ประเทศไทยใน พ.ศ. 2534
หน้าตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 210 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 46 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร)
- นายกรัฐมนตรี:
- ชาติชาย ชุณหะวัณ (ชาติไทย) (จนถึง 23 กุมภาพันธ์)
- สุนทร คงสมพงษ์ (รัฐประหาร, ผู้ใช้อำนาจ) (23 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม)
- อานันท์ ปันยารชุน (รัฐประหาร) (ตั้งแต่ 2 มีนาคม)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง: คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (เริ่ม 23 กุมภาพันธ์)
- หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ: สุนทร คงสมพงษ์ (ตั้งแต่ 23 กุมภาพันธ์)
- รัฐสภา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เริ่ม 15 มีนาคม)
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: อุกฤษ มงคลนาวิน (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 2 เมษายน)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 16 (ถึง 23 กุมภาพันธ์)
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: ปัญจะ เกสรทอง (ชาติไทย) (จนถึง 23 กุมภาพันธ์)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 5 (ถึง 23 กุมภาพันธ์)
- ประธานวุฒิสภา: วรรณ ชันซื่อ (แต่งตั้ง) (จนถึง 23 กุมภาพันธ์)
- ประธานศาลฎีกา:
- โสภณ รัตนากร (จนถึง 30 กันยายน)
- สวัสดิ์ โชติพานิช (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 23 กุมภาพันธ์ – รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 : พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะรสช. นำการก่อรัฐประหารในประเทศไทย โค่นล้มรัฐบาลที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้ทำการอายัติและตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีจำนวน 23 คน ผลการตรวจสอบทรัพย์สิน สรุปให้ยึดทรัพย์ของอดีตรัฐมนตรีจำนวน 10 คน
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน – พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 3 รอบ 2 เมษายน 2534
- 28 เมษายน – ยูห์ เมียงวู สร้างสถิติโลกของการป้องกันแชมป์โลกรุ่นไลท์ฟลายเวท เมื่อป้องกันแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์ฟลายเวท WBA ครั้งที่ 17 ชนะน็อค กาจก้อง แดนภูไท ยก 10 และยังเป็นสถิติโลกจนถึงปัจจุบัน
พฤษภาคม
[แก้]- 26 พฤษภาคม – เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ประสบอุบัติเหตุระเบิดกลางอากาศและตกที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 223 คน เสียชีวิต
มิถุนายน
[แก้]- 11 มิถุนายน – การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มเปิดเดินขบวนรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ โดยใช้รถดีเซลรางรุ่น บริทิชเรล คลาส 158 ทำขบวน
สิงหาคม
[แก้]- 10 สิงหาคม – พระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาชาวไทยถูกฆ่าที่วัดพรหมคุณาราม เมืองฟีนิกซ์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา
ตุลาคม
[แก้]- 1-15 ตุลาคม – การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 46 จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ธันวาคม
[แก้]- 22 ธันวาคม – เขาทราย แกแล็คซี่อำลาตำแหน่งแชมป์โลกและป้องกันแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท เมื่อป้องกันแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์แบนตัมเวทของสมาคมมวยโลกครั้งสุดท้ายชนะคะแนน อาร์มันโด คัสโตร ที่สนามเทพหัสดิน
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 17 มกราคม – ชินกฤช มะลิซ้อน (เจมส์) นักร้องเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตชาวไทย
มีนาคม
[แก้]- 29 มีนาคม – จันจิรา จันทร์พิทักษ์ชัย นักแสดง
เมษายน
[แก้]- 5 เมษายน – กัญญ์ณรัณ วงศ์ขจรไกล นักแสดง
- 8 เมษายน – กมลเนตร เรืองศรี นักแสดง
- 11 เมษายน – วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร นักแสดง
มิถุนายน
[แก้]- 29 มิถุนายน – ลินทร์พิตา จินดาภู นักร้อง
กรกฎาคม
[แก้]- 1 กรกฎาคม – อัครวัฒน์ จุมพลวิวัฒน์ นักร้อง
- 13 กรกฎาคม – อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา นักแสดง
- 19 กรกฎาคม – ณิชชา โชคประจักษ์ชัด นักแสดง
สิงหาคม
[แก้]- 22 สิงหาคม – ปรมิณ ศิระวนาดร นักแสดง
- 30 สิงหาคม – พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ นักแสดง
กันยายน
[แก้]- 29 กันยายน – จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม นักร้อง
- 30 กันยายน – สวิส เตชภูวนนท์ นักแสดง
ตุลาคม
[แก้]- 3 ตุลาคม – วาณิสรา เพิ่มอุดมทรัพย์ นักแสดง
- 20 ตุลาคม – ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค นักแสดง
- 23 ตุลาคม – วรรณปิยะ ออมสินนพกุล นักแสดง
- 26 ตุลาคม – เอิ้นขวัญ วรัญญา นักร้องและนักแสดงชาวไทย
พฤศจิกายน
[แก้]- 1 พฤศจิกายน – ภูษณะ บัวงาม นักแสดง
- 14 พฤศจิกายน – ศรัณย์ ศิริลักษณ์ นักแสดง
- 16 พฤศจิกายน – ยุทธนา เปื้องกลาง นักร้อง
- 24 พฤศจิกายน – จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร นักร้อง
ธันวาคม
[แก้]- 17 ธันวาคม – ณเดชน์ คูกิมิยะ นักแสดง
- 30 ธันวาคม
- มนชนก แสงฉายเพียงเพ็ญ นักแสดง
- ธันวา สุริยจักร นักแสดง
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มีนาคม
[แก้]- 19 มีนาคม – สิดดิก สารีฟ นักการเมือง (เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2472)
เมษายน
[แก้]- 3 เมษายน – หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล (ประสูติ 17 กันยายน พ.ศ. 2447)
- 11 เมษายน – ชวลี ช่วงวิทย์ นักร้อง (เกิด 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467)
พฤษภาคม
[แก้]- 26 พฤษภาคม
- หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2462)
- เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน (ประสูติ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2469)
ตุลาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (ประสูติ 29 เมษายน พ.ศ. 2456)
พฤศจิกายน
[แก้]- 26 พฤศจิกายน – ภิญโญ สาธร นักการเมือง (เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2472)
- 29 พฤศจิกายน – หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ประสูติ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2453)
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม – ทองหยด จิตตวีระ อดีตรองนายกรัฐมนตรี (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2452)
- 8 ธันวาคม – เยื่อ สุสายัณห์ นักการเมือง (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2454)
- 20 ธันวาคม – หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) (เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2441)