รายชื่อโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นี่คือ รายชื่อโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร

โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์[แก้]

  • เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
    • โลตัส พระราม 2 (3)
    • โลตัส บางปะกอก (3)
    • บิ๊กซี บางบอน (4) (เปิดเร็วๆนี้)
    • โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง (5)
    • ชาน แอท ดิ อเวนิว แจ้งวัฒนะ (5)
    • เกทเวย์ แอท บางซื่อ (6)
    • สุพรีม คอมเพล็กซ์ สามเสน (6)
    • บิ๊กซี เพชรเกษม (เพชรเกษม เพาเวอร์เซ็นเตอร์) (6)
    • แฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา (7) (เดิมเป็นอีจีวี แฟชั่นไอส์แลนด์)
    • สุขุมวิท-เอกมัย (8)
    • เซ็นทรัล พระราม 2 (9)
    • เซ็นทรัล พระราม 3 (9) (เดิมเป็น United Artist Theatre สาขารัชดา-พระราม 3)
    • เซ็นทรัล บางนา (10)
    • โลตัส บางกะปิ (10)
    • เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า (11) (เดิมเป็นอีจีวี เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า 10,12,14 โรง ตามลำดับ)
    • ปิ่นเกล้า (10)
    • รัชโยธิน (15)
    • แบงค็อก มอลล์ (15) (เปิดเร็วๆนี้)
  • แกรนด์ อีจีวี - ซีคอนบางแค (10)
  • พารากอนซีนีเพล็กซ์ - สยามพารากอน (16)
  • ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต - เอ็มควอเทียร์ (8)
  • เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ - เอสพลานาด รัชดาภิเษก (12)
  • ไอคอน ซีเนคอนิค - ไอคอนสยาม (14)
  • เอ็ม คอลเล็กชัน
    • พรอมานาด ซีนีเพล็กซ์ - เดอะ พรอมานาด (8)
    • อีสต์วิลล์ ซีนีเพล็กซ์ - เซ็นทรัล อีสต์วิลล์ (8)
    • บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์ - เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ (8) (เดิมเป็นเอสเอฟ ซีเนม่า สาขาเดอะมอลล์ บางกะปิ 9,14 โรง)
    • ซีคอน ซีนีเพล็กซ์ - ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ (12) (เดิมเป็นแกรนด์ อีจีวี ซีคอนสแควร์, เดิมมี 14 โรง)

โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า[แก้]

โรงภาพยนตร์ในเครืออื่น ๆ[แก้]

โรงภาพยนตร์เดี่ยวที่ยังเปิดบริการ[แก้]

  • ไชน่าทาวน์รามา (ชื่อเดิม ศรีเมือง เยาวราช)
  • พหลเธียเตอร์ (ชื่อเดิม พหลโยธินรามา สะพานควาย ฉายภาพยนตร์ผู้ใหญ่)

โรงภาพยนตร์อิสระ[แก้]

โรงภาพยนตร์เดี่ยวที่ปิดกิจการแล้วหรือปรับปรุงใหม่[1][2][แก้]

  • ญี่ปุ่น / 2448-2459 บางตำราระบุว่า ปิด 2462 (เวิ้งนาครเขษม) เมื่อรื้อถอนแล้วจึงสร้าง "นาครเขษม" ขึ้นมาแทน
  • รัตนปีระกา / 2452 (เวิ้งนาครเขษม)
  • ชวา / 2458 (แยกสามยอด)
  • พัฒนาลัย / 2458 (ตรงข้ามโรงหนัง ชวา / แยกสามยอด) บางตำราระบุว่า ชวา และ พัฒนาลัย ตั้งอยู่ตรงข้ามกันที่บางรัก
  • นาครศรีธรรมราช / 2462 (แยกสามยอด)
  • นาครราชสีมา / 2463 (บางลำพูบน)
  • นาครปฐม / 2463 (สาทร)
  • นาครเชียงใหม่ / 2463 (ตรอกเซียงกง)
  • เฉลิมเขตร์ (แยกยศเส) รื้อถอน 2518
  • โรงหนังห้างสิงโตเก่า (เยาวราช)
  • กรุงเกษม / ปิด 2528 (ถ.กรุงเกษม) รื้อถอนแล้ว
  • โอเดียน (ชื่อใหม่ นิวโอเดียน / วงเวียนโอเดียน / เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • ศาลาเฉลิมบุรี (ชื่อเดิม สิงคโปร์ (2458) / เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • เท็กซัส / ปิด 2520 จากเหตุเพลิงไหม้ (ถ.ผดุงด้าว / เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • เฉลิมราษฎร์ (เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • เทียนกัวเทียน ปิด 2540 (ชื่อใหม่ ไชน่าทาวน์ / เยาวราช) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • ศรีเมือง (ชื่อใหม่ นิวแหลมทอง , ไชน่าทาวน์รามา / เยาวราช)
  • คาเธ่ย์(เดิม) ปิด 2520 (เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • สินฟ้าเธียเตอร์ (ชื่อใหม่ คาเธ่ย์ เปลี่ยนหลัง คาเธ่ย์เดิม เลิกกิจการ / เยาวราช) รื้อถอนเป็นโรงจอดรถ
  • ศรีเยาวราช (ถ.เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • ศรีราชวงศ์ (ถ.เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • นาครสนุก (ชื่อใหม่ นิวนครสนุก / ถ.เยาวราช) รื้อถอนแล้ว
  • ศาลาเฉลิมนคร (ปรับปรุงมาจากโรง พัฒนารมย์ (2459) ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากโรงหนัง"วังเจ้าปรีดา"(2450) ถ.เจริญกรุง)) เพลิงไหม้ขณะแสดงละครโปรแกรมเรื่อง"มนต์นาคราช" ปัจจุบันเป็นอาคารจอดรถในตลาดคลองถม
  • แคปปิตอล (ชื่อใหม่ นิวแคปปิตอล ปิดกิจการด้วยชื่อ เจริญกรุงเธียเตอร์ เม.ย.2549) ปรับปรุงอาคารเพื่อใช้ประโยชน์อื่นเมื่อ 2549
  • สิริรามา / 2514 (ถ.เจริญกรุง / เดิมเป็นที่ตั้ง พัฒนากร ใหม่ และ พัฒนากร เดิมยุคอาคารไม้(2453)) รื้อถอน ธ.ค.2548
  • พัฒนากร เดิม / สร้าง 2453 แล้วเสร็จพร้อมฉาย 2454 มีผู้ให้ข้อมูลว่า เป็นโรงหนังที่หรูหราที่สุดในสยามและโด่งดังที่สุด เป็นโรงไม้ หลังคาสังกะสี หน้าโรงฉลุไม้เป็นลวดลายสวยงาม ติดดวงไฟสว่างไสว
  • บรอดเวย์ (ถ.เจริญกรุง / แยกหมอมี) รื้อถอนแล้ว
  • นาครเขษม ปิด 2503 (เวิ้งนาครเขษม) รื้อถอนแล้ว มีข้อมูลระบุว่า เป็นโรงหนังเฟอร์โรคอนกรีต หรือโรงตึกคอนกรีตแห่งแรกของสยาม (ตามบทสัมภาษณ์ของเสี่ยเจียง แห่งสหมลคลฟิล์ม ที่เล่าถึงประวัติสมัยเป็นเด็กอยู่ในเวิ้ง ระบุว่า "นาครเขษม" เคยใช้ชื่อว่า "นิยมไทย" มาก่อน..บางตำราระบุว่าก่อสร้างเมื่อปี 2462 ซึ่งเป็นช่วงที่โรงหนังมีชื่อนำหน้าว่า "นาคร" เปิดฉายในช่วงระหว่างปี 2462-2463..เสี่ยเจียง ยังเล่าว่า โรงนี้ปิดกิจการเพราะเสื่อมความนิยม ขณะที่บางตำราระบุว่า ปิดกิจการเพราะไฟไหม้ แต่เหตุไฟไหม้ใหญ่ในเวิ้ง เกิดขึ้นเมื่อปี 2508)
  • แกรนด์ / ปิด 2527 (วังบูรพา) รื้อถอนแล้ว
  • คิงส์ (วังบูรพา) รื้อถอน 2519
  • ควีนส์ (ชื่อใหม่ วังบูรพา / วังบูรพา) เป็นอาคารจอดรถในร่ม
  • ศาลาเฉลิมกรุง (แยกเฉลิมกรุง) ปัจจุบันมีอยู่แต่ปรับปรุงเป็นโรงมหรสพ
  • บ้านหม้อ (ถ.บ้านหม้อ / ซอยโรงหนังเก่า) รื้อถอนแล้ว
  • โคลีเซี่ยม (แยกยมราช) รื้อถอนแล้ว
  • โอลิมปิก (ปรับปรุงเป็น โรงละครสุโขทัย 1-2 / ถ.พระราม 6 แยกอุรุพงษ์) รื้อถอนเพราะการเวนคืนที่ดินสร้างทางด่วน
  • เพชรพิมาน75 (ถ.เพชรบุรี ซอย 4) รื้อถอนแล้ว
  • ราชเทวีรามา / 2511 (ถ.เพชรบุรี ซอย 12) เป็นอาคารจอดรถในร่ม
  • ฮอลลีวู้ด / ปิด 2531 (ถ.เพชรบุรี) รื้อถอนแล้วก่อสร้างใหม่เป็นศูนย์การค้า โดยมีโรงฮอลลีวู้ด 1-2 อยู่ชั้นบน ต่อมาอาคารถูกรื้อถอนทั้งหมดเมื่อ ต.ค.2547
  • เมโทร / 2506 (ถ.เพชรบุรี) รื้อถอน ส.ค.2550
  • พาราเมาท์ / 2503 (ปรับปรุงจากโรงชื่อ ศรีเพ็ชร / ถ.เพชรบุรี) ก่อนปิดกิจการ ถูกยุบโรงเหลือเพียงโรงเล็ก ซึ่งปรับปรุงจากส่วนที่เป็นที่นั่งชั้นบนของโรง ส่วนที่นั่งชั้นล่างทั้งหมดและส่วนหน้าของอาคารได้รับการปรับปรุงเป็นธนาคาร กสิกรไทย จำกัด ต่อมาอาคารถูกรื้อถอนทั้งหมด
  • พันธ์ทิพย์ (ในห้างสรรพสินค้าพันธ์ทิพย์ / ถ.เพชรบุรี) รื้อถอนแล้ว
  • เพชรรามา (ถ.เพชรบุรี) รื้อถอน ส.ค.2543
  • ดาดา / 2522 (ศูนย์การค้าเมโทร ประตูน้ำ /ถ.เพชรบุรี) ปิดกิจการ
  • พอลลี่ / 2522 (ศูนย์การค้าเมโทร ประตูน้ำ /ถ.เพชรบุรี) ปิดกิจการ
  • ออสการ์ (ชื่อใหม่ ออสการ์ ซีเนรามา / ถ.เพชรบุรี) ปิดกิจการ
  • ศาลาเฉลิมโลก (จุดตัดใหม่ ถ.เพชรบุรี) รื้อถอนแล้ว
  • วิคตอรี่ (พฤ.14 ก.พ.2523 เปิดฉายเรื่องแรก "เพื่อนรักในป่าใหญ่" รอบแรก 21.30 น.รับวันวาเลนไทน์ โดยให้ชื่อว่า "รอบแห่งความรัก"-2525 / 800 ที่นั่ง / ชั้น 2 อาคารบางกอกบาซาร์ ราชดำริ ได้ชื่อว่าเป็นโรงหนังลอยฟ้าแห่งแรก) ปัจจุบันเป็นสถานที่ก่อสร้างศูนย์การค้า เดอะมาร์เก็ต บาย แพลตินัม
  • เมืองทองรามา / 2514 (ปรุงปรุงจากโรงชื่อ เฉลิมพร / ถ.ราชปรารภ) รื้อถอนแล้ว
  • อินทรา / 2514 (ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้าพาต้า อินทรา / ถ.ราชปรารภ) เป็นลานจอดรถในอาคาร
  • สเตลลา / 2521 (อาคารใบหยก 2) รื้อถอนแล้ว
  • สตาร์ / ปิด 2527 (อาคารใบหยก 1) รื้อถอนแล้ว
  • โอเอ / 2525 (ชื่อใหม่ นิวโอเอ / ถ.ราชปรารภ) ปิดกิจการ
  • บางกอกรามา (ถ.ราชปรารภ) รื้อถอนแล้ว
  • จักรวาลเธียเตอร์ / 2515 (ถ.ดินแดง / ห้วยขวาง) ปิดกิจการแล้วให้เช่าเป็นโกดังเก็บสินค้า แต่เมื่อเวลาประมาณ 05.00 น.วันที่ 20 กันยายน 2558 ได้เกิดเพลิงไหม้ ส่งผลให้อาคารต้องถูกรื้อถอนในที่สุด
  • เพชรสยาม (ประชาสงเคราะห์ 26 / ตลาดห้วยขวาง) ปิด 2527
  • เซ็นจูรี่ (ถ.พญาไท / ในปี 2527 แบ่งโรงออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะผ่ากลาง ทำให้โรงใหญ่ขนาด 1,000 ที่นั่ง ถูกแบ่งเป็น 2 โรงเล็กขนาดประมาณ 400 ที่นั่ง / ต่อมามีการก่อสร้างอาคารหลังเล็กบริเวณที่จอดรถด้านหลังเพิ่มเป็นโรงที่ 3) รื้อถอนแล้วสร้างใหม่เป็น เซ็นจูรี เดอะ มูฟวี่ พลาซา
  • อีเอ็มไอ / 2523 (ถ.พญาไท) รื้อถอนแล้ว
  • เอเธนส์ ปิด 2537 (ถ.พญาไท) รื้อถอนแล้ว
  • เพรสซิเด้นท์ (ถ.พญาไท) รื้อถอนแล้ว
  • แมคเคนนา (ถ.พญาไท / เชิงสะพานหัวช้าง) รื้อถอน มี.ค.2547
  • ไมโครแมค 1,2,3(โรงย่อยสร้างเพิ่มของ แมคเคนนา)
  • มงคลรามา / 2512-ปิดกิจการเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553 (ถ.พหลโยธิน / สะพานควาย / ดอลบี้ดิจิตอล) รื้อถอน มี.ค.2553
  • พหลโยธินรามา / 2512 (ชื่อใหม่ พหลเธียเตอร์ / สะพานควาย)
  • นิวยอร์ก / 2522 (ถ.พหลโยธิน / สะพานควาย) รื้อถอน 2558
  • เฉลิมสิน (ถ.ประดิพัทธ์ / สะพานควาย) รื้อถอน ก.ย.2559
  • ประดิพัทธ์เธียเตอร์ / 2516 (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น นิวออลีนส์ เมื่อปี 2523 / ถ.ประดิพัทธ์) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • สุทธิสารรามา (ชื่อใหม่ พลาซ่า / ถ.อินทามระ ตรงข้ามซอย 39) ปิดกิจการ
  • โคลัมเบีย / 2523 (ถ.พหลโยธิน / เสนาฯ) รื้อถอนแล้ว
  • อมรพันธ์รามา / 2515 (ถ.พหลโยธิน / แยกเกษตร) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • ลาดพร้าวรามา (ถ.ลาดพร้าว) รื้อถอน/เป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่ห้างยูเนี่ยนมอลล์
  • ลาดพร้าวสะพาน 2 / ส.ค.2524 (อีกชื่อคือ ชั้นหนึ่งลาดพร้าว) ปิดกิจการ
  • เพชรโชคชัย / 2524 (ถ.ลาดพร้าว) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • ไดร์ฟอิน (ถ.ลาดพร้าว ซอย 130)
  • เพชรคลองจั่น / 2523 (ถ.สุขาภิบาล 2) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • เจ.รามา / 2521-2527 (คลองจั่น) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
    • ย่านคลองจั่น ยังมีโรงชื่อ คลองจั่นรามา (ไม่ทราบที่ตั้ง)
  • งามวงศ์วานรามา / 2523- ปิดกิจการเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 (ชื่อใหม่ งามวงศ์วาน เดอะ เธียเตอร์ / สี่แยกพงษ์เพชร)
  • เฉลิมพันธ์ / 2511-2543 (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ชิคาโก้ เมื่อปี 2523 / ถ.ประชาราษฎร์ สาย 2 ) รื้อถอนปลายปี 2548
  • กรุงเทพรามา (ถ.ประชาราษฎร์) ปรับปรุงอาคารเป็นตลาดมณีพิมาน
  • ศาลาเฉลิมรัฐ (ตรอกโรงหนังเก่าเฉลิมรัฐ ถ.เตชะวนิช / บางซื่อ) รื้อถอนแล้ว
  • บางโพเธียเตอร์ (ถ.ประชาราษฎร์ สาย 1 ซอย 9) รื้อถอนแล้ว
  • โพธิ์ทองรามา (สี่แยกบางโพ)
  • สามย่านรามา (หลังตลาดสามย่าน) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • เอเพ็กซ์ สยามสแควร์ (ถ.พระราม 1) ปิดกิจการแล้ว
    • สยาม / เปิด 15 ธันวาคม 2509 เกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 จากเหตุชุมนุมทางการเมือง (ถ.พระราม 1) รื้อถอนแล้วก่อสร้างเป็นศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
    • ลิโด / เปิด 27 มิถุนายน 2511 เกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536 ต่อมาได้แบ่งออกเป็น 3 โรงย่อย ปิดตัวลงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เนื่องจากหมดสัญญาเช่าพื้นที่
    • สกาลา / เปิด 31 ธันวาคม 2512 ปิดตัวลงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 และรื้อถอนทำเป็นศูนย์การค้าของกลุ่มเซ็นทรัล เมื่อปี 2564 และก่อสร้างในปลายปี 2566 และเปิดให้บริการเป็นบางส่วนและเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2569[3]
  • รามา (ถ.พระราม 4) รื้อถอน ส.ค.-ก.ย.2556
  • สะพานเหลืองรามา (ชื่อใหม่ นิวสะพานเหลือง / ถ.พระราม 4 ติดคริสตจักรสะพานเหลือง) รื้อถอนแล้ว
  • ศิริเธียเตอร์ ในโรงแรมดุสิตธานี / 2513 ปิดกิจการในอีก 10 ปีต่อมา
  • คลองเตยรามา / 2512 / รื้อถอนแล้ว
  • แหลมทองรามา / 2513 (ถ.พระราม 4 / คลองเตย)
  • วอร์เนอร์เธียเตอร์ (ถ.มเหสักข์) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น / ก่อนปิดถาวรในช่วงปี 2539 ด้วยสาเหตุต่อเติมอาคารผิด พรบ. ได้แบ่งโรงออกเป็น 3 โรงย่อย เปิดกิจการช่วงสั้น ๆ ในปี 2538
  • บางรัก / 2460 (ตลาดบางรัก)
  • ปริ๊นซ์ (ถ.เจริญกรุง / บางรัก) ได้รับการปรับปรุงอาคารเพื่อประโยชน์อื่น
  • ศรีสาธร (ใช้ ธ.)(ถ.เจริญกรุง เยื้องซอย 52) รื้อถอนแล้ว / ปัจจุบันเป็นอาคารสูงก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ
  • ศาลาเฉลิมเวียง (ถ.เจริญกรุง / บริเวณฝั่งตรงข้าม ศรีสาธร) บางตำราระบุว่า เปลี่ยนชื่อมาจากโรง ชวา แต่โรง ชวา มีประวัติว่าอยู่สามยอด
  • ศาลาเฉลิมราษฎร์ (ชื่อหน้าโรงเขียน"สาลาเฉลิมราสดร์" มีตำราระบุว่าคือโรงหนังสาธร เดิม (2461) รื้อถอนหลังเสียหายจากระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)
  • ฮ่องกง / 2460 (ประวัติระบุว่า ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงหนัง สาธร)
  • ช้างแดง
  • ไดเร็คเตอร์ ปิด 2520 (ถ.สุขุมวิท / ข้างตึกโชคชัย) รื้อถอนแล้ว
  • วอชิงตัน / 2521 (ถ.สุขุมวิท) แบ่งโรงเป็นโรงย่อย 1-2 ก่อนปรับปรุงกิจการเป็นโรงคาบาเร่ต์ / รื้อถอนแล้ว
  • วิลลา / ต.ค.2523 (ถ.สุขุมวิท / ตรงข้ามสวนเบญจสิริ) ปรับปรุงอาคารเป็นวิลลามาร์เก็ต
  • สุขุมวิท (ระหว่างซอยสุขุมวิท 41,43) เปิด 2511-เพลิงไหม้ปี 2519 ขณะฉาย "อัศวินโต๊ะเบี้ยว"
  • สุขุมวิท 1-2 (ใหม่) ตรงข้ามเมเจอร์ สุขุมวิท เปิดฉายได้ไม่นาน เปลี่ยนกิจการเป็น โรงเบียร์โคลีเซี่ยม ก่อนรื้อถอน
  • ศรีกรุง (ปากซอยอโศก สุขุมวิท / ปรับปรุงจากโรงถ่ายภาพยนตร์"เสียงศรีกรุง"ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นโรงมหรสพที่ได้รับความนิยมจากชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง และชาวต่างชาติในย่านสุขุมวิท)
  • ศรีทองหล่อ (ซอยทองหล่อ) รื้อถอนแล้ว
  • เอกมัยรามา (ชื่อใหม่ ฟ็อกซ์ เธียเตอร์ / สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เอกมัย) รื้อถอนแล้ว
  • เจ้าพระยาเธียเตอร์ / 2513 (ถ.ปรีดี พนมยงค์ ซอย 3 / พระโขนง) รื้อถอนแล้ว
  • เอเชียรามา / 2517-ปิดกิจการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (ถ.ปรีดี พนมยงค์) (ดอลบี้สเตอริโอ) รื้อถอนแล้ว
  • พระโขนงรามา / 2510-ต้นปี 2549 (ถ.สุขุมวิท / แยกพระโขนง)
  • พระโขนงเธียเตอร์ / 2514 (ถ.สุขุมวิท / แยกพระโขนง) แบ่งเป็น 3 โรงในปี 2536 โดยโรง 3 ใช้พื้นที่ชั้นบนของโรงเดิม ส่วนโรง 2 ดัดแปลงจากห้องฉายห้องเล็ก รื้อถอนเมื่อ ส.ค.2549
  • ฮอลิเดย์ / 2519 (ถ.สุขุมวิท / ตรงข้าม พระโขนงเธียเตอร์) ก่อนปิดกิจการแบ่งเป็นโรงย่อย 3 โรง รื้อถอนปลายปี 2548-ต้นปี 2549
  • ลอนดอน / 2523 (ชื่อใหม่ นิวสุขุมวิท / ถ.สุขุมวิท / แยกพระโขนง) รื้อถอนแล้ว
  • เฉลิมรัตน์ (เชิงสะพานคลองพระโขนง) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • อุดมสุข (ถ.สุขุมวิท ซอย 103)
  • บางนารามา
  • เพชรเอ็มไพร์ (ชื่อเดิม เอ็มไพร์ / ปากคลองตลาด) ปรับปรุงอาคารส่วนหน้าใช้ประโยชน์อื่น / ตัวโรงเป็นลานจอดรถ
  • ปารีส / 2515-ก.ค.2548 (สะพานขาว)
  • แอมบาสเดอร์ (สะพานขาว) ปรับปรุงอาคารเพื่อเป็นตลาดสะพานขาว เมื่อปี 2548
  • ศาลาเฉลิมไทย / 2492 - 2531 (ถ.ราชดำเนิน / แยกผ่านฟ้า) ก่อนรื้อถอนปี 2532 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีนั้น ได้จัดแสดงละครเวที "พันท้ายนรสิงห์ ก่อสร้างใหม่เป็นลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ และสาเหตุที่รื้อถอนเพราะเรื่องทัศนียภาพสง่างามของโลหะประสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร อย่างเต็มที่
  • พาราไดซ์ / 2519 (ปรับปรุงจาก มูนไลท์เธียเตอร์ , เฉลิมชาติ / ถ.ดินสอ / อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • ศาลาเฉลิมธานี (ชื่อเดิม นางเลิ้ง (2461) / ตลาดนางเลิ้ง) เตรียมปรับปรุงใหม่เพื่อการอนุรักษ์
  • บุศยพรรณ (ถ.สามเสน ซอย 2) เพลิงไหม้ 28 มิ.ย.2524 / รื้อถอนแล้ว (คำบอกเล่าของคุณโดม สุขวงศ์ บอกว่า ตัวอาคารมีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นโรงสเก็ตที่หนุ่มสาวยุคนั้น นิยมไปเล่นกันทั้งที่ยังนุ่งโจงกระเบน จึงทำให้เห็นได้ว่า ตัวโรงมีหลังคาทรงโค้ง ไม่เหมือนอย่างโรงหนังทั่วไป)
  • เฉลิมเมือง (ชื่อเดิม บางลำพู (2460) / ถ.สามเสน ตัด ถ.พระสุเมรุ) รื้อถอนแล้ว
  • ศรีบางลำพู (ชื่อเดิม ปีนัง (2458) / อยู่ในตลาดยอด บางลำพู) รื้อถอนแล้ว
  • เทเวศร์ (ชื่อใหม่ เฉลิมเทเวศร์ / ถ.สามเสน) ปิดกิจการ
  • ศรีย่าน (ถ.สามเสน / ตลาดศรีย่าน) ก่อนปิดกิจการแบ่งโรงเป็นศรีย่าน 1-2 รื้อถอนแล้ว
  • จันทิมาเธียเตอร์ / 2515-2543 (ถ.นครไชยศรี / ตลาดศรีย่าน) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • ราชวัตรรามา (แยกราชวัตร/ชื่อเดิม ดุสิตเธียเตอร์) รื้อถอนแล้ว
  • บางแครามา (ถ.เพชรเกษม / บางแค) เริ่มรื้อถอน พ.ย.2558
  • กรุงไทยรามา / ตรงข้ามบางแครามา ปิดปลายปี 2548 ในชื่อใหม่ เพชรเกษมบางแค รื้อถอนแล้ว
  • กิตติพรรามา (หนองแขม) ปิดกิจการ
  • ผึ้งหลวงรามา / 2526 (ถ.สุขสวัสดิ์ / ย่านศูนย์การค้าบางปะแก้ว) ปิดปรับปรุง 2549 เปิดใหม่ 1 ก.ค.2549 ฉายได้ 2 โปรแกรมก็ปิดถาวร / รื้อถอนแล้ว
  • ดาวคะนองรามา (ชื่อใหม่ บีเอ็มซี ดาวคะนอง มัลติเพล็กซ์ - ดอลบี้ ดิจิตอล เซอร์ราวด์ อีเอ็กซ์) ปิดกิจการแล้ว
  • ไทยรามา / 2512 (วงเวียนใหญ่) ปรับปรุงเป็นอาคารจอดรถในร่มปี 2552
  • เฉลิมเกียรติ์ / 2498-ก.ค.2553 (วงเวียนใหญ่) รื้อถอน พ.ค.-ก.ย.2555
  • วงเวียนใหญ่รามา / 2516 (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ฮาวาย เมื่อปี 2523 / ถ.เจริญรัถ) รื้อถอนแล้ว
  • สุริยาเธียเตอร์ / 2512-2543 (วงเวียนใหญ่) ตัวโรงถูกแบ่งเป็นโรงเอดิสัน 1-2 ตามกิจการห้างสรรพสินค้า เมื่อห้างฯเลิกกิจการ จึงถูกปรับปรุงอาคารเพื่อใช้ประโยชน์อื่น
  • เฉลิมธน (ท่าดินแดง) รื้อถอนแล้ว
  • ศรีตลาดพลู (ถ.เทอดไท ปากซอย 20) รื้อถอนแล้ว
  • กึงตัง ศรีนครธน(ตลาดพลู) ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นสะพานข้ามถนนเทอดไท และคลองบางหลวง ในปัจจุบัน มีคำอธิบายว่า ตัวโรงเป็นอาคารไม้อยู่บนอาคารยกพื้น โดยชั้นล่างเป็นตลาดสดตอนเย็น ชาวบ้านจึงเรียกว่า "วิกสูง" ขณะเดียวกันได้เรียก ศรีตลาดพลู ว่า "วิกเตี้ย" รื้อถอนแล้ว
  • คารอลโก้ 1-2 (แยกท่าพระ) รื้อถอนแล้ว
  • นครหลวงรามา / 2522 - 6 มี.ค.2548 (ถ.จรัญฯ สามแยกไฟฉาย) รื้อถอน ส.ค.-ก.ย.2554
  • ธนบุรีรามา / 2515-ยุติการฉายภาพยนตร์เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556 (ถ.จรัญฯ สี่แยก 35 โบว์ล) (ดอลบี้ สเตอริโอ) / ยุติการให้เช่าอาคารเพื่อจัดคอนเสิร์ต ประชุม สัมมนาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เริ่มรื้อถอนเก้าอี้ในโรง และประกาศขายทรัพย์สิน
  • กรุงธนรามา / 2514 (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคลิฟอร์เนีย เมื่อ 2523 / ถ.จรัญฯซอย 50) รื้อถอนปี 2548
  • สยามเธียเตอร์ (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ลาสเวกัส เมื่อ 2523 / ถ.จรัญฯ ซอย 66/1) รื้อถอน ธ.ค.2552
  • พาต้าเธียเตอร์ / 2525-2540 (ชื่อใหม่ แกรนด์ พาต้า / ข้างห้างสรรพสินค้าพาต้า ปิ่นเกล้า) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • พาต้าเธียเตอร์ อาคารโรง 2-3 (ปิด มี.ค. 2552/ก่อนปิด ฉายเพียงโรงเดียว) รื้อถอนแล้ว
  • พาต้าเธียเตอร์ อาคารโรง 4-5 (ปิดปลายปี 2539) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • เพชรพรานนก / 2508 (เปลี่ยนชื่อจาก ศรีพรานนก เมื่อปี 2522 / ถ.พรานนก) รื้อถอนแล้ว
  • เฉลิมมณี (ถ.อิสรภาพ สี่แยกบ้านแขก) ปิดกลางปี 2515 จากเหตุเพลิงไหม้
  • บ้านขมิ้นเธียเตอร์ ตลาดบ้านขมิ้น ถ.อรุณอมรินทร์ เลิกกิจการด้วยเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2513 ขณะเตรียมฉาย "วิญญาณดอกประดู่" .. คำบอกเล่าของ ศ.พญ.นีโลบล เนื่องตัน ซึ่งมีบ้านพักอยู่ติดกับรั้วของโรง ระบุที่ตั้งของโรงว่า อยู่ติดกับถนน ถัดจากซอยวังหลัง หากเดินทางมาจากสี่แยกศิริราช มุ่งหน้าสู่กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ โรงจะอยู่ห่างจากสี่แยกราว 100 เมตร หรือตรงบริเวณตึกแถวด้านหน้าของลานจอดรถ(เก็บเงิน) หรือตรงบริเวณป้ายรถเมล์ เมื่อครั้งโรงหนังเกิดเพลิงไหม้ รถดับเพลิงยังได้แล่นเข้าไปภายในบริเวณบ้านของ ศ.พญ.นีโลบล เพื่อช่วยควบคุมเพลิง เมื่อน้ำที่เตรียมมาหมดลง เจ้าหน้าที่ยังได้สูบน้ำในสระน้ำบ้านพักของ ศ.พญ.นีโลบล ไปใช้ดับไฟด้วย.. เหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต โดยรายหนึ่งซึ่งเป็นเด็กชาย ได้หลบไฟไปอยู่ในโอ่งในห้องสุขาของโรงหนัง จึงเสียชีวิตเพราะถูกลวกด้วยน้ำในโอ่งที่กลายเป็นน้ำร้อนจากเหตุเพลิงไหม้..ปัจจุบันโอ่งใบนี้ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ห้องนิติเวช ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 2
  • จันท์เธียเตอร์ (ถ.จันทน์) ปิดกิจการแล้ว
  • ดาวสยามเธียเตอร์ / ปิด 30 มีนาคม 2549 (ถ.จันทน์/ย่านศูนย์การค้าวรรัตน์)
  • ทวีผลรามา / 2515 (ถ.จันทน์/ย่านศูนย์การค้าวรรัตน์) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
    • ถนนจันทน์ ยังเคยมีโรงชื่อ ตรอกจันทน์รามา , จันทน์ ซีเนมา , สิริจันทร์ (บริเวณตลาดสะพาน 2 ปัจจุบัน)
  • รามอินทรารามา รื้อถอนแล้ว
  • มีนบุรีรามา ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น / ปัจจุบันถูกทิ้งร้าง
  • หัวหมากเธียเตอร์ (ตรงข้าม ม.รามคำแหง) รื้อถอนแล้ว
  • เอ็มจีเอ็ม 1-2 / เปิด 24 ธ.ค.2526 (ถ.รามคำแหง) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • โกลเด้นฮาร์เวสต์ 1-2 (ถ.รามคำแหง) รื้อถอนแล้ว
  • เพชรพัฒนาการ (ถ.พัฒนาการ ซอย 66) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • ลาดกระบังเธียเตอร์ / ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • สะพานใหม่รามา / ส.ค.2524 (ถ.พหลโยธิน / สะพานใหม่) รื้อถอนแล้ว
  • กรุงสยามรามา / ปิด ธ.ค.2555 (สะพานใหม่)(ดอลบี้ สเตอริโอ) โรงแบดมินตัน อาคารส่วนหน้ายังคงเดิม
  • แอร์พอร์ตรามา / 2521 (ถ.สรงประภา) ปิดกิจการ
    • ย่านดอนเมือง ยังมีชื่อโรงภาพยนตร์ ศรีดอนเมือง , ดอนเมืองรามา ปรากฏอยู่ด้วย / ไม่ทราบประวัติ
  • บางบอนรามา (ถ.บางบอน 1 ซอย 16) ปรับปรุงอาคารใช้ประโยชน์อื่น
  • บางปะกอกรามา (ถ.สุขสวัสดิ์ / ตลาดบางปะกอก) ปิดกิจการ
  • * แหลมทองรามา (คลองเตย ฉายภาพยนตร์ผู้ใหญ่)

อ้างอิง[แก้]

  1. รายชื่อ/ข้อมูลส่วนโรงภาพยนตร์ทั้งหมด:สุพัฒน์พงศ์ ประชาศรี,ทศพร โขมพัตร
  2. หอภาพยนตร์แห่งชาติ
  3. ทุบ “สกาลา” ปิดตำนาน 54 ปี โรงหนังยุคบุกเบิก ส่งมอบพื้นที่ให้เซ็นทรัล