พี่น้องจึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พี่น้องจึงขี่ช้างในยุทธการ ปรากฏในภาพวาดโดงหอชื่อว่า "จึงเวืองจื่อสักฮ้าน " (Trưng Vuơng trừ giặc Hán; 徴王除賊漢 เจิงหวางฉูเจ๋ย์ฮั่น - ราชินีจึงกำจัดข้าศึกชาวฮั่น)

พี่น้องจึง (เวียดนาม: Hai Bà Trưng, 𠄩婆徵, แปลว่า "สองสตรี[ชื่อ]จึง", ป. 14 – ป. 43) เป็นผู้นำทางการทหารชาวเวียดนามผู้ปกครองเป็นเวลาสามปีหลังเริ่มก่อกบฏในปี ค.ศ. 40 ต่อต้านการปกครองเวียดนามของจีนครั้งแรก พี่น้องจึงถือเป็นวีรสตรีของชาติเวียดนาม ชื่อของพี่น้องจึงคือ จึง จั๊ก (เวียดนาม: Trưng Trắc; ฮ่านตือ: 徵側; พินอินภาษาจีน: Zheng Ce; เวด-ไจลส์: Cheng1 Ts'e2) และ จึง หญิ (เวียดนาม: Trưng Nhị; ฮ่านตือ: 徵貳; พินอินภาษาจีน: Zheng Er ; เวด-ไจลส์: Cheng1 Erh4) จึง จั๊กเป็นสตรีคนแรกที่ขึ้นเป็นกษัตริย์ของชาวเวียดนาม และยังเป็นพระราชินีนาถเพียงหนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์เวียดนาม (ลี้ เจียว ฮหว่างเป็นสตรีคนที่สองที่ขึ้นครองราชย์และเป็นพระจักรพรรดินีนาถเพียงหนึ่งเดียว) จึง จั๊กได้รับการระบุในชื่อตำแหน่งว่า ราชินีจึง (Chữ Quốc ngữ: Trưng Nữ vương, ฮ่านตือ: 徵女王) ในดายเหวียตสื่อกี่ตว่านจือ.

พี่น้องจึงเกิดในเมืองเจียวจื่อ (ซาวจี) เมืองของราชวงศ์ฮั่นของจีนซึ่งอยู่ในภาคเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ไม่ทราบวันที่เกิดของพี่น้องจึง แต่จึง จั๊กมีอายุมากกว่าจึง หญิ วันที่ที่ทั้งคู่เสียชีวิตก็ไม่ทราบแน่ชัดเช่นกัน แต่ทั้งคู่เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 43 หลังการรบกับกองกำลังกวาดล้างของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกที่นำโดยขุนพลหม่า ยฺเหวียน

พี่น้องจึงได้รับการศึกษาชั้นสูงภายใต้การกำกับของบิดา ทั้งคู่เชี่ยวชาญเรื่องวรรณกรรม และอยู่ในลำดับผู้สืบทอดดินแดนและตำแหน่งจากบิดา[1]

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติ[แก้]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์[แก้]

นัยสำคัญทางวัฒนธรรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rajapaksha, Piumi. "Hai Bà Trưng: The Story of Vietnam's Elephant-Riding Warrior Princesses". Culture Trip. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bielestein, Hans (1986), "Wang Mang, the restoration of the Han dynasty, and Later Han", ใน Twitchett, Denis C.; Fairbank, John King (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 1, The Ch'in and Han Empires, 221 BC–AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 223–290
  • Brindley, Erica (2015). Ancient China and the Yue: Perceptions and Identities on the Southern Frontier, c. 400 BCE–50 CE. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-08478-0.
  • Gernet, Jacques (1996). A History of Chinese Civilization. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-49781-7.
  • Holcombe, Charles (2001). The Genesis of East Asia: 221 B.C. – A.D. 907. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-2465-5.
  • Kiernan, Ben (2019). Việt Nam: a history from earliest time to the present. Oxford University Press. ISBN 978-0-190-05379-6.
  • Lai, Mingchiu (2015), "The Zheng sisters", ใน Lee, Lily Xiao Hong; Stefanowska, A. D.; Wiles, Sue (บ.ก.), Biographical Dictionary of Chinese Women: Antiquity Through Sui, 1600 B.C.E. – 618 C.E, Taylor & Francis, pp. 253–254, ISBN 978-1-317-47591-0
  • Li, Tana (2011), "A Geopolitical Overview", ใน Li, Tana; Anderson, James A. (บ.ก.), The Tongking Gulf Through History, Pennsylvania: University of Pennsylvania Press, pp. 1–25, ISBN 978-0-81220-502-2
  • Scott, James George (1918). The Mythology of all Races: Indo-Chinese Mythology. University of Michigan.
  • Stewart, Iain (2018). Lonely Planet Vietnam. Lonely Planet. ISBN 978-1-787-01931-7.
  • Taylor, Keith Weller (1983). The Birth of Vietnam. University of California Press. ISBN 978-0-520-07417-0.
  • Taylor, Philip (2007). Modernity and Re-Enchantment: Religion in Post-Revolutionary Vietnam. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 978-9-812-30438-4.
  • Yü, Ying-shih (1986), "Han foreign relations", ใน Twitchett, Denis C.; Fairbank, John King (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 1, The Ch'in and Han Empires, 221 BC–AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 377–463

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พี่น้องจึง ถัดไป
การปกครองเวียดนามของจีนครั้งแรก ผู้ปกครองเวียดนาม
(ค.ศ. 40–43)
การปกครองเวียดนามของจีนครั้งที่สอง