ข้ามไปเนื้อหา

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์
The New England Journal of Medicine
สาขาวิชาการแพทย์
ภาษาภาษาอังกฤษ
บรรณาธิการJeffrey M. Drazen
รายละเอียดการตีพิมพ์
ชื่อเดิมThe New England Journal of Medicine and Surgery, The New England Medical Review and Journal, The Boston Medical and Surgical Journal
ประวัติการตีพิมพ์2355-present
ผู้พิมพ์
Massachusetts Medical Society (สหรัฐอเมริกา)
ปัจจัยกระทบ55.873 (2557)
ชื่อย่อมาตรฐาน
ISO 4N. Engl. J. Med.
การจัดทำดรรชนี
CODENNEJMAG
ISSN0028-4793
1533-4406
LCCN20020456
OCLC231027780
การเชื่อมโยง

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (อังกฤษ: New England Journal of Medicine ตัวย่อ NEJM) เป็นวารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Medical Society) เป็นวารสารที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันที่มีเกียรติที่สุดฉบับหนึ่งของโลก[1] และที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกันมายาวนานมากที่สุด[1] ในประเทศไทย เว็บไซต์ของวารสารเปิดให้อ่านฟรีเป็นบางเนื้อหา

ประวัติ

[แก้]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2354 นพ.ชาวบอสตันสองคน (John Collins Warren และ James Jackson) ยื่นหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดตั้ง วารสารการแพทย์ ศัลยกรรม และวิทยาศาสตร์สาขาเคียงข้างของนิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine and Surgery and Collateral Branches of Science) โดยเป็นวารสารการแพทย์และปรัชญา[2][3] ต่อมา วารสารโดยชื่อที่ว่าก็พิมพ์เป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม 2355[4] โดยเป็นวารสารพิมพ์ทุก ๆ 3 เดือน

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2371 วารสารได้ซื้อวารสารการแพทย์อีกวารสารหนึ่งชื่อว่า Boston Medical Intelligencer ที่เริ่มพิมพ์ตั้งแต่ปี 2366 แล้วรวมวารสารทั้งสองภายใต้ชื่อ Boston Medical and Surgical Journal โดยพิมพ์เป็นรายสัปดาห์[5][6]

ในปี 2464 สมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ซื้อวารสารเป็นราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ[7] แล้วเปลี่ยนชื่อวารสารเป็น วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine) ต่อมาในปี 2471

บทความที่เด่น

[แก้]

บทความเด่นจากประวัติวารสารรวมทั้ง

  • ในเดือนพฤศจิกายน 2389 นพ.ชาวบอสตันผู้หนึ่งรายงานการค้นพบยาสลบโดยให้สูดอีเทอร์ ซึ่งช่วยให้คนไข้สลบตลอดการผ่าตัด[8] โดยกล่าวว่า "คนไข้คนหนึ่งถึงความไม่รู้สึกตัวในการตัดขาออก แล้วฟื้นคืนสติหลังจากนั้นไม่นาน... มีการผ่าตัดใหญ่อื่น ๆ ที่ทำโดยคนไข้ไม่รู้สึกตัว"
  • ในเดือนตุลาคม 2415 นพ.ประสาทวิทยาพิมพ์เล็กเช่อร์ที่เสนอแนวคิดเชิงปฏิวัติในเวลานั้นว่า ซีกสมองข้างหนึ่งสามารถมีผลต่อกายทั้งสองข้าง แล้วพรรณนากลุ่มอาการอัมพาตที่ทุกวันนี้รู้จักกันว่า Brown-Sequard syndrome[9]
  • ในเดือนมิถุนายน 2449 นพ.พยาธิวิทยาผู้หนึ่งตีพิมพ์บทความกล่าวถึงการที่เขาย้อมสีและศึกษาไขกระดูก และพรรณนาถึงสิ่งที่ทุกวันนี้รู้จักกันว่า เกล็ดเลือด และ megakaryocyte (เซลล์ไขกระดูกขนาดใหญ่ที่ผลิตเกล็ดเลือด)[10]
  • ในเดือนมิถุนายน 2491 นพ.พยาธิวิทยาท่านหนึ่งรายงานผลที่มีแววในการบำบัดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในต้นวัยเด็ก คือหลังจากที่ได้หลักฐานโดยเรื่องเล่าว่า เด็กที่มีโรคแบบฉับพลันจะแย่ลงถ้าบริโภคกรดโฟลิก เขาจึงทำงานเพื่อระงับเมแทบอลิซึมที่ย่อยกรด แล้วให้สารยับยั้งกรดโฟลิกคือ aminopterin แก่ทารกกับเด็ก 16 คน ที่มีมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก เด็ก 10 ดีขึ้นหลังจากการให้ยา 3 เดือนทั้งโดยกำหนดต่าง ๆ ทางคลินิกและโดยค่าต่าง ๆ ของเลือด[11] แต่นายแพทย์แนะนำให้ใช้ผลอย่างระมัดระวัง คือ "ขอเน้นอีกทีว่า การทุเลาของโรคยังมีลักษณะชั่วคราว และสารที่ให้ก็มีพิษ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่น ๆ มากกว่าที่เราพบในงานศึกษาของเรา... ไม่มีหลักฐานใด ๆ ในรายงานนี้ที่สมเหตุสมผลให้ควรใช้คำว่า (เป็น)การรักษาแบบหายขาด สำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันในเด็ก"
  • ในเดือนพฤศจิกายน 2495 นพ.หทัยวิทยาคนหนึ่งตีพิมพ์รายงานการกู้ชีพหัวใจ "จุดประสงค์ของรายงานนี้ก็เพื่อพรรณนาวิธีการที่เร็ว ง่าย ได้ผล และปลอดภัยที่ใช้สำเร็จกับคนไข้สองคน ในการกระตุ้นหัวใจที่ห้องล่างหยุดนิ่งโดยตัวคุมจังหวะหัวใจไฟฟ้าเทียมภายนอก... นี่เป็นครั้งแรกที่สามารถประทังชีวิตของคนไข้ในกรณีที่หัวใจห้องล่างหยุดนิ่งเป็นชั่วโมง ๆ จนกระทั่งเป็นวัน ๆ วิธีการนี้อาจจะมีค่าในสถานการณ์ทางคลินิกหลายอย่าง"[12]
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2516 วารสารพิมพ์รายงานแรกเกี่ยวกับการตัดติ่งเนื้อเมือกโดยใช้กล้อง colonoscope แล้วเสนอวิธีการที่สามารถทำในระหว่างการตรวจคัดโรคเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็ง ผู้เขียนรายงานคนไข้ 218 กรณีที่ตัดติ่งเนื้อเมือกออก 303 ติ่ง[13]
  • ในเดือนธันวาคม 2524 มีบทความทำประวัติศาสตร์สองบทความ ที่พรรณนาถึงความเป็นไปทางคลินิกของคนไข้ 4 ราย ซึ่งแรกรายงานในรายงาน Morbidity and Mortality Weekly Report ของ CDC ในเดือนมิถุนายน เกี่ยวกับโรคที่ต่อมารู้จักกันว่าเอดส์[14][15]
  • ในเดือนเมษายน 2554 นพ.ผู้หนึ่งกับคณะ รายงานการบำบัดเฉพาะเป้าหมายต่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ (CML) อาศัยความรู้ว่า BCR-ABL ซึ่งเป็นเอนไซม์ tyrosine kinase ที่ออกฤทธิ์โดยเฉพาะ เป็นเหตุของ CML ผู้เขียนจึงทดสอบสารยับยั้ง BCR-ABL ในคนไข้ที่การรักษาขั้นต้นไม่ได้ผล ผลที่พบในงานศึกษานี้ช่วยเริ่มยุคการออกแบบยาบำบัดมะเร็งที่เฉพาะเจาะจงต่อความผิดปกติระดับโมเลกุลเฉพาะอย่าง ๆ[16]

เว็บไซต์

[แก้]

ในวันที่ 25 เมษายน 2539 วารสารประกาศว่ามีเว็บไซต์ใหม่ ที่พิมพ์เป็นประจำอาทิตย์บทคัดย่อของงานวิจัยต่าง ๆ และข้อความเต็มสำหรับบทบรรณาธิการ กรณีคนไข้ และจดหมายส่งถึงบรรณาธิการ นี่เป็นครั้งแรกที่วารสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการตีพิมพ์หลังจากที่ดำเนินการมาแล้ว 184 ปี[17] อีกสองปีต่อมา ระบบออนไลน์ก็เริ่มรวมบทความเต็มทั้งหมดที่มี[18]

หลังจากนั้น วารสารก็ได้เพิ่มสื่อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ

  • วิดีโอเกี่ยวกับการแพทย์ทางคลินิก และวิดีโอการศึกษาที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน เพื่อสอนกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะ และสอนการตรวจสอบคนไข้แบบพิเศษ[19]
  • กรณีคนไข้เชิงโต้ตอบ ซึ่งเลียนแบบการประสบกับคนไข้โดยแสดงคนไข้พร้อมกับผลการตรวจสอบทางกายภาพ ทางแล็บ และทางการถ่ายภาพรังสี และจะมีคำถามที่ตรวจสอบความรู้ของคนที่ทำข้อสอบ[20]
  • ที่เก็บข้อมูลเก่าของวารสาร (NEJM Archive) ซึ่งรวมสิ่งตีพิมพ์ของวารสารทั้งหมด

อิทธิพล

[แก้]

วารสารได้รับ "George Polk Awards" ในปี 2520 โดยองค์กรที่ให้กล่าวว่า เป็นการให้กับ "สิ่งตีพิมพ์ที่จะได้ความสนใจและเกียรติคุณอย่างมหาศาลในทศวรรษต่อ ๆ ไป"[21]

วารสารปกติมีปัจจัยกระทบสูงสุดของวารสารอายุรศาสตร์ เช่นที่ 55.873 ในปี 2557[22] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ 1 ในบรรดาวารสาร 153 วารสารในหมวดหมู่ "การแพทย์ทั่วไปและอายุรศาสตร์"[23] และเป็นวารสารเดียวในหมวดหมู่ที่มีปัจจัยสูงกว่า 50 โดยเปรียบเทียบกับวารสารตำแหน่งที่ 2 และ 3 (คือ เดอะแลนเซ็ต และ JAMA) ที่มีปัจจัยกระทบที่ 45.217 และ 35.289 ตามลำดับ[24]

นโยบายห้ามพิมพ์ที่อื่นมาก่อน

[แก้]

วารสารบังคับให้บทความที่จะพิมพ์ไม่เคยพิมพ์หรือเผยแพร่ในที่อื่นมาก่อน ซึ่งช่วยรักษาความดั้งเดิมของบทความ เป็นกฎที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 2512[25] ซึ่งต่อมาวารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์อื่น ๆ จึงเริ่มใช้กฎเดียวกันนี้ด้วย

ข้อโต้แย้งเรื่องยา Vioxx

[แก้]

ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 วารสารเกี่ยวข้องกับข้อโต้เถียงเรื่องปัญหางานวิจัยของยา Vioxx (ชื่อสามัญ Rofecoxib) คือ มีงานศึกษาที่พิมพ์ในวารสารในเดือนพฤศจิกายน 2543 โดยรับการสนับสนุนจากบริษัทที่ผลิตยาเมอร์ค ที่แสดงว่ามีกรณีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดสูงขึ้นในคนไข้ที่ใช้ยา แต่นักวิจัยตีความว่า เป็นผลการป้องกันโรคหัวใจของยาที่ใช้ในกลุ่มควบคุม ไม่ใช่ผลที่เกิดจากยา Vioxx[26]

ตามอดีตบรรณาธิการของวารสารการแพทย์ BMJ มีการบอกความสงสัยเรื่องความถูกต้องของงานศึกษากับบรรณาธิการของ NEJM ไม่เกินเดือนสิงหาคม 2544 และในปีนั้น ทั้งองค์การอาหารและยาสหรัฐและวารสาร JAMA ต่างก็ตั้งข้อสงสัยถึงความสมเหตุสมผลของการตีความข้อมูลที่พิมพ์ใน NEJM[27] ต่อมาในเดือนกันยายน 2547 บ.เมอร์ค จึงได้ถอนยาออกจากตลาด แล้วในเดือนธันวาคม 2548 วารสารจึงได้พิมพ์นิพจน์แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับงานศึกษาดั้งเดิม หลังจากที่พบว่า ผู้เขียนรู้ถึงอาการไม่พึงประสงค์ (adverse event) มากกว่าที่เปิดเผยเมื่อตีพิมพ์งานศึกษา โดยนิพจน์แสดงว่า "จนกระทั่งปลายเดือนพฤศจิกายน 2548 เราเชื่อว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงหลัง ๆ ที่ผู้เขียนไม่รู้ท่วงทันพอที่จะรวมเข้าในบทความที่พิมพ์ในวารสารวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่า จากหนังสือบันทึกช่วยจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ที่ได้โดยหมายศาลในคดี Vioxx และเปิดเผยให้แก่วารสาร ผู้เขียนอย่างน้อยสองท่านรู้ถึงเหตุการณ์กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดอีก 3 กรณีอย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนที่ผู้เขียนจะส่งบทความแก้ไข 2 รุ่นแรก และสี่เดือนครึ่งก่อนที่บทความจะตีพิมพ์"[28]

ในช่วงเวลา 5 ปีระหว่างการตีพิมพ์บทความดั้งเดิมกับการตีพิมพ์นิพจน์แสดงความเป็นห่วง มีการประเมินว่า บ.เมอร์คจ่าย NEJM มากถึง 836,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36 ล้านบาท) เพื่อพิมพ์เพิ่มบทความดั้งเดิมเพื่อใช้โปรโหมตยา[29] และต่อมาวารสารก็ถูกตำหนิอย่างเป็นสาธารณะเรื่องการตอบสนองต่อปัญหางานวิจัย ในบทความบรรณาธิการต่าง ๆ รวมทั้งในวารสารการแพทย์ BMJ[27] และ Journal of the Royal Society of Medicine[30]

โดยปี 2550 บ.เมอร์คได้ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฟ้องร้องในศาลเรื่องยา Vioxx เป็นมูลค่า 970 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 29,429 ล้านบาท) และได้ตั้งกองทุนมีมูลค่า 4,850 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 147,149 ล้านบาท) เพื่อสะสางคดีข้อเรียกร้องเอาทรัพย์โดยคนอเมริกัน

นโยบายให้เข้าถึงได้ฟรี

[แก้]

วารสารให้เข้าถึงบทความได้ฟรีแต่ถ่วงเวลา คือหลังจาก 6 เดือนที่พิมพ์บทความ และให้เข้าถึงบทความย้อนหลังได้ถึงปี 2533[31] แต่การถ่วงเวลาไม่มีสำหรับประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำที่สุด ซึ่งสามารถเข้าถึงบทความทุกเนื้อหาได้ฟรีเมื่อใช้เป็นส่วนบุคคล[32] แต่ไม่รวมประเทศไทยในปี 2559[32][33]

วารสารยังมีพอดแคสต์ 2 รายการ รายการแรกเป็นการสัมภาษณ์แพทย์และนักวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร และรายการที่สองเป็นการสรุปเนื้อความของวารสารแต่ละฉบับ สื่อรายการอื่น ๆ รวมทั้ง Continuing Medical Education (การศึกษาแพทย์ต่อเนื่อง), Videos in Clinical Medicine (วิดีโอในการแพทย์คลินิก) ที่ฉายวิธีการทางการแพทย์, และ Image Challenge (ภาพปริศนา) ที่เปลี่ยนทุกอาทิตย์

วารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษอื่น

[แก้]
  • เดอะแลนเซ็ต เป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปอันดับสอง
  • JAMA เป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปอันดับสาม

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Zuger, Abigail (19 March 2012). "A journal stands out in prestige and longevity". เดอะนิวยอร์กไทมส์. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  2. Cary, John (1961). Joseph Warren: Physician, Politician, Patriot. Urbana: University of Illinois Press. OCLC 14595803.
  3. Boston Patriot. 28 September 1811. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  4. "1812-01-01, table of contents for the New England Journal of Medicine and Surgery and the Collateral Branches of Medical Science". สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
  5. "The Boston Medical Library: A reconstruction of the collection of 1805 and its history". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
  6. Fitz-Gilbert Waters, Henry (1961). The New England Historical and Genealogical Register. Vol. 48. New England Historic Genealogical Society. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  7. "About NEJM: Past and Present". nejm.org. สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
  8. Bigelow, Henry Jacob (1846). "Insensibility during surgical operations produced by inhalation". The Boston Medical and Surgical Journal. 35 (16): 309–17. doi:10.1056/NEJM184611180351601.
  9. Brown-Sequard, C.E.; Webber, S.G. (1872). "The origin and signification of the symptoms of brain disease". The Boston Medical and Surgical Journal. 87 (16): 261–3. doi:10.1056/NEJM187210170871601.
  10. Wright, James Homer (1906). "The origin and nature of the blood plates". The Boston Medical and Surgical Journal. 154 (23): 643–45. doi:10.1056/NEJM190606071542301.
  11. Farber, Sidney; Diamond, Louis K.; Mercer, Robert D.; Sylvester, Robert F.; และคณะ (1948). "Temporary remissions in acute leukemia in children produced by folic acid antagonist, 4-Aminopteroyl-Glutamic Acid (Aminopterin)". New England Journal of Medicine. 238 (23): 787–93. doi:10.1056/NEJM194806032382301. PMID 18860765.
  12. Zoll, PM (November 1952). "Resuscitation of the heart in ventricular standstill by external electric stimulation". New England Journal of Medicine. 247 (20): 768–71. doi:10.1056/NEJM195211132472005. PMID 13002611.
  13. Wolff, William I.; Shinya, Hiromi (1973). "Polypectomy via the fiberoptic colonoscope". New England Journal of Medicine. 288 (7): 329–32. doi:10.1056/NEJM197302152880701. PMID 4682941.
  14. Gottlieb, Michael S.; Schroff, Robert; Schanker, Howard M.; Weisman, Joel D.; และคณะ (1981). "Pneumocystis carinii pneumonia and mucosal candidiasis in previously healthy homosexual men". New England Journal of Medicine. 305 (24): 1425–31. doi:10.1056/NEJM198112103052401. PMID 6272109.
  15. Masur, Henry; Michelis, Mary Ann; Greene, Jeffrey B.; Onorato, Ida; และคณะ (1981). "An outbreak of community-acquired pneumocystis carinii pneumonia". New England Journal of Medicine. 305 (24): 1431–38. doi:10.1056/NEJM198112103052402. PMID 6975437.
  16. Druker, Brian J.; Talpaz, Moshe; Resta, Debra J.; Peng, Bin; และคณะ (2001). "Efficacy and safety of a specific inhibitor of the BCR-ABL tyrosine kinase in chronic myeloid leukemia". New England Journal of Medicine. 344 (14): 1031–7. doi:10.1056/NEJM200104053441401. PMID 11287972.
  17. Campion, Edward W. (1996). "The Journal's new presence on the internet". New England Journal of Medicine. 334 (17): 1129. doi:10.1056/NEJM199604253341712.
  18. "First NEJM website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
  19. McMahon, Graham T.; Ingelfinger, Julie R.; Campion, Edward W. (2006). "Videos in clinical medicine — A new Journal feature". New England Journal of Medicine. 354 (15): 1635. doi:10.1056/NEJMe068044.
  20. McMahon, Graham T.; Solomon, Caren G.; Ross, John J.; Loscalzo, Joseph; และคณะ (2009). "Interactive medical cases — A new Journal feature". New England Journal of Medicine. 361 (11): 1113. doi:10.1056/NEJMe0809756.
  21. Hershey, Edward. "A history of journalistic integrity, superb reporting and protecting the public: The George Polk Awards in Journalism". LIU Brooklyn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2010.
  22. "Media Center: Fact Sheet". nejm.org. Massachusetts Medical Society. สืบค้นเมื่อ 2014-08-20.
  23. "Rank in Category: New England Journal of Medicine". 2014 Journal Citation Reports. Web of Science (Science ed.). Thomson Reuters. 2015.
  24. "Journals Ranked by Impact: Medicine, General & Internal". 2014 Journal Citation Reports. Web of Science (Science ed.). Thomson Reuters. 2015.
  25. "Definition of sole contribution". New England Journal of Medicine. 281 (12): 676–77. 1969. doi:10.1056/NEJM196909182811208. PMID 5807917.
  26. VIGOR Study Group; Bombardier, C.; Laine, L.; Reicin, A.; และคณะ (2000). "Comparison of upper gastrointestinal toxicity of rofecoxib and naproxen in patients with rheumatoid arthritis". New England Journal of Medicine. 343 (21): 1520–28. doi:10.1056/NEJM200011233432103. PMID 11087881.
  27. 27.0 27.1 Dobson, Roger (15 July 2006). "NEJM "failed its readers" by delay in publishing its concerns about VIGOR trial". BMJ. 333 (7559): 116. doi:10.1136/bmj.333.7559.116-f. PMC 1502213. PMID 16840463.
  28. Curfman, Gregory (29 December 2005). "Expression of Concern: Bombardier et al., "Comparison of upper gastrointestinal toxicity of rofecoxib and naproxen in patients with rheumatoid arthritis," N Engl J Med 2000;343:1520-8". สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
  29. Lemmens, Trudo; Bouchard, Ron A. (2007). "Regulation of Pharmaceuticals in Canada"". ใน Downie, Jocelyn; Caulfield, Timothy A.; Flood, Colleen M. (บ.ก.). Canadian Health Law and Policy (3rd ed.). Toronto: LexisNexis Canada. p. 336. ISBN 9780433452218.
  30. Smith, Richard (August 2006). "Lapses at The New England Journal of Medicine" (PDF). Journal of The Royal Society of Medicine (editorial). 99 (8): 380–2. doi:10.1258/jrsm.99.8.380. PMC 1533509. PMID 16893926. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
  31. "About NEJM: Online access levels" (PDF). nejm.org. Massachusetts Medical Society. สืบค้นเมื่อ 2011-10-26.
  32. 32.0 32.1 "About NEJM: Access from outside the U.S". nejm.org. Massachusetts Medical Society. สืบค้นเมื่อ 2011-10-26.
  33. "Eligibility for Access to Research4Life". Research4Life. 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]