ข้ามไปเนื้อหา

องค์บาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์บาก
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับปรัชญา ปิ่นแก้ว
บทภาพยนตร์ศุภชัย สิทธิอำพรพรรณ
เนื้อเรื่องปรัชญา ปิ่นแก้ว
พันนา ฤทธิไกร
อำนวยการสร้างสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
ปรัชญา ปิ่นแก้ว
สุกัญญา วงค์สถาปัตย์
นักแสดงนำทัชชกร ยีรัมย์
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
ภุมวารี ยอดกมล
สุเชาว์ พงษ์วิไล
วรรณกิตย์ ศิริพุฒ
เชษฐวุฒิ วัชรคุณ
ชุมพร เทพพิทักษ์
ฉัฏฐพงศ์ พันธนะอังกูร
รุ้งนภัฐ บริจินดากุล
กำกับภาพณัฐวุฒิ กิตติคุณ
ตัดต่อธนัติ สุนสิน
ฐานพัฒน์ ทวีสุข
ธนพงศ์ บุณยะชัย
ดนตรีประกอบคาราบาว
Atomix Clubbing Studio
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย31 มกราคม พ.ศ. 2546
ความยาว105 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง1,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ)
ทำเงิน99 ล้านบาท (กรุงเทพ, ปริมณฑล และเชียงใหม่)
20,112,926 ดอลลาร์สหรัฐ (ทั่วโลก)
ต่อจากนี้องค์บาก 2
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

องค์บาก (อังกฤษ: Ong Bak) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวศิลปะการต่อสู้ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2546 กำกับโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว และผลงานการกำกับคิวแอกชั่นโดย พันนา ฤทธิไกร แสดงนำโดย ทัชชกร ยีรัมย์, หม่ำ จ๊กมก, ภุมวารี ยอดกมล และมีร่วมด้วย สุเชาว์ พงษ์วิไล, วรรณกิต ศิริพุฒ, เชษฐวุฒิ วัชรคุณ, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฉัฏฐพงศ์ พันธนะอังกูร, รุ่งระวี บริจินดากุล[1], พรพิมล ชูขันทอง

เรื่องย่อ

[แก้]

องค์บาก พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของหมู่บ้านหนองประดู่ ได้ถูกขโมยตัดเศียรไป บุญทิ้ง (ทัชชกร ยีรัมย์) หนุ่มบ้านหนองประดู่ จึงอาสาออกตามหามาจนถึงกรุงเทพฯ จนได้เจออ้ายหำแหล่หรือ ยอร์จ (หม่ำ จ๊กมก) ลูกชายผู้ใหญ่บ้านที่ทิ้งท้องนาและกลิ่นโคลนสาปควายบ้านนอก มาร่วมทีมกับ หมวยเล็ก (ภุมวารี ยอดกมล) มาเป็น 18 มงกุฎ ต้มตุ๋นชาวบ้านเพื่อเลี้ยงปากท้อง

บุญทิ้งจึงไม่วายเป็นเหยื่อเพราะความซื่อ แต่ด้วยความที่เป็นคนดีและเคยช่วยเหลือชีวิตทั้งสองไว้ ภายหลังเขาจึงได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองในการตามหาองค์บาก พร้อมถูกดึงเข้าสู่การต่อสู้กับเจ้าพ่อมาเฟียอิทธิพลมืดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด บุญทิ้งจึงขอต่อสู้ทั้งชีวิตด้วยศิลปะมวยไทยโบราณตลอดจนการเดินทางตามหาองค์บากเพื่อนำกลับคืนสู่หมู่บ้านให้ทันพิธีอุปสมบทหมู่ซึ่งจะจัดขึ้นในอีก 7 วันให้ได้

นักแสดง

[แก้]
ภาพยนตร์ องค์บาก
รับบทเป็น นักแสดงนำโดย
บุญทิ้ง / ทิ้ง ประดู่พริ้ว ทัชชกร ยีรัมย์
อ้ายหำแหล่ / ยอร์จ เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา
หมวยเล็ก (หมวย) ภุมวารี ยอดกมล
เสี่ยคมทวน สุเชาว์ พงษ์วิไล
ลุงเมา ชุมพร เทพพิทักษ์
ดอน วรรณกิตย์ ศิริพุฒ
เป๋ง เชษฐวุฒิ วัชรคุณ
สมิง สิบทิศ ฉัฏฐพงศ์ พันธนะอังกูร
รับบทเป็น นักแสดงรับเชิญ
เง็ก (พี่สาวของหมวยเล็ก) รุ้งนภัฐ บริจินดากุล
โตชิโร (นักมวยกังฟู) ณัฐพล อัศวโภคิน
แม่หวาน พรพิมล ชูขันทอง
ยายหอม บุญศรี ยินดี
ตาเหมือน อุดม ชวนชื่น
เสี่ยเป้า วรวิทย์ ตั้งจิตรศิริกุล
เฮียเหลา ฉลองศักดิ์ ศิริมหาศาล
ผู้ใหญ่น้อย (พ่อของอ้ายหำแหล่) แสวง รอดนุช
แม่จำเนียร (แม่ของอ้ายหำแหล่) สุทิน รอดนุช
ชาวบ้าน พันนา ฤทธิไกร
องครักษ์ ชูพงษ์ ช่างปรุง
องครักษ์ ดอน เฟอร์กูสัน
เพิร์ล ฮาร์เบอร์ อีริด มาร์คัส ชูทส์
หมอสัก ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน

รางวัลในประเทศไทย

[แก้]

ตารางสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงรางวัล สีเขียวคือได้รับรางวัล สีแดงคือได้รับการเสนอชื่อแต่พลาดรางวัลไป

ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผล
รางวัลสุพรรณหงส์ การสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (ธนัติ สุนสิน), (ฐานพัฒน์ ทวีสุข) เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา) เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม (ทัชชกร ยีรัมย์) เสนอชื่อเข้าชิง
เฉลิมไทยอวอร์ด ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ทัชชกร ยีรัมย์) ได้รับรางวัล
KUNGFUCINEMA AWARD นักแสดงนำฝ่ายชายที่เน้นศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยม (ทัชชกร ยีรัมย์) ได้รับรางวัล
ออกแบบฉากและศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยม (ทัชชกร ยีรัมย์) ได้รับรางวัล
ทูตวัฒนธรรมด้านภาพยนตร์ครั้งที่ 1 ทูตวัฒนธรรมด้านภาพยนตร์ครั้งที่ 1 (ทัชชกร ยีรัมย์) ได้รับรางวัล

เวอร์ชันอีกรูปแบบ

[แก้]

หลังจากที่ องค์บาก กลายเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย สิทธิการซื้อขายสำหรับต่างประเทศในเอเชีย ถูกซื้อโดย ลุก แบซง จากบริษัท EuropaCorp

ละครโชว์เวทีสุดยิ่งใหญ่

[แก้]
  • หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากจึงได้นำมาดัดแปลงเนื้อหาให้เป็นรูปแบบละครโชว์บนเวทีที่คงสไตล์การ เล่นจริง เจ็บจริง ไม่ใช้ตัวแสดงแทน ทุกฉากทุกตอนของจริง ไม่มีตัด โดยได้นักแสดงสตั้นแมนและนักแสดงรุ่นใหม่ที่ผ่านการคัดกว่า 100 ชีวิต ฝึกฝนกว่า 1 ปีเต็ม ทำการเปิดโชว์การแสดงทุกวันยกเว้นวันจันทร์ ณ โรงละคร ห้าง SHOW DC พระราม 9 ชั้น 6 ติดกับ RCA

อ้างอิง

[แก้]
  1. Official website ฐานข้อมูลภาพยนตร์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]