ธนินท์ เจียรวนนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนินท์ เจียรวนนท์
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ., ท.จ.
ธนินท์ เจียรวนนท์ Dhanin Chearavanont.jpg
เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2482 (83 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สัญชาติไทย
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสเทวี เจียรวนนท์
บุตร5 คน

ธนินท์ เจียรวนนท์ มีชื่อจีนว่า เจี๋ย ก๊กมิ้น (จีน: 謝國民; พินอิน: Xiè Guómín; เป่อ่วยจี: Chhía2 Kok1-Mín5; เกิดวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2482) เป็นนักธุรกิจพันล้านชาวไทย ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอดีตประธานกรรมการ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ธนินท์เป็นหัวหน้าตระกูลเจียรวนนท์ ซึ่งทางฟอร์บส์เอเชียใน พ.ศ. 2560 จัดให้เป็นตระกูลที่รวยที่สุดอันดับ 4 ของเอเชีย โดยมีมูลค่าสุทธิที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][2] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 เขามีมูลค่าสุทธิอยู่ประมาณ 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ฟอร์บส์จัดให้ ธนินท์ เจียรวนนท์ และพี่น้องของเขามีสินทรัพย์ที่ 30.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ทางฟอร์บส์จัดให้พี่น้องเจียรวนนท์เป็นกลุ่มที่รวยที่สุดในประเทศไทย[5]

ประวัติ[แก้]

ธนินท์ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2482[6] ที่ย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนที่ 4 ในบรรดาบุตรทั้ง 5 คนของนายเอ็กชอ แซ่เจี๋ย ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพ[7] นายธนินท์เริ่มทำงานเป็นครั้งแรกที่ร้านเจริญโภคภัณฑ์ เมื่ออายุได้ 19 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาด้านพาณิชยกรรมที่ฮ่องกง โดยทำงานในตำแหน่งแคชเชียร์ ธนินท์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2492 และได้ไปศึกษาชั้นมัธยมจนจบในปี พ.ศ. 2494 จากโรงเรียนซัวเถา ประเทศจีน และอุดมศึกษาในปี พ.ศ. 2499 จากสถาบันศึกษาฮ่องกงวิทยาลัย รวมทั้งผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2532

ต่อมาได้โยกย้ายไปทำงานที่สหพันธ์สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย และบริษัท สหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ตามลำดับ กระทั่งเมื่ออายุ 25 ปี ได้กลับมาทำงานอีกครั้งที่เจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รับผิดชอบบริหารงานในตำแหน่งประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีว่าเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกลุ่มธุรกิจในเครือฯรวม 13 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร, กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร, กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร, กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง, กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์, กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย, กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม, กลุ่มธุรกิจพลาสติก, กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มธุรกิจยานยนต์, กลุ่มธุรกิจเวชภัณฑ์ และกลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร[8]

ธนินท์สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน และใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ซีพีเป็นผู้เช่าที่ดินต่างด้าวรายใหญ่สุดในประเทศจีน คิดเป็นพื้นที่กว่า 200,000 เฮกตาร์[9]

ลำดับเศรษฐีของนายธนินท์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2559 นายธนินท์ได้รับการจัดอันดับเป็นเศรษฐีอันดับ 171 ของโลก เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศไทย

  • เศรษฐีของประเทศไทยอันดับ 3 ในปี พ.ศ. 2548
  • เศรษฐีของประเทศไทยอันดับ 1 ในปี พ.ศ. 2553, 2554, 2555
  • เศรษฐีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 15 ในปี พ.ศ. 2547
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 351 ในปี พ.ศ. 2545
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 329 ในปี พ.ศ. 2546
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 342 ในปี พ.ศ. 2547
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 387 ในปี พ.ศ. 2548
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 390 ในปี พ.ศ. 2549
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 133 ในปี พ.ศ. 2555 โดยมีทรัพย์สินสุทธิคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 280,000 ล้านบาท) [10]
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 81 ในปี พ.ศ. 2558
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 21 ในปี พ.ศ. 2563 [11]

ความคิด[แก้]

เมื่อปี 2551 ธนินท์เสนอ "ทฤษฎีสองสูง" ในรายการ จับเข่าคุย ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 สรุปได้สั้น ๆ คือ ปล่อยให้ราคาสินค้าสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร แต่ก็ต้องปรับเงินเดือนขึ้นสูงตาม ให้มีความสมดุลกัน[12][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับเทวี (วัฒนลิขิต) เจียรวนนท์ และมีลูกทั้งสิ้น 5 คน โดยเป็นชาย 3 คน และหญิง 2 คน ประกอบด้วย

  1. นางวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ สมรสกับ มร.ไมเคิล รอสส์
  2. นายสุภกิต เจียรวนนท์ สมรสกับ นางมาริษา เจียรวนนท์
  3. นายณรงค์ เจียรวนนท์
  4. นายศุภชัย เจียรวนนท์ สมรสกับ นาง บุษดี มหพันธ์ มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายกรวัฒน์ เจียรวนนท์ นางสาวกมลนันท์ เจียรวนนท์และนายแซนเดอร์ เจียรวนนท์
  5. นางทิพาภรณ์ อริยวรารมย์ สมรสกับ ดร. ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์

กรรมการต่าง ๆ[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Asia's wealthiest dynasties Chearavanont Family". Forbes. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  2. "Dhanin Chearavanont, CEO & Chairman of CP Group". Thomas White International. November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
  3. "Dhanin Chearavanont". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-08.
  4. "Chearavanont Brothers $30.2B 2021 THAILAND'S 50 RICHEST NET WORTH". Forbes.com. 6 July 2021. สืบค้นเมื่อ 6 January 2022.
  5. "Forbes: Chearavanont Brothers richest in Thailand, Elon Musk in world". Forbes.com. 5 January 2021. สืบค้นเมื่อ 6 January 2022.
  6. "Profile: Erez Vigodman". 16th Nikkei Global Management Forum. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.
  7. Ismail, Netty (14 July 2014). "Thai Brothers Emerge as Billionaires With CP Group Stakes". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 24 February 2017.
  8. "ประวัติเจ้าสัว CP". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-16.
  9. "Meet Dhanin Chearavanont, the man who swooped in on Ping An". Financial Times. 6 December 2012. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.
  10. นิตยสารฟอร์บ
  11. ratirita (2020-08-03). "ตระกูล "เจียรวนนท์" ครองอันดับ 21 มหาเศรษฐีโลก ปี 2020 ทรัพย์สิน 9.8 แสนล้าน". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. "เทปรายการจับเข่าคุย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-22. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]