ข้ามไปเนื้อหา

กบฏเงี้ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏเงี้ยว

ภาพถ่ายของกบฏเงี้ยวที่ถูกจับ
วันที่25 กรกฎาคม 2445 – พฤษภาคม 2447
(1 ปี 10 เดือน)
สถานที่
นครแพร่ ประเทศสยาม
ผล

สยามได้ชัยชนะ

คู่สงคราม
กบฏเงี้ยว
นครแพร่
สนับสนุนโดย:
 ฝรั่งเศส (จนถึง พ.ศ. 2447)
ไทย สยาม
สนับสุนนโดย:
สหราชอาณาจักร
 ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ พ.ศ. 2447)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พก่าม่อง 
สล่าโป่ซาย 
จองแข่ 
เจ้าพิริยเทพวงษ์
ไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไทย เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
ไทย พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร์) 
กำลัง
มากกว่า 300 นาย มากกว่า 6,000 นาย
ความสูญเสีย
เสียชีวิต:
มากกว่า 37 นาย
เชลย:
16 นาย
เสียชีวิต:
มากกว่า 36 นาย

กบฏเงี้ยว (อังกฤษ: Ngiao Rebellion) เป็นการลุกฮือของชาวไทใหญ่หรือเงี้ยวเพื่อต่อต้านการปกครองของสยามที่เมืองแพร่ ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 14 สิงหาคม 2445 เกิดขึ้นจากการต่อต้านการปฏิรูปและการรวมศูนย์อำนาจที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่ม โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีและการนำระบบมณฑลเทศาภิบาลมาใช้ ตลอดจนการแบ่งดินแดนกับอังกฤษ ซึ่งบังคับให้ชาวฉานรับสัญชาติสยามหรืออังกฤษ

เช้าวันที่ 25 กรกฎาคม 2445 ฝ่ายกบฏเข้าโจมตีและปล้นเมืองแพร่ สังหารข้าราชการและขุนนางไปมากกว่า 20 ราย รวมทั้งพระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ข้าหลวงประจำเมืองแพร่ ไม่นานกลุ่มกบฏก็ถูกปราบปรามโดยกองทหารจากกรุงเทพฯ นำโดย พลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แกนนำกบฏ 10 คนถูกประหารชีวิต, 16 คนถูกจับเข้ากรุงเทพฯ เพื่อจำคุก และเจ้าพิริยเทพวงษ์ซึ่งเป็นอดีตเจ้าผู้ครองนครแพร่ได้หลบหนีไปลี้ภัยในหลวงพระบางจนถึงแก่พิราลัย[1][2] การกบฏดำเนินต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2447 และขยายไปทั่วภาคเหนือของสยาม[3]

การกบฏเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านหลายครั้งที่เกิดขึ้นบริเวณชายขอบของราชอาณาจักรประมาณปี 2430 ถึงต้นปี 2440 ไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น เกิดกบฏผู้มีบุญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พวกกบฏได้ยึดเมืองเขมราฐก่อนที่จะถูกกองทัพสยามปราบ[4] แม้จะยังไม่ชัดเจนว่าเจ้าพิริยเทพวงษ์สนับสนุนการกบฏมากน้อยเพียงใด แต่ระบบเจ้าผู้ครองนครแพร่ก็สิ้นสุดลง และการปฏิรูปเพิ่มเติมได้เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้สยามผนวกดินแดนล้านนาเดิมและหลอมรวมผู้คนเข้าสู่สยามอย่างสมบูรณ์[2]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ปูมหลัง

[แก้]

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามได้สูญเสียดินแดนมากมายให้กับฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นดินแดนที่ไม่ใช่เชื้อชาติไทย ในปี 2428 ซึ่งเป็นปีที่ 17 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามถูกบังคับให้ยกดินแดนรัฐฉานทางตอนเหนือให้กับอังกฤษ เพื่อกระชับและรักษาดินแดนที่เหลืออยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มปฏิรูปเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางและลดอำนาจของเจ้าเมืองในท้องถิ่น โดยเจ้าเมืองในท้องถิ่นทางภาคเหนือถูกบังคับให้ส่งมอบหน้าที่จัดเก็บภาษีและอำนาจส่วนใหญ่ของตนให้แก่ขุนนางและข้าราชการซึ่งราชสำนักส่งไปปกครองแทน[5]

วันที่ 10 ตุลาคม 2442 เกิดการประท้วงขึ้นที่เมืองเชียงใหม่เพื่อต่อต้านการขึ้นภาษี การประท้วงครั้งนี้นำโดยสมาชิกราชวงศ์เชียงใหม่พระองค์หนึ่งซึ่งตั้งเป้าจะตั้งพระองค์เองเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเชียงใหม่และขับไล่ชาวสยามและชาวจีนทั้งหมดออกจากพื้นที่ การก่อจลาจลมีการจัดการไม่ดีและล่มสลายอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "กบฏเงี้ยว". Museum Thailand. สืบค้นเมื่อ 10 March 2022.
  2. 2.0 2.1 "การปฏิรูปมณฑลพายัพของสยาม บีบบังคับให้เงี้ยวก่อกบฏ เมื่อ พ.ศ. 2445 ?". Silpa Wattanatham. 23 July 2021. สืบค้นเมื่อ 10 March 2022.
  3. Bristowe, W. S. (William Syer) (1976). Louis and the King of Siam. Internet Archive. London : Chatto & Windus. ISBN 978-0-7011-2164-8.
  4. Baker, Chris; Phongpaichit, Pasuk (2005). A History of Thailand. New York: Cambridge University Press. p. 56. ISBN 0-521-01647-9.
  5. "A town built with teak". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-14.