ข้ามไปเนื้อหา

อินทัช โฮลดิ้งส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Intouch Holdings)
บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์
(Intouch Holdings)
ประเภทมหาชน SET:INTUCH
ISINTH0201010Y13 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ก่อนหน้าชินวัตร คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส แอนด์ อินเวสต์เมนต์ (2526-44)
ชิน คอร์ปอเรชัน (2544–57)
ก่อตั้ง21 มิถุนายน พ.ศ. 2526 (41 ปี)
ผู้ก่อตั้งทักษิณ ชินวัตร
สำนักงานใหญ่349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 29 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
จำนวนที่ตั้งประเทศไทย
บุคลากรหลักกานต์ ตระกูลฮุน
(ประธานกรรมการ)
บุญชัย ถิราติ
(รองประธาน​กรรมการ)
คิมห์ สิริทวีชัย
(กรรมการอำนวยการ)
เมโธ เปี่ยมทิพย์มนัส
(หัวหน้าสายงานการเงินและบัญชี​)
รายได้61 ล้านบาท (2565)
รายได้สุทธิ
10,533 ล้านบาท (2565)
สินทรัพย์43,041 ล้านบาท (2565)
เจ้าของกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
บริษัทในเครือแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
ไทยคม
เว็บไซต์www.intouchcompany.com

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทโฮลดิ้งสัญชาติไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในชื่อ ชินวัตร คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส แอนด์ อินเวสต์เมนต์ ต่อมาบริษัทฯ จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ในชื่อใหม่ชื่อว่า บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส แอนด์ อินเวสต์เมนต์ จำกัด (มหาชน) ก่อนที่ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 จะเปลี่ยนไปใช้ชื่อ ชิน คอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อใหม่ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทได้เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2533

บริษัทมีรายได้หลักจากการกำกับธุรกิจในเครือและค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยได้แบ่งสายธุรกิจออกเป็นสามสาย คือ สายธุรกิจโทรคมนาคมไร้สาย, สายธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และ สายธุรกิจอื่นๆ

ในปี พ.ศ. 2547 ตระกูลชินวัตรทำการขายหุ้นที่ถือครองทั้งหมดในบริษัทนี้ให้แก่เทมาเส็กโฮลดิงส์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการซื้อขายหุ้นที่มีมูลค่ารวมสูงสุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เทมาเส็กโฮลดิงส์ทยอยตัดขายหุ้นอินทัชอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เทมาเส็กก็ตัดขายหุ้นอินทัชก้อนสุดท้าย 21% ให้แก่สิงเทล[1] ซึ่งเป็นบริษัทลูกของตัวเอง

ในปี พ.ศ. 2563 บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ เริ่มเข้ามาถือหุ้นอินทัช และเริ่มกระบวนการเสนอซื้อหุ้นอินทัชจากผู้ถือหุ้นรายอื่นอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนสิงเทลปฏิเสธการขายหุ้นของตนให้แก่กัลฟ์ และแล้วในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 กัลฟ์ก็ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับหนึ่งในอินทัชแทนที่สิงเทล ด้วยสัดส่วน 42.25%[2]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการ บมจ.อินทัชฯ และ บมจ. กัลฟ์ฯ ประกาศควบรวมกิจการทั้งสองบริษัท โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ในไตรมาส 2 พ.ศ. 2567[3]

อ้างอิง

[แก้]