น้ำมันแมคาเดเมีย
น้ำมันแมคาเดเมีย (อังกฤษ: macadamia oil, macadamia nut oil) เป็นน้ำมันไม่ระเหยง่ายที่สกัดจากเนื้อแมคาเดเมีย (Macadamia integrifolia) ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นของออสเตรเลีย เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง เมื่อผ่านการกลั่นจะมีสีอำพันอ่อน ๆ มีกลิ่นถั่ว มีโครงสร้างทางเคมีเป็นกรดโอเลอิกประมาณ 60%, กรดปาลมิโตเลอิก 19%, กรดลิโนเลอิก 1-3% และกรดลิโนเลนิกอัลฟา 1-2% น้ำมันคงสภาพได้ดีมากและเก็บไว้ได้นานเพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ต่ำ บางครั้งใช้ประกอบอาหารโดยผัด/ทอด (เพราะทนความร้อนได้สูง) หรือเป็นน้ำสลัด ใช้ในเครื่องสำอางเป็นสารให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงเส้นผม และใช้ในน้ำหอมช่วยไม่ให้ระเหยเร็ว
คุณสมบัติ
[แก้]ถั่วแมคาเดเมียเป็นน้ำมัน 75% ของน้ำหนัก ที่เหลือเป็นโปรตีน 9.0%, คาร์โบไฮเดรต 9.3%, ความชื้น 1.5%, แร่ธาตุ 1.6% และใยอาหาร 2.0% เนื้อเมล็ดมีวิตามินเอ1 บี1 บี2 ไนอาซิน และแร่ธาตุจำเป็นรวมทั้งแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโพแทสเซียม น้ำมันเป็นไตรกลีเซอไรด์และโดยหลักประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวมากถึง 80-84% ดังนั้น น้ำมันแมคาเดเมียจึงมีร้อยละของไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวสูงสุดเทียบกับ "น้ำมันสุขภาพ" คือน้ำมันมะกอกและน้ำมันแคโนลา[1]
ต้นแมคาเดเมีย คือ Macadamia integrifolia เป็นต้นไม้ท้องถิ่นของออสเตรเลีย มีใบคล้ายต้นฮอลลี่ (สกุล Ilex) ที่ปลูกได้ดีในดินอินทรีย์ชื้น ทนหนาวได้จนถึงอุณหภูมิ -4.4 องศาเซลเซียส ต้นสามารถออกผลภายใน 5-7 ปี ผลจะอยู่ในเปลือกรูปกลมที่แข็งมาก เนื้อจะออกขาว ๆ หวาน สามารถทานดิบหรือคั่ว ดอกจะขาวจนถึงนวล ใบจะออกเป็นวงช่อละ 3 ใบ การขยายพันธุ์ทำด้วยเมล็ด ติดตาต่อกิ่ง หรือตอนกิ่ง เป็นต้นไม้ที่ปลูกเพื่อพาณิชย์[2]
มีต้นแมคาเดเมียสองชนิดที่เพาะปลูก คือ
- Macadamia integrifolia (หรือ Macadamia ternifolia) มีชื่อสามัญว่า Australian nut (ถั่วออสเตรเลีย) หรือเรียกอีกอย่างว่า smooth shelled macadamia (แมคาเดเมียเปลือกเรียบ) เป็นพืชท้องถิ่นออสเตรเลียซึ่งพบในป่าดิบชื้นใกล้แม่น้ำลำธาร
- Macadamia tetraphylla มีชื่อสามัญว่า Queensland nut (ถั่วควีนส์แลนด์) หรือเรียกอีกอย่างว่า rough shelled macadamia (แมคาเดเมียเปลือกหยาบ) เป็นพืชท้องถิ่นของรัฐควีนส์แลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐนิวเซาท์เวลส์ตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณน้ำมันอยู่ในพิสัย 65-75% และปริมาณน้ำตาล 6-8% ทำให้มีสีและเนื้อต่าง ๆ เมื่อคั่วถั่วโดยวิธีเดียวกัน[2]
น้ำมันแมคาเดเมียเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง น้ำมันที่กลั่นจะใส มีสีเหลืองอำพันอ่อน ๆ มีกลิ่นถั่วหน่อย ๆ ความถ่วงจำเพาะของมันอยู่ระหว่าง 900-920 จุดวาบไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไอน้ำมันจะติดไฟ) จะเกิน 148.9 องศาเซลเซียส[3]
การสะสมน้ำมันไม่เริ่มจนกว่าถั่วจะโตเต็มที่และเปลือกเริ่มแข็ง โดยจะสะสมอย่างรวดเร็วภายในเนื้อปลายฤดูร้อนในขณะที่ปริมาณน้ำตาลลดลง ตารางต่อไปนี้แสดงองค์ประกอบของแมคาเดเมียที่สุกแล้ว คั่ว หรือใส่เกลือ เหมือนกับเมล็ดพืชน้ำมันอื่น ๆ โปรตีนจะมี มีไธโอนีน น้อย เนื้อสด ๆ จะมีน้ำตาลถึง 4.6% โดยมากเป็นน้ำตาลง่าย ๆ (non-reducing) น้ำมันโดยมากเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวโดยคล้ายกันในพันธุ์ทั้งสอง แม้อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันไม่อิ่มตัวกับกรดไขมันอิ่มตัวดูเหมือนจะสูงกว่าเล็กน้อยในพันธุ์ M. integrifolia (6.2:1 เทียบกับ 4.8:1) องค์ประกอบทางไขมันและการไร้คอเลสเตอรอล อาจจะมีการส่งเสริมให้แมคาเดเมียเป็นอาหารสุขภาพที่มีพลังงานสูง องค์ประกอบระเหยได้หลัก ๆ ของเนื้อแมคาเดเมียคั่วดูจะเหมือนกับที่พบในถั่วคั่วอื่น ๆ แม้ในขณะนี้จะมีการศึกษาในรายละเอียดน้อยมาก[4]
ใช้รับประทาน
[แก้]น้ำมันแมคาเดเมียสามารถใช้ผัด/ทอดเพราะทนความร้อนได้สูงและมีคุณสมบัติอื่น ๆ ของน้ำมันที่ใช้ทานได้[5]
- มีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวอาจถึง 85%
- มีคุณภาพอยู่ได้โดยไม่แช่เย็น 1-2 ปี
- มีจุดก่อควัน (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไขมันจะเกินควันสีน้ำเงินอย่างต่อเนื่องซึ่งในที่สุดก็จะมองเห็นได้) 210 °C
- มีจุดวาบไฟ (อุณหภูมิต่ำสุดที่ไขมันจะติดไฟ) เกิน 300 °C
น้ำ (%) | 2 |
พลังงาน (กิโลจูล) | 3,064 |
โปรตีน (กรัม) | 7.1 |
ไขมัน (กรัม) | 78.6 |
กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) | 11.4 |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว (กรัม) | 61.1 |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (กรัม) | 0.014 |
คาร์โบไฮเดรต (กรัม) | 14.3 |
แคลเซียม (มิลลิกรัม) | 46.4 |
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) | 203.6 |
เหล็ก (มิลลิกรัม) | 1.8 |
โพแทสเซียม (มิลลิกรัม) | 332.1 |
โซเดียม (มิลลิกรัม) | 264.3 |
โซเดียมเมื่อไม่ใส่เกลือ (มิลลิกรัม) | 7.1 |
ไทอามีน (มิลลิกรัม) | 0.21 |
ไรโบเฟลวิน (มิลลิกรัม) | 0.11 |
ไนอาซิน (มิลลิกรัม) | 2.14 |
แมกนีเซียม (มิลลิกรัม) | 0.12 |
สังกะสี (มิลลิกรัม) | 1.4 |
แมงกานีส (มิลลิกรัม) | 0.38 |
ทองแดง (มิลลิกรัม) | 0.33 |
องค์ประกอบทางเคมี
[แก้]ตัวแปร | หน่วย | น้อยสุด | มากสุด |
---|---|---|---|
กรดไขมันอิสระ (กรดโอเลอิก) | % | 1.5 | |
ค่าเปอร์ออกไซด์ | meqO2/Kg | 5.0 | |
ค่าสปอนิฟิเคชั่น | mg/KOH/gr | ||
C:16:0 กรดปาลมิติก | % | 7.0 | 10.0 |
C:16:1 กรดปาลมิโตเลอิก | % | 14.0 | 22.0 |
C:18:0 กรดสเตียริก | % | 2.0 | 5.5 |
C:18:1 กรดโอเลอิก | % | 53.0 | 67.0 |
C:18:2 กรดลิโนเลอิก | % | 1.0 | 5.0 |
C:20:0 กรดอะราคิดิก | % | 1.0 | 3.0 |
C:20:1 กรดกาโดเลอิก | % | 1.0 | 3.0 |
C:22:0 กรดเบฮินิก | % | 1.0 |
คุณสมบัติ | หน่วย | น้อยสุด | มากสุด |
---|---|---|---|
กรดไขมันอิสระ (กรดโอเลอิก) | % | <0.8 | |
ค่าเปอร์ออกไซด์ | meqO2/Kg | <20.0 | |
ค่าสปอนิฟิเคชั่น | mg/KOH/gr | ||
C:16:0 กรดปาลมิติก | % | 7.5 | 20.0 |
C:16:1 กรดปาลมิโตเลอิก | % | 0.3 | 3.5 |
C:18:0 กรดสเตียริก | % | 0.5 | 5.0 |
C:18:1 กรดโอเลอิก | % | 55.0 | 83.0 |
C:18:2 กรดลิโนเลอิก | % | 3.5 | 21.0 |
C:18:3 กรดลิโนเลนิก | % | 0 | <1.0 |
C:20:0 กรดอะราคิดิก | % | <0.6 | |
C:20:1 กรดกาโดเลอิก | % | <0.4 |
น้ำมันแมคาเดเมียมีกรดโอเลอิก (กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว) ประมาณ 60%, กรดปาลมิโตเลอิก (palmitoleic) 19%, กรดลิโนเลอิก (กรดไขมันโอเมกา-6) 1-3% และกรดลิโนเลนิกอัลฟา (กรดไขมันโอเมกา-3) 1-2% บางพันธุ์มีกรดไขมันโอเมกา-6 และโอเมกา-3 พอ ๆ กัน แม้แมคาเดเมียจะปลูกในที่ต่าง ๆ แต่ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมก็ไม่ได้มีอิทธิพลสำคัญต่อลักษณะกรดไขมันของมัน เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติทั่วไปของน้ำมันพืชอันเป็นไตรกลีเซอไรด์ เป็นน้ำมันที่เสถียรดีเพราะมีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่น้อย[9]
น้ำมันพืช[10][11] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | การ แปรรูป |
กรดไขมัน อิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่เดี่ยว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | จุดก่อควัน | |||
มีพันธะเดียว รวม[10] |
กรดโอเลอิก (ω-9) |
มีหลายพันธะ รวม[10] |
กรดลิโนเลนิก (ω-3) |
กรดลิโนเลอิก (ω-6) | ||||
อาโวคาโด[12] | 11.6 | 70.6 | 13.5 | 1 | 12.5 | 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[13] | ||
คาโนลา[14] | 7.4 | 63.3 | 61.8 | 28.1 | 9.1 | 18.6 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
มะพร้าว[16] | 82.5 | 6.3 | 6 | 1.7 | 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |||
ข้าวโพด[17] | 12.9 | 27.6 | 27.3 | 54.7 | 1 | 58 |
232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | |
เมล็ดฝ้าย[19] | 25.9 | 17.8 | 19 | 51.9 | 1 | 54 | 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | |
เมล็ดแฟลกซ์[20] | 9.0 | 18.4 | 18 | 67.8 | 53 | 13 |
107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์) | |
เมล็ดองุ่น | 10.5 | 14.3 | 14.3 | 74.7 | - | 74.7 | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[21] | |
น้ำมันกัญชง[22] | 7.0 | 9.0 | 9.0 | 82.0 | 22.0 | 54.0 | 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[23] | |
มะกอก[24] | 13.8 | 73.0 | 71.3 | 10.5 | 0.7 | 9.8 | 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
ปาล์ม[25] | 49.3 | 37.0 | 40 | 9.3 | 0.2 | 9.1 | 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์) | |
ถั่วลิสง[26] | 20.3 | 48.1 | 46.5 | 31.5 | 31.4 | 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | ||
คำฝอย[27] | 7.5 | 75.2 | 75.2 | 12.8 | 0 | 12.8 | 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[15] | |
ถั่วเหลือง[28] | 15.6 | 22.8 | 22.6 | 57.7 | 7 | 51 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | |
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[29] | 10.3 | 19.5 | 19.5 | 65.7 | 0 | 65.7 | ||
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[30] | 10.1 | 45.4 | 45.3 | 40.1 | 0.2 | 39.8 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | |
เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[31] | 9.9 | 83.7 | 82.6 | 3.8 | 0.2 | 3.6 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[18] | |
เมล็ดฝ้าย[32] | ไฮโดรจีเนต | 93.6 | 1.5 | 0.6 | 0.3 | |||
ปาล์ม[33] | ไฮโดรจีเนต | 88.2 | 5.7 | 0 | ||||
ถั่วเหลือง[34] | ไฮโดรจีเนตบางส่วน | 14.9 | 43.0 | 42.5 | 37.6 | 2.6 | 34.9 | |
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม |
ใช้ในเครื่องสำอาง
[แก้]กรดปาลมิโตเลอิกมีคุณสมบัติคล้ายกับไขผิวหนังของมนุษย์ ดังนั้น จึงใช้ในผลิตภัณฑ์การแพทย์และเครื่องสำอางหลายอย่าง แหล่งกรดปาลิโตเลอิกรวมถึง ไขมันตัวมิงค์ (วงศ์ย่อยเพียงพอน), น้ำมันจากพืชสกุล Hippophae วงศ์มะหลอด (เช่น ซีบักทอร์น) และน้ำมันแมคาเดเมีย กรดปาลมิโตเลอิกความเข้มข้นสูงดังที่พบในพืชทั้งสองนี้ไม่สามัญในน้ำมันพืช โดยอาจเข้มข้นถึง 21% ในน้ำมันแมคาเดเมีย[35] สารอนุพันธ์ของน้ำมันแมคาเดเมียที่ใช้ในเครื่องสำอางรวมทั้งสารทำให้นุ่มและชุ่มชื้น (emollient) คือ ethyl macadamiate (ละลายในไขมันได้) และ PEG-16 macadamia glycerides (ละลายน้ำได้)
สภาพมีขั้วของเฟสน้ำมัน (oil phase) มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสูตรและคุณสมบัติของอิมัลชันเครื่องสำอาง จัดเป็นปัจจัยจำเป็นต่อความเสถียรของอิมัลชันน้ำผสมน้ำมัน[36] สภาพมีขั้วของน้ำมันแมคาเดเมียอยู่ที่ 525.50 nm ± 0.29 nm (SE) ซึ่งจัดว่าสูง ดังนั้นน้ำมันที่มีขั้วจึงเพิ่มความละลายได้ขององค์ประกอบเครื่องสำอางที่ละลายน้ำมันได้[36] น้ำมันแมคาเดเมียสามารถใช้แทนน้ำมันมิงค์โดยมากได้ และใช้สำหรับเครื่องบำรุงรักษาผมด้วย
ชื่อ International Nomenclature of Cosmetic Ingredients (INCI name) ของน้ำมันแมคาเดเมีย ก็คือ macadamia ternifolia seed oil โดยมีเลขทะเบียน CAS คือ 128497-20-1
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Akhtar Naveed; Mahmood Ahmad; และคณะ (2006). "Evaluation of basic properties of macadamia nut oil". Gomal University Journal of Research. 22: 21–27. สืบค้นเมื่อ 2016-01-02.
- ↑ 2.0 2.1 "Madamia Integrifolia". CRFG. สืบค้นเมื่อ 2016-01-02.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "MSDS Macadamia Nut Oil". AAKO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-28. สืบค้นเมื่อ 2016-01-01.
- ↑ 4.0 4.1 G.E. Wickens (1995). "Major edible nuts: Macadamia or Queensland nut". Non-woods forest products 5: Edible Nuts (PDF). Rome: FAO. pp. 33–37. ISBN 92-5-103748-5.
- ↑ Sara Koohikamali; Mohammad S. Alam (August 2019). "Improvement in nutritional quality and thermal stability of palm olein blended with macadamia oil for deep-fat frying application". Journal of Food Science and Technology -Mysore-. doi:10.1007/s13197-019-03979-0.
- ↑ "Macadamia Nut Oil" (PDF). McKinley Resources. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Chemistry and quality of olive oil" (PDF). primefacts. New South Wales Department of Primary Industries. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-13. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.
- ↑ "Olive oil Chemical Characteristics". Olive Oil Source. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.
- ↑ Kleemann, Michael (2010-03-07). "Organic & Natural Life - Business Opportunities". xing.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-15.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
- ↑ "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
- ↑ "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
- ↑ "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
- ↑ "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
- ↑ "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
- ↑ "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Ako, H; Okoda, D; Gray, D (1995). "Healthful new oil from macadamia nuts". Nutrition. 11 (3): 286–8. PMID 8541698.
- ↑ 36.0 36.1 Dietz, T. "Basic properties of cosmetic oils and their relevance to emulsion preparations". SÖFW-Journal. 125 (7): 2–7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- How Products are Made: Macadamia Nut
- บทความภาษาอังกฤษเรื่องน้ำมันใน Misner, Rebecca (June 2013). "Oil Primer". Martha Stewart Living. p. 148. ISSN 1057-5251. OCLC 680063603.