ข้ามไปเนื้อหา

เวอร์จินแอตแลนติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวอร์จินแอตแลนติก
IATA ICAO รหัสเรียก
VS VIR VIRGIN
ก่อตั้งค.ศ. 1984 (40 ปี)
เริ่มดำเนินงาน22 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (40 ปี)
AOC #534 (VAA)
2435 (VAI)
ท่าหลักลอนดอน-ฮีทโธร์ว
แมนเชสเตอร์
สะสมไมล์ฟลายอิงคลับ
พันธมิตรการบินสกายทีม
ขนาดฝูงบิน41
จุดหมาย32
บริษัทแม่บริษัท เวอร์จินแอตแลนติก จำกัด
สำนักงานใหญ่อังกฤษ ครอว์ลีย์, ประเทศอังกฤษ
บุคลากรหลักริชาร์ด แบรนสัน (ผู้ก่อตั้ง)
ชายย์ ไวส์ (ซีอีโอ)
ปีเตอร์ นอร์ริส (ประธาน)
รายได้เพิ่มขึ้น 2,854.1 ล้านปอนด์ (2022)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 3,439.7 ล้านปอนด์ (2022)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 564.8 ล้านปอนด์ (2022)
พนักงาน
6,532 คน (2022)
เว็บไซต์www.virginatlantic.com

เวอร์จินแอตแลนติก (อังกฤษ: Virgin Atlantic) เป็นสายการบินสัญชาติอังกฤษ โดยมีฐานการบินในท่าอากาศยานฮีทโธร์วและท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ เวอร์จินแอตแลนติกทำการบินไปยังจุดหมายปลายทาง 31 แห่งในแอฟริกา เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ เวอร์จินแอตแลนติกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1984 ในชื่อ บริติชแอตแลนติกแอร์เวย์ โดยเดิมแรนดอล์ฟ ฟิลด์สและอาลัน เฮลลารี ผู้ก่อตั้งสายการบิน มีแผนที่จะทำการบินในเส้นทางลอนดอน-หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์ หลังจากฟิลด์สขายหุ้นส่วนทั้งหมดให้แก่ริชาร์ด แบรนสัน หลังจากเกิดข้อโต้แย้งในการบริหารสายการบิน[ต้องการอ้างอิง] สายการบินได้ดำเนินการเที่ยวบินแรกจากลอนดอนสู่นวร์กในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1984

กิจการองค์กร

[แก้]

กรรมสิทธิ์บริษัท

[แก้]

เวอร์จินกรุ๊ปได้ขายหุ้น 49% ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ในปี 1999 เป็นเงิน 600 ล้านปอนด์[1] ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประกาศเสนอขายหุ้นเวอร์จินแอตแลนติก และยอมรับต่อสาธารณะว่าสัดส่วนการถือหุ้นในสายการบินนั้น "มีประสิทธิภาพต่ำ"[2]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 มีรายงานว่าเวอร์จินแอตแลนติกได้มอบหมายให้ด็อยท์เชอบังค์ในการทบทวนแผนการเชิงกลยุทธ์สำหรับสายการบินภายหลังการร่วมมือกันระหว่างบริติชแอร์เวย์และอเมริกันแอร์ไลน์[3] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ได้มีการยืนยันว่าสมาชิกของพันธมิตรสกายทีม แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็มและเดลตาแอร์ไลน์ได้ให้โกลด์แมน แซคส์ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางที่เป็นไปได้ร่วมกันสำหรับเวอร์จินแอตแลนติก และมีสายการบินเอทิฮัดและอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์กรุ๊ปที่มีรายงานความสนใจในข้อตกลงอีกด้วย[4] โดยวิลลี วอลช์ ซีอีโอของไอเอจีสนใจเฉพาะช่องบินที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์เท่านั้น[5]

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เดลตาแอร์ไลน์ยืนยันการซื้อหุ้น 49% ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ในเวอร์จินแอตแลนติกในราคา 224 ล้านปอนด์ โดยมีแผนจะพัฒนากิจการร่วมค้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก การโอนย้ายการถือหุ้นนี้ได้รับการอนุมัติจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2013[6] และการซื้อเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 เวอร์จินกรุ๊ปตกลงที่จะขายหุ้น 31% ในสายการบินให้กับแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม ในราคา 220 ล้านปอนด์ ด้วยอัตราการถือหุ้น 20%[7] ข้อตกลงดังกล่าวล้มเหลวในปลายปี 2019[8]

สำนักใหญ่

[แก้]

สำนักงานใหญ่ของเวอร์จินแอตแลนติก หรือที่รู้จักในชื่อ เดอะวีแอชคิว ตั้งอยู่ในเขตธุรกิจในเมืองครอว์ลีย์ ประเทศอังกฤษ ใกล้กับท่าอากาศยานแกตวิก[9] ซึ่งก็เป็นที่ตั้งของเวอร์จินแอตแลนติกฮอลิเดย์อีกด้วย[10] บริษัทดำเนินงานสำนักงานและศูนย์รับเรื่องหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร รวมถึงสำนักงานขนาดใหญ่ในเมืองสวอนซี เวลส์ ซึ่งเป็นฐานสำหรับการจอง การขาย การเคลมสัมภาระและการติดตาม การสนับสนุนทางเว็บไซต์ และแผนกลูกค้าสัมพันธ์

เวอร์จินแอตแลนติกมีสำนักงานระหว่างประเทศในแอตแลนตา บาร์เบโดส เกรทเทอร์เดลี โจฮันเนสเบิร์ก เลกอส และเซี่ยงไฮ้[ต้องการอ้างอิง]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

เวอร์จินแอตแลนติกให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 32 แห่งในสหรัฐอเมริกา แคริบเบียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[11]

ข้อตกลงระหว่างสายการบิน

[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกได้ทำข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:[11]

ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน

[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[15][16][17]

ฝูงบินของเวอร์จินแอตแลนติก
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ที่นั่ง อ้างอิง หมายเหตุ
F C Y ทั้งหมด
แอร์บัส เอ330-300 10 31 48 185 264 [18] จะถูกปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ330-900[19]
แอร์บัส เอ330-900 4 12 32 46 184 262 [20] เดิมสั่งซื้อ 14 ลำพร้อม 6 ตัวเลือก เปลี่ยน 2 ตัวเลือกเป็นคำสั่งซื้อในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2022
เริ่มส่งมอบในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 เพื่อทดแทนแอร์บัส เอ330-300[21]
แอร์บัส เอ350-1000 10 4 44 56 235 335 [22] เดิมสั่งซื้อ 12 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016[23]
สั่งซื้อเพิ่ม 2 ลำในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021, ส่งมอบในปี 2023 และ 2024.
16 56 325 397 [24]
โบอิง 787-9 17 31 35 198 264 [25]
รวม 41 16

เวอร์จินแอตแลนติกมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 7 ปี

ฝูงบินในอดีต

[แก้]

เวอร์จินแอตแลนติกเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบินในอดีตของเวอร์จินแอตแลนติก
เครื่องบิน รวม เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
แอร์บัส เอ320-200 2 1995 2000 หนึ่งลำเช่าสำหรับทำการบินเส้นทางลอนดอน-เอเธนส์ ; ทดแทนด้วยเอ321-200 ในปี 2000
4 2013 2015 เช่าจากแอร์ลิงกัสสำหรับบริการลิตเติลเรด
แอร์บัส เอ321-200 1 2000 2001 ชื่อ เฮเลนิกบิวตี เช่าสำหรับทำการบินเส้นทางลอนดอน-เอเธนส์เพื่อทดแทนเอ320-200
แอร์บัส เอ330-200 4 2018 2022 ทั้งหมดโอนย้ายมาจากแอร์เบอร์ลิน
นำออกจากการบริการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19, ปลดประจำการในปี 2022.
แอร์บัส เอ340-300 10 1993 2015
แอร์บัส เอ340-600 20 2002 2020 ลูกค้าเปิดตัว
รวม G-VATL เครื่องบินต้นแบบลำที่สาม
G-VNAP สวมลวดลาย "ขอบคุณ"
ปลดประจำการก่อนแผนจากการระบาดทั่วของโควิด-19
โบอิง 747-100 1 1990 2000
โบอิง 747-200บี 14 1984 2005 G-VIRG เป็นเครื่องบินลำแรกของเวอร์จินแอตแลนติก
โบอิง 747-400 13 1994 2020 ปลดประจำการก่อนแผนจากการระบาดทั่วของโควิด-19
โบอิง 767-300อีอาร์ 1 1996 1997 เช่าจากมาร์ตินแอร์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "BBC News | BUSINESS | Branson sells 49% of Virgin Atlantic". news.bbc.co.uk.
  2. "SIA invites offers for its 49% stake in Virgin Atlantic - Channel NewsAsia". web.archive.org. 2011-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
  3. "Sir Richard Branson begins strategic review of Virgin Atlantic". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2010-11-05.
  4. "Air France and Delta to target Virgin Atlantic". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2011-02-20.
  5. Max Kingsley-Jones (24 February 2011). "IAG 'very interested' in Virgin, but only for slots: Walsh". Flightglobal. Retrieved 1 August 2013.
  6. "Regulators Clear Virgin Atlantic/Delta Deal". Sky News. 20 June 2013. Retrieved 23 June 2013.
  7. "Air France-KLM is buying 31% of Virgin Atlantic". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-07-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
  8. Powley, Tanya (2019-12-04). "Air France-KLM drops plan to buy third of Virgin Atlantic". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
  9. "Book flights with Virgin Atlantic". www.virginatlantic.com.
  10. "Contact us". Virgin Holidays. 2020. Archived from the original on 20 August 2013. Retrieved 14 October 2020.
  11. 11.0 11.1 "Our partner airlines | Virgin Atlantic". flywith.virginatlantic.com.
  12. "Virgin Atlantic Launches New IndiGo Codeshare Agreement". Simple Flying. 1 September 2022.
  13. "Virgin Atlantic to Launch Codeshare with Korean Air". ARGS. 24 March 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-25. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  14. Finlay, Mark (19 November 2019). "WestJet Secures Virgin Atlantic Codeshare Agreement". Simple Flying. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
  15. "Virgin Atlantic Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-19.
  16. "Search the G-INFO aircraft register | Civil Aviation Authority". www.caa.co.uk.
  17. "Virgin Atlantic Fleet | Aircraft Seat Map And Layout | Virgin Atlantic". flywith.virginatlantic.com.
  18. "Meet our Airbus A330-300". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
  19. "When Will Virgin Atlantic Get Its First Airbus A330neo?". Simple Flying. 4 May 2021.
  20. "Meet our Airbus A330neo". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 15 July 2022.
  21. Bailey, Joanna (2020-11-12). "Virgin Atlantic's New A330neo Fleet To Enter Service From 2022". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ).
  22. "Meet our Airbus A350-1000". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
  23. Mutzabaugh, Ben. "Virgin Atlantic buys Airbus A350 to be its 'future flagship'". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  24. "All about The Booth. Our unique social space for leisure customers". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
  25. "Meet our Boeing 787-9". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.