รกลอกตัวก่อนกำหนด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รกลอกตัวก่อนกำหนด
(Premature separation of placenta)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10O45
ICD-9641.2
DiseasesDB40
MedlinePlus000901
eMedicinemed/6 emerg/12
MeSHD000037

รกลอกตัวก่อนกำหนด (อังกฤษ: premature separation of placenta, placental abruption, abruptio placentae) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของการตั้งครรภ์ซึ่งรกได้แยกตัวออกจากผนังมดลูกของมารดาก่อนที่ทารกจะคลอดตามปกติ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยสาเหตุหนึ่งของการมีเลือดออกในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ในมนุษย์ถือว่าการลอกตัวของรกหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์และก่อนการเกิดนั้นเป็นการลอกตัวก่อนกำหนด มีอุบัติการณ์ 1% การตั้งครรภ์ทั่วโลกโดยมีอัตราการเสียชีวิตของทารกประมาณ 20-40% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการลอกตัว รกลอกตัวก่อนกำหนดมีผลต่ออัตราการตายของมารดาอย่างมาก

พยาธิสรีรวิทยา[แก้]

การมีเลือดออกในชั้น decidua basalis ทำให้เกิดการลอกตัวของรก การมีก้อนเลือดเกิดขึ้นจะทำให้มีการลอกตัวออกจากผนังมดลูกมากขึ้นทำให้มีการกดทับอวัยวะเหล่านี้และส่งผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงตัวอ่อน เลือดหลังรกอาจทะลุผนังมดลูกไปยังช่องท้อง (peritoneal cavity) เรี่ยกว่า Couvalaire uterus ชั้นกล้ามเนื้อมดลูก (myometrium) ในบริเวณนี้จะอ่อนแอและอาจฉีกขาดได้ในช่วงที่มีความดันในมดลูกขึ้นสูงขณะมดลูกหดตัวเพื่อการคลอด การขาดของชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจะทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ทันที

ความรุนแรงของภาวะเครียดของทารกจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของการลอกตัวของรก ในกรณีที่รกลอกตัวจนหมดหรือเกือบหมดนั้นทารกจะเสียชีวิตเกือบแน่นอนหากไม่ได้รับการผ่าตัดคลอด

อ้างอิง[แก้]