การคลอดลำบาก
การคลอดลำบาก (Dystocia) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
DiseasesDB | 4025 |
eMedicine | med/3280 |
MeSH | D004420 |
การคลอดลำบาก (อังกฤษ: Dystocia) เป็นความผิดปกติของการคลอดหรือการเจ็บครรภ์ที่ช้าหรือยากกว่าปกติ ประมาณการณ์ว่าทุก 1 ใน 5 ของการเจ็บครรภ์คลอดเป็นการคลอดลำบาก ภาวะนี้อาจเกิดจากการทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อมดลูก ทารกอยู่ในท่าหรือส่วนนำที่ผิดปกติ สัดส่วนของศีรษะทารกและเชิงกรานมารดาไม่ได้สัดส่วนกัน หรือที่พบน้อยมากคือเนื้องอกของทารกในครรภ์ขนาดใหญ่เช่นเนื้องอกวิรูปบริเวณก้นกบร่วมกระเบนเหน็บ (sacrococcygeal teratoma)
ออกซีโทซิน (Oxytocin) มักใช้เป็นยาเพื่อแก้ไขการทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อมดลูก อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างการคลอดลำบากมักจบลงด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดเช่นคีม เครื่องดูดสุญญากาศ หรือการผ่าท้องทำคลอด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในการคลอดลำบากได้แก่ทารกเสียชีวิต การกดการหายใจของทารก โรคสมองขาดเลือด (Hypoxic Ischaemic Encephalopathy; HIE) และเส้นประสาทในข่ายประสาทแขนบาดเจ็บ ภาวะที่สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดลำบากคือ ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละครั้งยาวนานผิดปกติ (prolonged interval between pregnancies), หญิงมีครรภ์แรก, และการตั้งครรภ์แฝด[1]
การคลอดไหล่ยาก (Shoulder dystocia) เป็นการคลอดยากชนิดหนึ่งซึ่งไหล่หน้าของทารกไม่สามารถผ่านแนวประสานกระดูกหัวหน่าว (pubic symphysis) หรือต้องอาศัยการดึงอย่างมากเพื่อให้ไหล่ผ่านใต้แนวประสานกระดูกหัวหน่าว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zhu, BP (2006). "Labor dystocia and its association with interpregnancy interval". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 85: 810–814.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)