ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลจันทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลจันทบุรี
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2449 – 2475
Flag of มณฑลจันทบุรี
ธง

แผนที่มณฑลจันทบุรี
เมืองหลวงจันทบุรี
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2449–2452
พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) (คนแรก)
• พ.ศ. 2457–2458
หม่อมเจ้าธำรงสิริ ศรีธวัช
• พ.ศ. 2459–2466
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร
• พ.ศ. 2472–2473
พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ)
• พ.ศ. 2473–2475
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้ง
8 เมษายน พ.ศ. 2449
• รวมเมืองตราดไว้ในปกครอง
15 กันยายน พ.ศ. 2450
• ยุบรวมกับมณฑลปราจิณบุรี
1 เมษายน พ.ศ. 2475
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองจันทบุรี
เมืองระยอง
เมืองขลุง
เมืองตราด
มณฑลปราจิณบุรี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลจันทบุรี เป็นอดีตเขตการปกครองระดับมณฑลเทศาภิบาลของประเทศไทยในภาคตะวันออก มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองจันทบุรี ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2449[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งมณฑลจันทบุรีและตั้งเมืองขลุง ในปีเดียวกันกับมณฑลปัตตานี หลังจากเสียมณฑลบูรพาให้แก่อินโดจีนฝรั่งเศสในปีนั้น ต่อมา มีการยุบมณฑลจันทบุรีให้ไปขึ้นกับมณฑลปราจีนบุรีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474[2] กระทั่ง พ.ศ. 2476 มีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ส่งผลให้มณฑลทั้งหมดถูกยุบ เมืองในมณฑลจันทบุรีเดิมแยกออกเป็น จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด

ประวัติ

[แก้]

มณฑลจันทบุรีก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2449 โดยนำเมืองจันทบุรี เมืองระยอง และเมืองขลุง มารวมกัน[1] และในวันที่ 15 กันยายน 2450 เมื่อฝรั่งเศสคืนเมืองตราดให้แก่สยามแล้ว จึงยุบเมืองขลุงลงเป็นอำเภอ แล้วแยกอำเภอทุ่งใหญ่ที่ขึ้นอยู่กับเมืองขลุงไปขึ้นกับเมืองตราดที่ได้คืนมาใหม่[3] ส่งผลให้มณฑลจันทบุรีประกอบไปด้วยเมืองจันทบุรี เมืองระยอง และเมืองตราด

ข้าหลวงเทศาภิบาล/สมุหเทศาภิบาล

[แก้]
ลำดับ ชื่อ[4] เริ่มต้น สิ้นสุด รวมระยะเวลา
1 พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) 2449 2452 3 ปี
2 พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) 2452 2457 5 ปี
3 หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช 2457 2458 1 ปี
4 หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี เกษมศรี 2458 2459 1 ปี
5 หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร[5] 2459 2466 7 ปี
6 พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกณะ)[6] 2466 2471 5 ปี
7 พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) 2471 2472 1 ปี
8 พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) 2472 2473 1 ปี
9 พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) 2473 2475 2 ปี

สถานศึกษาประจำมณฑล

[แก้]

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งมณฑลจันทบุรีและตั้งเมืองขลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (2): 33. April 8, 1906.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. February 21, 1931. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งอำเภอกบินทร์บุรีขึ้นเป็นเมืองกบินทร์บุรีขึ้นเมืองปราจีน ส่วนเมืองขลุงยกเลิกเสียตั้งเป็นอำเภอขึ้นเมืองจันทบุรีโอนอำเภอทุ่งใหญ่จากอำเภอขลุงขึ้นเมืองตราดตามเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (24): 589–590. September 15, 1907.
  4. ขรรค์ชัย บุนปาน. (2545). เทศาภิบาล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศย้ายตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล เล่ม 33 หน้า 200 วันที่ 29 ตุลาคม 2459
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเปลี่ยนตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลบางมณฑล เล่ม 40 หน้า 47 วันที่ 15 กรกฎาคม 2466