วิทยาไวรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไวรัสวิทยา[1] (อังกฤษ: Virology) เป็นการศึกษาทางชีววิทยาเกี่ยวกับไวรัส ในด้านของโครงสร้าง การจัดจำแนกหมวดหมู่ พยาธิสภาพ กลไกการก่อโรคในสิ่งมีชีวิต การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การเพิ่มจำนวน การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อเกิดการติดเชื้อ วัคซีน การแพร่กระจาย การควบคุม และความสัมพันธ์ระหว่างไวรัสกับสิ่งมีชีวิตอื่น ไวรัสวิทยาเป็นสาขาย่อยของจุลชีววิทยา นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาไวรัส เรียกว่า นักไวรัสวิทยา

การจัดจำแนกไวรัส [1][แก้]

ไวรัสสามารถจัดจำแนกได้ตามคุณสมบัติต่าง ๆ

  1. ลักษณะของโฮสต์หรือเจ้าบ้าน เช่น ไวรัสในสัตว์ รวมถึงมนุษย์ (Animal viruses), ไวรัสในพืช (Plant viruses), ไวรัสในรา (Fungal viruses), ไวรัสในแบคทีเรีย (Bacterial viruses มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Bacteriophage)
  2. โครงสร้างสัณฐานวิทยา รูปร่างและรูปทรง เช่น Helical symmetry, Icosahedral symmetry, Complex structure
  3. ลักษณะกรดนิวคลีอิคและสารพันธุกรรม เช่น DNA viruses และ RNA viruses

อ้างอิง[แก้]

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563.

[1]

  1. Mateu, Mauricio G. (2013-02-16). "Introduction: The Structural Basis of Virus Function". Structure and Physics of Viruses. 68: 3–51. doi:10.1007/978-94-007-6552-8_1. PMC 7120296. PMID 23737047.