พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาอนุสสรธุระการ
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
14 กุมภาพันธ์ 2476 – 1 เมษายน 2479
ก่อนหน้าพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ
ถัดไปพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423
ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เสียชีวิต1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (73 ปี)
บุตร11 คน
บุพการี
  • เขียว (บิดา)
  • เพ็ง (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พันตำรวจเอก

พันตำรวจเอก พระยาอนุสสรธุระการ นามเดิม จ่าง เกิดเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 ที่บ้านในตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายเขียว และ นางเพ็ง โดยปู่ของท่าน ชื่อ นายพุก ซึ่งสืบสายลงมาจาก นายคำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุลให้ท่านว่า "วัจนะพุกกะ"

ประวัติ[แก้]

ในวัยเยาว์ ท่านได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสคูล (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปัจจุบัน) จนสำเร็จการศึกษาได้ประกาศนียบัตร ชั้น 7 จากนั้นจึงรับราชการในกระทรวงนครบาล เริ่มที่ตำแหน่งผู้ช่วยนายเวรสรรพากร ในกรมกองตระเวน เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 และได้รับความเจริญในราชการเรื่อยมา คือ เป็นผู้กำกับการโรงพักสามแยก เมื่อ พ.ศ. 2464 ปฏิบัติงานอยู่ 5 ปี จึงย้ายไปรั้งตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2469[1]และได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[2]ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 กลับเข้ามากรุงเทพฯ เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล บางรัก [3]

จนหลังเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 แล้ว ท่านจึงได้เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ ในสมัย พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ เป็นอธิบดี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 [4] และในที่สุด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตำรวจ เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476[5]

ตำแหน่งการทำงาน[แก้]

ได้รับยศเป็นนายพันตำรวจเอกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471[6]และอีก 2 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุสสรธุระการ ถือศักดินา 1000 [7]

นอกจากนี้ ในระหว่างที่รับราชการ ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการพิเศษหลายคราว ที่สำคัญ คือ

  • เป็นเจ้าพนักงาน เรี่ยไรเก็บเงิน ในการหล่อพระบรมรูปทรงม้า ระหว่างปี พ.ศ. 2451-2452
  • เป็นเจ้าพนักงาน ตามเสด็จประจำ เจ้าหญิงวอลดิมาร์ แห่งประเทศเดนมาร์ค เมื่อปี พ.ศ. 2456
  • ตามเสด็จพระราชดำเนิน รัชกาลที่ 6 คราวประพาสลานเท ที่พระนครศรีอยุธยา ,ลำน้ำสมุทรสาคร และมณฑลราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2460
  • เป็นผู้จับกุมชนชาติศัตรู (เยอรมัน) คราวสงครามโลกครั้งที่ 1 และคุมศัตรูไปส่งที่สิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2461
  • มีส่วนร่วม ในการปฏิบัติงานคราวปราบกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476

ฯลฯ

ท่านออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2479[8]รวมอายุราชการ 34 ปี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก และ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย กับทั้งเหรียญจักรมาลา และ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นเกียรติยศ

ชีวิตครอบครัว[แก้]

พระยาอนุสสรธุระการ มีบุตร-ธิดา รวม 11 คน คือ

  • นายดาบดำริห์ วัจนะพุกกะ (ทหารอาสาร่วมรบสงครามโลก)
  • พันตำรวจโทดำรัส วัจนะพุกกะ
  • พลตำรวจตรีสุชาติ วัจนะพุกกะ
  • นางสาวผกา วัจนะพุกกะ
  • นายสัตว์แพทย์จินดา วัจนะพุกกะ
  • นายสัตว์แพทย์สมจิตต์ วัจนะพุกกะ
  • นางชูศรี แจ้งเจนกิจ
  • นางสาวพิศวง วัจนะพุกกะ
  • นายสุดจิตต์ วัจนะพุกกะ
  • นายโฆสิต วัจนะพุกกะ
  • พันตำรวจโทโกสุม วัจนะพุกกะ

หลังออกจากราชการแล้ว ท่านก็ได้ชีวิตอย่างสงบ ณ บ้านของท่านที่ถนนสาธร จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 หลวงอนุสสรธุระการ ถือศักดินา 600[9]
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - อำมาตย์ตรี[10]
  • 17 มกราคม พ.ศ. 2458 - เปลี่ยนยศเป็น พันตำรวจตรี[11]
  • 21 สิงหาคม พ.ศ. 2460 พันตำรวจโท[12]
  • – พระอนุสสรธุระการ
  • 26 เมษายน 2463 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน[13]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 พันตำรวจเอก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและบรรจุตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจ
  2. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้บังคับการตำรวจ
  3. เรื่อง ปลด ย้าย และตั้งนายตำรวจชั้นผู้บังคับการ (หน้า 229)
  4. ประกาศ ปลดและย้ายนายตำรวจ (หน้า 495)
  5. ประกาศ ปลดและตั้งอธิบดีและรองอธิบดีกรมตำรวจ
  6. พระราชทานยศพลเรือน (หน้า 2449)
  7. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  8. ประกาศ ปลดอธิบดีกรมตำรวจ
  9. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  10. พระราชทานยศ (หน้า ๖๑๘)
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนนามกรมพลตระเวน แลเปลี่ยนยศข้าราชการกรมพลตระเวน
  12. พระราชทานยศนายตำรวจภูธรและนายตำรวจพระนครบาล
  13. ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน
  14. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (หน้า 3447)
  15. พระราชทานเหรียญจักรมาลา
ก่อนหน้า พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ) ถัดไป
พันตำรวจเอก
พระยาบุเรศผดุงกิจ
(รวย พรหโมบล)
อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 9
(2476 – 2479)
พลตำรวจเอก
หลวงอดุลเดชจรัส
(อดุล อดุลเดชจรัส)