โง ดิ่ญ เสี่ยม
โง ดิ่ญ เสี่ยม | |
---|---|
![]() | |
นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐเวียดนาม | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2497 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (1 ปี 122 วัน) | |
ก่อนหน้า | ฟาน ฮวี กว๊าต |
ถัดไป | เหงียน หง็อก เทอ |
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2498 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (8 ปี 7 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | เซือง วัน มิญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 มกราคม พ.ศ. 2444 จังหวัดกว๋างบิ่ญ |
เสียชีวิต | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (62 ปี 303 วัน) ไซง่อน ประเทศเวียดนามใต้ ![]() ถูกลอบสังหาร |
พรรค | พรรคเกิ่นลาว |
ลายมือชื่อ | ![]() |
โง ดิ่ญ เสี่ยม (เวียดนาม: Ngô Đình Diệm; ในอดีตนิยมทับศัพท์ว่า โง ดินห์ เดียม, 3 มกราคม พ.ศ. 2444 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) เป็นนักการเมืองชาวเวียดนาม เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของรัฐเวียดนาม(พ.ศ. 2497–พ.ศ. 2498) และจากนั้นก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเวียดนามใต้(สาธารณรัฐเวียดนาม) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 จนกระทั่งเขาถูกปลดออกจากตำแหน่งและถูกลอบสังหารในช่วงการก่อรัฐประหารของกองทัพ ปี พ.ศ. 2506
เสี่ยมเกิดในครอบครัวนิกายคาทอลิกที่มีชื่อเสียง บุตรชายของข้าราชการระดับสูง โง ดินห์ คา เขาได้รับการศึกษาในโรงเรียนที่พูดเป็นภาษาฝรั่งเศสและคิดว่าจะติดตาม โง ดินห์ ถุก ผู้เป็นพี่ชายรองในการเป็นพระนักบวช แต่จนในที่สุดก็เลือกที่จะประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ เขาได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในราชสำนักของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย กลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดบิ่ญถ่วนในปี พ.ศ. 2472 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2476 อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งในช่วงหลังผ่านไปสามเดือนและประณามจักพรรดิว่าเป็นเครื่องมือของฝรั่งเศส เสี่ยมได้เข้ามาให้การสนับสนุนลัทธิชาตินิยมของชาวเวียดนาม โดยส่งเสริมในฐานะผู้ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และต่อต้านลัทธิอาณานิคม "หนทางที่สาม" ซึ่งต่อต้านทั้งบ๋าว ดั่ยและโฮจิมินห์ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เขาได้ก่อตั้งพรรคเกิ่นลาวเพื่อสนับสนุนหลักการทางการเมืองของเขาเกี่ยวกับทฤษฏีศักดิ์ศรีของบุคคล
หลังจากถูกเนรเทศหลายปี เสี่ยมได้เดินทางกลับบ้านในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2497 และได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีโดยบ๋าว ดั่ย ประมุขแห่งรัฐเวียดนามที่ได้รับการหนุนหลังจากชาติตะวันตก อนุสัญญาเจนีวาได้ถูกลงนามได้ไม่นาน หลังจากที่เขาได้เข้ารับตำแหน่ง โดยมีการแบ่งแยกประเทศเวียดนามตามเส้นขนานที่ 17 อย่างเป็นทางการ ในไม่ช้า เสี่ยมก็ได้รวบรวมอำนาจในเวียดนามใต้โดยได้รับความช่วยเหลือจากน้องชายของเขาอย่าง โง ดินห์ นู ภายหลังการลงประชามติอย่างเข้มข้นในปี พ.ศ. 2498 เขาได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเวียดนาม โดยมีตัวเองเป็นประธานาธิบดี รัฐบาลของเขาได้รับการสนับสนุนจากประเทศฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สหรัฐอเมริกา เสี่ยมได้ดำเนินแผนการสร้างชาติโดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและชนบท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เขาต้องเผชิญหน้ากับการก่อการกำเริบของพวกนิยมคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการหนุนหลังโดยเวียดนามเหนือ จนในที่สุดก็ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการภายใต้ร่มธงของเวียดกง เขาได้ถูกพูดถึงการลอบสังหารและการก่อรัฐประหารมาหลายครั้ง และในปี พ.ศ. 2505 ได้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านเชิงยุทธศาสตร์ขึ้นเพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญของความพยายามในการต่อต้านผู้ก่อการกำเริบของเขา
การเล่นพรรคเล่นพวกของเสี่ยมต่อชาวนิกายคาทอลิกและกดขี่ข่มเหงชาวพุทธส่วนใหญ่ของเวียดนามใต้ ได้นำไปสู่ "วิกฤตการณ์ศาสนาพุทธ" ในปี พ.ศ. 2506 ความรุนแรงครั้งนี้ได้ทำลายความสัมพันธ์กับสหรัฐ และประเทศอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ที่เห็นอกเห็นใจและระบอบการปกครองของเขาได้สูญเสียความนิยมจากความเป็นผู้นำของกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 นายพลชั้นนำของประเทศได้เปิดฉากการก่อรัฐประหารโดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักข่าวกรองกลาง(CIA) เขาและนายนู น้องชายของเขาได้หลบหนีไปในช่วงแรก แต่ถูกจับกุมมาได้ในวันรุ่งขึ้นและถูกลอบสังหารตามคำสั่งของเซือง วัน มิญ ผู้ซึ่งสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาในฐานะประธานาธิบดี เสี่ยมเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้มีการถกเถียงกันในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามเวียดนาม นักประวัติศาสตร์บางคนได้มองเขาว่าเป็นเครื่องมือของสหรัฐ ในขณะที่คนอื่น ๆ ได้กล่าวถึงเขาว่าเป็นอวตารของประเพณีเวียดนาม การค้นคว้าบางส่วนเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นถึงเสี่ยมจากมุมมองที่มีชาวเวียดนามเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้นำที่มีความสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างชาติและความทันสมัยของเวียดนามใต้
ดูเพิ่ม[แก้]
- พระอาจารย์ทิก กว๋าง ดึ๊ก
อ้างอิง[แก้]
- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548.หน้า 599 - 600
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2444
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2506
- ประธานาธิบดีเวียดนามใต้
- ประมุขแห่งรัฐเวียดนาม
- ผู้นำในสงครามเย็น
- ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร
- ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยอาวุธปืน
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวเวียดนาม
- บุคคลจากจังหวัดกว๋างบิ่ญ
- ลัทธิต่อต้านอเมริกา