ปลาทูน่าครีบยาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาทูน่าครีบยาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Scombridae
วงศ์ย่อย: Scombrinae
สกุล: Thunnus
สกุลย่อย: Thunnus
สปีชีส์: T.  alalunga
ชื่อพ้อง[2]
  • Thunnus germo (Lacepède, 1801)
  • Scomber alalunga Bonnaterre, 1788

ปลาทูน่าครีบยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunnus alalunga) หรือชื่อการตลาดในสหรัฐอเมริกาคือ ปลาทูน่าเนื้อขาว (อังกฤษ: white meat tuna) เป็นปลาทูน่าที่พบในแหล่งน้ำเปิดและมหาสมุทรทุกเขตและทุกอุณหภูมิ รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารที่ได้รับรางวัลและยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจพันธุ์หนึ่ง ในฤดูการผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่คราวละ 800,000 ถึง 2.6 ล้านฟอง ซึ่งจะฟังตัวภายในหนึ่งหรือสองวัน ภายหลังฟักตัวแล้ว ตัวอ่อนก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงปีแรกจะอาศัยอยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่พวกมันฟักตัว หลังจากอายุได้หนึ่งปีพวกมันก็จะเริ่มอพยพ ปลาทูน่าครีบยาวมีอายุไขราว 11-12 ปี โดยจะเริ่มสืบพันธุ์เมื่อมีอายุราว 5-6 ปี[3]

ปลาทูน่าครีบยาวตัวโตเต็มวัยมีขนาดตัวเฉลี่ย 90–100 เซนติเมตร และอาจมีน้ำหนักได้ถึง 40 กิโลกรัม ลำตัวมีสีขาวออกเงิน ส่วนหลังมีสีน้ำเงินเข้ม มีครีบส่วนหลังเป็นสีเหลืองเข้ม[4] ในบางพื้นที่ พวกมันมักจะอาศัยอยู่ในในระดับน้ำลึกกว่า 200 เมตรในตอนกลางวัน และอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำในตอนกลางคืน แต่ในบางพื้นที่ พวกมันก็อาศัยอยู่ใกล้ผิวน้ำตลอดวัน[5] พวกมันเป็นปลาประเภทที่ไม่นอนหลับ เนื่องจากต้องขยับตัวตลอดเวลาเพื่อให้ได้ออกซิเจนเพียงพอ

อ้างอิง[แก้]

  1. Collette B and 34 others (2011). "Thunnus alalunga". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
  2. "Thunnus alalunga". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 9 December 2012.
  3. "Albacore Tuna" เก็บถาวร 2013-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน This fish. ThisFish & Ecotrust Canada 25 Oct 2013.
  4. "Fishing & Shellfishing: Albacore Tuna". Washington Department of Fish & Wildlife. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2016-08-08.
  5. Childers, John; Stephanie Snyder; Suzanne Kohin (1 January 2011). "Migration and behavior of juvenile North Pacific albacore (Thunnus alalunga)". Fisheries Oceanography. 2 (3): 157–173. สืบค้นเมื่อ 25 October 2013.