หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล
หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ชายา | หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล |
โอรส | หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | เทวกุล |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
พระมารดา | หม่อมจันทน์ เทวกุล ณ อยุธยา |
ประสูติ | 17 กันยายน พ.ศ. 2447 |
ชีพิตักษัย | 3 เมษายน พ.ศ. 2534 (86 ปี) |
หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล (17 กันยายน พ.ศ. 2447 - 3 เมษายน พ.ศ. 2534) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และองคมนตรี
หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประสูติแต่หม่อมจันทน์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2447 สมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงกมลปราโมทย์ กิติยากร มีบุตรคือ หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล อดีตองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หม่อมเจ้าวงศานุวัตร รับราชการเป็นนักการทูต เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ระหว่าง พ.ศ. 2496-2501 [1] และปลัดกระทรวงการต่างประเทศระหว่าง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2491[2] - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2504
หม่อมเจ้าวงศานุวัตร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [3] หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2534 พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2534 [4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2509 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2505 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2500 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2522 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[8]
- พ.ศ. 2513 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[9]
ราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2506 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จิง ซิง ชั้นที่ 1 แห่งสาธารณรัฐจีน
- พ.ศ. 2506 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยอ์ช ที่ 1 ชั้นที่ 1 แห่งกรีซ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "รายนามเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-02.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2491/D/028/1682.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 83 ตอนที่ 43 วันที่ 10 พฤษภาคม 2509
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 3 วันที่ 4 มกราคม 2506
- ↑ แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖, ตอน ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ, ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๒, หน้า ๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๒๑ ง หน้า ๒๕, ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๓
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |