วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ขวดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทโมเดอร์นา | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | โควิด-19 |
ชนิด | เอ็มอาร์เอ็นเอ |
ข้อมูลทางคลินิก | |
การอ่านออกเสียง | /məˈdɜːrnə/mə-dur-nə[3] |
ชื่อทางการค้า | Spikevax[1] |
ชื่ออื่น | mRNA-1273, CX-024414, COVID-19 mRNA Vaccine Moderna, TAK-919, Moderna COVID‑19 Vaccine, COVID‑19 Vaccine Moderna, COVID-19 Vaccine Moderna Intramuscular Injection,[2] |
AHFS/Drugs.com | Multum Consumer Information |
MedlinePlus | a621002 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC |
|
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
DrugBank | |
UNII | |
KEGG | |
วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา (อังกฤษ: Moderna COVID‑19 vaccine มีชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของว่า elasomeran[14]) อันมีชื่อรหัสว่า mRNA-1273 และมีตราสินค้าว่า Spikevax[1] เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอที่บริษัทโมเดอร์นา, สถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases, NIAID) และสำนักงานวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูงสหรัฐ (Biomedical Advanced Research and Development Authority, BARDA) เป็นผู้พัฒนาขึ้นโดยได้รับทุนบางส่วนจากเซพี (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations, CEPI)[15][16] วัคซีนได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้กับผู้มีอายุ 12 ปีหรือยิ่งกว่าในเขตปกครองบางเขต และกับผู้มีอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่าในเขตอื่น ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19[11][1] วัคซีนใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสองโดส โดสละ 0.5 มล. โดยห่างกัน 4 สัปดาห์[17][18][19]
วัคซีนนี้มีสารออกฤทธิ์เป็นเอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ (modRNA) ซึ่งเข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัสโควิด-19 ที่มีอยู่โดยธรรมชาติ โดยเอ็มอาร์เอ็นเอจะหุ้มไว้ในอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิด (lipid nanoparticle)[20] เมื่อเข้าไปในเซลล์แล้ว เซลล์ก็จะผลิตโปรตีนหนามโดยอาศัยเอ็มอาร์เอ็นเอจากวัคซีนแล้วกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเรียนรู้เพื่อตอบสนองต่อโปรตีนนั้น ๆ ดังนั้น เมื่อติดเชื้อไวรัสจริง ๆ ในอนาคต ก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้เร็ว จึงบรรเทาอาการการติดเชื้อ ซึ่งในบางคนอาจจะไม่ปรากฏอาการเลย
วัคซีนนี้ได้อนุมัติให้ใช้แล้วโดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ในประเทศหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐ แคนาดา สหภาพยุโรป (ซึ่งมีผลต่อประเทศ 30 ประเทศ) สหราชอาณาจักร อิสราเอล และสิงคโปร์ โดยองค์การอนามัยโลกก็จัดอยู่ในรายการให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[21]
สำหรับประเทศไทย ในกลางเดือนพฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้[22][23] รัฐบาลเบื้องต้นมุ่งหมายให้ใช้เป็นวัคซีนทางเลือกโดย รพ. เอกชนสามารถสั่งซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อนำไปกระจายฉีดให้แก่ประชาชน[24] ในปลายเดือนมิถุนายน อภ. เผยว่าจะขายวัคซีนให้แก่เอกชนโดสละ 1,100 บาทซึ่งรวมรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขนส่ง และค่าประกันภัยรายบุคคล[25] ในปลายเดือนกรกฎาคม อภ. ได้เซ็นสัญญาซื้อขายเพื่อให้ส่งวัคซีน 5 ล้านโดส[26] โดยจะนำเข้าในระหว่างไตรมาสที่ 4 ปลายปีนี้กับไตรมาสที่ 1 ต้นปีหน้า[27] สภากาชาดไทยได้รับจัดสรร 1 ล้านโดสซึ่งส่วนหนึ่งจะเปิดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดซื้อไปฉีดให้แก่ประชาชนเปราะบางกลุ่มต่าง ๆ ฟรี[28] รพ. เอกชน 277 แห่งทั่วประเทศได้รับการจัดสรร 3.9 ล้านโดสซึ่งประชาชนสามารถจองได้โดยมีค่าใช้จ่าย 1,500-1,700 บาทต่อเข็ม ส่วน รพ. รามาธิบดีกับ รพ. ศิริราชได้รับจัดสรร 100,000 โดสที่เหลือ[27] ในปลายเดือนสิงหาคม บริษัทผู้แทนจำหน่ายวัคซีนในประเทศไทยได้ระบุว่า จะทะยอยส่งวัคซีน 1,958,400 โดสในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และ 3,110,400 โดสในไตรมาสแรกของปีต่อไป[29]
โมเดอร์นาระบุว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ระหว่าง 800-1,000 ล้านโดสในปี 2021 และ 3,000 ล้านโดสในปี 2022[30] แต่ตามศูนย์นวัตกรรมทางสุขภาพโลกที่มหาวิทยาลัยดุ๊ก จนถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2021 วัคซีนนี้ก็มีการสั่งจองล่วงหน้าแล้วเกิน 1,658 ล้านโดสโดยรวมวัคซีนที่ประเทศไทยสั่งแล้ว 5 ล้านโดส[31]
ในเดือนมกราคม 2021 บริษัทเริ่มพัฒนาวัคซีนรูปแบบใหม่ ซึ่งมีชื่อรหัสว่า mRNA-1273.351 ที่สามารถใช้ฉีดเพิ่มเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เบต้าที่พบแรกสุดในแอฟริกาใต้[32][33] และเริ่มทดสอบด้วยว่า ถ้าให้วัคซีนดั้งเดิมเป็นโดสที่สาม จะสามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ ได้หรือไม่[33] จนถึงกลางเดือนมีนาคมบริษัทได้เริ่มการทดลองกับเด็กอายุ 0-11 ขวบและอายุ 12-17 ปีแล้ว[34] ในเดือนเดียวกัน บริษัทได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 กับวัคซีนโควิด-19 รุ่นต่อไปซึ่งมีชื่อรหัสว่า mRNA-1283 โดยเป็นวัคซีนที่สามารถจัดเก็บและขนส่งในอุณหภูมิตู้เย็นเก็บยาธรรมดาได้[35][36]
การแพทย์
[แก้]วัคซีนของโมเดอร์นาใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เพื่อไม่ให้เป็นโรคโควิด-19[11][1] โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดลทอยด์ 2 เข็ม[37] องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดห่างกัน 28 วัน[38] ข้อมูลแสดงว่า ประสิทธิศักย์ของวัคซีนโดสแรกคงยืนได้ถึง 10 สัปดาห์[38] ดังนั้น เพื่อลดการเสียชีวิตเมื่อวัคซีนมีจำกัด องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ยืดการฉีดโดสที่สองออกไปถึง 12 สัปดาห์เพื่อให้ฉีดโดสแรกแก่บุคคลเสี่ยงได้จำนวนมากที่สุด[38] ยังมีบางประเทศซึ่งฉีดวัคซีนโดสที่ 3 ให้แก่ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหลังฉีดโดสที่สองไปแล้ว 28 วันด้วย[18][19]
ประสิทธิศักย์
[แก้]หลักฐานทางการทดลองแสดงว่า ประสิทธิศักย์ของวัคซีนปรากฏราว ๆ 2 สัปดาห์หลังจากฉีดโดสแรก[39] โดย 2 สัปดาห์หลังจากฉีดโดสที่สอง ประสิทธิศักย์จะอยู่ที่ร้อยละ 94.1 งานศึกษาที่สหรัฐใช้อนุมัติวัคซีนเป็นการฉุกเฉินพบว่า ในกลุ่มที่ได้วัคซีน 15,181 คน อาสาสมัคร 11 คนติดโควิด เทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก 15,170 คนที่ 185 คนติดโควิด[39] อนึ่ง ในกลุ่มที่ได้วัคซีน ไม่มีกรณีที่มีอาการรุนแรงเลย เทียบกับ 11 คนในกลุ่มยาหลอก[40] สำหรับประสิทธิศักย์ของวัคซีนโรคทางเดินหายใจเหตุไวรัส อัตราเช่นนี้มีคนเรียกว่า "น่าอัศจรรย์"[41] และ "เฉียดทำประวัติศาสตร์"[42] โดยอยู่ในระดับเดียวกับวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค[43][44]
ค่าประสิทธิศักย์คล้าย ๆ กันตลอดทุกชั่วอายุ ตลอดทั้งสองเพศ ตลอดกลุ่มเชื้อชาติและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตลอดจนคนที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ซึ่งเสี่ยงติดโควิดอย่างรุนแรง[45] แม้จะสำหรับคนอายุ 18 ปีและยิ่งกว่าเท่านั้น ในวันที่ 16 มีนาคม 2021 บริษัทได้เริ่มการทดลองกับเด็กอายุ 0-11 ขวบ (โครงการ KidCOVE) และอายุ 12-17 ปี (TeenCOVE) แล้ว[46]
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐได้ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2020 จนถึงมีนาคม 2021 กับบุคลากรทางแพทย์ เจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าสำคัญอื่น ๆ เกือบ 4,000 คน งานที่ตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 2021 สรุปว่า ในสถานการณ์จริง ประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีนนี้ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ 14 วันหลังจากโดสที่สองอยู่ที่ร้อยละ 90 และประสิทธิภาพหลังจากได้โดสแรก 14 วันแต่ก่อนจะได้โดสที่สองอยู่ที่ร้อยละ 80[47]
จนถึงเดือนเมษายน 2021 ระยะการเกิดภูมิคุ้มกันโรคเพราะวัคซีนยังไม่ชัดเจน[20][48] แต่ก็ได้เริ่มการศึกษาโดยติดตามผู้ได้วัคซีนเป็นระยะ 2 ปีแล้ว[42]
ผลงานเบื้องต้นจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แสดงว่า ประสิทธิศักย์ของวัคซีนคงยืน คือยังอยู่ที่ 93% หลังจากได้โดสที่สองไปแล้ว 6 เดือน[49]
ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
[แก้]ทั่วไปแล้ว วัคซีนจัดว่ามีประสิทธิภาพถ้ามีค่าประเมิน ≥50% และมีค่าล่างของช่วงความเชื่อมั่น (CI) แบบ 95% ที่ >30%[50]
ข้อมูลเบื้องต้นจากงานศึกษาในรัฐมินนิโซตา (สหรัฐ) แสดงนัยว่า วัคซีนยังคงประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลต้าทั้งแบบต้องเข้า รพ. และแบบไม่แสดงอาการ สายพันธุ์หลักในมินนิโซตาเปลี่ยนจากอัลฟาซึ่งมีความชุก 85% ในเดือนมกราคมไปเป็นเดลตาซึ่งมีความชุก 70% ในเดือนกรกฎาคม ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการเข้า รพ. รวมทุก ๆ สายพันธุ์ลดลงเล็กน้อย คือจาก 92% (95% CI, 81–97%) สำหรับระยะเวลาที่ว่าทั้งหมด โดยเหลือ 81% (33–96%) ในเดือนกรกฎาคม ประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการสำหรับทุกสายพันธุ์ตกลงเพียงเล็กน้อย คือจาก 86% (81–91%) ตลอดระยะเวลาที่ว่า โดยคงเหลือ 76% (58–87%) ในเดือนกรกฎาคม ให้เปรียบเทียบกับวัคซีนของไฟเซอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อสำหรับทุกสายพันธุ์ที่ตกลงมากกว่า คือ จาก 76% (69–81%) ตลอดระยะเวลาที่ว่า โดยเหลือ 42% (13–62%) ในเดือนกรกฎาคม[51]
โดส | ความรุนแรงของโรค | อัลฟา[a] | เบตา[a] | แกมมา[a] | เดลตา | สายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีมาก่อน |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | มีอาการ | 61% (56–66%) | 43% (22–59%) | ไม่มีรายงาน | 61% (53–67%) | |
ต้องเข้า รพ. | 59% (39–73%) | 56% (−9 to 82%) | ไม่มีรายงาน | 76% (46–90%) | ||
2 | มีอาการ | 90% (85–94%) | 88% (61–96%) | ไม่มีรายงาน | 93% (87–96%) | |
ต้องเข้า รพ. | 94% (59–99%) | 100%[b] | ไม่มีรายงาน | 90% (80–100%) |
กลุ่มประชากรโดยเฉพาะ ๆ
[แก้]มีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับการใช้วัคซีนนี้กับหญิงมีครรภ์[53] เพราะงานศึกษาเบื้องต้นไม่รับอาสาสมัครที่ตั้งครรภ์และถ้าพบว่าตั้งครรภ์ระหว่างงานศึกษาก็คัดอาสาสมัครออก[39] แต่งานศึกษาในสัตว์ไม่พบปัญหาทางความปลอดภัย และก็เริ่มการทดลองทางคลินิกแล้วเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของวัคซีนกับหญิงมีครรภ์[53] โปรแกรมติดตามความปลอดภัยในสถานการณ์จริงของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ยังไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ผิดปกติ[54] และอาศัยผลเบื้องต้นในงานศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 2021 CDC จึงแนะนำให้หญิงมีครรภ์ฉีดวัคซีนนี้[55][56]
ผลไม่พึงประสงค์
[แก้]องค์การอนามัยโลกระบุว่า ข้อมูลแสดงว่าวัคซีนปลอดภัยดี และการเกิดผลไม่พึงประสงค์แสดงว่า ไม่มีอะไรโดยเฉพาะที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับความปลอดภัย[39] ผลไม่พึงประสงค์ที่สามัญสุดรวมการเจ็บปวดที่จุดฉีด ล้า ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และปวดข้อ[39] ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐรายงานอาการแพ้รุนแรง (แอนาฟิแล็กซิส) ในอัตรา 2.5 กรณีใน 2.5 ล้านโดสที่ฉีด จึงแนะนำให้รอสังเกตอาการเป็นเวลา 15 นาทีหลังฉีด[58] ปฏิกิริยาทางผิวหนังที่จุดฉีดที่เกิดหลังจากนั้น โดยปรากฏเป็นผิวหนังแดงเหมือนผื่นก็พบในกรณีที่มีน้อย แต่ไม่จัดว่ารุนแรง หรือเป็นข้อห้ามใช้ไม่ให้ฉีดโดสต่อไป[59]
อัตราการเกิดผิวหนังแดงเหมือนผื่นใกล้ ๆ จุดฉีดอยู่ที่ 10.8% และในกรณีที่เกิด 1.9% อาจใหญ่ถึง 10 ซ.ม. หรือยิ่งกว่า[60] ในวันที่ 23 มิถุนายน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐได้ยืนยันว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) อาจเกิดในเยาวชน 13 รายในล้านคน โดยมากเป็นผู้ชายอายุเกิน 16 ปีผู้ได้รับวัคซีนโมเดอร์นาหรือไฟเซอร์ และโดยมากก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเมื่อได้การรักษาและการพักผ่อนที่เพียงพอ[61]
เภสัชวิทยา
[แก้]เทคโนโลยีเป็นสารประกอบเอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ (nucleoside-modified messenger RNA, modRNA) และหุ้มไว้ในอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิด (lipid nanoparticle) เอ็มอาร์เอ็นเอสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโดยเข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ซึ่งมีอยู่ที่อนุภาคไวรัสโควิด-19 โดยธรรมชาติ เมื่อสารประกอบเข้าไปในเซลล์มนุษย์แล้ว mRNA ก็จะเข้าไปที่ร่างแหเอนโดพลาซึม (ER) ของเซลล์ เอ็มอาร์เอ็นเอมีรหัสพันธุกรรมที่จะกระตุ้นให้เซลล์ผลิตโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 โดยใช้กลไกตามธรรมชาติของเซลล์ โปรตีนหนามที่ใช้นี้มีการดัดแปลงพันธุกรรมชื่อว่า 2P เป็นการเปลี่ยนกรดอะมิโนดั้งเดิมที่สองตำแหน่งด้วย proline เป็นการดัดแปลงซึ่งนักวิจัยที่สถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases, NIAID) ทำขึ้นโดยร่วมมือกับสถาบันอื่น ๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน[62][63][64][65]
เมื่อโปรตีนออกมาจากเซลล์แล้ว ก็จะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเรียนรู้เพื่อตอบสนองต่อโปรตีนหนามนั้น ๆ ดังนั้น เมื่อติดเชื้อไวรัสจริง ๆ ในอนาคต ก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้เร็ว จึงบรรเทาอาการการติดเชื้อ ซึ่งในบางคนอาจจะไม่ปรากฏอาการเลย กลไกการส่งยาของวัคซีนอาศัยอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิดซึ่งผ่านกระบวนการ PEGylation (PEGylated lipid nanoparticle [LNP] drug delivery system)[66] โดย PEGylation เป็นกระบวนการควบโซ่พอลิเมอร์ที่เป็น polyethylene glycol เข้ากับโมเลกุลหรือโครงสร้างที่ใหญ่กว่าอื่น ๆ เช่น ยา โปรตีนที่ใช้รักษา เป็นต้น แล้วกลายเป็นวัตถุที่เรียกว่า PEGylated แล้ว
เคมี
[แก้]วัคซีนมีตัวยาออกฤทธิ์เป็นเอ็มอาร์เอ็นเอที่ดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ (modRNA) ซึ่งมีนิวคลีโอไทด์ 4,101 ตัวและเข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike glycoprotein) ของไวรัสโควิด-19[67] โดยดัดแปลงให้แสดงออกโปรตีนในรูปแบบก่อนจะเชื่อมเข้ากับเซลล์ (prefusion configuration) คือมีการกลายพันธุ์แบบ K986P V987P และปรับปรุงลำดับให้ดียิ่งขึ้นดังนี้[68][69]
- uridine (U) ได้แทนที่ด้วย N1-methylpseudouridine (U → m1Ψ)
- ขนาบข้างด้วย 5′ untranslated region (UTR) และ 3' UTR อันเป็นลำดับยีนอนุพัทธ์ของยีน "Hemoglobin, alpha 1" ในมนุษย์
- เพิ่ม stop codon อีกสองตัว
- ยุติลำดับด้วย 3' poly (A) tail
เอ็มอาร์เอ็นเอจะหุ้มไว้ในอนุภาคนาโนที่เป็นลิพิดซึ่งทำให้เอ็มอาร์เอ็นเอเสถียร และอำนวยให้เอ็มอาร์เอ็นเอเข้าไปในเซลล์ได้[20] โดยผลิตจากลิพิดดังต่อไปนี้[37]
- 1,2-distearoyl-sn-glycero-3-phosphocholine (DSPC)
- คอเลสเตอรอล
- polyethylene glycol (PEG) 2000-dimyristoyl glycerol (DMG)
- SM-102 หรือ "heptadecan-9-yl 8-((2-hydroxyethyl) (6-oxo-6-(undecyloxy) hexyl) amino) octanoate" เป็นลิพิดที่ไอออนไนซ์ได้
วัคซีนละลายอยู่ในสารบัฟเฟอร์ในสถานะของเหลวซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้[37]
มีลำดับอาร์เอ็นเอจากวัคซีนที่ได้ตีพิมพ์ทางอินเทอร์เน็ตสำหรับนักวิทยาไวรัส ซึ่งอ้างว่าทำโดยถอดลำดับโดยตรงจากวัคซีนที่เหลือในขวด[70]
การผลิต
[แก้]โมเดอร์นาต้องอาศัยบริษัทรับจ้างผลิตเพื่อให้ผลิตวัคซีนได้เป็นจำนวนมาก ๆ ขั้นตอนแรกของการผลิตคือการสังเคราะห์พลาสมิดดีเอ็นเอเพื่อใช้เป็นแบบสร้างเอ็มอาร์เอ็นเอ ขั้นตอนนี้มีบริษัท Aldevron ในเมืองฟาร์โก้ รัฐนอร์ทดาโคตา (สหรัฐ) เป็นผู้ผลิต[71] ขั้นตอนที่เหลือบริษัททำสัญญากับล็อนซ่ากรุ๊ป (Lonza Group) เพื่อการผลิตในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ (สหรัฐ) และในเมือง Visp (สวิตเซอร์แลนด์) โดยซื้อลิพิดที่เป็นส่วนเติมเนื้อยา (excipient) จากบริษัท CordenPharma[72] อนึ่ง บริษัทยังผลิตวัคซีนเองที่โรงงานในเมืองนอร์วูด รัฐแมสซาชูเซตส์ (สหรัฐ)[73]
เพื่อบรรจุวัคซีนใส่ขวดและปิดป้าย บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท Catalent ในสหรัฐ และ Laboratorios Farmacéuticos Rovi ในสเปน[72] ในเดือนเมษายน 2021 บริษัทได้ขยายสัญญาที่ทำกับ Catalent เพื่อเพิ่มผลิตวัคซีน โดย Catalent จะผลิตวัคซีนเพิ่มขึ้น 80 ล้านขวดต่อปี[74] ในปลายเดือนเดียวกัน บริษัทประกาศว่าจะลงทุนเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อเพิ่มผลิตวัคซีน โดยอาจผลิตได้ถึง 3,000 ล้านโดสในปี 2022 และผลิตได้ระหว่าง 800-1,000 ล้านโดสในปี 2021 การปรับปรุงวิธีการผลิตจะให้ผลเพิ่มผลิตบางส่วน[75][76][30]
การเก็บ
[แก้]ข่าวความสำเร็จของวัคซีนนี้ได้ตีพิมพ์หลังจากข่าวเกี่ยวกับผลเบื้องต้นของวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค โดยวัคซีนของโมเดอร์นามีประสิทธิศักย์คล้าย ๆ กัน แต่เก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็นเก็บยาปกติคือในระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 วัน หรือเก็บที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียสได้ถึง 4 เดือน เทียบกับวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคที่ต้องเก็บแช่แข็งเย็นจัดระหว่าง -80 ถึง -60 องศาเซลเซียส[77][78] ประเทศรายได้น้อยปกติมีสมรรถภาพขนส่งและเก็บแช่เย็น (cold chain) ในระดับตู้เย็นแช่ยาธรรมดา ไม่ใช่ในระดับเย็นจัดref> "How China's COVID-19 could fill the gaps left by Pfizer, Moderna, AstraZeneca". Fortune. 2020-12-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-12. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.</ref>[79] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้ผ่อนข้อจำกัดในการเก็บวัคซีนของไฟเซอร์โดยอนุญาตให้ส่งและเก็บขวดวัคซีนแช่แข็งที่ยังไม่ได้ทำให้เจือจางในอุณหภูมิระหว่าง -25 ถึง -15 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนใช้[60][80][81]
วัคซีนของโมเดอร์นาไม่ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า -50 องศาเซลเซียส[82]
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 วารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ก็รายงานว่า "แม้จะเป็นไปได้ว่า ความแตกต่างของสูตรอนุภาคนาโนลิพิดหรือโครงสร้างทุติยภูมิของเอ็มอาร์เอ็นเอ อาจอธิบายความต่างของความเสถียรที่อุณหภูมิต่าง ๆ (ของวัคซีนบริษัทโมเดอร์นาและไฟเซอร์-ไบออนเทค) แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากก็คาดว่า ผลิตภัณฑ์วัคซีนทั้งสองในที่สุดก็จะปรากฏว่า มีข้อกำหนดในการเก็บและมีอายุผลิตภัณฑ์คล้าย ๆ กันที่อุณหภูมิต่าง ๆ"[83]
ประวัติ
[แก้]ในเดือนมกราคม 2020 โมเดอร์นาประกาศการพัฒนาวัคซีนอาร์เอ็นเอที่มีชื่อรหัสว่า mRNA-1273 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2)[84][85][86]
บริษัทได้รับเงินทุน 955 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 29,900 ล้านบาท) จากสำนักงานวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูงสหรัฐ (BARDA) ซึ่งเป็นส่วนของกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ คือสำนักงานเท่ากับให้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการพัฒนาวัคซีนจนได้รับขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ[87][88] แต่รวม ๆ แล้ว รัฐบาลกลางสหรัฐก็ได้ให้ทุนบริษัททั้งหมด 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 78,300 ล้านบาท) ในการพัฒนาและผลิตวัคซีนนี้[89]
ผู้บริจาคนอกภาครัฐอื่น ๆ รวมทั้งเซพี (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations, CEPI)[15][16] และนักร้อง ดอลลี พาร์ตันก็ได้ให้เงินทุนเพื่อพัฒนาวัคซีนนี้ด้วย[90]
การทดลองทางคลินิก
[แก้]ระยะที่ 1-2
[แก้]ในเดือนมีนาคม 2020 การทดลองทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 1 ของวัคซีนได้เริ่มขึ้นโดยบริษัทร่วมทำกับกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID)[91] ในเดือนเมษายน สำนักงานวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูงสหรัฐ (BARDA) ได้จัดงบประมาณถึง 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) สำหรับการพัฒนาวัคซีนของบริษัท[92] ในเดือนพฤษภาคม องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติแผนการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 เพื่อตรวจสอบขนาดยาและประสิทธิศักย์[93] ในเดือนเดียวกัน โมเดอร์นาเซ็นสัญญากับบริษัคผลิตวัคซีนสวิสคือล็อนซ่ากรุ๊ป (Lonza Group)[94] เพื่อให้ผลิตวัคซีน 300 ล้านโดสต่อปี[95]
ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2020 บริษัทได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะ 2a โดยรับอาสาสมัครผู้ใหญ่ 600 คนเพื่อประเมินความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการได้วัคซีน 2 โดส การทดลองจะเสร็จสิ้นในปี 2021[96] ในเดือนมิถุนายน บริษัทร่วมมือกับบริษัทอเมริกันคือ Catalent ผู้จะบรรจุและปิดป้ายขวดวัคซีน โดยเป็นผู้เก็บและแจกจำหน่ายวัคซีนด้วย[97]
วันที่ 9 กรกฎาคม โมเดอร์นาประกาศร่วมมือการผลิตกับ Laboratorios Farmacéuticos Rovi (สเปน) ถ้าวัคซีนได้รับอนุมัติ[98] ในวันที่ 14 ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทได้ตีพิมพ์ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ซึ่งได้ทดลองแบบเพิ่มขนาดยา (dose escalation) โดยพบว่า เกิดสารภูมิต้านทานแบบกำจัดฤทธิ์ (neutralizing antibodies) ต่อโปรตีน S1/S2 ของไวรัสโควิดเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 หลังฉีดยา ยาทุกขนาดก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ในระดับตั้งแต่เบาจนถึงปานกลางแต่จะสามัญยิ่งขึ้นเมื่อเพิ่มขนาดยา ผลไม่พึงประสงค์รวมทั้งเป็นไข้ ล้า ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บปวดที่จุดฉีด[69] วัคซีนในขนาดน้อย ๆ จึงพิจารณาว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพพอให้เริ่มทำการทดลองทางคลินิกระยะต่อ ๆ ไปโดยจะให้วัคซีนขนาด 100 ไมโครกรัม 2 ครั้งห่างกัน 29 วัน[69] ขนาดยาที่ให้มาก ๆ ก็จะไม่ทดลองต่อไป[99]
ระยะที่ 3
[แก้]ในวันที่ 27 กรกฎาคม บริษัทและสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในสหรัฐและมีแผนจะรับอาสาสมัคร 30,000 คนโดยจัดเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับวัคซีนขนาด 100 ไมโครกรัม 2 โดส และอีกกลุ่มได้รับยาหลอกเป็นโซเดียมคลอไรด์ 0.9%[100]
ในเดือนกันยายน 2020 บริษัทได้ตีพิมพ์แผนการทดลองนี้อย่างละเอียด[101] ในวันที่ 30 กันยายน ประธานบริหารบริษัทกล่าวว่า ถ้าทดลองได้สำเร็จ วัคซีนอาจเริ่มมีใช้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2021[102] ในเดือนตุลาคม 2020 บริษัทก็ได้อาสาสมัคร 30,000 คนที่จำเป็นในการทดลองระยะที่ 3 แล้ว[103]
ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2020 สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (US National Institutes of Health, NIH) ประกาศว่า การทดลองได้ผลดีโดยทั่ว ๆ ไป[104] ต่อมาวันที่ 16 บริษัทจึงประกาศผลเบื้องต้นที่ได้ในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ซึ่งระบุว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ (efficacy) ร้อยละ 94 ในการป้องกันโรค[78][105]
ข่าวนี้ออกหลังข่าววัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค และแสดงว่า วัคซีนของโมเดอร์นามีประสิทธิศักย์คล้ายกัน แต่สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิของตู้เย็นแช่ยาธรรมดาระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 วันหรือ -20 องศาเซลเซียสจนอาจถึง 4 เดือน เทียบกับวัคซีนของไฟเซอร์ที่ต้องเก็บไว้ในตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำพิเศษระหว่าง -80 ถึง -60 องศาเซลเซียส[77][78] แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2020 วารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ก็รายงานว่า "แม้จะเป็นไปได้ว่า ความแตกต่างของสูตรอนุภาคนาโนลิพิดหรือโครงสร้างทุติยภูมิของเอ็มอาร์เอ็นเอ อาจอธิบายความต่างของความเสถียรที่อุณหภูมิต่าง ๆ (ของวัคซีนบริษัทโมเดอร์นาและไฟเซอร์-ไบออนเทค) แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากก็คาดว่า ผลิตภัณฑ์วัคซีนทั้งสองในที่สุดก็จะปรากฏว่า มีข้อกำหนดในการเก็บและมีอายุผลิตภัณฑ์คล้าย ๆ กันที่อุณหภูมิต่าง ๆ"[83]
ในวันที่ 18 ธันวาคม องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉิน[10][12][106]
ตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 โมเดอร์นาได้ใช้ชุดตรวจโควิดของ Roche Diagnostics (แผนกหนึ่งของฮอฟฟ์แมน-ลา โรช) ที่องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2020 และตามผู้จำหน่ายเครื่องมืออณูชีววิทยาต่างหากผู้หนึ่ง "นี่จะอำนวยการวัดสารภูมิต้านทาน SARS-CoV แล้วช่วยระบุสหสัมพันธ์ระหว่างการป้องกันที่วัคซีนช่วยสร้างขึ้นกับระดับสารภูมิต้านทานแบบ anti-receptor binding domain" ความร่วมมือกันเช่นนี้ได้ประกาศเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2020 ต่อมา[107]
ในเดือนธันวาคม 2020 องค์การอาหารและยาสหรัฐตรวจพิจารณาข้อมูลที่ตีพิมพ์ในระหว่างการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนนี้ซึ่งแสดงว่า วัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรค ดังนั้น องค์การจึงขึ้นทะเบียนให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินต่อมา[106]
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2021 ผลงานทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ซึ่งแสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันโรคร้อยละ 94[20][78][105] ผลข้างเคียงรวมอาการคล้ายหวัด เช่น เจ็บปวดที่จุดฉีด ล้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เป็นต้น[78] แต่การทดลองจะไม่สิ้นสุดจนถึนปลายปี 2022[108]
การอนุมัติ
[แก้]ดูเพิ่มที่ รายการขึ้นทะเบียนในประเทศต่าง ๆ (ภาษาอังกฤษ)
อย่างเร่งด่วน
[แก้]ในเดือนธันวาคม 2021 เขตปกครองต่าง ๆ รวมทั้งสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป แคนาดา และสหรัฐ ต่างก็กำลังประเมินวัคซีนเพื่ออนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน (emergency use authorization, EUA) เพื่อให้สามารถฉีดวัคซีนแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว[110][111][112][113]
ในวันที่ 18 ธันวาคม องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉิน[10][12][106] เป็นผลิตภัณฑ์แรกของโมเดอร์นาที่ได้รับอนุมัติจาก FDA[114] ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) จึงอนุมัติให้ใช้วัคซีนเช่นกัน[4][5]
ในวันที่ 5 มกราคม กระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้[115]
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2021 กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ก็อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้[116] โดยวัคซีนได้ส่งมาถึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์[117]
ในวันที่ 31 เมษายน 2021 องค์การอนามัยโลกได้อนุมัติวัคซีนให้อยู่ในรายการใช้เป็นการฉุกเฉิน[118][21]
วันที่ 5 พฤษภาคม 2021 องค์การอาหารและยาของฟิลิปปินส์ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้[119] ในวันที่ 13 เดือนเดียวกัน คณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) ก็ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้[22][23] ในวันที่ 21 ต่อมา ญี่ปุ่นก็ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้วัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉิน[2]
ในวันที่ 29 มิถุนายน 2021 อินเดียได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้[120] และในวันเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนามก็ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเช่นกัน[121]
ในวันที่ 5 สิงหาคม 2021 มาเลเซียได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินอย่างมีข้อแม้[122] ในวันที่ 9 ต่อมา ออสเตรเลียก็ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างมีข้อแม้เพื่อให้ใช้กับบุคคลอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[123]
แบบปกติ
[แก้]ในวันที่ 6 มกราคม 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ได้แนะนำให้อนุมัติให้วัคซีนวางตลาดได้อย่างมีเงื่อนไข[124] โดยคณะกรรมาธิการยุโรปก็ได้อนุมัติในวันเดียวกัน[6][125] ในวันที่ 6 มิถุนายน 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรปได้เริ่มตรวจพิจารณาการขยายใช้วัคซีนนี้กับเด็กอายุระหว่าง 12-17 ปี[126]
ในวันที่ 12 มกราคม 2021 สำนักงานเวชภัณฑ์สวิตเซอร์แลนด์ (Swissmedic) ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้อย่างชั่วคราวในประเทศ[127][128]
ในต้นเดือนเมษายน 2021 หน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency, MHRA) แห่งสหราชอาณาจักรได้อนุมัติอย่างสมบูรณ์ให้วางตลาดขายวัคซีนในสหราชอาณาจักร[9]
พัฒนาการต่อ ๆ มา
[แก้]ยังไม่ชัดเจนว่า วัคซีนมีผลป้องกันโรคตลอดชีวิตหรือจะต้องฉีดวัคซีนเพิ่มเป็นระยะ ๆ[78] เมื่ออนุมัติให้ใช้ การให้วัคซีนแก่หญิงมีครรภ์และหญิงเลี้ยงลูกด้วยนมก็ยังไม่ได้ทดลอง[129] แม้คาดว่าจะทดลองกับคนกลุ่มนี้ในปี 2021[130]
ในเดือนมกราคม 2021 บริษัทเสนอให้วัคซีนโดสที่สามแก่อาสาสมัครที่ได้ฉีดวัคซีนสองครั้งในการทดลองระยะที่ 1 ของบริษัท โดยจะให้ในระหว่าง 6-12 เดือนหลังจากได้โดสที่สอง บริษัทยังอาจให้วัคซีนโดสที่สามแก่อาสาสมัครในการทดลองระยะที่ 3 ด้วย ถ้าข้อมูลความคงยืนของสารภูมิต้านทานแสดงว่าควรให้[131][132][133]
ในวันที่ 21 มกราคม 2021 บริษัทตกลงร่วมมือผลิตวัคซีนกับบริษัทยาญี่ปุ่นคือ Takeda Pharmaceutical Company โดยจะเรียกวัคซีนที่ญี่ปุ่นผลิตว่า COVID-19 Vaccine Moderna Intramuscular Injection[134][2]
ในวันที่ 25 มกราคมต่อมา บริษัทเริ่มพัฒนาวัคซีนรูปแบบใหม่ ซึ่งมีชื่อรหัสว่า mRNA-1273.351 ที่สามารถใช้ฉีดเพิ่มเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เบต้าที่พบแรกสุดในแอฟริกาใต้[32][33] และเริ่มทดสอบด้วยว่า ถ้าให้วัคซีนดั้งเดิมเป็นโดสที่สาม จะสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ได้หรือไม่[33] ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ บริษัทประกาศว่าได้ผลิตและส่งวัคซีนใหม่นี้ไปให้สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) เป็นจำนวนเพียงพอแล้วเพื่อการทดลองระยะที่ 1[135] จนถึงวันที่ 16 มีนาคม 2021 บริษัทได้เริ่มการทดลองกับเด็กอายุ 0-11 ขวบ (โครงการ KidCOVE) และอายุ 12-17 ปี (TeenCOVE) แล้ว[136]
ในเดือนมิถุนายน 2021 บริษัทกำลังตรวจสอบวัคซีนต่อต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายสายพันธุ์ซึ่งมีรหัสว่า mRNA-1273.211 และรวมวัคซีน mRNA-1273 กับ mRNA-1273.351 อย่างละครึ่ง ๆ[137][138]
การฉีดบูสต์ด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน
[แก้]ในกลางเดือนสิงหาคม 2021 องค์การอาหารและยาสหรัฐและศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐได้อนุญาตให้ฉีดวัคซีนเป็นโดสที่สามแก่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[18][19]
ประเทศไทย
[แก้]วันที่ | รายละเอียด |
---|---|
ปลายเดือน ก.พ. | องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ติดต่อกับโมเดอร์นาสหรัฐโดยตรง เพื่อสั่งจองวัคซีน 5 ล้านโดสให้ได้กลางเดือน มิ.ย. โดยบริษัทได้ตอบว่า ส่งได้เร็วสุดในไตรมาสแรกของปี 2022[139] |
ต้นเดือน เม.ย. | อภ. ถามถึงผู้แทนจำหน่ายในประเทศ บริษัทระบุว่ากำลังเจรจากับบริษัทซิลลิคฟาร์มาเท่านั้น[139] |
15 พ.ค. | บริษัทซิลลิคฯ แถลงว่า จะจัดซื้อวัคซีนผ่านตัวแทนภาครัฐเท่านั้นโดยเป็นข้อกำหนดของผู้ผลิตวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉิน[139] |
30 มิ.ย. | องค์การเภสัชกรรมจะขายวัคซีนให้ รพ. เอกชนโดสละ 1,100 บาท (ประมาณ 33 ดอลลาร์สหรัฐ)[I] |
1 ก.ค. | สมาคมโรงพยาบาลเอกชนกำหนดราคาให้บริการวัคซีนของ รพ. เอกชนอยู่ที่ 1,650 บาทต่อเข็ม (ประมาณ 49 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือ 3,300 บาทต่อสองเข็ม ในอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาล[II] |
2 ก.ค. | ร่างสัญญาจัดหาสินค้าได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด[141] |
16-21 ก.ค. | อภ. ทยอยลงนามซื้อขายวัคซีนกับ รพ. เอกชนโดย รพ. ต้องชำระค่าวัคซีนเต็มจำนวน[28]
สภากาชาดไทยเปิดให้ อบจ. จองวัคซีนเพื่อนำไปฉีดให้แก่กลุ่มประชาชนเปราะบาง 5 กลุ่มฟรี[28] |
22 ก.ค. | สภากาชาดไทยเซ็นสัญญาจัดซื้อวัคซีน 1 ล้านโดสผ่าน อภ. เพื่อนำฉีดให้แก่ประชาชนฟรี[142][143] |
23 ก.ค. | อภ. เซ็นสัญญาซื้อขายกับบริษัทซิลลิคฯ เพื่อวัคซีน 5 ล้านโดส[26] |
ไตรมาส 4 |
บริษัทซิลลิคฯ ระบุว่าจะส่งทะยอยวัคซีน 1,958,400 โดส[29] |
ไตรมาส 1 |
บริษัทซิลลิคฯ ระบุว่าจะส่งทะยอยวัคซีน 3,110,400 โดส[29] |
ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้ในประเทศไทย[22][23] รัฐบาลเบื้องต้นมุ่งหมายให้ใช้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนทางเลือกซึ่งรัฐเองไม่ได้ฉีดให้แก่ประชาชนโดย รพ. เอกชนสามารถสั่งซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อนำไปกระจายฉีดให้แก่ประชาชน[24] รพ. เอกชนคาดว่า จะสามารถนำเข้าวัคซีนได้ภายในเดือนตุลาคม[144][145] สื่อรายงานว่า ต้นทุนของวัคซีนที่นำเข้าผ่าน อภ. จะอยู่ที่ 37-38 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,160-1,192 บาท) โดย รพ. จะให้บริการฉีดวัคซีน 2 โดสในราคาประมาณ 3,000-4,000 บาทซึ่งรวมค่าประกันผลข้างเคียง[146]
ในวันที่ 15 กรกฎาคม สภากาชาดไทยประกาศว่า จะจัดซื้อวัคซีน 1 ล้านโดสผ่าน อภ. เพื่อนำฉีดให้แก่ประชาชนฟรี สภากาชาดจะเปิดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต่าง ๆ ส่งยอดจองวัคซีนโดย อบจ. ต้องสนับสนุนค่าวัคซีนโดสละ 1,300 บาท (ประมาณ 39 ดอลลาร์สหรัฐ) และสภากาชาดจัดทะยอยส่งวัคซีนให้เริ่มในเดือนตุลาคม ส่วน อบจ. ต้องนำวัคซีนไปฉีดให้แก่บุคคลต่าง ๆ 5 กลุ่มฟรีรวมทั้ง[28]
- คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง หญิงตั้งครรภ์
- ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป
- บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร
- ผู้ที่ทำงานในศูนย์เด็กเล็ก ครู รร. อนุบาล ครู/อาจารย์
- บุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานสัมผัสประชาชน
ในวันที่ 23 กค. ต่อมา อภ. ลงนามสัญญาซื้อขายกับบริษัทซิลลิคฟาร์มาเพื่อนำเข้าวัคซีน 5 ล้านโดส ข่าวระบุว่า เพราะบริษัทโมเดอร์นามีข้อกำหนดว่าจะขายวัคซีนให้แก่หน่วยงานของรัฐเท่านั้น ดังนั้น อภ. จึงต้องเป็นผู้เซ็นสัญญา วัคซีนจะนำเข้าระหว่างไตรมาสที่ 4 ปี 2021 จนถึงไตรมาสที่ 1 ปีต่อไปโดยเป็นวัคซีนทางเลือก การเซ็นสัญญานี้เกิดหลังจากที่ รพ. เอกชนต่าง ๆ และสภากาชาดไทยได้ชำระเงินค่าวัคซีนอย่างครบถ้วนให้แก่ อภ. แล้วโดย อภ. ก็จะชำระเงินจำนวนนี้ให้แก่บริษัทซิลลิคฯ ต่อไป ในวัคซีนจำนวนนี้ 3.9 ล้านโดสจะส่งให้ รพ. เอกชน 277 แห่งทั่วประเทศ อีก 1.1 ล้านโดสที่เหลือจะส่งให้สภากาชาดไทย รพ. รามาธิบดี และ รพ. ศิริราช ประชาชนที่จองวัคซีนกับ รพ. เอกชนจะเสียค่าใช้จ่าย 1,500-1,700 บาทต่อเข็ม หรือ 3,000-3,400 บาสสำหรับสองโดส ส่วนของที่สภากาชาดไทยเป็นผู้จัดสรรนั้น ประชาชนจะได้รับวัคซีนฟรี[27]
ในวันที่ 30 สิงหาคม บริษัทซิลลิคฯ ได้ส่งหนังสือมายัง อภ. ว่า จะทะยอยส่งวัคซีน 1,958,400 โดสในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และ 3,110,400 โดสในไตรมาสแรกของปีต่อไป[29]
สังคมและวัฒนธรรม
[แก้]ชื่อสินค้า
[แก้]mRNA-1273 เป็นชื่อรหัสของวัคซีนที่ใช้เมื่อกำลังพัฒนาและทดลอง[20][147] ส่วน elasomeran เป็นชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของซึ่งได้เสนอ[14][68] และ Spikevax เป็นชื่อตราสินค้า[1]
การสั่งจอง
[แก้]จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2021 ศูนย์นวัตกรรมทางสุขภาพโลก (Duke Global Health Innovation Center) แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊กได้รายงานว่า วัคซีนนี้มีการสั่งจองล่วงหน้าแล้วเกิน 1,658 ล้านโดสโดยรวมวัคซีนที่ประเทศไทยสั่งแล้ว 5 ล้านโดส[31]
ในเดือนมิถุนายน 2020 สิงคโปร์สั่งจองวัคซีนล่วงหน้าจากบริษัท โดยมีรายงานว่าได้จ่ายราคาแพงเป็นพิเศษเพื่อให้ได้วัคซีนที่ผลิตได้ต้น ๆ แม้รัฐบาลจะไม่ยอมเปิดเผยราคาหรือจำนวน โดยอ้างข้อสัญญาการซื้อขาย[148][149]
ในเดือนสิงหาคม 2020 รัฐบาลกลางสหรัฐสั่งจองวัคซีน 100 ล้านโดส[150]
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 บริษัทกล่าวว่าจะคิดค่าวัคซีนกับรัฐบาลต่าง ๆ ในราคาระหว่าง 25-37 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 783-1,200 บาท)[151][152]
ในเดือนธันวาคม 2020 สหภาพยุโรปสั่งจองวัคซีนล่วงหน้า 160 ล้านโดส และแคนาดา 56 ล้านโดส[153][154] ในวันที่ 17 ธันวาคม ข้อความทวิตเตอร์จากรัฐมนตรีงบประมาณเบลเยียมเปิดเผยว่า สหภาพยุโรปจะจ่าย 18 ดอลลาร์ต่อโดส (564 บาท) ในขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า สหรัฐจะจ่าย 15 ดอลลาร์ต่อโดส (470 บาท)[155]
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2021 วัคซีนล็อตแรกได้ส่งถึงสิงคโปร์[156] ในปลายเดือนเดียวกัน บริษัทคาดว่า จะขายวัคซีนในปีนี้ได้ 18,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 580,000 ล้านบาท)[157]
ปัญหา
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม 2020 หลังจากได้ประกาศให้ตลาดหุ้นรู้ถึงผลบางส่วนที่ยังไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้รู้เสมอกันในอาสาสมัคร 8 คนจาก 45 คนก่อนการทดลองระยะที่ 1 ในมนุษย์ ประธานบริหารบริษัทได้ประกาศผ่านสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่าจะขายหุ้นมีมูลค่า 1,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (39,000 ล้านบาท) จากหุ้นทั้งหมดที่ประเมินว่ามีมูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (940,000 ล้านบาท)[158] โดยที่เว็บไซต์ข่าว Stat ได้ระบุว่า "ผู้เชี่ยวชาญทางวัคซีนกล่าวว่า โมเดอร์นาไม่ได้ให้ข้อมูลที่จำเป็นในการตรวจประเมินวัคซีน"[159]
ในวันที่ 7 กรกฎาคม มีการเปิดโปงข้อขัดแย้งระหว่างบริษัทกับนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐเกี่ยวกับการไม่ยอมแชร์ข้อมูลของการทดลองทางคลินิก[160]
บริษัทยังถูกวิจารณ์เพราะไม่รับอาสาสมัครผู้มีชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในการทดลองทางคลินิก[161]
การฟ้องคดีสิทธิบัตร
[แก้]บริษัทโมเดอร์นากำลังสู้คดีทางสิทธิบัตรกับบริษัทแคนาดาคือ Arbutus Biopharma ที่โมเดอร์นาเคยได้ใบอนุญาตให้ใช้ระบบการส่งยาเข้าไปในเซลล์แบบ PEGylated lipid nanoparticle drug delivery system[162][163] ในวันที่ 4 กันยายน 2020 วารสารวิทยาศาสตร์คือ Nature Biotechnology รายงานว่าข้อคัดค้านโจทก์อันสำคัญอย่างหนึ่งของโมเดอร์นาถูกศาลตัดสินยกให้อีกฝ่ายในคดีนี้ชนะ[164]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Spikevax (previously COVID-19 Vaccine Moderna) EPAR". European Medicines Agency (EMA). 2021-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Takeda Announces Approval of Moderna's COVID-19 Vaccine in Japan" (Press release). Takeda. 2021-05-21.
- ↑ Moderna (2019-10-23). mRNA-3704 and Methylmalonic Acidemia (Video). YouTube. สืบค้นเมื่อ 2021-01-19.
- ↑ 4.0 4.1 "Regulatory Decision Summary - Moderna COVID-19 Vaccine". Health Canada. 2020-12-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-02. สืบค้นเมื่อ 2020-12-23.
- ↑ 5.0 5.1 "Moderna COVID-19 Vaccine (mRNA-1273 SARS-CoV-2)". COVID-19 vaccines and treatments portal. 2020-12-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-23. สืบค้นเมื่อ 2020-12-23.
- ↑ 6.0 6.1 "European Commission authorises second safe and effective vaccine against COVID-19". European Commission (Press release). สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
- ↑ "Information for Healthcare Professionals on COVID-19 Vaccine Moderna". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-08.
- ↑ "Conditions of Authorisation for COVID-19 Vaccine Moderna". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2021-01-09.
- ↑ 9.0 9.1 "Regulatory approval of COVID-19 Vaccine Moderna". gov.uk. 2021-04-01.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "FDA Takes Additional Action in Fight Against COVID-19 By Issuing Emergency Use Authorization for Second COVID-19 Vaccine". Food and Drug Administration (Press release). สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "Moderna COVID-19 Vaccine - cx-024414 injection, suspension". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 2020-12-20.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Moderna COVID-19 Vaccine Emergency Use Authorization (PDF). Food and Drug Administration (Report). 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2020-12-20. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Moderna COVID-19 Vaccine Standing Orders for Administering Vaccine to Persons 18 Years of Age and Older" (PDF). Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
- ↑ 14.0 14.1 "TGA grants provisional determination for the Moderna COVID-19 vaccine, Elasomeran". Therapeutic Goods Administration (TGA) (Press release). 2021-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ 15.0 15.1 "Our portfolio: partnerships to develop vaccines against COVID-19". CEPI. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-02. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ 16.0 16.1 "CEPI's COVID-19 vaccine portfolio". CEPI. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-04. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ "Moderna COVID-19 Vaccine". Dosing & Administration. Infectious Diseases Society of America. 2021-01-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-20. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 "Coronavirus (COVID-19) Update: FDA Authorizes Additional Vaccine Dose for Certain Immunocompromised Individuals". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 2021-08-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "COVID-19 Vaccines for Moderately to Severely Immunocompromised People". Centers for Disease Control and Prevention. 2021-08-13. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Baden, LR; HM, El Sahly; Essink, B; Kotloff, K; Frey, S; Novak, R; และคณะ (2021-02-04). "Efficacy and Safety of the mRNA-1273 SARS-CoV-2 Vaccine". The New England Journal of Medicine. 384 (5): 403–416. doi:10.1056/NEJMoa2035389. PMC 7787219. PMID 33378609.
- ↑ 21.0 21.1 "WHO lists anti-COVID Moderna vaccine for emergency use". Philippine Daily Inquirer. Agence France-Presse. 2021-05-01.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 "อย.ขึ้นทะเบียนวัคซีน "โมเดอร์นา" แล้ว". Thai PBS News. 2021-05-13.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 "Thai FDA approves Moderna vaccine". Bangkok Post. 2021-05-13.
- ↑ 24.0 24.1 "เปิดขั้นตอน 'โมเดอร์นา' 'วัคซีนโควิด-19' ทางเลือก จ่ายเองฉีดรพ.เอกชน". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-05-14.
- ↑ 25.0 25.1 @mthai (2021-06-30). "30 มิ.ย. 64 : องค์การเภสัชกรรม (GPO) เผย ..." (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
ขาย #วัคซีนโมเดอร์นา ให้รพ.เอกชน โดสละ 1,100 บาท" รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยรายบุคคล จากนี้สมาคมฯจะไปกำหนดราคากลางทุกรพ.ต่อไป สั่งจองในต้นเดือนก.ค.นี้ นำเข้าช่วงแรกในไตรมาส 4/64 : 3.9 ล้านโดส ไตรมาสที่ 1/65 : 1.1 ล้านโดส
{{cite web}}
: line feed character ใน|quote=
ที่ตำแหน่ง 83 (help) - ↑ 26.0 26.1 @nnthotnews (2021-07-23). "ลงนามแล้ว องค์การเภสัชกรรม กับ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จํากัด ลงนามสัญญา ชื้อ-ขาย วัคซีนโมเดอร์นา 5 ล้านโดส แล้ว" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 "วัคซีนโควิด : เซ็นซื้อโมเดอร์นาแล้ว หมอเชียงใหม่สงสัยไฟเซอร์บริจาค 1.5 ล้านโดส ใครได้บ้าง". BBC ไทย. 2021-07-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 "โควิด-19 : มติ ศบค. ให้ฉีดวัคซีนสูตรผสม ส่วนสภากาชาดไทยแจ้ง อบจ. ส่งจองยอดโมเดอร์นาล้านโดส". BBC ไทย. 2021-07-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 "ล่าสุด! บริษัทนำเข้า'วัคซีนโมเดอร์นา'แจ้งส่งล็อตแรกไตรมาส4". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-08-31.
- ↑ 30.0 30.1 "Moderna boosting COVID-19 vaccine capacity, targets up to 3 billion shots in 2022". Reuters. 2021-04-29.
- ↑ 31.0 31.1 "Vaccine Purchases: TRACKING COVID-19 VACCINE PURCHASES ACROSS THE GLOBE". Duke Global Health Innovation Center.
- ↑ 32.0 32.1 "Moderna COVID-19 Vaccine Update". 2021-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-29. สืบค้นเมื่อ 2021-05-16.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 "Is the Covid-19 Vaccine Effective Against New South African Variant?". The New York Times. 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-25.
- ↑ Jenco, Melissa (2021-03-16). "Moderna testing COVID-19 vaccine in children under 12".
- ↑ "First Participants Dosed in Phase 1 Study Evaluating mRNA-1283, Moderna's Next Generation COVID-19 Vaccine" (Press release). Moderna. 2021-03-15 – โดยทาง Business Wire.
- ↑ "Moderna begins testing next-generation coronavirus vaccine". Reuters. 2021-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 "Moderna COVID-19 Vaccine Standing Orders for Administering Vaccine to Persons 18 Years of Age and Older" (PDF). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-07-16. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-14.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 Interim recommendations for use of the Moderna mRNA-1273 vaccine against COVID-19 (Guidance). World Health Organization (WHO). June 2021. hdl:10665/341785. WHO/2019-nCoV/vaccines/SAGE_recommendation/mRNA-1273/2021.2.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 39.3 39.4 Background document on the mRNA-1273 vaccine (Moderna) against COVID-19. World Health Organization (Report).
- ↑ "Vaccines and Related Biological Products Advisory Committee Meeting". Food and Drug Administration. 2020-12-17.
- ↑ Branswell, Helen (2021-02-02). "Comparing the Covid-19 vaccines developed by Pfizer, Moderna, and Johnson & Johnson". สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
- ↑ 42.0 42.1 "Moderna Vaccine Shows Significant COVID-19 Prevention Efficacy in Phase 3 Data".
- ↑ Mishra, SK; Tripathi, T (February 2021). "One year update on the COVID-19 pandemic: Where are we now?". Acta Trop. 214: 105778. doi:10.1016/j.actatropica.2020.105778. PMC 7695590. PMID 33253656.
- ↑ Meo, SA; Bukhari, IA; Akram, J; Meo, AS; Klonoff, DC (February 2021). "COVID-19 vaccines: comparison of biological, pharmacological characteristics and adverse effects of Pfizer/BioNTech and Moderna Vaccines". Eur Rev Med Pharmacol Sci. 25 (3): 1663–1669. doi:10.26355/eurrev_202102_24877. PMID 33629336.
- ↑ "VRBPAC mRNA-1273 Sponsor Briefing Document" (PDF). Moderna. 2020-12-17.
- ↑ Jenco, Melissa (2021-03-16). "Moderna testing COVID-19 vaccine in children under 12".
- ↑ Thompson, MG; Burgess, JL; Naleway, AL; Tyner, HL; Yoon, SK; Meece, J; และคณะ (April 2021). "Interim Estimates of Vaccine Effectiveness of BNT162b2 and mRNA-1273 COVID-19 Vaccines in Preventing SARS-CoV-2 Infection Among Health Care Personnel, First Responders, and Other Essential and Frontline Workers - Eight U.S. Locations, December 2020 - March 2021" (PDF). MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 70 (13): 495–500. doi:10.15585/mmwr.mm7013e3. PMC 8022879. PMID 33793460. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Doria-Rose, N; Suthar, MS; Makowski, M; O'Connell, S; McDermott, AB; Flach, B; และคณะ (June 2021). "Antibody Persistence through 6 Months after the Second Dose of mRNA-1273 Vaccine for Covid-19". N Engl J Med. 384 (23): 2259–2261. doi:10.1056/NEJMc2103916. PMID 33822494.
- ↑ "Moderna says Covid vaccine durable for at least six months". France 24. Washington. Agence France-Presse. 2021-08-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ Krause, P; Fleming, TR; Longini, I; Henao-Restrepo, AM; Peto, R (September 2020). "COVID-19 vaccine trials should seek worthwhile efficacy". Lancet. 396 (10253): 741–743. doi:10.1016/S0140-6736(20)31821-3. PMC 7832749. PMID 32861315.
WHO recommends that successful vaccines should show an estimated risk reduction of at least one-half, with sufficient precision to conclude that the true vaccine efficacy is greater than 30%. This means that the 95% CI for the trial result should exclude efficacy less than 30%. Current US Food and Drug Administration guidance includes this lower limit of 30% as a criterion for vaccine licensure.
- ↑ Puranik, A; Lenehan, PJ; Silvert, E; Niesen, MJ; Corchado-Garcia, J; O'Horo, JC; และคณะ (2021-08-09). "Comparison of two highly-effective mRNA vaccines for COVID-19 during periods of Alpha and Delta variant prevalence". medRxiv (Preprint). doi:10.1101/2021.08.06.21261707. S2CID 236951646.
- ↑ Chung, H; He, S; Nasreen, S; Sundaram, ME; Buchan, SA; Wilson, SE; และคณะ (2021-07-26). "Effectiveness of BNT162b2 and mRNA-1273 COVID-19 vaccines against symptomatic SARS-CoV-2 infection and severe COVID-19 outcomes in Ontario, Canada: a test-negative design study". medRxiv (Preprint). eTables 6 and 7. doi:10.1101/2021.05.24.21257744. S2CID 235219084. SSRN 3845993. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ 53.0 53.1 "Vaccination Considerations for People Pregnant or Breastfeeding". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.
- ↑ Shimabukuro, Tom (2021-03-01). "COVID-19 Vaccine Safety Update" (PDF).
- ↑ Smith, Kate (2021-04-24). "New CDC guidance recommends pregnant people get the COVID-19 vaccine". CBS News. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.
- ↑ Shimabukuro, TT; Kim, SY; Myers, TR; Moro, PL; Oduyebo, T; Panagiotakopoulos, L; และคณะ (April 2021). "Preliminary Findings of mRNA Covid-19 Vaccine Safety in Pregnant Persons". N Engl J Med. doi:10.1056/NEJMoa2104983. PMID 33882218.
- ↑ Weise, Elizabeth. "COVID-19 toes, Moderna arm, all-body rash: Vaccines can cause skin reactions but aren't dangerous, study says".
- ↑ CDC COVID-19 Response Team (January 2021). "Allergic Reactions Including Anaphylaxis After Receipt of the First Dose of Moderna COVID-19 Vaccine - United States, December 21, 2020 - January 10, 2021" (PDF). Morbidity and Mortality Weekly Report. 70 (4): 125–29. doi:10.15585/mmwr.mm7004e1. PMC 7842812. PMID 33507892. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Blumenthal, KG; Freeman, EE; Saff, RR; Robinson, LB; Wolfson, AR; Foreman, RK; และคณะ (2021-04-01). "Delayed Large Local Reactions to mRNA-1273 Vaccine against SARS-CoV-2". New England Journal of Medicine. 384 (13): 1273–1277. doi:10.1056/NEJMc2102131. PMC 7944952. PMID 33657292.
- ↑ 60.0 60.1 Fact Sheet for Healthcare Providers Administering Vaccine (PDF). U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Report). 2021-08-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ National Center for Immunization and Respiratory Diseases (2021-06-23). "Myocarditis and Pericarditis Following mRNA COVID-19 Vaccination". CDC.gov. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
- ↑ "The tiny tweak behind COVID-19 vaccines". Chemical & Engineering News. 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-09-30.
- ↑ "A gamble pays off in 'spectacular success': How the leading coronavirus vaccines made it to the finish line". The Washington Post. 2020-12-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
- ↑
Kramer, Jillian (2020-12-31). "They spent 12 years solving a puzzle. It yielded the first COVID-19 vaccines". National Geographic.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Corbett, Kizzmekia; Edwards, Darin; Leist, Sarah (2020-08-05). "SARS-CoV-2 mRNA Vaccine Development Enabled by Prototype Pathogen Preparedness". Nature. doi:10.1038/s41586-020-2622-0. PMC 7301911. PMID 32577634.
- ↑ Auth, Dorothy R.; Powell, Michael B. (2020-09-14). "Patent Issues Highlight Risks of Moderna's COVID-19 Vaccine". New York Law Journal. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
- ↑ "GenBank ID MN908947.3". National Center for Biotechnology Information (NCBI), U.S. National Library of Medicine. 2020-03-18.
- ↑ 68.0 68.1 Organization)), ((World Health (June 2021). "INN Proposed International Nonproprietary Names: List 125 COVID-19 (special edition)" (PDF). WHO Drug Information. 35 (2): 578-9. hdl:10665/343367.
- ↑ 69.0 69.1 69.2 Jackson, LA; Anderson, EJ; Rouphael, NG; Roberts, PC; Makhene, M; Coler, RN; และคณะ (November 2020). "An mRNA Vaccine against SARS-CoV-2 - Preliminary Report". The New England Journal of Medicine. 383 (20): 1920–1931. doi:10.1056/NEJMoa2022483. PMC 7377258. PMID 32663912.
- ↑ Jeong, DE; McCoy, M; Artiles, K; Ilbay, O; Fire, A; Nadeau, K; และคณะ (2021-03-23). "Assemblies of putative SARS-CoV2-spike-encoding mRNA sequences for vaccines BNT-162b2 and mRNA-1273". Virological.org.
- ↑ Springer, P (2021-05-24). "Fargo firm makes key ingredient for millions of COVID-19 vaccine doses". Grand Forks Herald.
- ↑ 72.0 72.1 Mullin, R (2020-11-25). "Pfizer, Moderna ready vaccine manufacturing networks". Chemical & Engineering News. Washington, D.C.: American Chemical Society. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-10. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.
- ↑ Cote, J (2021-05-04). "Moderna to more than double size of Massachusetts facility, transform production and lab space to industrial tech center". MassLive.
- ↑ Hopkins, Jared S. (2021-04-06). "Moderna Covid-19 Vaccine Production Pace to Increase at Contract Manufacturer Catalent". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Loftus, Peter (2021-03-21). "Covid-19 Vaccine Manufacturing in U.S. Races Ahead". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ Williams, Jordan (2021-04-29). "Moderna doubling COVID-19 vaccine production". TheHill. สืบค้นเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ 77.0 77.1 "Pfizer-BioNTech COVID-19 Vaccine Vaccination Storage & Dry Ice Safety Handling". Pfizer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ 78.0 78.1 78.2 78.3 78.4 78.5 Lovelace Jr, Berkeley; Higgins-Dunn, Noah (2020-11-16). "Moderna says preliminary trial data shows its coronavirus vaccine is more than 94% effective, shares soar". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
- ↑ "Pfizer's Vaccine Is Out of the Question as Indonesia Lacks Refrigerators: State Pharma Boss". Jakarta Globe. 2020-11-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-07. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19) Update: FDA Allows More Flexible Storage, Transportation Conditions for Pfizer-BioNTech COVID-19 Vaccine". Food and Drug Administration (Press release). 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Pfizer and BioNTech Submit COVID-19 Vaccine Stability Data at Standard Freezer Temperature to the U.S. FDA". Pfizer (Press release). 2021-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ "Storage & Handling". Moderna. 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ 83.0 83.1 Dolgin, E (November 2020). "COVID-19 vaccines poised for launch, but impact on pandemic unclear". Nature Biotechnology. doi:10.1038/d41587-020-00022-y. PMID 33239758. S2CID 227176634.
- ↑ Steenhuysen, Julie; Kelland, Kate (2020-01-24). "With Wuhan virus genetic code in hand, scientists begin work on a vaccine". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
- ↑ Carey, Karen (2020-02-26). "Increasing number of biopharma drugs target COVID-19 as virus spreads". BioWorld. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-01.
- ↑ Everett, Gwen (2020-02-27). "These 5 drug developers have jumped this week on hopes they can provide a coronavirus treatment". Markets Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-03-01.
- ↑ "Moderna Announces Expansion of BARDA Agreement to Support Larger Phase 3 Program for Vaccine (mRNA-1273) Against COVID-19". Moderna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
- ↑ Clouse, Allie (2020-11-24). "Fact check: Moderna vaccine funded by government spending, with notable private donation". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
- ↑ Grady, Denise (2020-11-16). "Early Data Show Moderna's Coronavirus Vaccine Is 94.5% Effective". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
- ↑ Bella, Timothy (2020-11-18). "Dolly Parton helped fund Moderna's vaccine. It began with a car crash and an unlikely friendship". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
- ↑ "NIH clinical trial of investigational vaccine for COVID-19 begins". National Institutes of Health (NIH). 2020-03-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-19. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
- ↑ Kuznia, Robert; Polglase, Katie; Mezzofiore, Gianluca (2020-05-01). "In quest for vaccine, US makes 'big bet' on company with unproven technology". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
- ↑ Keown, Alex (2020-05-07). "Moderna moves into Phase II testing of COVID-19 vaccine candidate". BioSpace. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
- ↑ Blankenship, Kyle (2020-05-01). "Moderna aims for a billion COVID-19 shots a year with Lonza manufacturing tie-up". FiercePharma. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
- ↑ "Swiss factory rushes to prepare for Moderna Covid-19 vaccine". SWI swissinfo.ch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
- ↑ การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04405076 เรื่อง "Dose-Confirmation Study to Evaluate the Safety, Reactogenicity, and Immunogenicity of mRNA-1273 COVID-19 Vaccine in Adults Aged 18 Years and Older" ที่ ClinicalTrials.gov
- ↑ "Moderna eyes third quarter for first doses of potential COVID-19 vaccine with Catalent deal". Reuters. 2020-06-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-06.
- ↑ Lee, Jaimy. "Moderna signs on for another COVID-19 vaccine manufacturing deal". MarketWatch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
- ↑ Herper, Matthew; Garde, Damian (2020-07-14). "First data for Moderna Covid-19 vaccine show it spurs an immune response". Stat. Boston Globe Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
- ↑ Palca, Joe (2020-07-27). "COVID-19 vaccine candidate heads to widespread testing in U.S." NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
- ↑ "Moderna, in bid for transparency, discloses detailed plan of coronavirus vaccine trial". BioPharma Dive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-09-18.
- ↑ Mascarenhas, Lauren (2020-10-01). "Moderna chief says Covid-19 vaccine could be widely available by late March". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-02.
- ↑ Cohen, Elizabeth. "First large-scale US Covid-19 vaccine trial reaches target of 30,000 participants". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-10-23.
- ↑ "Promising Interim Results from Clinical Trial of NIH-Moderna COVID-19 Vaccine". National Institutes of Health (NIH). 2020-11-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-04.
- ↑ 105.0 105.1 Zimmer, Carl (2020-11-20). "2 Companies Say Their Vaccines Are 95% Effective. What Does That Mean? You might assume that 95 out of every 100 people vaccinated will be protected from Covid-19. But that's not how the math works". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-04. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ 106.0 106.1 106.2 "Statement from NIH and BARDA on the FDA Emergency Use Authorization of the Moderna COVID-19 Vaccine". National Institutes of Health. 2020-12-18.
- ↑ "Moderna Use Roche Antibody Test During Vaccine Trials". rapidmicrobiology.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
- ↑ การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04470427 เรื่อง "A Study to Evaluate Efficacy, Safety, and Immunogenicity of mRNA-1273 Vaccine in Adults Aged 18 Years and Older to Prevent COVID-19" ที่ ClinicalTrials.gov
- ↑ "Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process". World Health Organization (WHO).
- ↑ Cohen, Elizabeth (2020-11-30). "Moderna applies for FDA authorization for its Covid-19 vaccine". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
- ↑ Burger, Ludwig (2020-12-01). "COVID-19 vaccine sprint as Pfizer-BioNTech, Moderna seek emergency EU approval". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
- ↑ Kuchler, Hannah (2020-11-30). "Canada could be among the first to clear Moderna's COVID-19 vaccine for use". The Financial Post. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
- ↑ Parsons, Lucy (2020-10-28). "UK's MHRA starts rolling review of Moderna's COVID-19 vaccine". PharmaTimes. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
- ↑ Lee, Jaimy. "Moderna nears its first-ever FDA authorization, for its COVID-19 vaccine". MarketWatch. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ "Israel authorises use of Moderna's COVID-19 vaccine". Yahoo! News. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05.
- ↑ "Singapore becomes first in Asia to approve Moderna's COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-02-03.
- ↑ "First shipment of Moderna's COVID-19 vaccine arrives in Singapore". CNA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-17. สืบค้นเมื่อ 2021-02-17.
- ↑ "WHO lists Moderna vaccine for emergency use". World Health Organization (WHO) (Press release). 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-29.
- ↑ Lopez, Virgil (2021-05-05). "Philippines grants EUA to Moderna's COVID-19 vaccine". GMA News Online. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
- ↑ Kaul, R (2021-06-29). "Moderna's Covid vaccine approved for use in India". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Nga, L (2021-06-29). "Vietnam approves Moderna Covid vaccine for emergency use". VnExpress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-01. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
- ↑ "NPRA Approves Moderna Covid-19 Vaccine". CodeBlue. 2021-08-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.
- ↑ "COVID-19 vaccine: Spikevax (elasomeran)". Therapeutic Goods Administration (TGA). 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ "EMA recommends COVID-19 Vaccine Moderna for authorisation in the EU" (Press release). European Medicines Agency. 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
- ↑ "COVID-19 Vaccine Moderna". Europa.
- ↑ "EMA evaluating the use of COVID-19 Vaccine Moderna in young people aged 12 to 17". European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
- ↑ Miller, John (2021-01-12). "Swiss drugs regulator approves Moderna's COVID-19 vaccine". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-17.
- ↑ "Swissmedic grants authorisation for the COVID-19 vaccine from Moderna". Swissmedic (Press release). 2020-01-12. สืบค้นเมื่อ 2020-01-12.
- ↑ "Pregnant women haven't been included in promising COVID-19 vaccine trials". USA Today. 2020-11-23.
- ↑ "FDA: Leave the door open to Covid-19 vaccination for pregnant and lactating health workers". Stat news. 2020-12-09.
- ↑ Rio, Giulia McDonnell Nieto del (2021-01-15). "Covid-19: Over Two Million Around the World Have Died From the Virus". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ Tirrell, Meg (2021-01-14). "Moderna looks to test Covid-19 booster shots a year after initial vaccination". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ "Moderna Explores Whether Third Covid-19 Vaccine Dose Adds Extra Protection". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ "Start of a Japanese Clinical Study of TAK-919, Moderna's COVID-19 Vaccine Candidate". Takeda. 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Moderna Announces it has Shipped Variant-Specific Vaccine Candidate, mRNA-1273.351, to NIH for Clinical Study". Moderna Inc. (Press release). 2021-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-24.
- ↑ Jenco, Melissa (2021-03-16). "Moderna testing COVID-19 vaccine in children under 12".
- ↑ "A Study to Evaluate the Immunogenicity and Safety of mRNA-1273.211 Vaccine for COVID-19 Variants". ClinicalTrials.gov. 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
- ↑ "Moderna Announces Positive Initial Booster Data Against SARS-CoV-2 Variants of Concern". Moderna, Inc. (Press release). 2021-05-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
- ↑ 139.0 139.1 139.2 "วัคซีนโควิด-19 : อภ. เปิดปฏิทินนำเข้าโมเดอร์นา พร้อมแจงเหตุเซ็นสัญญาสั่งซื้อล่าช้า". BBC ไทย. 2021-07-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ "ลดราคาอีกรอบ ! โมเดอร์นา เหลือเข็มละ 1,650 บาท ราคาเดียวทุกโรงพยาบาล". K@POOK!. 2021-07-01.
- ↑ "องค์การเภสัชกรรม เผยนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นาได้ในไตรมาส 4/2564 และไตรมาสที่ 1/2565". 2021-07-02.
โดยจะลงนามในสัญญาตามกำหนดเดิมต้นเดือนสิงหาคม 2564 ส่วนร่างสัญญาจัดหาสินค้า ได้ส่งให้อัยการสูงสุดแล้วเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (2 กรกฎาคม 2564)
- ↑ "ข่าวดี ! สภากาชาดไทย ดีลวัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านโดส ฉีดให้ประชาชนฟรี". K@POOK. 2021-07-15.
- ↑ "สภากาชาดไทย เปิดหลักฐานยันสั่งจองโมเดอร์นา 1 ล้านโดส ไม่ใช่ตัดยอด พร้อมแจงไทม์ไลน์ยิบ". ไทยโพสต์. 2021-07-24.
- ↑ "รพ.วิภาวดี เผยวัคซีนโมเดอร์นาเข้าไทยดีเดย์ ต.ค. 64". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-05-17.
- ↑ "รพ.เอกชน วอน ปชช. อย่ารอวัคซีนโควิดทางเลือก เผยโมเดอร์นายังไม่มีของส่งให้". Matichon Online. 2021-05-14.
- ↑ "เปิดราคา "วัคซีนโมเดอร์นา" คาดรพ.เอกชนเคาะราคา 3 พันบาท/2 เข็ม". TNN Online. 2021-05-06.
- ↑ Oliver, SE; Gargano, JW; Marin, M; Wallace, M; Curran, KG; Chamberland, M; และคณะ (January 2021). "The Advisory Committee on Immunization Practices' Interim Recommendation for Use of Moderna COVID-19 Vaccine - United States, December 2020" (PDF). MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report. 69 (5152): 1653–1656. doi:10.15585/mmwr.mm695152e1. PMID 33382675. S2CID 229945697. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Securing Singapore's access to COVID-19 vaccines". www.gov.sg. Singapore Government. 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
- ↑ Khalik, Salma (2021-02-01). "How Singapore picked its Covid-19 vaccines". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
- ↑ "Trump says U.S. inks agreement with Moderna for 100 mln doses of COVID-19 vaccine candidate". Yahoo. Reuters. 2020-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.
- ↑
"Donald Trump appears to admit Covid is 'running wild' in the US". The Guardian. 2020-11-22. สืบค้นเมื่อ 2020-11-22.
Moderna told the Germany [sic] weekly Welt am Sonntag that it will charge governments between $25 and $37 per dose of its Covid vaccine candidate, depending on the amount ordered.
- ↑ Guarascio, Francesco (2020-11-24). "EU secures 160 million doses of Moderna's COVID-19 vaccine". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-11-25.
- ↑ "Coronavirus: Commission approves contract with Moderna to ensure access to a potential vaccine". European Commission. 2020-11-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
- ↑ "New agreements to secure additional vaccine candidates for COVID-19". Prime Minister's Office, Government of Canada. 2020-09-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
- ↑ Stevis-Gridneff, M; Sanger-Katz, M; Weiland, N (2020-12-18). "A European Official Reveals a Secret: The U.S. Is Paying More for Coronavirus Vaccines". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-04. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ "First shipment of Moderna's COVID-19 vaccine arrives in Singapore". CNA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-17. สืบค้นเมื่อ 2021-02-17.
- ↑ "Moderna sees $18.4 billion in sales from COVID-19 vaccine in 2021". Reuters. 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ Hiltzik, Michael (2020-05-19). "Column: Moderna's vaccine results boosted its share offering - and it's hardly a coincidence". The Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
- ↑ Branswell, Helen (2020-05-19). "Vaccine experts say Moderna didn't produce data critical to assessing Covid-19 vaccine". Stat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
- ↑ Taylor, Marisa; Respaut, Robin (2020-07-07). "Exclusive: Moderna spars with U.S. scientists over COVID-19 vaccine trials". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
- ↑ "Moderna vaccine trial contractors fail to enroll enough people of color, prompting slowdown". NBC News. Reuters. 2020-10-06. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
- ↑ Auth, Dorothy R.; Powell, Michael B. (2020-09-14). "Patent Issues Highlight Risks of Moderna's COVID-19 Vaccine". New York Law Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
- ↑ Vardi, Nathan (2020-06-29). "Moderna's Mysterious Coronavirus Vaccine Delivery System". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
- ↑ "Moderna loses key patent challenge". Nature Biotechnology. 38 (9): 1009. September 2020. doi:10.1038/s41587-020-0674-1. PMID 32887970. S2CID 221504018.