ข้ามไปเนื้อหา

การตกเลือดหลังคลอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Postpartum hemorrhage)
การตกเลือดหลังคลอด
(Postpartum hemorrhage)
ชื่ออื่นPostpartum bleeding
มารดาที่ตกเลือดหลังคลอดอาจเสียเลือดมากจนช็อก ในภาพเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตกรณีผู้ป่วยช็อก
สาขาวิชาสูติศาสตร์
อาการการสูญเสียเลือดอย่างมีนัยสำคัญหลังการคลอด, หัวใจเต้นเร็ว, รู้สึกหน้ามืดเป็นลมเมื่อยืน, อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น[1][2]
สาเหตุการหดตัวของมดลูกไม่ดี, รกออกไม่หมด/รกค้าง, การฉีกขาดของมดลูก, การแข็งตัวของเลือดไม่ดี[2]
ปัจจัยเสี่ยงภาวะเลือดจาง, เชื้อสายเอเชีย, ทารกมากกว่าหนึ่งคน, โรคอ้วน, อายุมากกว่า 40 ปี[2]
การป้องกันOxytocin, misoprostol[2]
การรักษาให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดดำ, non-pneumatic anti-shock garment, การถ่ายเลือด, ergotamine, tranexamic acid[2][3]
พยากรณ์โรคความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 3% (ประเทศกำลังพัฒนา)[2]
ความชุก8.7 ล้านคน (ทั่วโลก)[4] / 1.2% ของการเกิด (ประเทศกำลังพัฒนา)[2]
การเสียชีวิต83,100 คน (2015)[5]

การตกเลือดหลังคลอด คือภาวะซึ่งมีการเสียเลือดหลังการคลอด ตั้งแต่ 500 ซีซี ขึ้นไปสำหรับการคลอดทางช่องคลอด หรือตั้งแต่ 1000 ซีซี ขึ้นไปสำหรับการผ่าตัดคลอด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตของมารดาในประเทศที่กำลังพัฒนา และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของมารดาทั่วโลก[6]

สาเหตุ

[แก้]
สาเหตุและอุบัติการณ์
ของการตกเลือดหลังคลอด[6]
สาเหตุ อุบัติการณ์
มดลูกไม่หดรัดตัว 70%
บาดแผล 20%
รกค้าง 10%
ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด 1%

สาเหตุส่วนใหญ่ได้แก่ มดลูกไม่หดรัดตัว บาดแผลฉีกขาด รกค้าง และความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด อาจย่อให้จำง่ายด้วยตัวย่อ 4T[6]

  • Tone หมายถึงความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ในที่นี้หมายถึงภาวะซึ่งมดลูกไม่หดรัดตัว (uterine atony) ซึ่งการหดรัดตัวของมดลูกเป็นขั้นตอนปกติที่เกิดขึ้นหลังคลอดเพื่อห้ามเลือดที่จะออกจากมดลูก เมื่อมดลูกไม่หดรัดตัวทำให้ไม่สามารถห้ามเลือดได้ เลือดจึงออกมาเรื่อยๆ สาเหตุอาจเกิดจากการที่มดลูกหดตัวก่อนคลอดนาน เช่น เบ่งคลอดนาน หรือคลอดยาก หรืออาจเกิดจากการมีรกค้างก็ได้
  • Trauma คือบาดแผลฉีกขาดของทางคลอด อาจทำให้มีเลือดออกได้มาก โดยเฉพาะหากมีการฉีกขาดของหลอดเลือดขนาดใหญ่
  • Tissue หมายถึงเนื้อเยื่อ ในที่นี้หมายถึงการมีการค้างของเนื้อรกหรือบางส่วนของตัวอ่อน ทำให้มีเลือดออกได้มาก ทั้งจากการที่มีรกข้างทำให้มีเลือดออกจากรกส่วนที่ค้าง และจากการที่การมีเนื้อเยื่อค้างอยู่จะทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดีด้วย
  • Thrombin หมายถึงการแข็งตัวของเลือด มีโรคหลายอย่างที่ทำให้กระบวนการการแข็งตัวของเลือดผิดปกติไป ทำให้มีเลือดออกง่ายและหยุดยาก เมื่อผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดคลอดทำให้มีเลือดออกมากกว่าปกติและไม่หยุดง่ายๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lynch, Christopher B- (2006). A textbook of postpartum hemorrhage : a comprehensive guide to evaluation, management and surgical intervention. Duncow: Sapiens Publishing. pp. 14–15. ISBN 9780955228230. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-15.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Weeks, A (January 2015). "The prevention and treatment of postpartum haemorrhage: what do we know, and where do we go to next?". BJOG: An International Journal of Obstetrics and Gynaecology. 122 (2): 202–10. doi:10.1111/1471-0528.13098. PMID 25289730. S2CID 32538078.
  3. Shakur, Haleema; Roberts, Ian; Fawole, Bukola (April 2017). "Effect of early tranexamic acid administration on mortality, hysterectomy, and other morbidities in women with post-partum haemorrhage (WOMAN): an international, randomised, double-blind, placebo-controlled trial". The Lancet. 389 (10084): 2105–2116. doi:10.1016/S0140-6736(17)30638-4. PMC 5446563. PMID 28456509.
  4. GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  5. GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
  6. 6.0 6.1 6.2 Anderson JM, Etches D (March 2007). "Prevention and management of postpartum hemorrhage". American Family Physician. 75 (6): 875–82. PMID 17390600.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก