่งขยายความที่เด่นชัดในหญิงตั้งครรภ์ คือ มีความหมายในเชิงเป็นสัญลักษณ์ของความมหัศจรรย์ของความอุดมสมบูรณ์ เหมือนดั่งรูปปั้น วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ ซึ่งแสดงให้เห็นเกินจริงในลักษณะทางเพศของผู้หญิง (หน้าอกใหญ่และมีหน้าท้องและหัวหน่าวที่โดดเด่น) ได้รับการตีความว่าเป็นที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบรณ์ของพิธีกรรมในยุคยุโรป

โดยทั่วไปแล้ว การตั้งครรภ์จะมาพร้อมกับประเพณีขนบธรรมเนียมที่หลากหลายซึ่งมาจากการวิจัยจากหลาย ๆ ชาติ, รากฐานมากจากการแพทย์แผนโบราณหรือทางศาสนา. เบบี้ชาวเวอร์ (เป็นงานที่เขาจัดขึ้นให้แก่ว่าที่คุณแม่ ก่อนที่คุณแม่จะคลอด บรรดาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงผู้หญิงก้อจะมากินเลี้ยงกันแล้วเปิดของขวัญ) ก็เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ความทันสมัย

การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญในทางสังคมวิทยาของครอบครัว เด็กที่ถูกคาดหวังตั้งแต่แรกจะถูกกำหนดกฏเกณฑ์เป็นจำนวนมากจากบทบาททางสังคม ความสัมพันธ์ของพ่อแม่หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองบวกกับสภาพแวดล้อมมีผลกระทบโดยตรงต่อของเด็ก ๆ

จอตโต ดี บอนโดเน (Giotto di Bondone: สถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี ได้เขียนภาพวาดการเฉลิมฉลองการมาเยี่ยมเยียนของพระมารดาแห่งพระเยซู เรียกว่า Visitation), ประมาณปี 1305

ศิลปะ

[แก้]

เนื่องจากบทบาทที่สำคัญของแม่ของพระเจ้าในศาสนาคริสต์ การแสดงงานศิลปะทางตะวันตกมีประเพณีอันยาวนานของการสอดแทรกเรื่องราวของการตั้งครรภ์เอาไว้ด้วย[113]

การตั้งครรภ์ปกติและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานยังเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญในวรรณคดี. ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเรื่อง Hardy's Tess of the d'Urbervilles และ Goethe's Faust.

เป็นหมัน

[แก้]

เทคนิคทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยเป็นอีกทางเลือกให้สำหรับคู่รักมีความประสงค์ต้องการมีบุตร คนที่มีภาวะมีบุตรยาก การผสมเทียมและ การอุ้มบุญหรือการตั้งครรภ์แทน

การแท้ง

[แก้]

ทำแท้งคือการสิ้นสุดของตัวอ่อนทารกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรือผ่านวิธีการทางการแพทย์ มักจะเกิดในไตรมาสแรกมากกว่าไตรมาสที่สองและมักจะไม่เกิดในไตรมาสที่สาม[25] ไม่ใช่การคุมกำเนิดหรือการคุมกำเนิดล้มเหลวจากครอบครัวที่ยากจนหรือการถูกข่มขืนที่นำไปสู่การตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์ การทำแท้งที่ถูกต้องตามกฎหมายชี้ให้เห็นสังคมที่มีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งในระดับสากลและในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ในประเทศส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกทำแท้งในช่วงไตรมาสแรกไม่เป็นความผิดทางอาญา แต่บางประเทศอาจต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย[114] ในเยอรมันในปี 2009 มีน้อยกว่า 3% ของการทำแท้งที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

การคุ้มครองทางกฎหมาย

[แก้]

หลาย ๆ ประเทศมีกฎระเบียบของกฎหมายที่แตกต่างกันในการที่จะปกป้องผู้หญิงตั้งครรภ์และลูก ๆ ของเธอ ข้อตกลงคุ้มครองการคลอดบุตร เพื่อให้แน่ใจว่าหญิงตั้งครรภ์จะได้ยกเว้นจากการทำงานที่มีกะกลางคืนหรือจะต้องยกของหนัก การลาคลอด มักจะมีการออกค่าใช้จ่ายจากการทำงานในช่วงประมาณไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์และบางครั้งหลังคลอด กรณีที่เด่นชัด ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ (ได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนเป็นเวลา 8 เดือน) และสหรัฐอเมริกา (ไม่มีค่าใช้จ่ายที่ออกทั้งหมด แต่ยกเว้นในบางรัฐ). นอกจากนี้หลายประเทศมีกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติการตั้งครรภ์ (pregnancy discrimination)

ในปี 2014, ที่อเมริการในรัฐเคนตักกี ได้ผ่านกฎหมายที่ยอมให้อัยการเรียกเก็บเงินกับสตรีในกรณีคดีอาญาถ้าเธอนั้นเสพยาในขณะตั้งครรภ์ที่จะทำให้เกิดผลอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือเด็กแรกเกิดที่เป็นลูกของเธอ[115]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "What are some common signs of pregnancy?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 12 กรกฎาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2015.
  2. 2.0 2.1 The Johns Hopkins Manual of Gynecology and Obstetrics (4 ed.). Lippincott Williams & Wilkins. 2012. p. 438. ISBN 978-1-4511-4801-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  3. "What are some common complications of pregnancy?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 12 กรกฎาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Pregnancy: Condition Information". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 19 ธันวาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Abman SH (2011). Fetal and neonatal physiology (4th ed.). Philadelphia: Elsevier/Saunders. pp. 46–47. ISBN 978-1-4160-3479-7.
  6. 6.0 6.1 Shehan CL (2016). The Wiley Blackwell Encyclopedia of Family Studies, 4 Volume Set (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 406. ISBN 978-0-470-65845-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  7. "How do I know if I'm pregnant?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 30 พฤศจิกายน 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2015.
  8. 8.0 8.1 Taylor D, James EA (2011). "An evidence-based guideline for unintended pregnancy prevention". Journal of Obstetric, Gynecologic, and Neonatal Nursing. 40 (6): 782–93. doi:10.1111/j.1552-6909.2011.01296.x. ISSN 0090-0311. PMC 3266470. PMID 22092349.
  9. 9.0 9.1 "What is prenatal care and why is it important?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 12 กรกฎาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2015.
  10. Keats, EC; Haider, BA; Tam, E; Bhutta, ZA (14 March 2019). "Multiple-micronutrient supplementation for women during pregnancy". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 3: CD004905. doi:10.1002/14651858.CD004905.pub6. PMC 6418471. PMID 30873598.
  11. Sedgh G, Singh S, Hussain R (September 2014). "Intended and unintended pregnancies worldwide in 2012 and recent trends". Studies in Family Planning. 45 (3): 301–314. doi:10.1111/j.1728-4465.2014.00393.x. PMC 4727534. PMID 25207494.
  12. Naghavi, Moshen; และคณะ (GBD 2016 Causes of Death Collaborators) (September 2017). "Global, regional, and national age-sex specific mortality for 264 causes of death, 1980–2016: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2016". Lancet. 390 (10100): 1151–1210. doi:10.1016/S0140-6736(17)32152-9. PMC 5605883. PMID 28919116.
  13. 13.0 13.1 Mosby (2009). Mosby's Pocket Dictionary of Medicine, Nursing & Health Professions - E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 1078. ISBN 978-0323066044.
  14. Wylie L (2005). Essential anatomy and physiology in maternity care (Second ed.). Edinburgh: Churchill Livingstone. p. 172. ISBN 978-0-443-10041-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  15. "Trimester definition". MedicineNet, Inc. 27 April 2011.
  16. The American College of Obstetricians and Gynecologists (September 2002). "ACOG Practice Bulletin: Clinical Management Guidelines for Obstetrcian-Gynecologists: Number 38, September 2002. Perinatal care at the threshold of viability". Obstet Gynecol. 100 (3): 617–24. PMID 12220792.
  17. "40% of pregnancies 'unplanned'". BBC News. 16 March 2004.
  18. Jayson, Sharon (20 May 2011). "Unplanned pregnancies in U.S. at 40 percent". PhysOrg.com.
  19. K. Joseph Hurt, Matthew W. Guile, Jessica L. Bienstock, Harold E. Fox, Edward E. Wallach (บ.ก.). The Johns Hopkins manual of gynecology and obstetrics (4th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health / Lippincott Williams & Wilkins. p. 232. ISBN 9781605474335.
  20. 20.0 20.1 "definition of gravida". The Free Dictionary. สืบค้นเมื่อ 17 January 2008.
  21. Robinson, Victor, บ.ก. (1939). "Primipara". The Modern Home Physician, A New Encyclopedia of Medical Knowledge. New York: WM. H. Wise & Company. p. 596. ASIN B000BMZMG4.
  22. "Definition of nulligravida". Merriam-Webster, Incorporated. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-08. สืบค้นเมื่อ 9 March 2012.
  23. "Nulliparous definition". MedicineNet, Inc. 18 November 2000.
  24. Tunón K, Eik-Nes SH, Grøttum P, Von Düring V, Kahn JA (2000). "Gestational age in pregnancies conceived after in vitro fertilization: a comparison between age assessed from oocyte retrieval, crown-rump length and biparietal diameter". Ultrasound Obstet Gynecol. 15 (1): 41–6. doi:10.1046/j.1469-0705.2000.00004.x. PMID 10776011.
  25. 25.0 25.1
    • Lennart Nilsson, A Child is Born 91 (1990): at eight weeks, "the danger of a miscarriage … diminishes sharply."
    • "Women's Health Information", Hearthstone Communications Limited: "The risk of miscarriage decreases dramatically after the 8th week as the weeks go by." Retrieved 2007-04-22.
  26. Illes, Judy, บ.ก. (2008). Neuroethics: defining the issues in theory, practice, and policy (Repr. ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 142. ISBN 9780198567219.
  27. 3D Pregnancy (Image from gestational age of 6 weeks). Retrieved 2007-08-28. A rotatable 3D version of this photo is available here, and a sketch is available here.
  28. 3D Pregnancy (Image from gestational age of 10 weeks). Retrieved 2007-08-28. A rotatable 3D version of this photo is available here, and a sketch is available here.
  29. 3D Pregnancy (Image from gestational age of 20 weeks). Retrieved 2007-08-28. A rotatable 3D version of this photo is available here, and a sketch is available here.
  30. 3D Pregnancy (Image from gestational age of 40 weeks). Retrieved 2007-08-28. A rotatable 3D version of this photo is available here, and a sketch is available here.
  31. Clark DA, Chaput A, Tutton D (March 1986). "Active suppression of host-vs-graft reaction in pregnant mice. VII. Spontaneous abortion of allogeneic CBA/J x DBA/2 fetuses in the uterus of CBA/J mice correlates with deficient non-T suppressor cell activity". J. Immunol. 136 (5): 1668–75. PMID 2936806.
  32. trimester. CollinsDictionary.com. Collins English Dictionary – Complete & Unabridged 11th Edition. Retrieved 26 November 2012.
  33. thefreedictionary.com > trimester Citing:
    • The American Heritage® Dictionary of the English Language, Fourth Edition, copyright 2000
  34. Cunningham, et al., (2010). Williams Textbook of Obstetrics, chapter 8.
  35. Campbell LA; Klocke RA (April 2001). "Implications for the pregnant patient". American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine. 163 (5): 1051–54. doi:10.1164/ajrccm.163.5.16353. PMID 11316633.
  36. http://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/pages/pregnancy-weeks-4-5-6-7-8.aspx#close
  37. Stacey T, Thompson JM, Mitchell EA, Ekeroma AJ, Zuccollo JM, McCowan LM (Jun 14, 2011). "Association between maternal sleep practices and risk of late stillbirth: a case-control study". BMJ (Clinical research ed.). 342: d3403. doi:10.1136/bmj.d3403. PMC 3114953. PMID 21673002.
  38. 38.0 38.1 Dr H. Kieler; O. Axelsson; S. Nilsson; U. Waldenströ (1995). "The length of human pregnancy as calculated by ultrasonographic measurement of the fetal biparietal diameter". Ultrasound in Obstetrics & Gynecology. 6 (5): 353–357. doi:10.1046/j.1469-0705.1995.06050353.x. PMID 8590208.
  39. Chambliss LR; Clark SL (2014). "Paper gestational age wheels are generally inaccurate". Am. J. Obstet. Gynecol. 210 (2): 145.e1–4. doi:10.1016/j.ajog.2013.09.013. PMID 24036402.
  40. Jukic AM, Baird DD, Weinberg CR, McConnaughey DR, Wilcox AJ (2013). "Length of human pregnancy and contributors to its natural variation". Hum. Reprod. 28 (10): 2848–55. doi:10.1093/humrep/det297. PMID 23922246.
  41. 41.0 41.1 Li, Z; Zeki, R; Hilder, L; Sullivan, EA (2012). "Australia's Mothers and Babies 2010". Perinatal statistics series no. 27. Cat. no. PER 57. Australian Institute of Health and Welfare National Perinatal Statistics Unit, Australian Government. สืบค้นเมื่อ 4 July 2013.
  42. Mohangoo AD, Blondel B, Gissler M, Velebil P, Macfarlane A, Zeitlin J (2013). Wright L (บ.ก.). "International comparisons of fetal and neonatal mortality rates in high-income countries: should exclusion thresholds be based on birth weight or gestational age?". PLoS ONE. 8 (5): e64869. doi:10.1371/journal.pone.0064869. PMC 3658983. PMID 23700489.
  43. Royal College of Obstetricians and Gynaecologists UK (April 2001). "Further Issues Relating to Late Abortion, Fetal Viability and Registration of Births and Deaths". Royal College of Obstetricians and Gynaecologists UK. สืบค้นเมื่อ 4 July 2013.
  44. 44.0 44.1 Ob-Gyns Redefine Meaning of "Term Pregnancy", from American College of Obstetricians and Gynecologists. October 22, 2013
  45. "Definitions". Saskatchewan Prevention Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-04. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
  46. Norwitz MD PhD, Errol R. "Postterm Pregnancy (Beyond the Basics)". UpToDate, Inc. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
  47. The American College of Obstetricians and Gynecologists (April 2006). "What To Expect After Your Due Date". Medem. Medem, Inc. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
  48. "Induction of labour – Evidence-based Clinical Guideline Number 9" (PDF). Royal College of Obstetricians and Gynaecologists. 2001. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-30. สืบค้นเมื่อ 18 January 2008.
  49. Berkowitz, K; Garite, T (October 2008). "Postdatism". Welfare of Women Global Health Programme. Global Library of Women's Medicine. doi:10.3843/GLOWM.10123. ISSN 1756-2228. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
  50. "Nonmedically Indicated Early-Term Deliveries". American College of Obstetricians and Gynecologists. 2013. สืบค้นเมื่อ 24 March 2013.
  51. "Doctors To Pregnant Women: Wait At Least 39 Weeks". 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  52. "Definition of Premature birth". Medicine.net. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
  53. Lama Rimawi MD (22 September 2006). "Premature Infant". Disease & Conditions Encyclopedia. Discovery Communications, LLC. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
  54. WHO | Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants
  55. Jenkins A, Millar S, Robins J (July 2011). "Denial of pregnancy: a literature review and discussion of ethical and legal issues". Journal of the Royal Society of Medicine. 104 (7): 286–91. doi:10.1258/jrsm.2011.100376. PMID 21725094.
  56. Gabbe, Steven. Obstetrics : normal and problem pregnancies (6th ed.). Philadelphia: Elsevier/Saunders. p. 1184. ISBN 9781437719352.
  57. 57.0 57.1 "Early symptoms of pregnancy: What happens right away". Mayo Clinic. 22 February 2007. สืบค้นเมื่อ 22 August 2007.
  58. 58.0 58.1 "Pregnancy Symptoms – Early Signs of Pregnancy : American Pregnancy Association". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
  59. MedlinePlus > Breast pain Update Date: 31 December 2008. Updated by: David C. Dugdale, Susan Storck. Also reviewed by David Zieve.
  60. "Pregnancy video". Channel 4. 2008. สืบค้นเมื่อ 22 January 2009.
  61. "NHS Pregnancy Planner". National Health Service (NHS). 19 March 2010. สืบค้นเมื่อ 19 March 2010.
  62. Qasim SM, Callan C, Choe JK (1996). "The predictive value of an initial serum beta human chorionic gonadotropin level for pregnancy outcome following in vitro fertilization". Journal of Assisted Reproduction and Genetics. 13 (9): 705–8. doi:10.1007/BF02066422. PMID 8947817.
  63. "BestBets: Serum or Urine beta-hCG?".
  64. Verhaegen J, Gallos ID, van Mello NM, Abdel-Aziz M, Takwoingi Y, Harb H, Deeks JJ, Mol BW, Coomarasamy A (Sep 27, 2012). "Accuracy of single progesterone test to predict early pregnancy outcome in women with pain or bleeding: meta-analysis of cohort studies". BMJ (Clinical research ed.). 345: e6077. doi:10.1136/bmj.e6077. PMC 3460254. PMID 23045257.
  65. Whitworth M, Bricker L, Neilson JP, Dowswell T (Apr 14, 2010). Whitworth M (บ.ก.). "Ultrasound for fetal assessment in early pregnancy". Cochrane database of systematic reviews (Online) (4): CD007058. doi:10.1002/14651858.CD007058.pub2. PMID 20393955.
  66. Nguyen TH, Larsen T, Engholm G, Møller H (1999). "Evaluation of ultrasound-estimated date of delivery in 17 450 spontaneous singleton births: do we need to modify Naegele's rule?". Ultrasound in Obstetrics and Gynecology. 14 (1): 23–28. doi:10.1046/j.1469-0705.1999.14010023.x. PMID 10461334. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (abstract)เมื่อ 2018-12-13. สืบค้นเมื่อ 18 August 2007.
  67. 67.0 67.1 "Screening for Ultrasonography in Pregnancy". U.S. Preventive Services Task Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-30. สืบค้นเมื่อ 6 March 2013.
  68. Bricker L, Neilson JP, Dowswell T (Oct 8, 2008). Bricker L (บ.ก.). "Routine ultrasound in late pregnancy (after 24 weeks' gestation)". Cochrane database of systematic reviews (Online) (4): CD001451. doi:10.1002/14651858.CD001451.pub3. PMID 18843617.
  69. Dimitrova V, Markov D, Dimitrov R (2007). "[3D and 4D ultrasonography in obstetrics]". Akush Ginekol (Sofiia) (ภาษาบัลแกเรีย). 46 (2): 31–40. PMID 17469450.
  70. Sheiner E; Hackmon R; Shoham-Vardi I; และคณะ (2007). "A comparison between acoustic output indices in 2D and 3D/4D ultrasound in obstetrics". Ultrasound Obstet Gynecol. 29 (3): 326–8. doi:10.1002/uog.3933. PMID 17265534.
  71. Rados C (January–February 2004). "FDA Cautions Against Ultrasound 'Keepsake' Images". FDA Consumer Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
  72. Kempley R (9 August 2003). "The Grin Before They Bear It; Peek-a-Boo: Prenatal Portraits for the Ultrasound Set". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-02. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  73. Klusmann A, Heinrich B, Stöpler H, Gärtner J, Mayatepek E, Von Kries R (2005). "A decreasing rate of neural tube defects following the recommendations for periconceptional folic acid supplementation". Acta Paediatr. 94 (11): 1538–42. doi:10.1080/08035250500340396. PMID 16303691. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2024.
  74. Stevenson RE, Allen WP, Pai GS, Best R, Seaver LH, Dean J, Thompson S (2000). "Decline in prevalence of neural tube defects in a high-risk region of the United States". Pediatrics. 106 (4): 677–83. doi:10.1542/peds.106.4.677. PMID 11015508.
  75. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (2008). "Use of supplements containing folic acid among women of childbearing age—United States, 2007". MMWR Morb. Mortal. Wkly. Rep. 57 (1): 5–8. PMID 18185493.
  76. Salem N, Litman B, Kim HY, Gawrisch K (September 2001). "Mechanisms of action of docosahexaenoic acid in the nervous system". Lipids. 36 (9): 945–59. doi:10.1007/s11745-001-0805-6. PMID 11724467.
  77. Haider BA; Bhutta ZA (2006). Bhutta, Zulfiqar A (บ.ก.). "Multiple-micronutrient supplementation for women during pregnancy". Cochrane Database Syst Rev (4): CD004905. doi:10.1002/14651858.CD004905.pub2. PMID 17054223.
  78. Theobald HE (2007). "Eating for pregnancy and breast-feeding". J Fam Health Care. 17 (2): 45–9. PMID 17476978.
  79. Basile LA, Taylor SN, Wagner CL, Quinones L, Hollis BW (2007). "Neonatal vitamin D status at birth at latitude 32 degrees 72': evidence of deficiency". J Perinatol. 27 (9): 568–71. doi:10.1038/sj.jp.7211796. PMID 17625571.
  80. Kuoppala T, Tuimala R, Parviainen M, Koskinen T, Ala-Houhala M (1986). "Serum levels of vitamin D metabolites, calcium, phosphorus, magnesium and alkaline phosphatase in Finnish women throughout pregnancy and in cord serum at delivery". Hum Nutr Clin Nutr. 40 (4): 287–93. PMID 3488981.
  81. Tarlow, MJ (August 1994). "Epidemiology of neonatal infections". The Journal of antimicrobial chemotherapy. 34 (Suppl A): 43–52. PMID 7844073.
  82. 82.0 82.1 82.2 Viswanathan M; Siega-Riz, AM; Moos, M-K; และคณะ (May 2008). "Outcomes of Maternal Weight Gain". Evidence Reports/Technology Assessments, No. 168. Agency for Healthcare Research and Quality. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.
  83. 83.0 83.1 83.2 83.3 Institute for Quality and Efficiency in Health Care. "Weight gain in pregnancy". Fact sheet. Institute for Quality and Efficiency in Health Care. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.
  84. "Weight Gain During Pregnancy: Reexaminging the Guidelines, Report Brief". Institute of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-10. สืบค้นเมื่อ 29 July 2010.
  85. American College of Obstetricians and Gynecologists (January 2013). "Weight Gain During Pregnancy". Obstet Gynecol. 121 (1): 210–12. doi:10.1097/01.AOG.0000425668.87506.4c. PMID 23262962.
  86. 86.0 86.1 86.2 86.3 Thangaratinam, S; Rogozińska, E; Jolly, K; และคณะ (July 2012). "Interventions to Reduce or Prevent Obesity in Pregnant Women: A Systematic Review". Health Technology Assessment, No. 16.31. NIHR Evaluation, Trials and Studies Coordinating Centre. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.
  87. Shaji, Reena (13 January 2009). "Drugs in pregnancy and teratogenicity". LifeHugger. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-28. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  88. Ornoy A; Ergaz Z (February 2010). "Alcohol abuse in pregnant women: effects on the fetus and newborn, mode of action and maternal treatment". International journal of environmental research and public health. 7 (2): 364–79. doi:10.3390/ijerph7020364. PMC 2872283. PMID 20616979.
  89. Hackshaw A, Rodeck C, Boniface S (Sep–Oct 2011). "Maternal smoking in pregnancy and birth defects: a systematic review based on 173 687 malformed cases and 11.7 million controls". Human reproduction update. 17 (5): 589–604. doi:10.1093/humupd/dmr022. PMC 3156888. PMID 21747128.
  90. Centers for Disease Control and Prevention. 2007. Preventing Smoking and Exposure to Secondhand Smoke Before, During, and After Pregnancy.
  91. Centers for Disease Control and Prevention. 2009. Tobacco Use and Pregnancy: Home. http://www.cdc.gov/reproductivehealth/tobaccousepregnancy/index.htm
  92. 92.0 92.1 "New Mother Fact Sheet: Methamphetamine Use During Pregnancy". North Dakota Department of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-10. สืบค้นเมื่อ 7 October 2011.
  93. Della Grotta S, LaGasse LL, Arria AM, Derauf C, Grant P, Smith LM, Shah R, Huestis M, Liu J, Lester BM (30 June 2009). "Patterns of Methamphetamine Use During Pregnancy: Results from the IDEAL Study". Matern Child Health J. 14 (4): 519–527. doi:10.1007/s10995-009-0491-0. PMC 2895902. PMID 19565330.
  94. Environmental Hazards During Pregnancy Volume 51, No. 1, January/February 2006.
  95. Sex during pregnancy: What's OK, what's not - MayoClinic.com
  96. Bermudez MP, Sanchez AI, Buela-Casal G (2001). "Influence of the Gestation Period on Sexual Desire". Psychology in Spain. 5 (1): 14–16.
  97. Fok WY, Chan LY, Yuen PM (October 2005). "Sexual behavior and activity in Chinese pregnant women". Acta Obstetricia et Gynecologica Scandinavica. 84 (10): 934–938. doi:10.1111/j.0001-6349.2005.00743.x. PMID 16167907.
  98. Reamy K, White SE, Daniell WC, Le Vine ES (June 1982). "Sexuality and pregnancy. A prospective study". J Reprod Med. 27 (6): 321–7. PMID 7120209.
  99. Malarewicz A, Szymkiewicz J, Rogala J (September 2006). "[Sexuality of pregnant women]". Ginekol. Pol. (ภาษาโปแลนด์). 77 (9): 733–9. PMID 17219804.
  100. Cory Silverberg (19 September 2011). "Pregnancy Sex Positions: ideas for comfortable sex positions during pregnancy". About.com Guide.
  101. Kramer MS; McDonald SW (19 July 2006). Kramer, Michael S (บ.ก.). "Aerobic exercise for women during pregnancy". Cochrane database of systematic reviews (Online). 3 (3): CD000180. doi:10.1002/14651858.CD000180.pub2. PMID 16855953.
  102. 102.0 102.1 Artal R; O'Toole M (February 2003). "Guidelines of the American College of Obstetricians and Gynecologists for exercise during pregnancy and the postpartum period". British journal of sports medicine. 37 (1): 6–12, discussion 12. doi:10.1136/bjsm.37.1.6. PMC 1724598. PMID 12547738.
  103. 103.0 103.1 Reiter RJ, Tan DX, Korkmaz A, Rosales-Corral SA (2014). "Melatonin and stable circadian rhythms optimize maternal, placental and fetal physiology". Hum. Reprod. Update. 20 (2): 293–307. doi:10.1093/humupd/dmt054. PMID 24132226.
  104. Merck. "Urinary tract infections during pregnancy". Merck Manual Home Health Handbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  105. Vazquez, JC (Aug 3, 2010). "Constipation, haemorrhoids, and heartburn in pregnancy". Clinical evidence. 2010: 1411. PMC 3217736. PMID 21418682.
  106. "Reproductive Health and Research Publications: Making Pregnancy Safer". World Health Organization Regional Office for South-East Asia. 2009. สืบค้นเมื่อ 7 December 2009.
  107. Merck. "Pregnancy complicated by disease". Merck Manual, Home Health Handbook. Merck Sharp & Dohme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  108. C. Blackwell, Sean (December 2008). "Thromboembolic Disorders During Pregnancy". Merck Sharp & Dohme Corp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  109. 109.0 109.1 Page 264 in: Gresele, Paolo (2008). Platelets in hematologic and cardiovascular disorders: a clinical handbook. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-88115-3.
  110. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-28. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  111. National Vital Statistics Reports from Centers for Disease Control and Prevention National Center for Health Statistics. Volume 61, Number 1 August 28, 2012: Births: Final Data for 2010
  112. Womack, Mari (2010). The anthropology of health and healing (ภาษาอังกฤษ). Plymouth: AltaMira Press. p. 133. ISBN 978-0-7591-1044-1.
  113. Rossi, Timothy Verdon ; captions by Filippo (2005). Mary in western art. New York: In Association with Hudson Hills Press. p. 106. ISBN 0-9712981-9-X.
  114. "1973 Danish abortion law Lovitidende for Kongeriget Danmark". Harvard Law. สืบค้นเมื่อ 2013-07-02.
  115. Katie Mcdonough (April 30, 2014). "Tennessee just became the first state that will jail women for their pregnancy outcomes". Salon. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Pregnancy