ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 9105321 สร้างโดย RoseyRoseyBu556 (พูดคุย) บรรยายการแข่งบอล
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Amung556 (คุย | ส่วนร่วม)
ทีม ทอตนัมฮอตสเปอร์
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 72: บรรทัด 72:
ตราสัญลักษณ์ของสโมสรทอตนัมฮอตสเปอร์เป็นรูปไก่ตัวผู้ที่มีเดือยแหลมคมเหยียบลูกฟุตบอล จึงได้ฉายาในภาษาไทยว่า "ไก่เดือยทอง" ตราสัญลักษณ์นี้มีที่มาจากนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพในปี 1901 เมื่อแฮร์รี เพอร์ซี ฮอตสเปอร์ บุคคลที่เชื่อกันว่าทางสโมสรได้นำนามสกุลของเขาตั้งขึ้นเป็นชื่อสโมสร ใส่รูปไก่ตัวผู้ลงไปในตราสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิม ต่อมาอีก 8 ปี วิลเลียม เจมส์ สก๊อต อดีตผู้เล่นของสโมสรได้ทำรูปหล่อสำริดไก่ตัวผู้เหยียบลูกฟุตบอลขึ้นมา จึงได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสโมสรนับตั้งแต่บัดนั้น
ตราสัญลักษณ์ของสโมสรทอตนัมฮอตสเปอร์เป็นรูปไก่ตัวผู้ที่มีเดือยแหลมคมเหยียบลูกฟุตบอล จึงได้ฉายาในภาษาไทยว่า "ไก่เดือยทอง" ตราสัญลักษณ์นี้มีที่มาจากนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพในปี 1901 เมื่อแฮร์รี เพอร์ซี ฮอตสเปอร์ บุคคลที่เชื่อกันว่าทางสโมสรได้นำนามสกุลของเขาตั้งขึ้นเป็นชื่อสโมสร ใส่รูปไก่ตัวผู้ลงไปในตราสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิม ต่อมาอีก 8 ปี วิลเลียม เจมส์ สก๊อต อดีตผู้เล่นของสโมสรได้ทำรูปหล่อสำริดไก่ตัวผู้เหยียบลูกฟุตบอลขึ้นมา จึงได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสโมสรนับตั้งแต่บัดนั้น


โดยสัญลักษณ์รูปนี้ได้ทำการปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งในหลายยุคสมัย โดยในยุคทศวรรษที่ 1920 เป็นรูปลักษณ์ที่เรียบ ๆ ต่อมาสมัยก็มีรูปลูกโลกรวมถึงสิงโตคู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลนอร์ททัมเบอร์แลนด์ของแฮร์รี ฮอตสเปอร์ ทั้งปราสาทบรูซซึ่งตั้งอยู่ใกล้สนามไวท์ฮาร์ทเลน รวมทั้งต้นไม้ 7 ต้น สื่อถึงเซเวนซิสเตอร์ส์ ย่านหนึ่งในลอนดอนเหนือที่ตั้งของสโมสรด้วย พร้อมคติภาษาละตินที่ว่า ''"Audere Est Facere" (จงกล้าที่จะทำ)'' ต่อมาในยุคทศวรรษที่ 1980 ได้ตัดรายละเอียดต่าง ๆ ออกไป เหลือเพียงไก่กับสิงโตและคติภาษาละตินเท่านั้น
โดยสัญลักษณ์รูปนี้ได้ทำการปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งในหลายยุคสมัย โดยในยุคทศวรรษที่ 1920 เป็นรูปลักษณ์ที่เรียบ ๆ ต่อมาสมัยก็มีรูปลูกโลกรวมถึงสิงโตคู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลนอร์ททัมเบอร์แลนด์ของแฮร์รี ฮอตสเปอร์ ทั้งปราสาทบรูซซึ่งตั้งอยู่ใกล้สนามไวท์ฮาร์ทเลน รวมทั้งต้นไม้ 7 ต้น สื่อถึงเซเวนซิสเตอร์ส์ ย่านหนึ่งในลอนดอนเหนือที่ตั้งของสโมสรด้วย พร้อมคติภาษาละตินที่ว่า ''"Audere Est Facere" (จงกล้าที่จะทำ)'' ต่อมาในยุคทศวรรษที่ 1980 ได้ตัดรายละเอียดต่าง ๆ ออกไป
ทีม ทอตนัมฮอตสเปอร์ : ไก่เดือยทองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน<ref>{{cite web|url=https://cheerthai.co/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C|title=ทีม ทอตนัมฮอตสเปอร์ : ไก่เดือยทองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน |date=17 November 2020|accessdate=|publisher=cheerthai}}</ref>

โดยสัญลักษณ์แบบปัจจุบันเกิดขึ้นในปี 2006<ref>{{cite web|url=http://www.tungthakai.com/post.php?id=1800|title=ทำไมสเปอส์ต้องเป็นไก่ |date=10 March 2016|accessdate=|publisher=tukthakai}}</ref>
<center>
<center>
<gallery>
<gallery>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:03, 17 พฤศจิกายน 2563

ทอตนัมฮอตสเปอร์
ฉายาสเปอส์, The Lilywhites
ไก่เดือยทอง (ไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1882(ในชื่อ "สโมสรฟุตบอลฮอตสเปอร์)
สนามสนามกีฬาทอตนัมฮอตสเปอร์
ความจุ62,062
เจ้าของอีเอ็นไอซีกรุ๊ป
ประธานแดเนียล เลวี
ผู้จัดการโชเซ มูรีนโย
ลีกพรีเมียร์ลีก
2019−20พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 6 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ (อังกฤษ: Tottenham Hotspur F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลอังกฤษซึ่งอยู่ในพรีเมียร์ลีกรู้จักในนามสั้น ๆ ว่า "สเปอส์" (Spurs) และแฟนคลับของสโมสรเรียกว่า "ยิดอาร์มี" (Yid Army) อันหมายถึง ชาวยิว อันเนื่องจากแฟนคลับแต่ดั้งเดิมของสโมสรเป็นชาวยิวที่ตั้งรกรากในกรุงลอนดอนตอนเหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งสโมสร[1] เป็นอีกหนึ่งสโมสรที่มีความยิ่งใหญ่และตำนานอันยาวนานในเกาะอังกฤษ เป็นคู่ปรับร่วมกรุงลอนดอน กับ เชลซี และ อาร์เซนอล เคยเป็นแชมป์ลีกสูงสุดถึง 2 สมัย

ประวัติ

ยุคก่อตั้งสโมสร (1882-1898)

อาเทอร์ กริมส์เดล กัปตันทีมของสเปอส์ในปี ค.ศ. 1921

สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1882 โดยใช้ชื่อ ฮอตสเปอร์ เอฟซี มีสนามประจำสโมสรคือ ทอตนัม มาร์เชส แต่แล้วในปี ค.ศ. 1897 สนาม ทอตนัม มาร์เชส ได้ถูกระงับการใช้งานอย่างถาวร เนื่องจากเกิดปัญหาสงครามโลกขึ้น โดย ฮอตสเปอร์ เอฟซี ได้เช่าบริเวณย่านเมือง นอททัมเบอร์แลนด์ และขอเช่าสนาม นอททัมเบอร์แลนด์ พาร์ค เป็นเวลา 8 ปี ก่อนที่จะย้ายไปยังสนาม ไวต์ฮาร์ตเลน สนามประจำสโมสรในปัจจุบัน โดยสโมสรแห่งนี้เล่นในลีกทางใต้ของ ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้แชมป์ของลีกทางใต้ 1 สมัยในปี ค.ศ. 1900 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1908 ฮอตสเปอร์ เอฟซี ได้ย้ายไปเล่นใน ฟุตบอลลีกดิวิชั่น 2 ของ ประเทศอังกฤษ โดยก่อนหน้านั้น สเปอส์ได้แชมป์ เอฟเอคัพ ถ้วยที่เก่าแก่ที่สุดในการแข่งฟุตบอลใน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1901 ทั้งที่ยังเป็นทีมสมัครเล่นอยู่ และในปี ค.ศ. 1908 สเปอส์ก็ได้รองแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชั่น 2 ซึ่งนักฟุตบอลชื่อดังของสเปอส์ในสมัยนั้นคือ อาเทอร์ กริมส์เดล กัปตันทีมของสเปอส์

ยุคทองแห่งความสำเร็จ (1949-1981)

แล้วหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1949 ฮอตสเปอร์ เอฟซี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ทอตนัมฮอตสเปอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์และชื่อประจำเมืองในถิ่น ไวต์ฮาร์ตเลน โดยในช่วงนั้นมีผู้จัดการทีมชื่อ อาเทอร์ โรเวย์ ผู้จัดการทีมชาว อังกฤษ นำทีมสเปอส์ขึ้นมาเล่นใน ฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 ของ ประเทศอังกฤษ ได้สำเร็จ โดยในช่วงเดียวกันนั้นสเปอส์ได้แชมป์ลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 1950-51 และ หลังจากนั้นในฤดูกาล 1960-61 ในยุคของ บิล นิโคลสัน ตำนานของ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ได้กลับเข้ามาคุมทีมอีกครั้ง หลังจากยกเลิกการเล่นฟุตบอลไปแล้ว โดยเขาได้นำทีมสเปอส์เป็นรองแชมป์ดิวิชั่น 1 2 ครั้ง, แชมป์ เอฟเอคัพ 3 สมัย, ฟุตบอลลีกคัพ 1 สมัย, เอฟเอคอมมูนิตีชีลด์ 3 สมัย และ ในระดับบอลถ้วยยุโรปเขาก็นำทีมสเปอส์ เป็นแชมป์ ยูฟ่าคัพ (ยูโรป้า ลีก ในปัจจุบัน) 1 สมัย และ แชมป์ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย ซึ่งในช่วงยุคนั้นเป็นยุคที่สเปอส์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หลังจากยุคของ นิโคลสัน แล้วนั้น สเปอส์ก็ยังเล่นได้อยู่ในระดับที่มีความสามารถพอดี โดยสามารถสู้กับทีมใหญ่ๆได้ โดยในช่วงปี ค.ศ. 1981 และ ค.ศ. 1982 สเปอส์เป็นแชมป์ เอฟเอคัพ 2 สมัยติดกันในช่วงยุคของ คีธ เบอร์คินชอว์ และเขายังนำสเปอส์ได้แชมป์ ยูฟ่าคัพ ซึ่งเป็นแชมป์ 2 สมัย ของสโมสร

ยุคแห่งความมั่นคงของสโมสร (1982-ปัจุจบัน)

สเปอส์เป็นแชมป์ ลีกคัพ เมื่อปี ค.ศ. 2008

หลังจากยุคปี 2000 สเปอส์ก็ยังเล่นในลีก พรีเมียร์ลีก (ดิวิชั่น 1 เดิม) ได้อย่างมั่นคง และส่วนใหญ่มักจะอยู่ในอันดับต้นๆของตาราง ซึ่งส่วนมากจะจบในอันดับที่ 5 เป็นส่วนใหญ่ โดยมีผู้จัดการทีมหลายคนในช่วงนั้น ซึ่งมี เกล็น ฮอดเดิล, ฌัก ซ็องตีนี, มาร์ติน โยล โดยในยุคของมาร์ติน โยล สเปอส์มีโอกาสที่จะเข้าไปเล่นยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก แต่ก็ทำได้เพียงอันดับ 5 และในปี 2007 ได้มีการปลดมาร์ติน โยล ออกจากตำแหน่งเนื่องจากออกสตาร์ทฤดูกาลได้ย่ำแย่ทั้งที่ใช้เงินลงทุนมหาศาลรวมถึงการซื้อดาร์เรน เบนท์มาด้วยค่าตัว 16 ล้านปอนด์ซึ่งทำลายสถิติสโมสรหลังจากนั้นได้แต่งตั้งฆวนเด รามอส อดีตผู้จัดการทีมเซบิยาและในฤดูกาลนั้น สเปอส์ได้แชมป์ ฟุตบอลลีกคัพ ด้วยการชนะ สโมสรฟุตบอลเชลซี ไป 2-1 หลังต่อเวลาพิเศษ ซึ่งเป็นการคว้าแชมป์ในรอบ 9 ปี และ จบอันดับที่ 5 ได้ไปเล่น ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก

ใน ฤดูกาล 2008-09 ซึ่งนัดแรกสเปอส์บุกไปแพ้ มิดเดิลสโบรไป 2-1 และ 7 นัดต่อมา ก็มาชนะครั้งแรกได้ในบ้านของตน ด้วยการอัดโบลตันไป 2-0 และต่อมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2008 สเปอส์ได้ปลด ฆวนเต รามอส ออกจากผู้จัดการทีม และ แต่งตั้ง แฮร์รี เรดแนปป์ กุนซือชาวอังกฤษเป็นผู้จัดการทืม โดยการย้ายการคุมทีมมาจากพอร์ตสมัท แฮร์รี เรดแนปป์ ได้ดึงลูกทีมเก่าจากพอร์ตสมัทมาหลายคน อาทิ นิโก ครานชาร์, เจอร์เมน เดโฟ, ยูเนส คาบูล โดย 2 รายหลังนั้นเป็นการกลับมาทีมเก่า และยังดึงมิดฟิลด์พันธุ์ดุจากฮอนดูรัสอย่าง วิลสัน ปาลาซิออส มาจากวีแกนแอทเลติก และ ร็อบบี คีน จากลิเวอร์พูลมาเสริมความแกร่งของแนวรุกมากขึ้น รวมทั้ง ยืมตัว ไอเดอร์ กุดจอห์นเซน กองหน้าจาก โมนาโก ซึ่งเรดแนปป์นำทีมสเปอส์ไปสู่รอบรองชิงชนะเลิศ ฟุตบอลลีกคัพ กับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้ แต่ก็ต้องพ่ายจุดโทษไป 4-1 (หลังเสมอ 0-0) และจบอันดับ 8 เมื่อขึ้นฤดูกาลใหม่ 2009-10 เรดแนปป์ได้เสริมนักเตะใหม่โดยการถึง ปีเตอร์ เคราช์ จากพอร์ทสมัท กับ ไคล์ วอล์กเกอร์ จากเชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด มาเสริมความแกร่งและการรุกของสโมสรให้คมมากขึ้น เพื่อทดแทนการเสีย ดาเรน เบนท์ อดีตดาวซัลโวของสโมสรเมื่อฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งนัดแรกเปิดบ้านเฉือนชนะลิเวอร์พูลไปได้ 2-1 และจบอันดับที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สเปอส์จบในอันดับทีได้ไปเล่นถ้วย ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นับตั้งแต่ ฤดูกาล 1961-62

เรดแนปป์ นำสเปอส์ไปเล่น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้ในปี ค.ศ. 2011 นับตั้งแต่ฤดูกาล 1961-62

ฤดูกาล 2010-11 สเปอส์ได้ซื้อ ราฟาเอล ฟาน เดอร์ ฟาร์ท กองกลางจากเรอัลมาดริด และ ซานดรู ราเนียเร มิดฟิลด์แนวรุกชาวบราซิล มาเสริมทัพ โดยคราวนี้สเปอส์ได้ไปเล่น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ซึ่งในรอบเพลย์ออฟชนะ บีเอสซี ยอง บอยส์ ไป 6-3 (รวม 2 นัด) และทะลุเขาไปในรอบแบ่งกลุ่มโดยได้อยู่สายเดียวกับ อินเตอร์ มิลาน, ทเวนเต และ แวร์เดอร์ เบรเมน ซึ่งสเปอส์และอินเตอร์มิลาน ได้เป็นแชมป์และรองแชมป์กลุ่มตามลำดับ และต่อมาในรอบ 16 ทีม ได้ชนะ เอซี มิลาน ไป 1-0, รอบ 8 ทีมสุดท้ายแพ้ เรอัลมาดริด ไป 4-1 จึงตกรอบไป และต่อมาใน พรีเมียร์ลีก นัดแรกสเปอส์ได้เสมอแมนเชสเตอร์ซิตี ไป 0-0 และนัดถัดมาบุกไปเฉือนชนะสโตกซิตี ได้ 2-1 โดยดาวซัลโวของสโมสรในฤดูกาลนี้คือ ราฟาเอล ฟาน เดอร์ ฟาร์ท ที่ทำประตูได้ 15 ประตู และนำทีมจบในอับดับที่ 5 ไปเล่น ยูโรปาลีก

ผลงานในฤดูกาล 2011-12 จากการซื้อนักเตะที่มีประสิทธิภาพและความสามารถของแฮร์รี เรดแนปป์ ได้นำพาทีมสเปอส์คว้าพรีเมียร์ลีก อันดับที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งที่สองในการนำทีมสเปอส์จบอันดับ 4 ซึ่งจะมีโอกาสไปเล่นใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มากขึ้น

แต่แล้วการตัดสินใจในการเซ็นสัญญาฉบับใหม่ของเรดแนปป์ก็ไม่เข้าที่เข้าทางสักที แฮร์รี เรดแนปป์ จึงได้ลาออกจากสโมสร และต่อมาไม่ถึง 2 เดือน ทางคณะบอร์ดบริหารได้แต่งตั้ง อังเดร วิลลัช-โบอัช ผู้จัดการทีมชาว โปรตุเกส เป็นผู้จัดการทีม

ตราสัญลักษณ์ของสโมสร

ตราสัญลักษณ์ของสโมสรทอตนัมฮอตสเปอร์เป็นรูปไก่ตัวผู้ที่มีเดือยแหลมคมเหยียบลูกฟุตบอล จึงได้ฉายาในภาษาไทยว่า "ไก่เดือยทอง" ตราสัญลักษณ์นี้มีที่มาจากนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพในปี 1901 เมื่อแฮร์รี เพอร์ซี ฮอตสเปอร์ บุคคลที่เชื่อกันว่าทางสโมสรได้นำนามสกุลของเขาตั้งขึ้นเป็นชื่อสโมสร ใส่รูปไก่ตัวผู้ลงไปในตราสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิม ต่อมาอีก 8 ปี วิลเลียม เจมส์ สก๊อต อดีตผู้เล่นของสโมสรได้ทำรูปหล่อสำริดไก่ตัวผู้เหยียบลูกฟุตบอลขึ้นมา จึงได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสโมสรนับตั้งแต่บัดนั้น

โดยสัญลักษณ์รูปนี้ได้ทำการปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งในหลายยุคสมัย โดยในยุคทศวรรษที่ 1920 เป็นรูปลักษณ์ที่เรียบ ๆ ต่อมาสมัยก็มีรูปลูกโลกรวมถึงสิงโตคู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลนอร์ททัมเบอร์แลนด์ของแฮร์รี ฮอตสเปอร์ ทั้งปราสาทบรูซซึ่งตั้งอยู่ใกล้สนามไวท์ฮาร์ทเลน รวมทั้งต้นไม้ 7 ต้น สื่อถึงเซเวนซิสเตอร์ส์ ย่านหนึ่งในลอนดอนเหนือที่ตั้งของสโมสรด้วย พร้อมคติภาษาละตินที่ว่า "Audere Est Facere" (จงกล้าที่จะทำ) ต่อมาในยุคทศวรรษที่ 1980 ได้ตัดรายละเอียดต่าง ๆ ออกไป ทีม ทอตนัมฮอตสเปอร์ : ไก่เดือยทองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน[2]

ชุดและสปอนเซอร์ที่ใช้

ชุดที่ใช้

สปอนเซอร์

1 ออราสมาเป็นบริษัทลูกของ ออโตโนมี คอร์ปอเรชัน
2 ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เป็นบริษัทแม่ของ ออโตโนมี คอร์ปอเรชัน

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2020[9][10]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ฝรั่งเศส อูว์โก โลริส (กัปตัน)
2 DF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ แมตต์ ดอเฮอร์ตี
3 DF สเปน เซร์ฆิโอ เรกิลอน
4 DF เบลเยียม โตบี อัลเดอร์เวเริลด์
5 MF เดนมาร์ก ปีแยร์-เอมีล เฮยบีแยร์
6 DF โคลอมเบีย ดาบินซอน ซันเชซ
7 FW เกาหลีใต้ ซน ฮึง-มิน
8 MF อังกฤษ แฮร์รี วิงส์
9 FW เวลส์ แกเร็ท เบล (ยืมมาจากเรอัลมาดริด)
10 FW อังกฤษ แฮร์รี เคน (รองกัปตัน)
11 MF อาร์เจนตินา เอริก ลาเมลา
12 GK อังกฤษ โจ ฮาร์ต
15 DF อังกฤษ เอริก ไดเออร์
17 MF ฝรั่งเศส มูซา ซีซอโก
18 MF อาร์เจนตินา โยบานิ โล เซลโซ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 MF อังกฤษ ไรอัน เซสเซยง
20 MF อังกฤษ เดลี แอลลี
21 DF อาร์เจนตินา ฆวน ฟอยต์
22 GK อาร์เจนตินา เปาโล กัซซานิกา
23 MF เนเธอร์แลนด์ สเตเฟิน แบร์คไวน์
24 DF โกตดิวัวร์ แซร์ฌ โอรีเย
27 FW บราซิล ลูกัส โมรา
28 MF ฝรั่งเศส ต็องกี อึนดอมเบเล
30 MF โปรตุเกส แฌดซัน ฟือร์นังดึช (ยืมมาจากไบฟีกา)
33 DF เวลส์ เบน เดวีส์
38 DF สหรัฐ แคเมอรอน คาร์เตอร์-วิกเกอส์
39 DF อังกฤษ Japhet Tanganga
41 GK อังกฤษ แอลฟี ไวต์แมน
47 FW อังกฤษ แจ็ก คลาร์ก
DF อังกฤษ แดนนี โรส

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ทีมงานปัจจุบัน

ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีม โปรตุเกส โชเซ มูรีนโย
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม เยอรมนี สเตฟเฟิน ฟรอยด์
ผู้จัดการทีมสำรอง โปรตุเกส ลูอีช มาร์ติน
ผู้ช่วยผู้จัดการทีมสำรอง
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส โปรตุเกส โชเซ มาริโอ รูชา
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู อังกฤษ โทนี พาร์คส์
ผู้ฝึกสอนกองหน้า อังกฤษ เลส เฟอร์ดินานด์
นักกายภาพบำบัด นิวซีแลนด์ เจฟฟ์ สก็อต

ทำเนียบผู้จัดการทีมของสโมสร

รายชื่อผู้จัดการทีมสโมสรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน:

20 อันดับผู้จัดการทีมที่ดีที่สุดของสโมสร

ดูจากเปอร์เซนต์ในการชนะ
ชื่อผู้จัดการทีม ปี ลงเล่น ชนะ ชนะ %
1 อังกฤษ แฟรงค์ เบรดเทลล์ 1898–1899 63 37 58.73
2 อังกฤษ อาเทอร์ เทอร์เนอร์ 1942–1946 49 27 55.10
3 สกอตแลนด์ จอห์น คาเมรอน 1899–1907 570 296 51.93
4 อังกฤษ เดวิด พลีท 1986–1987 119 60 50.42
5 อังกฤษ แฮร์รี เรดแนปป์ 2008–2012 198 98 49.49
6 อังกฤษ บิล นิโคลสัน 1958–1974 832 408 49.03
7 อังกฤษ อาเทอร์ โรว์ 1949–1955 283 135 47.70
8 อังกฤษ เฟรด คริกแฮม 1907–1908 61 29 47.54
9 อังกฤษ จิมมี แอนเดอร์สัน 1955–1958 161 75 46.58
10 อังกฤษ เพอร์ซี สมิธ 1929–1935 253 109 46.38
11 อังกฤษ ดัก ลิเวอร์มอร์
อังกฤษ เรย์ คลีเมนซ์
1992–1993 51 23 45.09
12 เนเธอร์แลนด์ มาร์ติน โยล 2004–2007 150 67 44.67
13 อังกฤษ ปีเตอร์ ชรีฟส์ 1984–1986 & 1991–1992 177 79 44.63
14 อังกฤษ แจ็ค ทรีซานเดิร์น 1935–1938 146 65 44.52
15 สกอตแลนด์ ปีเตอร์ แม็ควิลเลียม 1913–1927 & 1938–1942 750 331 44.13
16 อังกฤษ 'The Directors' 1908–1913 231 99 42.86
17 อังกฤษ โจ ฮูลม์ 1946–1949 150 64 42.67
18 อังกฤษ คีธ เบอร์คินชอว์ 1976–1984 431 182 42.23
19 อังกฤษ เทอร์รี เวนาเบิลส์ 1987–1991 165 67 40.61
20 อังกฤษ บิลลี มินเทอร์ 1927–1929 124 49 39.52

* Stats correct as of14 June 2012

1 Includes caretaker manager stints in 1998, 2001 and 2003–04
2 Includes short caretaker manager stint
3 Includes his one match as caretaker manager after Santini's resignation

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

เกียรติประวัติ

อังกฤษ ระดับประเทศ

  • เอฟเอคัพ
    • ชนะเลิศ (8): 1900–01, 1920–21, 1960–61, 1961–62, 1966–67. 1980–81, 1981–82, 1990–91

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

  • อัลกโลว์-อิตาเลียน ลีกคัพ
    • ชนะเลิศ (1): 1970–71
  • ออดีคัพ
    • ชนะเลิศ (1): 2019

ระดับภูมิภาค

  • เซาเทิร์นฟุตบอลลีก
    • ชนะเลิศ (1): 1899–00
  • เวสเทิร์นฟุตบอลลีก
    • ชนะเลิศ (1): 1903–04

ในประเทศไทย

สำหรับผู้ที่นิยมหรือสนับสนุนทอตนัมฮอตสเปอร์ในประเทศไทยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อาทิวราห์ คงมาลัย (นักร้อง), อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี (นักร้อง)[11], ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (นักร้องและนักแสดง), เพชร มาร์ (โปรดิวเซอร์-นักดนตรี-นักแต่งเพลงและพิธีกร), เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ (นักฟุตบอลทีมชาติไทย) เป็นต้น

อ้างอิง

  1. “David Cameron: Yid is not hate speech when it’s Spurs" from Jewish Chronicle. Jewish Chronicle.
  2. "ทีม ทอตนัมฮอตสเปอร์ : ไก่เดือยทองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน". cheerthai. 17 November 2020.
  3. "Sponsorship and 2010/2011 Kit Update". tottenhamhotspur.com. Tottenham Hotspur. 8 July 2010. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  4. "Tottenham Hotspur announces new shirt sponsorship with Investec". tottenhamhotspur.com. Tottenham Hotspur. 16 August 2010. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  5. "Historical Kits – Tottenham Hotspur". historicalkits.co.uk. Historic Football Kits. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  6. "Club Announce HP as Principal Partner". tottenhamhotspur.com. Tottenham Hotspur. 8 July 2013. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
  7. "Tottenham Hotspur announces AIA as Cup Shirt Partner". tottenhamhotspur.com. Tottenham Hotspur. 15 August 2013. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  8. "AIA to Become Tottenham Hotspur's New Principal Partner". tottenhamhotspur.com. Tottenham Hotspur. 13 February 2014. สืบค้นเมื่อ 5 June 2014.
  9. "First team: Players". Tottenham Hotspur F.C. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
  10. "2019/20 Premier League squad numbers announced". www.tottenhamhotspur.com. Tottenham Hotspur F.C. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019.
  11. "สัมภาษณ์2นักร้องชื่อดังที่แฟนปืน-ผีอาจมีเคือง". thaifootball.com. 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น