ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์แอลฟา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำนวนลำดับพันธุกรรม B.1.1.7 ที่ตรวจพบทั้งหมด เรียงตามประเทศ ข้อมูล ณ 25 มีนาคม 2021[1]
Legend:
  10,000+ ลำดับที่ยืนยันแล้ว
  5,000–9,999 ลำดับที่ยืนยันแล้ว
  1,000–4,999 ลำดับที่ยืนยันแล้ว
  500–999 ลำดับที่ยืนยันแล้ว
  100–499 ลำดับที่ยืนยันแล้ว
  2–99 ลำดับที่ยืนยันแล้ว
  1 ลำดับที่ยืนยันแล้ว
  ไม่มีลำดับที่ยืนยันแล้ว หรือไม่มีข้อมูล

สายพันธุ์แอลฟา หรือ สายพันธุ์ B.1.1.7 เป็นสายพันธุ์ย่อยชนิดหนึ่งของไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือเป็นสายพันธุ์หนึ่งในบรรดาไวรัสกลายพันธุ์หลายๆ สายพันธุ์ที่มีความจำเป็นต้องจับตามอง ไวรัสสายพันธุ์นี้ติดต่อจากคนสู่คนได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 40-80% ถูกตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ในประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นพบว่าระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงกลางเดือนธันวาคม และสัมพันธ์กับการกลับมาระบาดอีกครั้งของโรคในประเทศอังกฤษ เชื่อว่าสาเหตุที่ไวรัสติดต่อได้ง่ายขึ้นนี้ส่วนหนึ่งมาจากการกลายพันธุ์ในตำแหน่งของโปรตีนหนามของไวรัส และยังพบว่ามีการกลายพันธุ์ต่อในอัตราที่สูงกว่าปกติอีกด้วย

ชื่อ[แก้]

ไวรัสสายพันธุ์นี้เคยเป็นที่รู้จักในชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น นอกประเทศอังกฤษอาจเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ สายพันธุ์อังกฤษ (UK varient, British variant, English variant)[2] แม้ที่จริงแล้วไวรัสสายพันธุ์แอลฟาไม่ใช่สายพันธุ์ย่อยชนิดแรกที่ถูกพบครั้งแรกในอังกฤษก็ตาม (สายพันธุ์ย่อยที่พบครั้งในประเทศอังกฤษ คือ สายพันธุ์อีต้า (Eta, B.1.525) ) ส่วนในประเทศอังกฤษเคยเป็นที่รู้จักในชื่อสายพันธุ์เคนท์ (Kent varient) ตามชื่อเมืองเคนท์ที่พบสายพันธุ์นี้[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "B.1.1.7 report". cov-lineages.org. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
  2. For an extensive list of news sources using these terms, see UK Covid-19 variant, UK coronavirus variant and UK variant
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ newmut
  4. Boseley, Sarah (10 February 2021). "Mutated Kent Covid variant must be taken seriously, warns UK scientist". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.