ภูเขาไฟเอเรบัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขาไฟเอเรบัส
ภูเขาไฟเอเรบัส พ.ศ. 2515
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
3,794 เมตร (12,448 ฟุต) [1]
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
3,794 เมตร (12,448 ฟุต) [1]
Ranked 34th
รายชื่อUltra
พิกัด77°31′47″S 167°09′12″E / 77.52972°S 167.15333°E / -77.52972; 167.15333พิกัดภูมิศาสตร์: 77°31′47″S 167°09′12″E / 77.52972°S 167.15333°E / -77.52972; 167.15333[2]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
Map of Antarctica showing location of Mount Erebus
Map of Antarctica showing location of Mount Erebus
ภูเขาไฟเอเรบัส
ภูเขาไฟเอเรบัสในแอนตาร์กติกา
ที่ตั้งเกาะรอสส์ แอนตาร์กติกา
(ส่วนหนึ่งของรอสส์ดีเพนเดนซีอ้างสิทธิโดยนิวซีแลนด์)
แผนที่ภูมิประเทศเกาะรอสส์
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน1.3 ล้านปี
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้น
การปะทุครั้งล่าสุดพ.ศ. 2515 ถึงปัจจุบัน
การพิชิต
พิชิตครั้งแรกเอจเวิร์ด เดวิดและคณะ ใน พ.ศ. 2451 [3]
เส้นทางง่ายสุดเบสิคสโนว์ & ปีนน้ำแข็ง

ภูเขาไฟเอเรบัส (อังกฤษ: Mount Erebus) เป็นภูเขาไฟมีพลังที่อยู่ใต้สุดของโลกและเป็นสูงเป็นอันดับ 2 ในทวีปแอนตาร์กติการองจากภูเขาไฟซีย์เล ภูเขาลูกนี้เป็นภูเขาบนเกาะที่สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก[1] สูง 3,794 เมตรตั้งอยู่บนเกาะรอสส์ที่เป็นที่ตั้งของภูเขาดับสนิทอย่างภูเขาเทเรอะและภูเขาเบิรด์

ภูเขาลูกนี้เริ่มปะทุเมื่อประมาณ 1.3 ล้านปีที่แล้ว[4] และภูเขาลูกนี้ยังเป็นที่ตั้งของที่สังเกตการณ์ที่ดูแลโดยสถาบันเหมืองแร่และเทคโนโลยีแห่งรัฐนิวเม็กซิโก[5]

ธรณีวิทยาและวิทยาภูเขาไฟ[แก้]

ภูเขาไฟเอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟมากที่สุดในแอนตาร์กติกาและยังเป็นจุดปะทุของจุดร้อนเอเรบัสในปัจจุบัน ยอดปล่องภูเขาไฟมีทะเลสาบหินโฟโนไลต์หลอมเหลวซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของทะเลสาบลาวาที่อยู่ถาวรบนโลก เอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่ประทุแบบสตรอมโบเลียนตามทะเลสาบลาวาหรือตามรอยแตกทั้งหมดของปล่องภูเขาไฟ[6][7] ภูเขาไฟลูกนี้มีความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์เนื่องจากกิจกรรมการปะทุต่อเนื่องอยู่ในระดับต่ำและผิดปกติทำให้ช่วยให้ศึกษาการประทุแบบสตรอมโบเลียนได้อย่างใกล้ชิด ภูเขาลูกนี้มีลักษณะเฉพาะร่วมกับภูเขาไฟบนโลกเพียงไม่กี่แห่ง เช่นภูเขาไฟสตรอมโบลีในประเทศอิตาลี การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของภูเขาไฟลูกนี้ค่อนข้างสะดวกเนื่องจากอยู่ห่างจากที่ตั้งของฐานสกอตของนิวซีแลนด์และสถานีแม็คเมอร์โดของสหรัฐเพียง 35 กม.

ภูเขาไฟเอเรบัสจัดเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้นโดยครึ่งล่างเป็นรูปโล่ด้านบนเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ส่วนประกอบที่ปะทุออกมาจากเอเรบัสจะเป็นพวกผลึกดอก อะนอร์โทเคลส เทไฟร์ทและหินโฟโนไลต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของลาวาในภูเขาไฟ ส่วนประกอบของการระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดมีส่วนประกอบไม่ต่างกันแต่จะมีหินบาซาไนต์หลอมเหลวที่หนืดซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เป็นรูปโล่บริเวณตีนเขา หินบาซาไนต์และหินโฟโนไลต์หลอมเหลวจำนวนเล็กน้อยทำให้เกิดสันเขาแฟรงและสถานที่อื่น ๆ รอบภูเขาไฟเอเรบัส ภูเขาไฟเอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่ปะทุโฟโนไลต์เพียงแห่งเดียวในโลกในปัจจุบัน[8]

ประวัติ[แก้]

ชื่อและการค้นพบ[แก้]

เจมส์ คลาร์ก รอสส์ค้นพบภูเขาลูกนี้ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2384[9] (เห็นระหว่างการปะทุ) อีกทั้งยังตั้งชื่อให้ภูเขาลูกนี้และภูเขาเทเรอะตามชื่อเรือหลวงเอเรบัสและเรือหลวงเทเรอะ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Mount Erebus". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
  2. "Mount Erebus". Geographic Names Information System, U.S. Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2011-07-30.
  3. "Antarctic explorers". Australian Antarctic Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-22. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
  4. "Mt. Erebus". Mt. Erebus Volcano Observatory (MEVO). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2012. สืบค้นเมื่อ January 11, 2015.
  5. "Mount Erebus Volcano Observatory". New Mexico Tech. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
  6. Kyle, P. R., บ.ก. (1994). Volcanological and Environmental Studies of Mount Erebus, Antarctica. Antarctic Research Series. Washington DC: American Geophysical Union. ISBN 0-87590-875-6.
  7. Aster, R.; Mah, S.; Kyle, P.; McIntosh, W.; Dunbar, N.; Johnson, J. (2003). "Very long period oscillations of Mount Erebus volcano". J. Geophys. Res. 108: 2522. doi:10.1029/2002JB002101.
  8. Burgisser, Alain; Oppenheimer, Clive, Alletti, Marina; Kyle, Phillip R.; Scaillet, Bruno; Carroll, Michael R. (November 2012). "Backward Tracking of gas chemistry measurements at Erebus volcano". Geochemistry Geophysics Geosystems. 13 (11): 24. doi:10.1029/2012GC004243.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  9. Ross, Voyage to the Southern Seas, vol. i, pp. 216–8.