ไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซีย
ไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนอื่นๆ คือเป็นภาษาที่มีการผันคำ
การเรียงคำ
[แก้]ภาษาเปอร์เซียเรียงคำแบบประธาน-กรรม-กริยา วลีหลักนำหน้าวลีย่อย คำแสดงคำถาม āyā (آيا) ใช้ในคำถามแบบใช่/ไม่ใช่ โดยอยู่ต้นประโยค คำขยายโดยปกติตามหลังคำนามที่ถูกขยาย แต่มีบ้างที่คำขยายอยู่ข้างหน้าคำนาม ภาษานี้ต่างจากภาษาที่เรียงประโยคแบบเดียวกันคือมีคำบุพบท คำแสดงการกคือ rā (را) ใช้แสดงกรรม ประโยคทั่วไปอยู่ในรูป ประธาน-บุพบท-กรรม-กริยา แต่ถ้าเน้นกรรมจะเรียงประโยคเป็น ประธาน-กรรม + rā –บุพบท-กริยา
คำนาม
[แก้]คำนามไม่มีการแบ่งเพศและมีเครื่องหมายการกเฉพาะ rā ซึ่งแสดงกรรมการก
พหูพจน์
[แก้]การแสดงพหูพจน์โดยทั่วไปใช้การเติมปัจจัย hā (ها) ปกติใช้กับนามที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนนามที่เป็นมนุษย์ใช้ ān (ان) คำยืมจากภาษาอาหรับรูปสตรีลึงค์ใช้ปัจจัย āt (ات) คำยืมจากภาษาอาหรับเกี่ยวกับมนุษย์ใช้ in (ين)
สรรพนาม
[แก้]ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่ละประธานได้ คำสรรพนามใช้รูปเดียวกันทั้งเป็นประธาน กรรมตรง กรรมรอง และแสดงความเป็นเจ้าของ บุรุษที่ 1 เอกพจน์ รูปกรรม mæn rā อาจกร่อนเหลือ mærā คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของอาจต่างจากรูปปกติได้บ้าง
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
1 | mæn من | mā ما |
2 | to تو | shomā شما |
3 | u او (มนุษย์/ไม่ใช่มนุษย์), vey وى (human only) |
ānhā آنها (มนุษย์/ไม่ใช่มนุษย์), ishān ایشان (มนุษย์เท่านั้น) |
คำคุณศัพท์
[แก้]ปกติตามหลังคำที่ถูกขยาย โดยใช้โครงสร้างแสดงความเป็นเจ้าของ แต่คำคุณศัพท์อาจนำหน้านามได้ในรูปแบบที่ซับซ้อน การเปรียบเทียบขั้นกว่าใช้ปัจจัย tær (تَر) ขั้นสุดใช้ปัจจัย tærin (تَرين)
คำกริยา
[แก้]คำกริยาโดยทั่วไปสร้างขึ้นจากรูปแบบต่อไปนี้ (คำอุปสรรคปฏิเสธ-ระยะเวลา)-รากศัพท์-อดีต-บุคคล-แสดงกรรม คำอุปสรรคปฏิเสธคือ næ เปลี่ยนเป็น ne ก่อนหน้าคำอุปสรรคระยะเวลา mi คำอุปสรรคเชื่อมต่อเชิงบังคับคือ be ปัจจยอดีตคือ d เปลี่ยนเป็น t เมื่ออยู่หลังพยัญชนะอโฆษะ
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
1 | æm | im |
2 | i | id |
3 | æd | ænd |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
1st | æm | emān |
2nd | æt | etān |
3rd | æsh | eshān |
การเชื่อมต่อ
[แก้]ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นบุรุษที่ 1 เอกพจน์ ของ xordæn (กิน)
ประธานกระทำ | |||
---|---|---|---|
มาลา | กาล | อักษรโรมัน | อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ |
ชี้เฉพาะ | ปัจจุบันกาล | mikhoræd | میخورد |
ชี้เฉพาะ | Preterite | khord | خورد |
ชี้เฉพาะ | Imperfective preterite | mikhord | میخورد |
ชี้เฉพาะ | Perfect | khordeæst | خوردهاست |
ชี้เฉพาะ | Imperfective perfect | mikhordeæst | میخوردهاست |
ชี้เฉพาะ | Pluperfect | khorde bud | خورده بود |
ชี้เฉพาะ | Imperfective pluperfect | mikhorde bud | میخورده بود |
ชี้เฉพาะ | อนาคตกาล | khāhæd khord | خواهد خورد |
ชี้เฉพาะ | ปัจจุบันกาลกำลังกระทำ | dāræd mikhoræd | دارد میخورد |
ชี้เฉพาะ | อดีตกาลกำลังกระทำ | dāsht mikhord | داشت میخورد |
Subjunctive | Present | bekhoræd | بخورد |
Subjunctive | Preterite | khorde bāshæd | خورده باشد |
Subjunctive | Imperfective preterite | mikhorde bāshæd | میخورده باشد |
Subjunctive | Pluperfect | khorde bude bāshæd | خورده بوده باشد |
Subjunctive | Imperfective pluperfect | mikhorde bude bāshæd | میخورده بوده باشد |
ประธานถูกกระทำ | |||
---|---|---|---|
Mood | Tense | Romanization | Perso-Arabic |
Indicative | Present | khorde mishævæd | خورده میشود |
Indicative | Preterite | khorde shod | خورده شد |
Indicative | Imperfective preterite | khorde mishod | خورده میشد |
Indicative | Perfect | khorde shodeast | خورده شدهاست |
Indicative | Imperfective perfect | khorde mishodeast | خورده میشدهاست |
Indicative | Pluperfect | khorde shode bud | خورده شده بود |
Indicative | Imperfective pluperfect | khorde mishode bud | خورده میشده بود |
Indicative | Future | khorde khāhæd shod | خورده خواهد شد |
Indicative | Present progressive | daræd khorde mishævæd | دارد خورده میشود |
Indicative | Preterite progressive | dasht khorde mishod | داشت خورده میشد |
Subjunctive | Present | khorde shævæd | خورده شود |
Subjunctive | Preterite | khorde shode bāshæd | خورده شده باشد |
Subjunctive | Imperfective preterite | khorde mishode bāshæd | خورده میشده باشد |
Subjunctive | Pluperfect | khorde shode bude bāshæd | خورده شده بوده باشد |
Subjunctive | Imperfective pluperfect | khorde mishode bude bāshæd | خورده میشده بوده باشد |
กริยาประกอบ
[แก้]กริยาอ่อน เช่น kærdæn มักใช้คู่กับนามเป็นกริยาประกอบ ตัวอย่างเช่นคำว่า “sohbæt” การสนทนา ในขณะที่ sohbæt kærdæn การพูด กริยาอ่อนเหล่านี้อาจเติมหลังคำนาม คำคุณศัพท์ เพื่อสร้างคำกริยา เช่น dāræm sohbæt mikonæm ฉันกำลังพูด
จากตัวอย่างข้างต้น คำหลักคือ sohbæt ไม่ถูกเปลี่ยนรูปเมื่อเชื่อมต่อกับกริยาอ่อน มีแต่กริยาอ่อนเท่านั้นที่เปลี่ยนรูป
คำบุพบท
[แก้]ภาษาเปอร์เซีย | ภาษาไทย |
---|---|
ændær (اندر) | ใน (literary) |
æz (از) | จาก |
bā (با) | ด้วย |
bær (بر) | บน |
bærā-ye (برای) | สำหรับ |
be (به) | ไปที่ เพื่อ |
bi (بی) | ปราศจาก |
chon (چون) | คล้าย (ทางการ) |
dær (در) | ที่ ใน |
mesl-e (مثل) | คล้าย |
tā (تا) | จนกระทั่ง |
hæm-chon (همچون) | คล้าย(ทางการ) |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- First International Conference on Aspects of Iranian Linguistics เก็บถาวร 2008-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Second International Conference on Iranian Linguistics เก็บถาวร 2008-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Persian Verb Conjugator เก็บถาวร 2007-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Persian - Farsi: site for studying Iran and Persian