โรคหืด
![]() (Asthma) | |
---|---|
![]() | |
Peak flow meters are used to measure the peak expiratory flow rate, important in both monitoring and diagnosing asthma.[1] | |
สาขาวิชา | Pulmonology |
อาการ | Recurring episodes of wheezing, coughing, chest tightness, shortness of breath[2] |
ระยะดำเนินโรค | Long term[3] |
สาเหตุ | Genetic and environmental factors[4] |
ปัจจัยเสี่ยง | Air pollution, allergens[3] |
วิธีวินิจฉัย | Based on symptoms, response to therapy, spirometry[5] |
การรักษา | Avoiding triggers, inhaled corticosteroids, salbutamol[6][7] |
ความชุก | 358 million (2015)[8] |
การเสียชีวิต | 397,100 (2015)[9] |
โรคหืด (อังกฤษ: asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้[10] อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น[2]
เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน[11] การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry)[12] ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate)[13] โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นแบบภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic)[14] โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1[15]
การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก[7] ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้าโรงพยาบาล[16] อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้[6]และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด[17] ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้[18][19]
การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน[20][21] และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน[21] ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ GINA 2011, p. 18
- ↑ 2.0 2.1 British Guideline 2009, p. 4
- ↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2013
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMartinez2007
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLemanske2010
- ↑ 6.0 6.1 NHLBI Guideline 2007, pp. 169–172
- ↑ 7.0 7.1 NHLBI Guideline 2007, p. 214
- ↑ GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
- ↑ GBD 2015 Mortality and Causes of Death, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMID 27733281.
- ↑ NHLBI Guideline 2007, pp. 11–12
- ↑ Martinez FD (2007). "Genes, environments, development and asthma: a reappraisal". European Respiratory Journal. 29 (1): 179–84. doi:10.1183/09031936.00087906. PMID 17197483.
- ↑ Lemanske, R.F.; Busse, W.W. (February 2010). "Asthma: clinical expression and molecular mechanisms". J. Allergy Clin. Immunol. 125 (2 Suppl 2): S95–102. doi:10.1016/j.jaci.2009.10.047. PMC 2853245. PMID 20176271.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อYawn2008
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRobbinsCotran2010
- ↑ Stedman's Medical Dictionary (28 ed.). Lippincott Williams and Wilkins. 2005. ISBN 0-7817-3390-1.
- ↑ NHLBI Guideline 2007, pp. 373–375
- ↑ GINA 2011, p. 71
- ↑ GINA 2011, p. 33
- ↑ Scott JP, Peters-Golden M (September 2013). "Antileukotriene agents for the treatment of lung disease". Am. J. Respir. Crit. Care Med. 188 (5): 538–544. doi:10.1164/rccm.201301-0023PP. PMID 23822826.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2011
- ↑ 21.0 21.1 GINA 2011, p. 3
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคหืด ได้โดยค้นหาจาก โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย : | |
---|---|
![]() |
หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม |
![]() |
หนังสือ จากวิกิตำรา |
![]() |
คำคม จากวิกิคำคม |
![]() |
ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ |
![]() |
ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์ |
![]() |
เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว |
![]() |
แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย |
แม่แบบ:Prone to spam แม่แบบ:Z148
- โรคหืด ที่เว็บไซต์ Curlie