ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเปอร์เซีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
=== ชื่อในภาษาอังกฤษ ===
=== ชื่อในภาษาอังกฤษ ===
ในภาษาอังกฤษเรียกชื่อภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นการออกเสียงแบบอังกฤษของคำที่มาจาก[[ภาษาละติน]] Persianus < ละติน Persia < กรีก Πέρσις Pérsis ซึ่งมีต้นกำเนิกจากคำในภาษาเปอร์เซียโบราณ Parsa คำว่าเปอร์เซียมีใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21<ref>''[[Oxford English Dictionary]] online,'' s.v. "Persian", draft revision June 2007.</ref> ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่จะเรียกตนเองว่าปาร์ซี หรือ ฟาร์ซี โดยที่ฟาร์ซีนั้นเป็นรูปที่ถูกทำให้เป็น[[ภาษาอาหรับ]]ของคำว่าปาร์ซี เพราะภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/<ref>Cannon, Garland Hampton and Kaye, Alan S. (1994) ''The Arabic contributions to the English language: an historical dictionary'' Harrassowitz Verlag, Wiesbaden, Germany, page 106, ISBN 3-447-03491-2</ref><ref>Odisho, Edward Y. (2005) ''Techniques of teaching comparative pronunciation in Arabic and English'' Gorgias Press, Piscataway, New Jersey, [http://books.google.com/books?id=ySsxpOtM26gC&pg=PA23 page 23] ISBN 1-59333-272-6</ref> เมื่อมีผู้พูดภาษาเปอร์เซียอพยพไปตะวันตกจึงมีการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีใช้เรียกภาษาของตนและเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 สมาคมวิชาการทางด้านภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซียได้ประกาศว่าคำว่าภาษาเปอร์เซียนั้นเหมาะสมกว่าฟาร์ซี<ref>{{cite web |url=http://heritage.chn.ir/en/Article/?id=88 |title=Pronouncement of the Academy of Persian Language and Literature |publisher=Heritage.chn.ir |date=2005-11-19 |accessdate=2010-07-13}}</ref> และนักวิชาการทางด้านภาษาเปอร์เซียบางคนได้ปฏิเสธการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซี<ref>{{cite web|url=http://www.iranian.com/Features/Dec97/Persian/|title=Persian or Farsi?|publisher=Iranian.com |date=1997-11-16 |accessdate=2010-09-23}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.persiandirect.com/articles/2004/july/id_00003.htm|title=Fársi: "recently appeared language!"|publisher=PersianDirect.com |date=2005-02-15 |accessdate=2010-09-23}}</ref>
ในภาษาอังกฤษเรียกชื่อภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นการออกเสียงแบบอังกฤษของคำที่มาจาก[[ภาษาละติน]] Persianus < ละติน Persia < กรีก Πέρσις Pérsis ซึ่งมีต้นกำเนิกจากคำในภาษาเปอร์เซียโบราณ Parsa คำว่าเปอร์เซียมีใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21<ref>''[[Oxford English Dictionary]] online,'' s.v. "Persian", draft revision June 2007.</ref> ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่จะเรียกตนเองว่าปาร์ซี หรือ ฟาร์ซี โดยที่ฟาร์ซีนั้นเป็นรูปที่ถูกทำให้เป็น[[ภาษาอาหรับ]]ของคำว่าปาร์ซี เพราะภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/<ref>Cannon, Garland Hampton and Kaye, Alan S. (1994) ''The Arabic contributions to the English language: an historical dictionary'' Harrassowitz Verlag, Wiesbaden, Germany, page 106, ISBN 3-447-03491-2</ref><ref>Odisho, Edward Y. (2005) ''Techniques of teaching comparative pronunciation in Arabic and English'' Gorgias Press, Piscataway, New Jersey, [http://books.google.com/books?id=ySsxpOtM26gC&pg=PA23 page 23] ISBN 1-59333-272-6</ref> เมื่อมีผู้พูดภาษาเปอร์เซียอพยพไปตะวันตกจึงมีการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีใช้เรียกภาษาของตนและเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 สมาคมวิชาการทางด้านภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซียได้ประกาศว่าคำว่าภาษาเปอร์เซียนั้นเหมาะสมกว่าฟาร์ซี<ref>{{cite web |url=http://heritage.chn.ir/en/Article/?id=88 |title=Pronouncement of the Academy of Persian Language and Literature |publisher=Heritage.chn.ir |date=2005-11-19 |accessdate=2010-07-13}}</ref> และนักวิชาการทางด้านภาษาเปอร์เซียบางคนได้ปฏิเสธการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซี<ref>{{cite web|url=http://www.iranian.com/Features/Dec97/Persian/|title=Persian or Farsi?|publisher=Iranian.com |date=1997-11-16 |accessdate=2010-09-23}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.persiandirect.com/articles/2004/july/id_00003.htm|title=Fársi: "recently appeared language!"|publisher=PersianDirect.com |date=2005-02-15 |accessdate=2010-09-23}}</ref>
=== ชื่อในระดับนานาชาติ ===
การกำหนดรหัสภาษาในระบบ [[ISO 639-1]] ใช้ "fa" ส่วนในระบบ [[ISO 639-3]] ใช้ "fas" สำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อิหร่านถึงอัฟกานิสถาน ใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีตะวันออกสำหรับภาษาเฉพาะในอัฟกานิสถานและภาษาฟาร์ซีตะวันตกสำหรับภาษาเฉพาะในอิหร่าน ใน Ethnologue จะใช้ภาษาฟาร์ซีตะวันออกหรือ "Dari" กับภาษาฟาร์ซีตะวันตกหรือ "Irani"


== สัทวิทยา ==
== สัทวิทยา ==
บรรทัด 64: บรรทัด 66:
=== ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน ===
=== ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน ===
ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ [[ภาษารัสเซีย]]และ[[ภาษาฝรั่งเศส]]ได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น
ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ [[ภาษารัสเซีย]]และ[[ภาษาฝรั่งเศส]]ได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น
== การเขียน ==
ภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ในอิหร่านและอัฟกานิสถานเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ภาษาทาจิกที่ถือเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเปอร์เซียซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกในเอเชียกลาง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก
=== อักษรเปอร์เซีย ===
ภาษาเปอร์เซียและภาษาดารีเปอร์เซียสมันใหม่ เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลงซึ่งมีการออกเสียงที่ต่างไปและเพิ่มอักษรเข้ามา ในขณะที่ภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก หลังจากที่ชาวเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลามใช้เวลาถึง 150 ปีที่ชาวเปอร์เซียได้ประยุกต์นำอักษรอาหรับเข้าไปแทนที่อักษรที่เคยใช้อยู่เดิมคือ[[อักษรปะห์ลาวี]]สำหรับภาษาเปอร์เซียยุคกลางและ[[อักษรอเวสตะ]]ที่ใช้สำหรับงานเขียนทางศาสนา อักษรนี้เคยใช้เขียน[[ภาษาอเวสตะ]]มาก่อน


== ความผันแปรและสำเนียง ==
== ความผันแปรและสำเนียง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:40, 22 มีนาคม 2556

ภาษาเปอร์เซีย
فارسی ฟาร์ซี
ประเทศที่มีการพูดประเทศอิหร่าน (เปอร์เซีย) ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน และประเทศเพื่อนบ้าน
จำนวนผู้พูด61 ล้านคน (ภาษาแม่)
110 ล้านคน (ทั้งหมด)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการประเทศอิหร่าน, ประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศทาจิกิสถาน
ผู้วางระเบียบสมาคมภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซีย (Academy of Persian Language and Literature)
สถาบันศาสตร์อัฟกานิสถาน (
รหัสภาษา
ISO 639-1fa
ISO 639-2per (B)
fas (T)
ISO 639-3มีหลากหลาย:
prs – ภาษาเปอร์เซียตะวันออก
pes – ภาษาเปอร์เซียตะวันตก
tgk – ทาจิก
aiq – ไอมัก
bhh – บูคาริก
deh – เดห์วารี
drw – ดาร์วาซี
haz – ฮาซารากี
jpr – จีดิ
phv – ปาห์ลาวานี

ภาษาเปอร์เซีย (เปอร์เซีย: فارسی) หรือ ฟาร์ซี (อังกฤษ: Farsi ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน) , ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน [1] เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กริยา

การจัดจำแนก

ภาษาเปอร์เซียอยู่ในกลุ่มตะวันตกของภาษากลุ่มอิหร่านในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ในกลุ่มตะวันตกนี้ นอกจากภาษาเปอร์เซียแล้วยังมีภาษาเคิร์ด ภาษามาซันดารานี ภาษาคิเลกิ ภาษาทาเลียสและภาษาบาโลชิ โดยภาษาเปอร์เซียอยู่ในกลุ่มย่อยตะวันตกเฉียงใต้[2]

การเรียกชื่อ

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาษาดารี (มาจาก دربار‎ /dærbɒr/ "ศาล")[3] เป็นชื่อท้องถิ่นในอัฟกานิสถานและเอเชียใต้ แต่ชาวอัฟกันส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถานจะเรียกภาษานี้ว่าภาษาฟาร์ซี
  • ภาษาฟาร์ซี/ปาร์ซี (فارسی / پارسی‎)[4] เป็นชื่อท้องถิ่นในอิหร่าน
  • ภาษาทาจิกี (тоҷикӣ)[5] เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษานี้ในเอเชียกลาง โดยเฉพาะในทาจิกิสถาน

ชื่อในภาษาอังกฤษ

ในภาษาอังกฤษเรียกชื่อภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นการออกเสียงแบบอังกฤษของคำที่มาจากภาษาละติน Persianus < ละติน Persia < กรีก Πέρσις Pérsis ซึ่งมีต้นกำเนิกจากคำในภาษาเปอร์เซียโบราณ Parsa คำว่าเปอร์เซียมีใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21[6] ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่จะเรียกตนเองว่าปาร์ซี หรือ ฟาร์ซี โดยที่ฟาร์ซีนั้นเป็นรูปที่ถูกทำให้เป็นภาษาอาหรับของคำว่าปาร์ซี เพราะภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/[7][8] เมื่อมีผู้พูดภาษาเปอร์เซียอพยพไปตะวันตกจึงมีการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีใช้เรียกภาษาของตนและเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 สมาคมวิชาการทางด้านภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซียได้ประกาศว่าคำว่าภาษาเปอร์เซียนั้นเหมาะสมกว่าฟาร์ซี[9] และนักวิชาการทางด้านภาษาเปอร์เซียบางคนได้ปฏิเสธการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซี[10][11]

ชื่อในระดับนานาชาติ

การกำหนดรหัสภาษาในระบบ ISO 639-1 ใช้ "fa" ส่วนในระบบ ISO 639-3 ใช้ "fas" สำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อิหร่านถึงอัฟกานิสถาน ใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีตะวันออกสำหรับภาษาเฉพาะในอัฟกานิสถานและภาษาฟาร์ซีตะวันตกสำหรับภาษาเฉพาะในอิหร่าน ใน Ethnologue จะใช้ภาษาฟาร์ซีตะวันออกหรือ "Dari" กับภาษาฟาร์ซีตะวันตกหรือ "Irani"

สัทวิทยา

หน่วยเสียงสระของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่สำเนียงเตหะราน

ภาษาเปอร์เซียมีพยัญชนะ 23 เสียง สระ 6 เสียง ในอดีต ภาษาเปอร์เซียมีเสียงสระ 8 เสียงคือมีเสียงยาว 5 เสียง (/iː/, /uː/, /ɒː/, /oː/ และ /eː/) และเสียงสั้น 3 เสียง (/æ/, /i/ และ /u/)จนเมื่อราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 มีการรวมกันของเสียงสระบางเสียง จึงเหลือเพียง 6 เสียงในปัจจุบัน

ไวยากรณ์

โครงสร้าง

ภาษาเปอร์เซียมีการเติมปัจจัยท้ายคำมาก คำอุปสรรคมีใช้น้อย คำกริยาจะแสดงกาลและจุดประสงค์ ผันตามบุคคล บุรุษ และจำนวน คำนามไม่มีการกำหนดเพศ คำสรรพนามจัดให้เป็นเพศกลาง

การเรียงประโยค

โครงสร้างประโยคโดยทั่วไปเป็น ประธาน- (วลีบุพบท) -กรรม-กริยา ถ้ากรรมมีการชี้เฉพาะ กรรมจะตามด้วยคำ ra และมาก่อนวลีบุพบท

ประวัติ

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษากลุ่มอิหร่าน อยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ในตระกูลภาษาอินดด-ยุโรเปียน ภาษานี้แบ่งออกเป็นสามยุคอย่างชัดเจนคือยุคโบราณ ยุคกลางและยุคใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อิหร่านสามช่วง ยุคโบราณเริ่มตั้งแต่ก่อนราชวงศ์อะแคมินิดจนถึงหลังราชวงศ์อะแคมินิด (ประมาณพ.ศ. 143-243) ยุคกลางเริ่มจากยุคหลังจากสิ้นสุดยุคโบราณจนถึงยุคราชวงศ์ซัสซานิด และยุคหลังจากนั้น ยุคใหม่ เริ่มหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ซัสซานิดจนถึงปัจจุบัน เอกสารภาษาเปอร์เซียที่เก่าที่สุดอยู่ในยุคจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 57 ปีก่อนพุทธศักราช

ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ภาษาเปอร์เซียโบราณพัฒนามาจากภาษาอิหร่านดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในที่ราบอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของภาษานี้คือจารึกเบฮิสตันในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในสมัยราชวงศ์อะแคมินิด แม้ว่าจะมีตัวอย่างที่อายุมากกว่านี้ เช่นจารึกของพระเจ้าไซรัสมหาราช แต่ภาษาใหม่กว่า ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับภาษา คาดว่าประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในยุคราชวงศ์อะแคมินิดเริ่มมีการนำอักษรอราเมอิกมาใช้ พบทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของราชวงศ์อะแคมินิด

ภาษาเปอร์เซียยุคกลาง

ในทางตรงกันข้ามกับภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางมีความแตกต่างทั้งทางด้านรุปแบบการเขียนและการพูด รูปแบบทวิพจน์ในภาษาเปอร์เซียโบราณได้หายไป ภาษาเปอร์เซียยุคกลางใช้ปรบทในการบอกหน้าที่ของคำ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อราชวงศ์อะแคสินิดเริ่มตกต่ำ โดยการเปลี่ยนแปลงของภาษาน่าจะเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ 9 และใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ภาษาเปอร์เซียกลางจึงเริ่มเปลี่ยนมาสู่ภาษาเปอร์เซียใหม่ เอกสารที่เหลือยู่ส่วนใหญ่เป็นเอกสารทางศาสนาโซโรอัสเตอร์ ชื่อของภาษาในยุคนี้คือ Parsik ซึ่งกลายเป็นคำว่า "เปอร์เซีย" ในภาษาเปอร์เซียใหม่ เมื่อเขียนด้วยอักษรอาหรับ เมื่อภาษานี้เปลี่ยนมาเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่ ภาษายุคกลางนี้จึงเรียกว่าภาษาปะห์ลาวี จุดเปลี่ยนระหว่างภาษายุคกลาง (ปะห์ลาวี เช่นภาษาพาร์เทียน) มาเป็นภาษาเปอร์เซีย (farsi)จึงเป็นจุดที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและการเขียนด้วยอักษรอาหรับ

ภาษาเปอร์เซียใหม่

ประวัติศาสตร์ของภาษาเปอร์เซียใหม่เกิดขึ้นเมื่อ 1,000 - 1,200 ปี พัฒนาการของภาษานี้แบ่งเป็นยุคต้น ยุคคลาสสิกและยุคใหม่ ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ในปัจจุบันสามารถเข้าใจเอกสารโบราณของภาษาเปอร์เซียได้แม้จะมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์บ้าง

ภาษาเปอร์เซียคลาสสิก

การแพร่เข้ามาของศาสนาอิสลามกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของภาษาเปอร์เซียและวรรณกรรม ภาษานี้เป็นภาษากลางของโลกอิสลามฝั่งตะวันออกและอินเดีย เป็นภาษากลางและภาษาทางวัฒนธรรมของราชวงศ์ที่นับถือศาสนาอิสลามหลายราชวงศ์ เช่นซามานิดส์ บูยิดส์ ตาฮิริดส์ จักรวรรดิโมกุล ติมูริดส์ คาชนาวิดส์ เซลจุก ความเรชมิดส์ ซาฟาวิด อัฟชาริดส์ จักรวรรดิออตโตมานและอื่นๆ

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาเดียวในตะวันออกที่มาร์โคโปโลรู้จัก อิทธิพลของภาษาเปอร์เซียต่อภาษาอื่นๆในโลกอิสลามปรากฏชัดมาก หลังจากที่ชาวอาหรับรุกรานเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียได้ปรับปรุงคำศัพท์จากภาษาอาหรับมาใช้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคำมาจากตระกูลภาษาอัลไตอิกระหว่างที่ถูกปกครองภายใต้จักรวรรดิมองโกล

ภาษาเปอร์เซียกับการปกครองในอินเดีย

ในช่วง 500 ปีก่อนที่อังกฤษจะเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคม ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่สองที่สำคัญในอินเดียทั้งทางด้านการเรียนการสอนและทางวัฒนธรรม ในยุดจักรวรรดิโมกุล ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ภาษาอังกฤษจึงเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาเปอร์เซีย

ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน

ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซียและภาษาฝรั่งเศสได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น

การเขียน

ภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ในอิหร่านและอัฟกานิสถานเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ภาษาทาจิกที่ถือเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเปอร์เซียซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกในเอเชียกลาง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก

อักษรเปอร์เซีย

ภาษาเปอร์เซียและภาษาดารีเปอร์เซียสมันใหม่ เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลงซึ่งมีการออกเสียงที่ต่างไปและเพิ่มอักษรเข้ามา ในขณะที่ภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก หลังจากที่ชาวเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลามใช้เวลาถึง 150 ปีที่ชาวเปอร์เซียได้ประยุกต์นำอักษรอาหรับเข้าไปแทนที่อักษรที่เคยใช้อยู่เดิมคืออักษรปะห์ลาวีสำหรับภาษาเปอร์เซียยุคกลางและอักษรอเวสตะที่ใช้สำหรับงานเขียนทางศาสนา อักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาอเวสตะมาก่อน

ความผันแปรและสำเนียง

ภาษาเปอร์เซียยุคใหม่มีสำเนียงที่สำคัญสามสำเนียงคือ

  • ภาษาเปอร์เซียอิหร่านยุคใหม่ (ฟาร์ซีตะวันตก) เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่าน ภาษาเปอร์เซียเรียก Farsi ภาษาอังกฤษเรียก Persian
  • ภาษาดารี (ฟาร์ซีตะวันออก) เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน
  • ภาษาทาจิก เป็นสำเนียงของภาษาเปอรืเซีย ใช้พูดในทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิก

นอกจากนั้นยังมีภาษาต่อไปนี้ที่ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย

อ้างอิง

  1. http://www.ethnologue.com/show_family.asp?subid=1000
  2. Windfuhr, Gernot (1987). Berard Comrie (บ.ก.). The World's Major Languages. Oxford: Oxford University Press. pp. 523–546. ISBN 978-0-19-506511-4.
  3. Or (เปอร์เซีย: فارسی دری \ فارسئ دری fārsi-ye dari
  4. Or (เปอร์เซีย: زبان فارسی zabān-e fārsi
  5. Or (เปอร์เซีย: забони тоҷикӣ / เปอร์เซีย: فارسی تاجیکی zabon-i tojiki
  6. Oxford English Dictionary online, s.v. "Persian", draft revision June 2007.
  7. Cannon, Garland Hampton and Kaye, Alan S. (1994) The Arabic contributions to the English language: an historical dictionary Harrassowitz Verlag, Wiesbaden, Germany, page 106, ISBN 3-447-03491-2
  8. Odisho, Edward Y. (2005) Techniques of teaching comparative pronunciation in Arabic and English Gorgias Press, Piscataway, New Jersey, page 23 ISBN 1-59333-272-6
  9. "Pronouncement of the Academy of Persian Language and Literature". Heritage.chn.ir. 2005-11-19. สืบค้นเมื่อ 2010-07-13.
  10. "Persian or Farsi?". Iranian.com. 1997-11-16. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
  11. "Fársi: "recently appeared language!"". PersianDirect.com. 2005-02-15. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.