พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี (ทองอยู่ สุวรรณบาตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี
เกิดทองอยู่ สุวรรณบาตร
?
เสียชีวิต25 กรกฎาคม 2445
สาเหตุเสียชีวิตถูกสังหาร
ตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองแพร่
วาระ2440–2445
บิดามารดา
  • พระยาศรีเทศาบาล (บิดา)
  • คุณหญิงกมลจิตร (มารดา)

พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) (? – 25 กรกฎาคม 2445) เป็นขุนนางชาวไทย ในตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองแพร่ (เทียบเท่าตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบัน) มีบทบาทสำคัญในคราวเกิดกบฏเงี้ยว

ประวัติ[แก้]

พระยาราชฤทธานนท์ มีชื่อเดิมว่า ทองอยู่ สุวรรณบาตร เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน ที่เมืองพิชัย (ปัจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ์) เป็นบุตรชายของ พระยาศรีเทศาบาล กับ คุณหญิงกมลจิตร[1]

รับราชการ[แก้]

พระยาราชฤทธานนท์เริ่มต้นรับราชการเมื่ออายุได้ 21 ปีในตำแหน่งเสมียนอำเภอ จากนั้นจึงไต่เต้าขึ้นมาจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระบริรักษ์โยธี ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยส่งสัญญาบัตรขึ้นไปพระราชทานให้ท่านเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชฤทธานนท์ ปลัดเมืองพิษณุโลก ถือศักดินา 3000[2][3] จากนั้นจึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงประจำเมืองแพร่

ในคราวเกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ พระยาราชฤทธานนท์ถูกพวกเงี้ยวจับได้และสังหารโหดด้วยการตัดศีรษะเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2445[4] ปัจจุบันได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านเอาไว้ตรงจุดที่ท่านเสียชีวิตเพื่อเป็นอนุสรณ์

อ้างอิง[แก้]