เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์
เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ | |
---|---|
คำขวัญ: ร่อนพิบูลย์เมืองน่าอยู่ ผู้คนมีความสุขอย่างยั่งยืน มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณี ชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้หลักธรรมาภิบาล | |
พิกัด: 8°10′45″N 99°51′15″E / 8.17911°N 99.85425°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | ร่อนพิบูลย์ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ณรงค์ แซ่ใช้[1] |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 11.53 ตร.กม. (4.45 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 7,889 คน |
• ความหนาแน่น | 697.48 คน/ตร.กม. (1,806.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05801302 |
ที่อยู่ สำนักงาน | ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80130 |
โทรศัพท์ | 0 7533 6081 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราชประมาณ 32 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11.53 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์
ประวัติ
[แก้]ท้องถิ่นบางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็น "สุขาภิบาลร่อนพิบูลย์" เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2498[2] ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงขยายเขตสุขาภิบาลเมื่อ พ.ศ. 2508[3] และได้รับการยกฐานะเป็น "เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์" เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[4]
ปัจจุบันเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนพิบูลย์บางส่วน เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1 บ้านหูด่าน, หมู่ที่ 5 บ้านห้วยรากไม้, หมู่ที่ 6 บ้านยางพอก, หมู่ที่ 7 บ้านเขาน้อย, หมู่ที่ 10 บ้านโคกยาง, หมู่ที่ 12 บ้านตลาดร่อนพิบูลย์, หมู่ที่ 13 บ้านศาลาขี้เหล็ก, หมู่ที่ 14 บ้านนาโพธิ์ และหมู่ที่ 15 บ้านทุ่งน้ำจาน
ภูมิศาสตร์
[แก้]เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ห่างไปประมาณ 32 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขาและภูเขาเตี้ย ๆ กระจายอยู่ในพื้นที่ โดยเชื่อมต่อกับบริเวณเหมืองแร่เก่าในบริเวณภูเขา และมีพื้นที่ราบลุ่มบางส่วน มีพื้นที่ประมาณ 11.53 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,206.25 ไร่ ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมกราคม ปริมาณน้ำฝนช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคมจะมีปริมาณน้ำฝนรวมร้อยละ 92 ของฝนตลอดปี อุณภูมิโดยเฉลี่ย 27–28 องศาเซลเซียส ตลอดปี ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังประกอบกับมีกระแสลมพัดทางใต้ทำให้อุณภูมิสูงขึ้นและแห้งแล้งมากที่สุดในรอบปี
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ ติดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนพิบูลย์
- ทิศตะวันออก ติดกับตำบลควนชุม อำเภอร่อนพิบูลย์
- ทิศใต้ ติดกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนพิบูลย์
- ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอทุ่งสง
ชุมชน
[แก้]เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ประกอบด้วยชุมชน 12 ชุมชน
- ชุมชนตลาดเกษตร
- ชุมชนบ้านป่าชมพู่
- ชุมชนบ้านวังไทร
- ชุมชนบ้านนาโพธิ์-หนองคูขัน
- ชุมชนบ้านตลาดใหม่
- ชุมชนวัดสุวรรณรังษี
- ชุมชนตลาดร่อนพิบูลย์
- ชุมชนบ้านตลาดใน-จานเรียว
- ชุมชนบ้านปรีชาทอง-นาลึก
- ชุมชนวัดเทพนมเชือด
- ชุมชนบ้านเขาน้อย
- ชุมชนบ้านโคกยาง
สาธารณสุข
[แก้]- โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนร่อนพิบูลย์
- โรงเรียนวัดพิศาลนฤมิต
- โรงเรียนวัดเทพนมเชือด
- โรงเรียนวัดเขาน้อย
- โรงเรียนชุมชนวัดสุวรรณรังษี
- โรงเรียนดรุณศึกษา
- โรงเรียนในเครือวีรศิลปิน
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอร่อนพิบูลย์
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์
วัด
[แก้]จำนวนวัดในเขตเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ มีทั้งหมด 5 วัด คือ
- วัดสุวรรณรังษี
- วัดเขาน้อย
- วัดเทพนมเชือด
- วัดพิศาลนฤมิต
- วัดจีบประดิษฐ์
สถานที่สำคัญ
[แก้]- รถไฟร่อนพิบูลย์ (เขาน้อย)
- สถานีตำรวจร่อนพิบูลย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เรื่องดีดีที่ชุมชน ตอนที่ 1746 : "สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์จับมือหน่วยงานภาคีซ่อมบ้านพอเพียงหลังแรก"". สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). 15 Mar 2022. สืบค้นเมื่อ 24 Jun 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 125–127. 17 กันยายน 2498.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (57 ง): 1869–1870. 20 กรกฎาคม 2508.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-13.