ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลตัส (ห้างสรรพสินค้า)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
| พ.ศ. 2562
| พ.ศ. 2562
| [[กรุงเทพมหานคร]]
| [[กรุงเทพมหานคร]]
| ย้ายสาขาไปยัง เทสโก้ โลตัส สาขาบางแค ส่วนที่ตั้งเดิมกำลังปรับปรุ่งเป็น สถาบันผ้าม่าน
| ย้ายสาขาไปยัง เทสโก้ โลตัส สาขาบางแค ส่วนที่ตั้งเดิมกำลังปรับปรุ่งเป็น [[สถาบันผ้าม่าน]]
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:27, 10 เมษายน 2563

บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด
อุตสาหกรรมศูนย์การค้า
ก่อตั้งพ.ศ. 2537 (โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์)
พ.ศ. 2541 (เทสโก้ โลตัส)
สำนักงานใหญ่629/1 ถนนนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พื้นที่ให้บริการ
ไทย
บุคลากรหลัก
สุนทร อรุณานนท์ชัย (ประธานกรรมการ)
สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย (ประธานกรรมการบริหาร)
ผลิตภัณฑ์ศูนย์การค้า, ไฮเปอร์มาร์เก็ต
พนักงาน
ประมาณ 36,000 คน
บริษัทแม่ซีพี ออลล์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
เว็บไซต์http://www.tescolotus.com
เทสโก้ โลตัส คุ้มค่า

เทสโก้ โลตัส (อังกฤษ: Tesco Lotus) เป็นกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เดิมใช้ชื่อว่า โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (Lotus Supercenter) โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนามของบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด เปิดให้บริการสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ บนถนนศรีนครินทร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ขายหุ้นส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มเทสโก้เมื่อปี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติจากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นที่มาให้เกิดการควบรวมชื่อเป็น เทสโก้ โลตัส ในปัจจุบัน โดยในปัจจุบันได้มีการแบ่งรูปแบบตามขนาด และวิถีชีวิตของแต่ละท้องที่

ประวัติ

เทสโก้ โลตัส เกิดจากความต้องการขยายรูปแบบร้านค้าปลีกของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพี เมื่อ พ.ศ. 2537 โดยได้ทดลองรูปแบบสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนกลายเป็นวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ใน พ.ศ. 2541 กลุ่มซีพีตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ของ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ให้กับกลุ่มเทสโก้ จากประเทศอังกฤษ และได้เปลี่ยนแปลงชื่อมาเป็น เทสโก้ โลตัส ในปัจจุบัน

การขายกิจการในประเทศไทยให้กับกลุ่มซีพี

เมื่อ พ.ศ. 2557 กลุ่มเทสโก้ ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการจาก Serious Fraud Office ฐานแสดงบัญชีไม่ตรงกับการดำเนินการจริงของบริษัทฯ ทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ของกลุ่มเทสโก้ลดลงจนขาดทุน 3.1 แสนล้านบาทในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังเกิดเรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้กลุ่มเทสโก้จึงตัดสินใจขายกิจการในหลายประเทศรวมถึงประเทศมาเลเซียและเทสโก้ โลตัสในประเทศไทย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินและพยุงสถานะทางการเงินของกลุ่มบริษัท อย่างไรก็ตาม กลุ่มเทสโก้ กลับปฏิเสธการขายกิจการในไทยและมาเลเซีย เนื่องจากเป็นฐานรายได้หลักนอกประเทศอังกฤษของกลุ่มเทสโก้ และกลุ่มยังไม่มีความจำเป็นต้องขายออกไปเพื่อพยุงสถานะทางการเงิน

ต่อมา ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้ข่าวว่ากำลังปรึกษากับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง เพื่อขอกู้เงินซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสกลับคืนมา คาดว่าจะใช้เงินสูงถึง 2 แสนล้านบาทในการซื้อกิจการกลับมาทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ธนินท์ ได้เปิดเผยภายหลังว่าตนได้เจรจาขอซื้อคืนหลายครั้งแล้ว แต่กลับถูกปฏิเสธเนื่องจากกลุ่มเทสโก้ไม่ยอมขาย ตนจึงเคารพการตัดสินใจของกลุ่มเทสโก้และหยุดแผนการซื้อกิจการทั้งหมดลง

ใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักข่าวเดอะการ์เดียน ได้เปิดเผยว่ากลุ่มเทสโก้ กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจขายกิจการในประเทศไทยและมาเลเซีย หลังมีเอกชนในไทยเสนอซื้อกิจการ ซึ่งต่อมาสำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เปิดเผยว่ากลุ่มที่สนใจเข้าซื้อกิจการมีทั้งหมดสามรายคือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มทีซีซี และบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งบลูมเบิร์กคาดว่ามูลค่าซื้อขายอาจสูงถึงหนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณสามแสนล้านบาท และอาจกลายเป็นดีลใหญ่มากที่ส่งผลถึงตลาดค้าปลีกในประเทศไทย เนื่องมาจากปัจจุบันเทสโก้ โลตัสมีสาขากว่า 2,000 สาขา หลัก ๆ เป็นสาขาในรูปแบบเอ็กซ์เพรส และตลาดโลตัส หากหนึ่งในสามกลุ่มเป็นผู้ชนะการประมูลกิจการ จะทำให้กลุ่มนั้นพลิกขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดค้าปลีกทันที ซึ่งต่อมา คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ออกมาแถลงเป็นกรณีพิเศษว่า การประมูลกิจการเทสโก้ โลตัส ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน เนื่องจากจะส่อการผูกขาดทางการค้า และยังได้สั่งการให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เฝ้าระวังดีลนี้เป็นพิเศษ และติดตามการรวมธุรกิจอย่างใกล้ชิด

ต่อมากลุ่มเทสโก้ได้เปิดรับข้อเสนอจากเอกชนทั้งสามราย คือ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ผลปรากฏว่า บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นกิจการร่วมค้าเฉพาะกิจที่ถือหุ้นโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาประมูลสูงสุดที่ 338,445 ล้านบาท โดย ซี.พี. รีเทล ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 แต่จะยังไม่สามารถเข้าซื้อกิจการทั้งหมดได้ เนื่องจากต้องขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า และ Ministry of Domestic Trade and Consumers Affairs of Malaysia ให้เรียบร้อยก่อน คาดว่ากระบวนการซื้อขายจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563

สาขาของเทสโก้ โลตัส

ประเภท พื้นที่ขาย เวลาทำการ ลักษณะ จำนวนสาขา[1] สาขาเรือธง
ไฮเปอร์มาร์เก็ต 8,000 - 10,000 ตรม. 6.00, 8.00, 9.00, 10.00 - 21.00, 22.00, 23.00, 24.00 น. รูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตพื้นฐานของ เทสโก้ โลตัส มีสินค้าให้เลือกจับจ่ายกว่า 30,000 รายการ มีสาขาในกรุงเทพฯ และจังหวัดขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในจำนวนนี้ปรับปรุงมาจากตลาด 4 สาขา และคุ้มค่า 14 สาขา 128 ซีคอนสแควร์ ประเวศ
เอ็กซ์ตร้า 8,000-15,000 ตรม. 7.00, 8.00, 9.00 - 22.00,23.00 น. ห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดพื้นที่ขายมากที่สุด มีสินค้ากว่า 36,000 รายการ จำหน่ายสินค้านำเข้าเป็นหลัก เน้นความทันสมัย และมีพื้นที่พลาซ่าให้เช่าสูงกว่าไฮเปอร์มาร์เก็ต ในจำนวนนี้ปรับปรุงมาจากไฮเปอร์มาร์เก็ต 4 สาขา 12 พระรามที่ 4
ดีพาร์ทเม้นท์ สโตร์ 8,000-12,000 ตรม. 8.00, 9.00 - 21.00, 22.00 น. ห้างสรรพสินค้าที่มีสินค้ากว่า 36,000 รายการ ครอบคลุมทุกแผนก แบ่งเป็นโซนพลาซ่าและความบันเทิงต่างๆ พร้อมพื้นที่พิเศษ เช่น โฮมโปร มีสาขาในกรุงเทพฯ และจังหวัดขนาดใหญ่ 59

สมุทรสงคราม

พลัสมอลล์ 8.00 - 22.00, 23.00 น. ศูนย์การค้าขนาดใหญ่พื้นฐานของเทสโก้ โลตัส รูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต (เฉพาะสาขาอมตะนคร) หรือเอ็กซ์ตร้า (เฉพาะสาขาศรีนครินทร์ และบางใหญ่) แบ่งเป็นโซนพลาซ่าและความบันเทิงต่างๆ พร้อมพื้นที่พิเศษ เช่น โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 3 อมตะนคร
ตลาด หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต 600 - 2,000 ตรม. 7.00, 8.00 - 20.00, 21.00 น. ร้านค้าขนาดเล็กใกล้แหล่งชุมชน สะดวกต่อการจับจ่ายกับสินค้ากว่า 4,500 รายการ มีสาขาในบางอำเภอที่มีขนาดใหญ่ ใกล้ตัวจังหวัด หรือในอำเภอขนาดกลางถึงเล็ก 194 พงษ์เพชร
เอ็กซ์เพรส 250 - 450 ตรม. เปิดตลอด 24 ชั่วโมง, 6.00 - 22.30 น. ร้านสะดวกซื้อประเภท Discount Store ของเทสโก้กับสินค้ากว่า 2,600 รายการ มีสาขาในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ตามอำเภอต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัด และสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ บางแห่งอยู่ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก 1,557 ลาดใหญ่

ความกังวลสวัสดิภาพสัตว์

เอ็นจีโอสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (อังกฤษ: World Animal Protection) ได้รายงานว่าเทสโก้โลตัสใช้กรงสำหรับการตั้งครรภ์ (อังกฤษ: sow stalls) ในกระบวนการผลิตเนื้อหมู กระบวนการนี้ขอบเขตสุกรตัวเมียในกรงที่มันขนาดเท่ากับตู้เย็นเพื่อที่จะใช้สุกรต้วเมียเป็นเครื่องเพาะพันธุ์ (อังกฤษ: "breeding machines") กระบวนการแบบนี้ก็ผิดกฎหมายที่หลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่นประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี 2542 เอ็นจีโอสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้ประสบความสำเร็จในการชักชวนบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ว่าเขาจะต้องปล่อยสุกรตัวเมียให้อ่อกกรงภายในปี 2568[2]

สาขาที่ปิดกิจการ

ชื่อสาขา วันที่เปิดบริการ วันที่ปิดบริการ จังหวัดที่ตั้ง สถานะในปัจจุบัน
กัลปพฤกษ์ พ. ศ. 2551 พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานคร ย้ายสาขาไปยัง เทสโก้ โลตัส สาขาบางแค ส่วนที่ตั้งเดิมกำลังปรับปรุ่งเป็น สถาบันผ้าม่าน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น