สัปดาห์
สัปดาห์ เป็นหน่วยวัดเวลาเท่ากับเจ็ดวัน เป็นหน่วยเล็กกว่าเดือน อย่างไรก็ดี บางครั้งคำว่า "สัปดาห์" นี้ยังหมายถึงหน่วยวัดเวลาอื่นซึ่งน้อยหรือมากกว่าเจ็ด โดยในประวัติศาสตร์ สัปดาห์หนึ่งยาวสี่ถึงสิบวันในที่ต่าง ๆ กัน
หลักฐานการนับว่าสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันอย่างต่อเนื่องมานั้นปรากฏในหมู่ชาวยิวระหว่างการคุมขังที่บาบิโลน (Babylonian Captivity) ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล[1] ทั้งศาสนายูดาย (ตามบรรยายการสรรค์สร้างในโทราห์/ไบเบิล) และบาบิโลนโบราณใช้สัปดาห์เจ็ดวัน[2] วัฒนธรรมอื่นได้รับเอาสัปดาห์เจ็ดวันไปในเวลาแตกต่างกัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 3 จักรวรรดิโรมันค่อย ๆ แทนที่ปฏิทินโรมันซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีแปดวันด้วยสัปดาห์เจ็ดวัน ชาวฮินดูอาจรับสัปดาห์เจ็ดวันก่อนศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าชาวจีนบางกลุ่มได้ใช้สัปดาห์เจ็ดวันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4
เปรียบเทียบหน่วยเวลา[แก้]
- 1 สัปดาห์ = 7 วัน = 168 ชั่วโมง = 10,080 นาที = 604,800 วินาที
- 1 ปี = 52 สัปดาห์ + 1 วัน (และ 2 วัน สำหรับ ปีอธิกสุรทิน)
- 1 สัปดาห์ = 23.01% ของหนึ่งเดือนโดยเฉลี่ย
หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]
- Colson, Francis Henry (1926). The Week: An Essay on the Origin and Development of the Seven-day Cycle. Cambridge University Press. OCLC 59110177.
อ้างอิง[แก้]
- ↑
Senn, Frank C. (1997). Christian Liturgy: Catholic and Evangelical. Fortress Press. ISBN 0800627261, 9780800627263 Check
|isbn=
value: invalid character (help). - ↑ Pinches, T.G. (2003). "Sabbath (Babylonian)". ใน Hastings, James (บ.ก.). Encyclopedia of Religion and Ethics. 20. Selbie, John A., contrib. Kessinger Publishing. pp. 889–891. ISBN 9780766136984. สืบค้นเมื่อ 2009-03-17.
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สัปดาห์ |
![]() |
บทความนี้เกี่ยวกับ ปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ ที่กำลังรอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ |