น้ำมันปลา
น้ำมันปลา หรือ น้ำมันตับปลา เป็นไขมันที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของปลาที่มีไขมันสูง น้ำมันปลามีกรดไขมันโอเมกา-3, eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) ซึ่งล้วนเป็นสารตั้งต้นของ eicosanoid ที่พบว่า ลดการอักเสบในร่างกาย[1][2] และมีผลดีต่อสุขภาพอื่น ๆ เช่น เพื่อรักษาภาวะเลือดมีไตรกลีเซอไรด์สูง (hypertriglyceridemia) แม้คำโฆษณาว่าช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมองจะไม่มีหลักฐาน[3][4][5][6] มีการศึกษาน้ำมันปลาและกรดไขมันโอเมกา-3 เกี่ยวกับภาวะโรคอื่น ๆ มากมาย เช่น โรคซึมเศร้า[7][8] โรควิตกกังวล[9][10][11] มะเร็ง และโรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม แต่ประโยชน์ที่ได้ก็ยังไม่สามารถยืนยัน[12] ปลาที่เป็นแหล่งน้ำมันจริง ๆ ไม่ได้ผลิตกรดไขมันโอเมกา-3 เอง แต่สะสมไขมันเมื่อกินสาหร่ายเซลล์เดียว (microalgae/microphyte) หรือปลาที่เป็นเหยื่อซึ่งได้สะสมกรดไขมันเอง
ปลาล่าเหยื่อที่มีไขมันสูง เช่น ฉลาม กระโทงดาบ ปลาทูน่าครีบยาว อาจมีกรดไขมันโอเมกา-3 สูง แต่เพราะเป็นสัตว์ล่าเหยื่อที่ยอดของโซ่อาหาร จึงอาจสะสมสารพิษต่าง ๆ จากสัตว์ที่กินต่อ ๆ กันเป็นลูกโซ่ผ่านกระบวนการ biomagnification เพราะเหตุนี้ สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (USEPA) จึงแนะนำให้จำกัดทานปลาล่าเหยื่อบางอย่าง รวมทั้ง ปลาทูน่าครีบยาว, ฉลาม, ปลาอินทรีสกุล Scomberomorus cavalla (king mackerel), ปลาในวงศ์ Malacanthidae (tilefish) และปลากระโทงดาบ โดยเฉพาะสำหรับหญิงวัยที่มีบุตรได้ เพราะปลามีสารปนเปื้อนเป็นพิษคือปรอทในระดับสูง นอกจากนี้ ก็ยังมีสาร dioxin, PCB และ chlordane อีกด้วย[13]
น้ำมันปลายังใช้เพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกด้วย เช่น ในบรรดาน้ำมันปลาที่ใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำ 50% ใช้เลี้ยงปลาแซลมอน[14]
น้ำมันปลาน้ำจืดน้ำเค็มจะมี arachidonic acid, EPA และ DHA ในระดับต่าง ๆ กัน[15] สปีชีส์ต่าง ๆ จัดว่ามีมันน้อยจนถึงมีมันมาก และไขมันที่พบในเนื้ออาจอยู่ในพิสัย 0.7-15.5%[16] และยังมีผลต่อลิพิดในอวัยวะของร่างกายต่าง ๆ กันด้วย[15] งานศึกษาได้แสดงว่า การทานปลารวม ๆ หรือการได้กรดไขมันโอเมกา-3 (โดยประมาณ) จากปลาทั้งหมด ไม่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของกรดไขมันโอเมกา-3 ในเลือด[17] แต่การทานปลามีไขมันสูงโดยเฉพาะวงศ์ปลาแซลมอน และการได้ EPA + DHA จากปลามีไขมันสูง จึงจะสัมพันธ์กับการเพิ่ม EPA + DHA ในเลือดอย่างสำคัญ[17]
การใช้
[แก้]แม้บ่อยครั้งจะวางตลาดขายเพื่อบริโภคเป็นส่วนของอาหารหรือเป็นอาหารเสริมในสังคมปัจจุบัน แต่น้ำมันปลาก็สามารถใช้ในกิจภายนอกอื่นได้ เช่น เป็นสารทำให้นุ่มและชุ่มชื้น[18], เป็นขี้ผึ้ง/ครีม/น้ำมันทาภายนอกทั่วไป[19], ใช้ในงานศิลป์ประดับร่างกาย[20] หรือใช้ทากันหนาวดังอ้าง[21]
โภชนาการ
[แก้]อาหารที่มี EPA และ DHA มากที่สุดก็คือปลาไขมันสูงในน้ำเย็น เช่น ปลาแซลมอน เฮร์ริง แมกเคอเรล กะตัก และซาร์ดีน น้ำมันจากปลาเหล่านี้มีไขมันโอเมกา-3 ราว ๆ 7 เท่าของไขมันโอเมกา-6 ปลาไขมันสูงอื่น ๆ เช่น ทูน่า ก็มีกรดโอเมกา-3 ด้วยแต่น้อยกว่า แม้จะเป็นแหล่งไขมันโอเมกา-3 แต่ปลาก็ไม่ได้สังเคราะห์ไขมันเอง เพราะได้มาจากสาหร่าย (โดยเฉพาะสาหร่ายเซลล์เดียว) หรือแพลงก์ตอนในอาหาร[22]
ชื่อ | ชื่อสามัญอังกฤษ | กรัม |
---|---|---|
ปลาเฮร์ริง ซาร์ดีน | 1.3-2 | |
ปลาแมกเคอเรลสเปน แมกเคอเรลแอตแลนติก แมกเคอเรลแปซิฟิก | 1.1-1.7 | |
ปลาแซลมอน | 1.1-1.9 | |
ปลาแฮลิบัต | 0.60-1.12 | |
ปลาทูน่า | 0.21-1.1 | |
ปลากระโทงดาบ | Swordfish | 0.97 |
หอย Perna canaliculus | Greenshell/lipped mussels | 0.95[25] |
ปลาวงศ์ Malacanthidae | Tilefish | 0.9 |
ปลาทูน่ากระป๋องในน้ำ | 0.17-0.24 | |
ปลาสกุล Pollachius | Pollock | 0.45 |
ปลาคอด | 0.15-0.24 | |
ปลาหนัง | Catfish | 0.22-0.3 |
ปลาฟราวน์เดอร์ | 0.48 | |
ปลากะรัง | Grouper | 0.23 |
ปลาอีโต้มอญ | Mahi mahi | 0.13 |
ปลา Hoplostethus atlanticus | Orange roughy | 0.028 |
ปลากลุ่มปลากะพงแดง | Red snapper | 0.29 |
ปลาฉลาม | 0.83 | |
ปลาอินทรีสกุล Scomberomorus cavalla | King mackerel | 0.36 |
ปลา Macruronus novaezelandiae | Hoki, blue grenadier | 0.41 |
ปลา Rexea solandri | Silver gemfish | 0.40 |
ปลาคอดตาน้ำเงิน | Blue eye cod | 0.31 |
หอย Saccostrea glomerata | Sydney rock oyster | 0.30 |
ปลาทูน่ากระป๋อง | 0.23 | |
ปลากะพงแดง | Snapper | 0.22 |
ปลากะพงขาวในน้ำเกลือ | Barramundi | 0.100 |
กุ้งกุลาดำ | Giant tiger prawn | 0.100 |
เพื่อเปรียบเทียบ ให้ดูระดับกรดโอเมกา-3 ในอาหารสามัญที่ไม่ใช่ปลา
ชื่อ | ชื่อสามัญอังกฤษ | กรัม |
---|---|---|
เมล็ดแฟลกซ์ | Flaxseeds | 19.55 |
เมล็ดชีอา | Chia seeds | 14.8 |
เมล็ดกัญชง | Hemp seeds | 7.4 |
วอลนัต | 1.7 | |
ถั่วเหลือง | 1.1 | |
เนย | 0.27 | |
ไข่ใบใหญ่ | 0.109[25] | |
เนื้อแดงไขมันน้อย | Lean red meat | 0.031 |
ไก่งวง | Turkey | 0.030 |
ธัญพืช | Cereals, rice, pasta เป็นต้น | 0.00 |
ผลไม้ | 0.00 | |
นมไม่พร่องไขมัน | regular milk | 0.00 |
ขนมปังธรรมดา | regular bread | 0.00 |
ผัก | 0.00 |
ผลต่อสุขภาพ
[แก้]คำแนะนำต่าง ๆ
[แก้]สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) เขียนจดหมายปี 2009 แนะนำในเรื่องการแก้แนวทางอาหารของคนอเมริกันให้ทาน EPA และ DHA 250-500 มก./วัน[26] ซึ่งก็แก้อีกระหว่างปี 2015-2020 ซึ่งแนะนำให้ทานปลาหลายชนิดอย่างน้อย 227 กรัมต่ออาทิตย์ โดยให้มี EPA + DHA อย่างน้อย 250 มก./วัน[ต้องการอ้างอิง] ส่วนองค์กรอาหารและยา (FDA) แนะนำไม่ให้ทาน EPA + DHA เกิน 3 กรัมต่อวันจากแหล่งทั้งหมด โดยไม่เกิน 2 กรัมต่อวันจากอาหารเสริม[27]
มะเร็งต่อมลูกหมาก
[แก้]ผลของการทานน้ำมันปลาต่อมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นเรื่องยังไม่ยุติ[28][29] คืองานหนึ่งพบความเสี่ยงที่ลดลงเมื่อมีระดับ DPA (Docosapentaenoic acid) ในเลือดสูง เทียบกับอีกงานหนึ่งที่พบความเสี่ยงเพิ่มสำหรับคนไข้มะเร็งต่อมลูกหมากที่โตเร็วกว่าปกติเมื่อมีระดับ EPA+DHA ในเลือดสูง[30] หลักฐานบางส่วนชี้ว่า ระดับกรดไขมันโอเมกา-3 สูงในเลือดสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากที่สูงขึ้น[31]
โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด
[แก้]หลักฐานไม่สนับสนุนข้ออ้างว่า อาหารเสริมคือน้ำมันปลาช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมอง[3][4][5][6] ในปี 2007 สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) แนะนำให้ทานน้ำมันปลา 1 กรัมต่อวัน โดยทานปลาเองจะดีกว่า สำหรับคนไข้โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ แต่เตือนหญิงมีครรภ์หรือเลี้ยงบุตรด้วยนมให้เลี่ยงทานปลาหลายอย่างรวมทั้งปลาแมกเคอเรล ฉลาม และกระโทงดาบ เพราะอาจมีสารปนเปื้อนคือปรอท[32]
สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) บ่งเหตุ 3 อย่างแรกสุดที่แนะนำให้ทานน้ำมันปลาและกรดไขมันโอเมกา-3 จากแหล่งอื่น ๆ เหตุรวมทั้งมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (hypertriglyceridemia), เพื่อป้องกันโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด และมีความดันโลหิตสูง แล้วบ่งเหตุอีก 27 อย่างที่มีหลักฐานสนับสนุนน้อยกว่า แล้วยังระบุความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย คือ การทานกรดไขมันโอเมกา-3 สามกรัมต่อวันหรือมากกว่านั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงเลือดออก แม้จะมีหลักฐานน้อยมากในเรื่องนี้ถ้าใช้ในขนาดน้อย การทานน้ำมันปลา/กรดไขมันโอเมกา-3 มาก ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองโดยตกเลือด (hemorrhagic stroke)[12]
มีหลักฐานบ้างว่า น้ำมันปลาอาจมีผลดีต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะบางอย่าง[33][34] แต่งานวิเคราะห์อภิมานปี 2012 ก็ไม่พบผลที่มีนัยสำคัญ[35]
งานวิเคราะห์อภิมานปี 2008 ไม่พบว่า อาหารเสริมคือน้ำมันปลามีผลป้องกันต่อคนไข้โรคหัวใจแบบหัวใจห้องล่างเสียจังหวะ (ventricular arrhythmia)[36] งานวิเคราะห์อภิมานปี 2012 ที่พิมพ์ในวารสารแพทย์ JAMA และตรวจดูงานศึกษา 20 งานรวมคนไข้ 68,680 คน พบว่า อาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ไม่ลดความเสี่ยงตายทั่วไป ความเสี่ยงตายเพราะหัวใจ หรือความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมอง[37]
ความดันโลหิตสูง
[แก้]มีงานทดลองในมนุษย์บ้างที่ได้สรุปว่า การทานกรดไขมันโอเมกา-3 ลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย โดย DHA อาจมีประสิทธิภาพดีกว่า EPA แต่เพราะกรดไขมันโอเมกา-3 อาจเพิ่มความเสี่ยงเลือดออก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะทานอาหารเสริม[38]
สุขภาพจิต
[แก้]งานปริทัศน์เป็นระบบแบบคอเคลนปี 2008 พบว่าข้อมูลยังมีจำกัด งานศึกษาหนึ่งที่เข้าเกณฑ์การปริทัศน์แสดงว่า กรดไขมันโอเมกา-3 มีประสิทธิผลเป็นการรักษาเสริม (adjunctive therapy) สำหรับคราวซึมเศร้า แต่ไม่มีผลต่อคราวคลั่ง/สุข (manic symptom) ในโรคอารมณ์สองขั้ว ผู้ทำงานปริทัศน์เห็นว่า การเพิ่มงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) จำเป็นอย่างยิ่ง[39]
งานวิเคราะห์อภิมานปี 2009 พบว่า คนไข้ที่ทานอาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ที่มีอัตราส่วน EPA:DHA สูงกว่ามีอาการซึมเศร้าน้อยกว่า งานศึกษาได้ให้หลักฐานว่า EPA อาจมีประสิทธิผลดีกว่า DHA เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่งานวิเคราะห์ก็ได้สรุปว่า เพราะข้อจำกัดที่ได้ระบุเกี่ยวกับงานที่ตรวจ จึงต้องมีการทดลองแบบสุ่มขนาดใหญ่กว่าเพื่อยืนยันสิ่งที่พบเหล่านี้[40]
งานวิเคราะห์อภิมานปี 2011 ที่ตรวจบทความของ PubMed เรื่องน้ำมันปลากับโรคซึมเศร้าระหว่างปี 1965-2010 พบว่า "ประสิทธิผลการรักษาที่พบเกือบทั้งหมดในงานวรรณกรรมที่ตีพิมพ์อาจมาจากความเอนเอียงในการตีพิมพ์"[41]
งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 ที่ตรวจการทดลอง 11 งาน ซึ่งศึกษาคนไข้โรคซึมเศร้า (MDD) ตามเกณฑ์วินิจฉัยของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) และการทดลอง 8 งานที่มีอาการซึมเศร้าแต่ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็น MDD พบประโยชน์ของกรดไขมันโอเมกา-3 เพื่อรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกเทียบกับยาหลอก จึงสรุปว่า การใช้กรดไขมันโอเมกา-3 มีประสิทธิผลสำหรับคนไข้ที่ได้วินิจฉัยว่าเป็น MDD และคนไข้ที่มีอาการซึมเศร้าแม้ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็น MDD[42]
โรคอัลไซเมอร์
[แก้]งานวิเคราะห์อภิมานแบบคอเคลนปี 2012 ไม่พบผลป้องกันที่มีนัยสำคัญต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางความคิดอ่าน/ทางประชาน (cognitive decline) สำหรับผู้มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่าที่เริ่มทานกรดไขมันหลังถึงอายุ นักวิจัยของงานให้สัมภาษณ์กับนิตยสารไทม์ว่า "ผลวิเคราะห์ของเราแสดงว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่า อาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 มีประโยชน์ต่อความจำหรือสมาธิในเบื้องปลายแห่งชีวิต"[43]
โรคสะเก็ดเงิน
[แก้]อาหารที่เสริมด้วยน้ำมันตับปลาคอด (cod liver oil) มีประโยชน์ต่อโรคสะเก็ดเงิน[44] งานศึกษาที่ไม่มีกลุ่มควบคุมแสดงนัยว่า คนไข้โรคสะเก็ดเงินหรือคนไข้ข้ออักเสบที่เกิดกับสะเก็ดเงินอาจได้ประโยชน์จากน้ำมันปลาที่มี eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) มาก[45]
การตั้งครรภ์
[แก้]งานศึกษาบางงานรายงานว่ามีพัฒนาการทางประชานและการเคลื่อนไหว (psychomotor) ที่ดีกว่าของทารกอายุ 30 เดือนที่มารดาทานอาหารเสริมเป็นน้ำมันปลาในช่วง 4 เดือนแรกของการผลิตนม[46] อนึ่ง เด็ก 5 ขวบที่มารดาทานอาหารเสริมเป็น DHA ที่ได้จากสาหร่ายในช่วง 4 เดือนแรกที่ให้นมสอบได้คะแนนดีกว่าในเรื่องการใส่ใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงว่า การได้ DHA ในวัยทารกต้น ๆ มีประโยชน์ระยะยาวต่อพัฒนาการทางประสาทบางอย่าง[46]
นอกจากนั้น การทานน้ำมันปลาช่วงตั้งครรภ์อาจลดความไวแพ้อาหารที่สามัญในทารก และลดความชุกบวกความรุนแรงของโรคผิวหนังบางอย่างในช่วงปีแรกของชีวิต ผลอาจยืนไปถึงช่วงวัยรุ่นคือลดความชุกและความรุนแรงของภาวะต่าง ๆ รวมทั้งผิวหนังอักเสบ (eczema) เยื่อจมูกอักเสบเหตุภูมิแพ้ และโรคหืด[47]
Crohn's disease
[แก้]งานทบทวนวรรณกรรมแบบคอเคลนปี 2014 พบอาศัยงานศึกษาขนาดใหญ่สองงานว่า อาหารเสริมคือน้ำมันปลาไม่ปรากฏกว่ามีประสิทธิผลธำรงระยะโรคสงบ (remission) ของ Crohn's disease[48]
คุณภาพและปัญหาของอาหารเสริม
[แก้]น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมที่สามัญ โดยมียอดขายถึง 976 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2009 (ประมาณ 33,500 ล้านบาท) ในสหรัฐประเทศเดียว[49] นักวิจัยอิสระได้พบปัญหาคุณภาพของอาหารเสริมที่มีน้ำมันปลาและน้ำมันสัตว์ทะเลอื่น ๆ รวมทั้งสิ่งปนเปื้อน, การระบุค่า EPA และ DHA ที่ไม่ถูกต้อง, น้ำมันเสีย และปัญหาสูตรยา[50]
สิ่งปนเปื้อน
[แก้]ปลาอาจสะสมสารพิษต่าง ๆ รวมทั้งปรอท, dioxin และ PCB โดยน้ำมันปลาที่เสียก็อาจสร้างเปอร์ออกไซด์ (peroxide) เอง[51] แม้สิ่งปนเปื้อนจากจุลชีพ, โปรตีน, lysophospholipid, คอเลสเตอรอล และไขมันทรานส์ดูจะเสี่ยงน้อย[52]
dioxin และ PCB
[แก้]dioxin และ PCB อาจก่อมะเร็งแม้ได้รับเพียงแค่น้อย ๆ ในระยะยาว สารเหล่านี้ปกติจะแยกวัดเป็นสองกลุ่ม คือ PCB ที่คล้าย dioxin และ PCB ทั้งหมด แม้องค์กรอาหารและยาสหรัฐ (FDA) จะไม่ได้จำกัด PCB ในอาหารเสริม แต่องค์กร EPA และ DHA โลก (GOED) ก็ได้ตั้งแนวทางไม่ให้มี PCB คล้าย dioxin เกิน 3 พิโกกรัมต่อน้ำมันปลาแต่ละกรัม ในปี 2012 มีการวัดค่า PCB จากตัวอย่างอาหารเสริมเป็นน้ำมันปลา 35 ตัวอย่าง ซึ่งพบ PCB ปริมาณน้อย (trace) ในตัวอย่างทั้งหมด โดยตัวอย่าง 2 ตัวอย่างมีระดับเกินกำหนดของ GOED[53] แม้การได้รับ PCB ปริมาณน้อยจะเพิ่มปริมาณการได้รับสารทั้งหมด แต่บริษัท Consumerlab.com (ซึ่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารและสุขภาพ และได้รายได้จากค่าสมาชิก โปรแกรมการรับรอง การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ การอนุญาตให้พิมพ์ใหม่ และการโฆษณา) ก็อ้างว่า ปริมาณที่พบในผลิตภัณฑ์ซึ่งตรวจสอบก็ยังน้อยกว่าที่พบในการทานปลาธรรมดาเพียงที่เดียวโดยน้อยกว่ามาก[53]
การเสีย
[แก้]น้ำมันปลาที่เสียอาจสร้างเปอร์ออกไซด์ งานศึกษาหนึ่งที่รัฐบาลนอร์เวย์จ้างทำสรุปว่า มีเรื่องน่าเป็นห่วงทางสุขภาพบางอย่างถ้าทานน้ำมันปลา/สัตว์ทะเลที่เหม็นหืนแล้ว (คือเกิดออกซิไดซ์แล้ว) โดยเฉพาะที่ทางเดินอาหาร แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลพอเพื่อกำหนดความเสี่ยงโดยเฉพาะ ๆ ปริมาณที่เสียและการปนเปื้อนในอาหารเสริมจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ กระบวนการสกัด กลั่น เพิ่มความเข้มข้น ใส่แคปซูล เก็บ และขนส่ง[52] ConsumerLab.com รายงานว่า พบผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาที่เสียเป็นบางส่วน[53]
ปริมาณ EPA และ DHA
[แก้]ตามการทดสอบของ ConsumerLab ความเข้มข้นของ EPA และ DHA ในอาหารเสริมอาจอยู่ในระหว่าง 8-80% ของน้ำมันปลา โดยขึ้นอยู่กับแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 กับการแปรรูป และส่วนผสมอื่น ๆ ในอาหารเสริม[53] รายงานปี 2012 อ้างว่า อาหารเสริม 4 ชนิดจาก 35 ชนิดที่ทดสอบมี EPA หรือ DHA น้อยกว่าที่ติดป้าย และอาหารเสริม 3 ชนิดจาก 35 ชนิดมีมากกว่า[53] ส่วนรายงานปี 2010 อ้างว่า อาหารเสริมเป็นน้ำมันปลา 3 ชนิดจาก 24 ชนิดที่ทดสอบมี EPA และ/หรือ DHA น้อยกว่าที่ติดป้าย[49] แต่ความพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ของ EPA และ DHA พบว่าสูงทั้งในแบบบรรจุเป็นแคปซูลหรือขายเป็นน้ำมัน[54]
สูตร
[แก้]น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมมีขายทั้งแบบแคปซูลและแบบน้ำ แคปซูลบางอย่างเคลือบพิเศษ (enteric-coated) เพื่อให้ผ่านกระเพาะอาหารไปแล้วละลายในลำไส้เล็ก ซึ่งช่วยไม่ให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยหรือเรอเป็นกลิ่นปลา แต่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่ดีก็ยังมีโอกาสปล่อยส่วนผสมก่อนควร ConsumerLab รายงานว่า อาหารเสริมแคปซูลซึ่งเคลือบพิเศษที่บริษัทได้ทดสอบ 1 ใน 24 อย่างปล่อยส่วนผสมก่อนควร[49]
อันตราย
[แก้]งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2013 สรุปว่า โอกาสเกิดปัญหาในผู้สูงอายุที่ทานน้ำมันปลา อย่างแย่ที่สุดก็เพียงน้อยจนถึงปานกลาง และไม่น่าจะมีนัยสำคัญทางคลินิก[55]
การทานมากสุด
[แก้]องค์กรอาหารและยาสหรัฐแนะนำไม่ให้ผู้บริโภคทาน EPA และ DHA รวมกันเกิน 3 กรัมต่อวัน โดยไม่ควรได้เกิน 2 กรัมจากอาหารเสริม[56] แต่นี่ก็ไม่ได้เท่ากับน้ำมันปลา 3,000 มก. ยาขนาด 1,000 mg ปกติจะมีกรดไขมันโอเมกา-3 แค่ 300 มก. ยา 10 เม็ดจึงจะมีกรดไขมันโอเมกา-3 ถึง 3,000 มก. แต่ตามองค์การความปลอดภัยอาหารยุโรป (EFSA) อาหารเสริมที่มี EPA และ DHA รวมกัน 5 กรัมไม่สร้างปัญหาความปลอดภัยแก่ผู้ใหญ่[57]
งานศึกษาปี 1987 พบว่า ชาวอินูอิต (Inuits) ในกรีนแลนด์ที่มีสุขภาพดีได้ EPA โดยเฉลี่ย 5.7 กรัมต่อวัน ซึ่งมีผลหลายอย่างรวมทั้งเลือดออกนาน คือเลือดจับเป็นลิ่มช้า[58]
วิตามิน
[แก้]ตับและผลิตภัณฑ์ตับ (เช่น น้ำมันปลาคอด) ของปลาและสัตว์หลายอย่างอื่น ๆ (เช่น แมวน้ำและวาฬ) มีกรดไขมันโอเมกา-3 แต่ก็มีวิตามินเอในรูปแบบที่มีฤทธิ์ด้วย และในระดับสูง วิตามินในรูปแบบนี้อาจมีอันตราย (เป็นภาวะวิตามินเอเกิน [Hypervitaminosis A])[59]
สารพิษปนเปื้อน
[แก้]ผู้บริโภคปลาไขมันสูงควรรู้ถึงโอกาสการมีโลหะหนักและมลพิษที่ละลายในไขมันได้ เช่น PCB และ dioxin ซึ่งจะสะสมแบบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามขึ้นโซ่อาหาร (เป็นกระบวนการ biomagnification) หลังจากทบทวนเป็นการใหญ่ นักวิจัยจากคณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รายงานในวารสารแพทย์ JAMA ว่า ประโยชน์ที่ได้จากปลามีน้ำหนักยิ่งกว่าโอกาสเสี่ยงมาก
อาหารเสริมคือน้ำมันปลาตกเป็นปัญหาในปี 2006 เมื่อสำนักงานมาตรฐานอาหาร (Food Standards Agency) แห่งสหราชอาณาจักร และองค์การความปลอดภัยอาหารแห่งไอร์แลนด์ (Food Safety Authority of Ireland) ได้รายงานระดับ PCB ในน้ำมันปลาหลายยี่ห้อที่เกินจุดจำกัดสูงสุดของยุโรป[60][61] ซึ่งทำให้บริษัทต้องเรียกคืนสินค้า เพื่อแก้ปัญหาความปนเปื้อนน้ำมันปลาที่เป็นอาหารเสริม บริษัท Nutrasource Diagnostics จึงได้เริ่มโปรแกรมมาตรฐานน้ำมันปลานานาชาติ (IFOS) ซึ่งเป็นโปรแกรมทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาโดยบุคคลภายนอกภายในรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา[62]
ในปี 2010 กลุ่มสิ่งแวดล้อมแคลิฟอร์เนียได้ฟ้องศาลว่า อาหารเสริมเป็นน้ำมันปลา 8 ยี่ห้อมีระดับ PCB เกิน (รวมยี่ห้อ CVS/pharmacy, Nature Made, Rite Aid, GNC, Solgar, Twinlab, Now Health, Omega Protein และ Pharmavite) โดยส่วนมากเป็นน้ำมันตับปลาคอดหรือปลาฉลาม โจทก์ร่วมฟ้องได้อ้างว่า เพราะตับเป็นอวัยวะขับกรองและล้างพิษหลัก ปริมาณ PCB ในน้ำมันตับจึงสูงกว่าในน้ำมันที่แปรรูปมาจากปลาทั้งตัว[63][64]
งานวิเคราะห์ที่ได้ข้อมูลจากงานศึกษา Norwegian Women and Cancer Study (NOWAC) เกี่ยวกับอันตรายของการได้สารมลพิษอินทรีย์ที่คงยืน (persistent organic pollutant, POP) ในตับปลาคอดได้สรุปว่า ในหญิงชาวนอร์เวย์ การบริโภคตับปลาไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรงกันข้ามกลับพบว่า ความเสี่ยงมะเร็งทั้งหมดลดลง[65]
คณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ศึกษาน้ำมันปลาที่นิยม 5 ยี่ห้อรวมทั้ง Nordic Ultimate, Kirkland และ CVS แล้วรายงานในปี 2003 ว่า ยี่ห้อทั้งหมดมี "ปริมาณปรอทที่น้อยมาก ซึ่งแสดงว่าได้กำจัดปรอทเมื่อผลิตน้ำมันปลาบริสุทธิ์ หรือปลาซึ่งเป็นแหล่งที่ใช้ในการแปรรูปทางพาณิชย์เหล่านี้ค่อนข้างปลอดปรอท"[66]
น้ำมันสาหร่ายเซลล์เดียว (Microalgae/Microphyte) อาจใช้แทนน้ำมันปลาสำหรับผู้ทานอาหารปลอดเนื้อสัตว์ อาหารเสริมที่ได้มาจากสาหร่ายเซลล์เดียวมีอัตราส่วนกรดไขมันโอเมกา-3 เช่นเดียวกับน้ำมันปลาแต่ก็เสี่ยงมีมลพิษน้อยลง[67]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Moghadasian, Mohammed H. (2008). "Advances in Dietary Enrichment with N-3 Fatty Acids". Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 48 (5): 402–10. doi:10.1080/10408390701424303. PMID 18464030.
- ↑ Cleland, Leslieg; James, Michaelj; Proudman, Susannam (2006). "Fish oil: What the prescriber needs to know". Arthritis Research & Therapy. 8 (1): 679–81. doi:10.1186/ar1876. PMC 1526555. PMID 16542466.
- ↑ 3.0 3.1 Zimmer, Carl (2015-09-17). "Inuit Study Adds Twist to Omega-3 Fatty Acids' Health Story". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
- ↑ 4.0 4.1 O'Connor, Anahad (2015-03-30). "Fish Oil Claims Not Supported by Research". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
- ↑ 5.0 5.1 Grey, Andrew; Bolland, Mark (March 2014). "Clinical Trial Evidence and Use of Fish Oil Supplements". JAMA Internal Medicine. 174 (3): 460–62. doi:10.1001/jamainternmed.2013.12765. PMID 24352849. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
- ↑ 6.0 6.1 Xin, Wei; Wei, Wei; Li, Xiaoying (2012-01-01). "Effect of fish oil supplementation on fasting vascular endothelial function in humans: a meta-analysis of randomized controlled trials". PLOS ONE. 7 (9): e46028. doi:10.1371/journal.pone.0046028. ISSN 1932-6203. PMC 3448723. PMID 23029372.
- ↑ Su, Kuan-Pin; Huang, Shih-Yi; Chiu, Chih-Chiang; Shen, Winston W. (2003). "Omega-3 fatty acids in major depressive disorder". European Neuropsychopharmacology. 13 (4): 267–71. doi:10.1016/S0924-977X(03)00032-4. PMID 12888186.
- ↑ Naliwaiko, K.; Ara?jo, R.L.F.; Da Fonseca, R.V.; Castilho, J.C.; Andreatini, R.; Bellissimo, M.I.; Oliveira, B.H.; Martins, E.F.; Curi, R.; Fernandes, L.C.; Ferraz, A.C. (2004). "Effects of Fish Oil on the Central Nervous System: A New Potential Antidepressant?". Nutritional Neuroscience. 7 (2): 91–99. doi:10.1080/10284150410001704525. PMID 15279495.
- ↑ Green, Pnina; Hermesh, Haggai; Monselise, Assaf; Marom, Sofi; Presburger, Gadi; Weizman, Abraham (2006). "Red cell membrane omega-3 fatty acids are decreased in nondepressed patients with social anxiety disorder". European Neuropsychopharmacology. 16 (2): 107–13. doi:10.1016/j.euroneuro.2005.07.005. PMID 16243493.
- ↑ Yehuda, Shlomo; Rabinovitz, Sharon; Mostofsky, David I. (2005). "Mixture of essential fatty acids lowers test anxiety". Nutritional Neuroscience. 8 (4): 265–67. doi:10.1080/10284150500445795. PMID 16491653.
- ↑ Nemets, B.; Stahl, Z; Belmaker, RH (2002). "Addition of Omega-3 Fatty Acid to Maintenance Medication Treatment for Recurrent Unipolar Depressive Disorder". American Journal of Psychiatry. 159 (3): 477–79. doi:10.1176/appi.ajp.159.3.477. PMID 11870016.
- ↑ 12.0 12.1 NIH Medline Plus (August 2015). "Omega-3 Supplements: In Depth". สืบค้นเมื่อ 2017-10-13.
- ↑ EPA (2007-01-31). "Fish Consumption Advisories". สืบค้นเมื่อ 2007-02-08.
- ↑ "The State of World Fisheries and Aquaculture 2008" (PDF). Food and Agriculture Organization. 2008. p. 146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-16.
- ↑ 15.0 15.1 Innis, Sheila M.; Rioux, France M.; Auestad, Nancy; Ackman, Robert G. (1995). "Marine and freshwater fish oil varying in arachidonic, eicosapentaenoic and docosahexaenoic acids differ in their effects on organ lipids and fatty acids in growing rats". The Journal of Nutrition. 125 (9): 2286–93. PMID 7666244.
- ↑ Gruger, E. H.; Nelson, R. W.; Stansby, M. E. (1964-10-01). "Fatty acid composition of oils from 21 species of marine fish, freshwater fish and shellfish". Journal of the American Oil Chemists Society. 41 (10): 662–67. doi:10.1007/BF02661403.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 17.0 17.1 Philibert, A; Vanier, C; Abdelouahab, N; Chan, HM; Mergler, D (December 2006). "Fish intake and serum fatty acid profiles from freshwater fish". The American Journal of Clinical Nutrition. 84 (6): 1299–307. PMID 17158409.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑
Talakoub, Lily; Neuhaus, Isaac M.; Yu, Siegrid S. (2008). "Chapter 2: Cosmoceuticals". ใน Alam, Murad; Gladstone, Hayes B.; Tung, Rebecca (บ.ก.). Cosmetic Dermatology. Requisites in dermatology. Elsevier Health Sciences. p. 9. ISBN 9780702031434. สืบค้นเมื่อ 2014-10-23.
Other oils used as emollients include fish oil, petrolatum, shea butter, and sunflower seed oil.
- ↑
Burch, Ernest S. (2006). Social Life in Northwest Alaska: The Structure of I?upiaq Eskimo Nations. University of Alaska Press. p. 278. ISBN 9781889963921. สืบค้นเมื่อ 2014-10-23.
Oil was also used externally as an ointment to heal cold sores, cuts, insect bites, frostbite, rashes - in short, skin problems of all kinds. Duck or goose body-cavity fat was apparently as useful as seal or fish oil in dealing with skin problems.
- ↑ Heartney, Eleanor (2007). "Zhang Huan: Becoming the Body". Zhang Huan: Altered States. Charta and Asia Society. ISBN 978-8881586417. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-23.
This becomes abundantly clear in the work of Chinese body artist Zhang Huan. In the course of his career, Zhang Huan has subjected himself to painful trials: sitting motionless for hours in an outhouse covered in honey and fish oil while flies crawled over his body [...].
- ↑
Ilse Schreiber: Die Schwestern aus Memel (1936), quoted, and extract translated in:
Strzelczyk, Florentine (2014). "16: 'Fighting against Manitou': German Identity and Ilse Schreiber's Canada Novels Die Schwestern aus Memel (1936) and Die Flucht in Paradies (1939)". ใน McFarland, Rob; James, Michelle Stott (บ.ก.). Sophie Discovers Amerika: German-Speaking Women Write the New World. Studies in German Literature Linguistics and Culture. Vol. 148. Boydell & Brewer. p. 207. ISBN 9781571135865.
Hoffentlich zogen die Eltern in eine Gegend, wo es recht viele Eingeborene gab. Indianer, die nur von Jagd und Fischfang leben. Ach, und wom?glich Eskimos, die sich mit Tran einschmieren, um sich gegen die K?lte zu sch?tzen und rohes Fleisch essen [...]. [She hoped her parents would move to an area where there were many aboriginals. Indians who live solely by hunting and fishing. Oh, and if possible Eskimos who smear themselves with fish oil to protect themselves from the cold, and who eat raw meat.]
- ↑ Falk-Petersen, S.; Sargent, J. R.; Henderson, J.; Hegseth, E. N.; Hop, H.; Okolodkov, Y. B. (1998). "Lipids and fatty acids in ice algae and phytoplankton from the Marginal Ice Zone in the Barents Sea". Polar Biology. 20 (1): 41–47. doi:10.1007/s003000050274. INIST:2356641.
- ↑ 23.0 23.1 "Fish, Levels of Mercury and Omega-3 Fatty Acids". American Heart Association. สืบค้นเมื่อ 2010-10-06.
- ↑ Kris-Etherton, Penny M.; William S. Harris, Lawrence J. Appel (2002). "Fish Consumption, Fish Oil, Omega-3 Fatty Acids, and Cardiovascular Disease". Circulation. 106 (21): 2747–57. doi:10.1161/01.CIR.0000038493.65177.94. PMID 12438303.
- ↑ 25.0 25.1 "Omega-3 Centre". Omega-3 sources. Omega-3 Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.
- ↑ "Re: 2010 Dietary Guidelines for Americans" (PDF). Jan 2009. American Heart Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04.
- ↑ "2004 - FDA Announces Qualified Health Claims for Omega-3 Fatty Acids". www.fda.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2016-05-25.
- ↑ Heinze, VM; Actis, AB (February 2012). "Dietary conjugated linoleic acid and long-chain n-3 fatty acids in mammary and prostate cancer protection: a review". International journal of food sciences and nutrition. 63 (1): 66–78. doi:10.3109/09637486.2011.598849. PMID 21762028.
- ↑ Crowe, Francesca L.; Appleby, Paul N.; Travis, Ruth C.; Barnett, Matt; Brasky, Theodore M.; Bueno-de-Mesquita, H. Bas; Chajes, Veronique; Chavarro, Jorge E.; Chirlaque, Maria-Dolores (2014-09-01). "Circulating fatty acids and prostate cancer risk: individual participant meta-analysis of prospective studies". Journal of the National Cancer Institute. 106 (9): dju240. doi:10.1093/jnci/dju240. ISSN 1460-2105. PMC 4188122. PMID 25210201.
- ↑ Chua, Michael E.; Sio, Maria Christina D.; Sorongon, Mishell C.; Morales Jr, Marcelino L. Jr. (May–June 2013). "The relevance of serum levels of long chain omega-3 polyunsaturated fatty acids and prostate cancer risk: a meta-analysis". Canadian Urological Association Journal. 7 (5–6): E333-43. doi:10.5489/cuaj.1056. PMC 3668400. PMID 23766835.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Brasky, TM; Darke, AK; Song, X และคณะ (August 2013). "Plasma phospholipid fatty acids and prostate cancer risk in the SELECT trial". J. Natl. Cancer Inst. 105 (15): 1132–41. doi:10.1093/jnci/djt174. PMC 3735464. PMID 23843441.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Fish and Omega-3 Fatty Acids". American Heart Association. สืบค้นเมื่อ 2007-02-09.
- ↑ Charnock, John S (1999). "The role of omega-3 polyunsaturated fatty acid-enriched diets in the prevention of ventricular fibrillation" (PDF). Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition. 8 (3): 226–30. doi:10.1046/j.1440-6047.1999.00115.x. PMID 24394167. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04.
- ↑
Li, GR; Sun, HY; Zhang, XH; Cheng, LC; Chiu, SW; Tse, HF; Lau, CP (2009). "Omega-3 polyunsaturated fatty acids inhibit transient outward and ultra-rapid delayed rectifier K+currents and Na+current in human atrial myocytes". Cardiovasc Res. 81 (2): 286–93. doi:10.1093/cvr/cvn322. PMID 19029136.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Khawaja, Owais; Gaziano, J. Michael; Djouss?, Luc (2012-02-01). "A meta-analysis of omega-3 fatty acids and incidence of atrial fibrillation". Journal of the American College of Nutrition. 31 (1): 4–13. doi:10.1080/07315724.2012.10720003. ISSN 1541-1087. PMID 22661621.
- ↑ Nair, G. M.; Connolly, S. J. (2008). "Should patients with cardiovascular disease take fish oil?". Canadian Medical Association Journal. 178 (2): 181–82. doi:10.1503/cmaj.071654. PMC 2174997. PMID 18195293.
- ↑ Rizos, E. C.; Ntzani, E. E.; Bika, E; Kostapanos, MS; Elisaf, MS (2012). "Association Between Omega-3 Fatty Acid Supplementation and Risk of Major Cardiovascular Disease Events: A Systematic Review and Meta-analysis". Journal of the American Medical Association. 308 (10): 1024–33. doi:10.1001/2012.jama.11374. PMID 22968891.
- ↑ "Omega-3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid". สืบค้นเมื่อ 2014-02-04.
- ↑ Montgomery, P; Richardson, AJ (2008). Montgomery, Paul (บ.ก.). "Omega-3 fatty acids for bipolar disorder". Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD005169. doi:10.1002/14651858.CD005169.pub2. PMID 18425912.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Martins, Julian G (2009). "EPA but Not DHA Appears to Be Responsible for the Efficacy of Omega-3 Long Chain Polyunsaturated Fatty Acid Supplementation in Depression: Evidence from a Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials". Journal of the American College of Nutrition. 28 (5): 525–42. doi:10.1080/07315724.2009.10719785. PMID 20439549.
- ↑ Bloch, M H; Hannestad, J (2011). "Omega-3 fatty acids for the treatment of depression: Systematic review and meta-analysis". Molecular Psychiatry. 17 (12): 1272–82. doi:10.1038/mp.2011.100. PMC 3625950. PMID 21931319.
- ↑ Grosso, G.; Pajak, A.; Marventano, S.; Castellano, S.; Galvano, F.; Bucolo, C.; Caraci, F. (2014). "Role of Omega-3 Fatty Acids in the Treatment of Depressive Disorders: A Comprehensive Meta-Analysis of Randomized Clinical Trials". PLoS ONE. 9 (5): e96905. doi:10.1371/journal.pone.0096905. PMC 4013121. PMID 24805797.
- ↑ Sifferlin, Alexandra (2012-06-13). "Fish Oil Fail: Omega-3s May Not Protect Brain Health After All". Time. สืบค้นเมื่อ 2012-06-19.
- ↑ Wolters, M. (2005). "Diet and psoriasis: experimental data and clinical evidence". British Journal of Dermatology. 153 (4): 706–14. doi:10.1111/j.1365-2133.2005.06781.x. PMID 16181450.
- ↑ "Diet in dermatology: revisited". 2010. PMID 20228538.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 46.0 46.1 Jensen, Craig L.; Voigt, Robert G.; Llorente, Antolin M.; Peters, Sarika U.; Prager, Thomas C.; Zou, Yali L.; Rozelle, Judith C.; Turcich, Marie R.; Fraley, J. Kennard; Anderson, Robert E.; Heird, William C. (2010). "Effects of Early Maternal Docosahexaenoic Acid Intake on Neuropsychological Status and Visual Acuity at Five Years of Age of Breast-Fed Term Infants". The Journal of Pediatrics. 157 (6): 900–05. doi:10.1016/j.jpeds.2010.06.006. PMID 20655543.
- ↑ Calder, Philip C.; Kremmyda, Lefkothea-Stella; Vlachava, Maria; Noakes, Paul S.; Miles, Elizabeth A. (2010). "Is there a role for fatty acids in early life programming of the immune system?". Proceedings of the Nutrition Society. 69 (3): 373–80. doi:10.1017/S0029665110001552. PMID 20462467.
- ↑ Lev-Tzion, R; Griffiths, AM; Leder, O; Turner, D (2014-02-28). "Omega 3 fatty acids (fish oil) for maintenance of remission in Crohn's disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2: CD006320. doi:10.1002/14651858.CD006320.pub4. PMID 24585498.
- ↑ 49.0 49.1 49.2 "ConsumerLab.com Finds Quality Problems with Nearly Thirty Percent of Fish Oil Supplements Reviewed; "Fishy" Claims Identified: Softgels and Liquids for Adults, Children and Pets Tested, Including Krill Oil and Algal Oil Supplements". ConsumerLab.com. 2010-09-28. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.[ไม่แน่ใจ ]
- ↑ "Reviews of Supplements and Health Products". ConsumerLab.
- ↑ Schecter, A.; Cramer, P.; Boggess, K.; Stanley, J.; Olson, J. R. (1997-04-01). "Levels of dioxins, dibenzofurans, PCB and DDE congeners in pooled food samples collected in 1995 at supermarkets across the United States". Chemosphere. 34 (5–7): 1437–47. doi:10.1016/s0045-6535(97)00440-2. ISSN 0045-6535. PMID 9134677.
- ↑ 52.0 52.1 Aursand, Marit; Mozuraityte, Revilija; Hamre, Kristin; Knutsen, Helle; Maage, Amund; Arukwe, Augustine (2011). Description of the processes in the value chain and risk assessment of decomposition substances and oxidation products in fish oils (PDF). Norwegian Scientific Committee for Food Safety. ISBN 978-82-8259-035-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-09-09. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19. [ต้องการเลขหน้า]
- ↑ 53.0 53.1 53.2 53.3 53.4 "ConsumerLab.com Review: Fish Oil and Omega-3 Fatty Acid Supplements Review (Including Krill, Algae, and Calamari Oil)". ConsumerLab.com. 2012-08-13. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
- ↑ Raatz, SK; Redmon, JB; Wimmergren, N; Donadio, JV; Bibus, DM (2009). "Enhanced absorption of omega-3 fatty acids after emulsified compared with encapsulated fish oil". Journal of the American Dietetic Association. 109: 1076–81. doi:10.1016/j.jada.2009.03.006. PMC 2701654.
- ↑ Villani, Anthony M; Crotty, Maria; Cleland, Leslie G; James, Michael J; Fraser, Robert J; Cobiac, Lynne; Miller, Michelle D (2013). "Fish oil administration in older adults: Is there potential for adverse events? A systematic review of the literature". BMC Geriatrics. 13 (1): 41. doi:10.1186/1471-2318-13-41. PMC 3664575. PMID 23634646.
- ↑ "FDA Announces Qualified Health Claims for Omega-3 Fatty Acids". 2004-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ 2017-08-21.
- ↑ "Scientific Opinion on the Tolerable Upper Intake Level of eicosapentaenoic acid (EPA), docosahexaenoic acid (DHA) and docosapentaenoic acid (DPA)". EFSA Journal. EFSA. doi:10.2903/j.efsa.2012.2815. สืบค้นเมื่อ 2014-09-14.
- ↑ Kantha, SS (1987). "Dietary effects of fish oils on human health: A review of recent studies". The Yale Journal of Biology and Medicine. 60 (1): 37–44. PMC 2590235. PMID 3551346.
- ↑ Lips, Paul (2003). "Hypervitaminosis a and Fractures". New England Journal of Medicine. 348 (4): 347–49. doi:10.1056/NEJMe020167. PMID 12540650.
- ↑ Halliday, Jess (2006-04-13). "Dioxins prompt second UK fish oil withdrawal". สืบค้นเมื่อ 2007-02-08.
- ↑ "Pollutants found in fish oil capsules". BBC News. 2002-04-06. สืบค้นเมื่อ 2007-02-08.
- ↑ International Fish Oil Standards เก็บถาวร 2009-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Leamy, Elisabeth (2010-03-03). "Lawsuit Raises Fish Oil Supplement Concerns". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-19. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
- ↑ "Lawsuit says fish oil supplements contain PCB". San Francisco Chronicle. 2010-03-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-24.
- ↑ Brustad, Magritt; Sandanger, Torkjel Manning; Andersen, Vegard; Lund, Eiliv (2007). "POP exposure from fish liver consumption and risk of cancer?the Norwegian Women and Cancer Study". Journal of Environmental Monitoring. 9 (7): 682–6. doi:10.1039/B706302B. PMID 17607388.
- ↑ Foran, Stacy E.; Flood, James G.; Lewandrowski, Kent B. (2003). "Measurement of Mercury Levels in Concentrated Over-the-Counter Fish Oil Preparations: Is Fish Oil Healthier Than Fish?". Archives of Pathology & Laboratory Medicine. 127 (12): 1603–1605. doi:10.1043/1543-2165(2003)127<1603:MOMLIC>2.0.CO;2. PMID 14632570.
- ↑ Doughman, Scott D.; Krupanidhi, Srirama; Sanjeevi, Carani B. (2007). "Omega-3 Fatty Acids for Nutrition and Medicine: Considering Microalgae Oil as a Vegetarian Source of EPA and DHA". Current Diabetes Reviews. 3 (3): 198–203. doi:10.2174/157339907781368968. PMID 18220672.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- FAO (1986) The production of fish meal and oil FAO Fishery Technical Paper 142.
- International Fish Oil Standards เก็บถาวร 2019-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — An organization concerned with the quality of omega-3 products as it relates to the international standards established by the World Health Organization and the Council For Responsible Nutrition for purity and concentration.
- Joyce A. Nettleton, ed. "PUFA Newsletter". สืบค้นเมื่อ 2006-02-20.
{{cite web}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) Two newsletters, both quarterly, reviewing recent publications in essential fatty acids. One is written for researchers, the second is for consumers. Industry sponsored, academic contributors. - Omega-3 Fatty Acids เก็บถาวร 2015-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน American Cancer Society. Updated 11 January 2008.