ฉบับร่าง:การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เศรษฐา ใน พ.ศ. 2566
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ
เศรษฐา ทวีสิน

22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 63
พรรคเพื่อไทย
การเลือกตั้งพ.ศ. 2566
เสนอชื่อโดยมติเห็นชอบของที่ประชุมร่วมรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา)
แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ไทย
ที่ทำการทำเนียบรัฐบาล


ตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเศรษฐา ทวีสิน บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อโดยพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย แทนที่ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[1][2] ตามคำกราบบังคมทูลของวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาไทย หลังจากการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี (รอบที่ 3) ในวันเดียวกัน ที่ประชุมร่วมรัฐสภาไทย (สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12) ลงมติเห็นชอบ 482 เสียง จากจำนวนสมาชิกที่ลงคะแนนทั้งหมด 728 คน มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของรัฐสภาตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[3] โดยมีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการในช่วงเย็นของวันถัดมา ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย[4]

ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม เศรษฐาได้เข้าพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้า ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในรัฐบาลรักษาการที่ทำเนียบรัฐบาล[5] โดยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่นายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ เข้าพบนายกรัฐมนตรีผู้ปฏิบัติหน้าที่ในรัฐบาลรักษาการ[6] วันต่อมาเขาลงพื้นที่ครั้งแรกหลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดภูเก็ตและต่อไปยังจังหวัดพังงาในวันรุ่งขึ้น[7] ทั้งนี้ การเดินทางดังกล่าวเป็นไปในนามพรรคเพื่อไทย[8]

ต่อมา เศรษฐาได้พบปะและพูดคุยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจกับนักธุรกิจชั้นนำของประเทศ ได้แก่ วิชิต สุรพงษ์ชัย กับอาทิตย์ นันทวิทยา จากธนาคารไทยพาณิชย์ และเอสซีบี เอกซ์, ฐาปน สิริวัฒนภักดี จากไทยเบฟเวอเรจ, ศุภชัย เจียรวนนท์ จากเครือเจริญโภคภัณฑ์, ปลิว ตรีวิศวเวทย์ จาก ช.การช่าง, อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา จากคิง เพาเวอร์, จรีพร จารุกรสกุล จากดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น รวมถึงสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย[9] ถัดมาเขาได้พบกับสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ และหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ซึ่งเป็นแกนหลักของทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มีกระแสข่าวว่าจะควบคุมกระทรวงพลังงาน หลังการหารือดังกล่าว เศรษฐาประกาศว่าจะลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมันดีเซลทันทีหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "1st LD: Srettha Thavisin elected as Thailand's new prime minister - China.org.cn". www.china.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
  2. "โปรดเกล้าฯ เศรษฐา เป็นนายกฯคนที่ 30 เตรียมอันเชิญพระบรมราชโองการ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
  3. JINTAMAS SAKSORNCHAI, Associated Press (2023-08-22). "Former Thai leader Thaksin goes to jail as political party linked to him wins vote to take power". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
  4. "นายกฯ คนที่ 30: เศรษฐา ทวีสิน รับพระราชโองการ ประกาศ "4 ปีแห่งความเปลี่ยนแปลง"". บีบีซีไทย. 2023-08-23. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "นายกฯ คนที่ 30 "เศรษฐา ทวีสิน" ถึงทำเนียบรัฐบาล เข้าพบ "พล.อ.ประยุทธ์" แล้ว". www.thairath.co.th. 2023-08-24.
  6. "บันทึกประวัติศาสตร์ ครั้งแรกในรอบ 91 ปี 2 นายกฯ ส่งไม้ต่อบริหารประเทศ". thansettakij. 2023-08-24.
  7. ""เศรษฐา" ลงพื้นที่ ภูเก็ต-พังงา ฟังปัญหาเอกชนพร้อมหนุนท่องเที่ยว". tnnthailand. 2023-08-25.
  8. ""เศรษฐา" ประเดิมงานแรก นำทีมบุกภูเก็ต-พังงา ในนามพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่ภารกิจนายกฯ". www.sanook.com/news. 2023-08-25.
  9. "เศรษฐา ทวีสิน โพสต์ภาพ พบปะฟังความเห็นนักธุรกิจใหญ่". pptvhd36.com. 2023-08-29.
  10. ""เศรษฐา" ยัน ถกครม.นัดแรก ประกาศลดราคาค่าไฟ-ค่าน้ำมันดีเซล ทันที". www.thairath.co.th. 2023-08-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]