ปลาทูน่า
ปลาทูน่า ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อิเปรเซียน-ปัจจุบัน , 56.0–0Ma [1] | |
---|---|
ปลาทูน่า (จากบน): อัลบาคอร์, ครีบน้ำเงินแอตแลนติก, ท้องแถบ, ครีบเหลือง, ตาโต | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Scombriformes Scombriformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาอินทรี Scombridae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ปลาอินทรี Scombrinae |
เผ่า: | Thunnini Thunnini Starks, 1910 |
สกุล | |
|
ทูน่า หรือ ปลาโอ[2] เป็นปลาทะเลในเผ่า Thunnini ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของวงศ์ปลาอินทรี (แมคเคอเรล) Thunnini ประกอบด้วย 15 สปีชีส์ใน 5 สกุล[3] โดยแต่ละชนิดมีขนาดและความยาวแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ ปลาทูน่าหัวกระสุน (ความยาวสูงสุด 50 ซม., น้ำหนัก 1.8 กก.) จนถึง ปลาทูน่าครีบน้ำเงินแอตแลนติก (ความยาวสูงสุด 4.6 ม., น้ำหนัก 684 กก.) ครีบน้ำเงินแอตแลนติกมีความยาวเฉลี่ย 2 เมตร และเชื่อกันว่ามีอายุยืนยาวถึง 50 ปี ทูน่าจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เพราะเนื้อของปลาทูน่ามีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว โดยนิยมนำมาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาซิมิ
ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก[4] เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก[5]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า "ทูน่า" มาจากคำในภาษาสเปนว่า atún < ภาษอาหรับอันดาลูซีอา at-tūn แผลงจาก อัตตูน التون [อาหรับสมัยใหม่ التن] : 'ปลาทูน่า' < ภาษาละตินสมัยกลาง thunnus[6] Thunnus มาจาก กรีกโบราณ: θύννος, อักษรโรมัน: thýnnos ที่ใช้เรียกปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ[7] ซึ่งแปลงมาจากคำว่า θύνω thýnō หมายถึง "ที่พุ่ง; ที่โผ"[8][9]
ส่วนคำว่า "ปลาโอ" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาไทย [4]จะหมายถึง ปลาทูน่าขนาดเล็ก ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-100 เซนติเมตร[2]
การจำแนก
[แก้]- วงศ์ Scombridae
- เผ่า Thunnini: ปลาทูน่า
- สกุล Allothunnus:
- สกุล Auxis:
- สกุล Euthynnus:
- สกุล Katsuwonus: ปลาทูน่าท้องแถบ
- สกุล Thunnus: ปลาอัลบาคอร์, ปลาทูน่าแท้
- สกุลย่อย Thunnus (Thunnus): กลุ่มปลาทูน่าครีบน้ำเงิน
- สกุลย่อย Thunnus (Neothunnus): กลุ่มปลาทูน่าครีบเหลือง[3]
- เผ่า Thunnini: ปลาทูน่า
- วงศ์ Scombridae
ปลาทูน่า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดหาง 458 เซนติเมตร น้ำหนัก 684 กิโลกรัม โดยปลาทูน่าจัดเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เพราะมีรูปร่างเหมือนตอร์ปิโด สามารถว่ายน้ำได้เร็ว 70-74 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้น[5]
ปลาทูน่า: เผ่า Thunnini ในวงศ์ Scombridae | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์: ปลาทูน่าจัดให้อยู่ในเผ่า Thunnini (ล่างกลางของแผนภาพ) – หนึ่งใน 4 เผ่าในวงศ์ Scombridae.[3] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Tribe Thunnini Starks 1910". The Paleobiology Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "คู่มือการจำแนกปลาโอและปลาทูน่าในภาคสนาม" (PDF). กรมประมง.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Graham, Jeffrey B.; Dickson, Kathryn A. (2004). "Tuna Comparative Physiology". The Journal of Experimental Biology. 207 (23): 4015–4024. doi:10.1242/jeb.01267. PMID 15498947.
- ↑ 4.0 4.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 966. ISBN 974-8122-79-4
- ↑ 5.0 5.1 หน้า 125-126, เดินเที่ยว Tokyo Sea Life Park คอลัมน์ Blue Planet โดย ดร.วรเทพ มุธุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2: กรกฎาคม ค.ศ. 2012
- ↑ "tuna". American Heritage Dictionary. Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015.
- ↑ Lewis, Charlton T.; Short, Charles (1879). "thunnus". A Latin Dictionary. Perseus Digital Library.
- ↑ θύννοςin Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon, revised and augmented throughout by Jones, Sir Henry Stuart, with the assistance of McKenzie, Roderick; Oxford, Clarendon Press, 1940
- ↑ θύνω in Liddell and Scott.
ข้อมูล
[แก้]- Clover, Charles. 2004. The End of the Line: How Overfishing Is Changing the World and What We Eat. Ebury Press, London. ISBN 0-09-189780-7
- FAO: Species Catalog Vol. 2 Scombrids of the World. FAO Fisheries Synopsis No. 125, Volume 2. FIR/S125 Vol. 2.ISBN 92-5-101381-0
- FAO: Review of the state of world marine fishery resources: Tuna and tuna-like species – Global, 2005 Rome.
- Majkowski, Jacek (1995) "Tuna and tuna-like species" In: Review of the state of world marine fishery resources, FAO Fisheries technical paper 457, FAO, Rome. ISBN 978-92-5-107023-9.
- Majkowski J, Arrizabalaga H, Carocci F and Murua H (2011) "Tuna and tuna-like species" เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน In: Review of the state of world marine fishery resources, pages 227–244, FAO Fisheries technical paper 569, FAO, Rome. ISBN 978-92-5-107023-9.
- Standard of Identity for Canned Tuna (United States), Code of Federal Regulations: 21 CFR 161.190 – Canned tuna.
- Viñas J and Tudela S (2009) "A validated methodology for genetic identification of tuna species (genus Thunnus)" PLoS One, 4(10): e7606.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bluefin Tuna, Chinese Cobra and Others Added to Red List of Threatened Species, Scientific American, 18 November 2014
- How Hot Tuna (and Some Sharks) Stay Warm National Science Foundation, 27 October 2005