น้ำมันอาร์แกน
น้ำมันอาร์แกน (อังกฤษ: argan oil) เป็นน้ำมันที่ได้จากเมล็ดต้นอาร์แกน (Argania spinosa) เป็นไม้ต้นที่พบเฉพาะในประเทศโมร็อกโก น้ำมันอาร์แกนมีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองอ่อนถึงใส ไม่มีกลิ่น มีจุดหลอมเหลวประมาณ 100 °ซ. และจุดวาบไฟที่ประมาณ 300 °ซ.[1] น้ำมันอาร์แกนประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว โดยไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากที่สุดคือกรดโอเลอิกและกรดลิโนเลอิก ในขณะที่ไขมันอิ่มตัวที่พบมากที่สุดคือกรดปาลมิติก[2]
วิธีดั้งเดิมในการสกัดน้ำมันอาร์แกนของชาวโมร็อกโกจะเริ่มจากขูดเนื้อผลออกหลังนำไปตากแห้ง หรือบางครั้งให้แพะกินเนื้อผลแล้วค่อยเก็บเมล็ด จากนั้นจะบีบเมล็ดให้แตกเพื่อนำเนื้อในมาใช้[3] การผลิตน้ำมันอาร์แกนเพื่อใช้ประกอบอาหารจะมีกระบวนการเพิ่มเติมคือนำเนื้อในไปคั่วเพื่อให้ได้กลิ่นถั่ว ในขณะที่น้ำมันอาร์แกนสำหรับผสมในเครื่องสำอางจะไม่มีการคั่ว
น้ำมันอาร์แกนนิยมใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินอี ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยบำรุงผิวและเส้นผม[4] ในน้ำมันอาร์แกนมีกรดโอเลอิกและกรดลิโนเลอิก ซึ่งเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมกา-9 และกรดไขมันโอเมกา-6 ตามลำดับ โดยกรดไขมันสองชนิดนี้ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ[5][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Argan oil - MSDS". Aromantic. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Kouidri, Mohamed; Saadi, Abdelkader; Noui, Abdallah; Medjahed, F. (2015). "The Chemical Composition of Argan Oil". International Journal of Advanced Studies in Computer Science and Engineering. 4 (1): 24–28. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Moulds, Josephine (April 28, 2015). "Argan oil: the cost of the beauty industry's latest wonder ingredient". The Guardian. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Hill, Ansley (December 10, 2018). "12 Benefits and Uses of Argan Oil". Healthline. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Cooley, Jami (November 28, 2017). "Omega-9 Benefits: Are You Getting Enough?". University Health News. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Paddock, Catharine (March 20, 2018). "Could omega-6 fatty acids help us live longer?". Medical News Today. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Noone, Yasmin (April 12, 2018). "Can you eat argan oil?". SBS Food. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.