มาดามญู
เจิ่น เหละ ซวน | |
---|---|
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเวียดนามใต้ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม ค.ศ. 1955 – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 | |
ประธานาธิบดี | โง ดิ่ญ เสี่ยม |
ถัดไป | มาดามเหงียน กาว กี่ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 สิงหาคม ค.ศ. 1924 ฮานอย อินโดจีนของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 24 เมษายน ค.ศ. 2011[1] โรม ประเทศอิตาลี | (86 ปี)
ศาสนา | โรมันคาทอลิก (เดิม ศาสนาพุทธ) |
พรรคการเมือง | เกิ่นลาว |
คู่สมรส | โง ดิ่ญ ญู (สมรส 1943–1963) เขาเสียชีวิต |
บุตร |
|
ญาติ |
|
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยอาลแบร์ ซาร์โร |
ลายมือชื่อ | |
เจิ่น เหละ ซวน (เวียดนาม: Trần Lệ Xuân; 22 สิงหาคม ค.ศ. 1924[2] – 24 เมษายน ค.ศ. 2011) เป็นที่รู้จักในนาม มาดามญู เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง "โดยพฤตินัย" ของเวียดนามใต้ช่วง ค.ศ. 1955–1963 เป็นภรรยาของโง ดิ่ญ ญู น้องชายและหัวหน้าที่ปรึกษาของโง ดิ่ญ เสี่ยม ประธานาธิบดีประเทศเวียดนามใต้
เจิ่น เหละ ซวน เกิดในครอบครัวชนชั้นสูงในฮานอย ในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ปู่ของเธอทำงานใกล้ชิดกับผู้ปกครองอาณานิคม ส่วนบิดาชื่อเจิ่น วัน เจือง สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส[3] และดำรงตำแหน่งเลขานุการต่างประเทศคนแรกของดินแดนอินโดจีนในอาณัติของญี่ปุ่น[4] ส่วนมารดาชื่อเทิน ถิ นาม เจิน เป็นเชื้อพระวงศ์[5] เธอเข้าเรียนที่วิทยาลัยอาลแบร์ ซาร์โร ซึ่งเป็นโรงเรียนภาษาฝรั่งเศสในฮานอย เธอสนใจในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ชอบการขับร้องเพลงบรรยายธรรมชาติป่าเขาของฝรั่งเศส ต่อมาเธอตั้งเป้าประสงค์ในการเรียนนี้เพื่อขจัดความเป็นเวียดนามและทำให้ตนเป็นหญิงสาวชาวฝรั่งเศสที่เพรียบพร้อม[6] ซึ่งนโยบายของโรงเรียนฝรั่งเศสในเวียดนามคือการอ้างตัวเป็นผู้เจริญแล้ว (คือเป็นอารยะ) มาพัฒนาคนเวียดนามให้เป็น "คนฝรั่งเศสผิวเหลือง" เพราะการเป็นคนเวียดนามนั้นเป็น "อนารยชน" หลังเธอหยุดเรียนและออกจากโรงเรียน เหละ ซวนพูดภาษาฝรั่งเศสในบ้านและเขียนภาษาเวียดนามไม่ได้เลย จนเธอโตขึ้นจึงเริ่มร่างสุนทรพจน์ฝรั่งเศสและแปลออกเป็นภาษาเวียดนาม[3]
ครั้นจำเริญวัยขึ้น มารดาก็แนะนำชายหนุ่มที่มีคุณสมบัติดีหลายคนแก่เธอ แต่เหละ ซวนชอบโง ดิ่ญ ญู ชายผู้มีอายุมากกว่าเธอ 14 ปี และเรียกเธอว่า "หลานสาว" ตามธรรมเนียมเวียดนาม[7] ทั้งสองหมั้นหมายกันใน ค.ศ. 1940[8] และสมรสกันใน ค.ศ. 1943 เมื่ออายุได้ 18 ปี[9] เดิมเคยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ก่อนเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกหลังการสมรสกับสามี[8] เธอมีบทบาททางการเมืองอยู่เนือง ๆ หลังโง ดิ่ญ เสี่ยม ขึ้นเป็นประธานาธิบดีซึ่งครองโสด และรายล้อมไปด้วยองครักษ์ "มีแต่คนหล่อ ๆ รอบตัวเขา"[10] เหละ ซวน หรือมาดามญูในฐานะน้องสะใภ้ผู้มีทักษะทางสังคมต่ำ จึงดำรงตำแหน่งเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศอย่างไม่เป็นทางการ[3][10] เธอมักผสานความเชื่อคาทอลิกที่เธอนับถือกับลัทธิพื้นบ้านเพื่อสร้างเรื่องราวแก่ตนเอง เช่น เธออ้างตัวว่าเป็นพี่น้องตระกูลจึง ซึ่งเป็นวีรสตรีเวียดนามผู้ต่อต้านการรุกรานของจีน กลับชาติมาเกิด[3] และโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตศาสนาพุทธ มาดามญูเป็นที่รู้จักจากการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงและไม่เหมาะสมกับผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มชาวพุทธหลายครั้ง เช่น "หากพระรูปไหนทำบาร์บีคิวให้เห็นอีก ฉันจะปรบมือให้ พร้อมถวายไฟแช็กและน้ำมันให้" ที่กล่าวถึงกรณีพระทิก กว๋าง ดึ๊ก[11] และ "ช่างน่าอายเสียเหลือเกินที่เห็นคน [ผู้นำชาวพุทธ] ไร้มารยาท อ้างตัวว่าจะเป็นผู้นำ"[12] แต่หลังโง ดิ่ญ ญู สามี และโง ดิ่ญ เสี่ยม พี่เขย ถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1963 เธอจึงลี้ภัยไปประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตที่ประเทศอิตาลี[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 (ในภาษาเวียดนาม) "Bà Trần Lệ Xuân qua đời". BBC News. 24 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
- ↑ Joseph R. Gregory (26 April 2011). "Madame Nhu, Vietnam War Lightning Rod, Dies". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Karnow, pp. 280–284
- ↑ Lacouture, p. 79.
- ↑ J. Lacouture, Vietnam: Between Two Truces, p. 79
- ↑ Demery, p. 33.
- ↑ Prochnau, pp. 122–23.
- ↑ 8.0 8.1 Demery, p. 37
- ↑ Jones, p. 293
- ↑ 10.0 10.1 Demery, p. 98.
- ↑ Langguth, p. 216
- ↑ Jones, p. 266
ข้อมูล
[แก้]- Halberstam, David; Singal, Daniel J. (2008). The Making of a Quagmire: America and Vietnam during the Kennedy Era. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-6007-9.
- Hammer, Ellen J. (1987). A Death in November: America in Vietnam, 1963. New York City: E. P. Dutton. ISBN 0-525-24210-4.
- Jacobs, Seth (2006). Cold War Mandarin: Ngo Dinh Diem and the Origins of America's War in Vietnam, 1950–1963. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. ISBN 0-7425-4447-8.
- Jones, Howard (2003). Death of a Generation: How the Assassinations of Diem and JFK Prolonged the Vietnam War. New York City: Oxford University Press. ISBN 0-19-505286-2.
- Karnow, Stanley (1997). Vietnam: A History. New York City: Penguin Books. ISBN 0-670-84218-4.
- Langguth, A. J. (2000). Our Vietnam: the war, 1954–1975. New York City: Simon & Schuster. ISBN 0-684-81202-9.
- Maclear, Michael (1981). Vietnam: The Ten Thousand Day War. New York City: Methuen Publishing. ISBN 0-423-00580-4.
- Olson, James S. (1996). Where the Domino Fell. St. Martin's Press. ISBN 0-312-08431-5.
- Tucker, Spencer C. (2000). Encyclopedia of the Vietnam War: A Political, Social and Military History. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. ISBN 1-57607-040-9.
- Warner, Denis (1964). The Last Confucian: Vietnam, South-East Asia, and the West. Sydney: Angus and Robertson.
- Moyar, Mark (2006). Triumph Forsaken The Vietnam War, 1954–1965. Cambridge.
- Demery, Monique (2013). Finding the Dragon Lady: The Mystery of Vietnam's Madame Nhu. New York: PublicAffairs. ISBN 978-1610392815.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Interview with Madame Nhu, 1982
- Madame Ngô Đình Nhu, sister-in-law of President Diệm speaking after the assassination of husband and brother-in-law (audio file)
- Madame Nhu speaking of "barbecued monks" (download mp3 or mpg file)
- มาดามญู ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส