หญ้าคา
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
หญ้าคา | |
---|---|
Imperata cylindrica ที่ซูซามิ จังหวัดวากายามะ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีหัวเมล็ดที่โตเต็มที่ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
เคลด: | Commelinids Commelinids |
อันดับ: | อันดับหญ้า |
วงศ์: | หญ้า |
วงศ์ย่อย: | Panicoideae Panicoideae |
สกุล: | Imperata (L.) P.Beauv.[1] |
สปีชีส์: | Imperata cylindrica |
ชื่อทวินาม | |
Imperata cylindrica (L.) P.Beauv.[1] | |
ชื่อพ้อง | |
ดูข้อความ |
หญ้าคา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Imperata cylindrica Beauv.) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลหญ้า มีลำต้นสูงประมาณ ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลมเรียวยาวขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นขนกระจุก ขอบใบมีลักษณะคมกริบ ออกดอกเป็นช่อก้านยาวสีขาว คล้ายหางกระรอก มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคมะเร็งคอ แก้ลมพิษ ผื่นคัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากหญ้าคาในการมุงหลังคา
ชื่ออื่น ๆ
[แก้]คาหลวง , คา (ภาคกลาง) ลาแล , ลาลาง มลายู และ เก้อฮี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]มีเหง้าสีขาวแข็งอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงถึง15 - 20 เซนติเมตร มีกาบใบโอบหุ้มอยู่และริมกาบใบจะมีขน ตัวใบจะเรียวยาวประมาณ 1 - 2 เมตร กว้างประมาณ 4 - 18 มิลลิเมตร มีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวใบและกาบใบ ดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือเป็นสีม่วง เป็นช่อยาวประมาณ5 เซนติเมตร
แหล่งที่พบ
[แก้]สามารถพบได้ทั้งในพืชไร่ พืชสวนและพื้นที่รกร้าง ว่างเปล่า สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด สามารถทนต่อแสงแดดและความร้อนได้ดี
สรรพคุณ
[แก้]ใช้ลำต้นสดหรือแห้ง นำมาปรุงเป็นยาแก้โรคไต แก้โรคมะเร็งคอ และแก้ฝี , ดอก ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะแดง แก้ไอ แก้มะเร็งในลำไส้ แก้ริดสีดวงต่าง ๆ , ราก ใช้ปรุงกินเป็นยาแก้ร้อนใน แก้พิษอักเสบในกระเพาะปัสสาวะ แก้น้ำดีซ่าน ตาเหลือง และเบื่ออาหาร นอกจากนี้หญ้าคายังให้แร่ธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแทสเซียมอย่างมาก , ทำให้ดินร่วนซุย ทำให้ออกซิเจนลงไปในดิน ได้สะดวก ทำให้ไม่แน่น , มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วคือ ถ้าเน่าเป็นปุ๋ยแล้ว จะสามารถป้องกันเพลี้ยและแมลงต่างๆได้
ประโยชน์
[แก้]ส่วนของใบ ใช้ปรุงเป็นยาต้มอาบ ผื่นคัน แก้ลมพิษ และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนของดอก ใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้ปวด นำมาตำเป็นยาพอกแผลอักเสบ บวมฝีมีหนอง และ อุจจาระเป็นเลือด ราก ใช้ปรุงเป็นยา แก้ร้อนใน แก้ไอกระหายน้ำ เป็นยารับประทานเพื่อห้ามเลือด แก้เลือดกำเดาไหล และแก้พิษอักเสบในกระเพาะอาหาร
ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียใช้ผงแห้งของต้นใช้โรยแผลป้องกันการติดเชื้อ[2]
ในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์ในการมุงหลังคา กระท่อม คอกเลี้ยงหมู เล้าไก่ เล้าเป็ด สามารถกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หลังคาหญ้าคายังให้ความเย็นได้ดีกว่าการมุงหลังคาจากกระเบื้อง และสังกะสีซึ่งมีราคาแพงกว่าหญ้าคาหลายเท่าตัว และอายุการใช้งานของหลังคาหญ้าคาสามารถใช้ได้นานถึง 3 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับความหนาของคาที่ใช้และนอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการจักสานอีกด้วย จึงนับได้ว่าหญ้าคากลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก
โทษ
[แก้]1.หน่อของหญ้าคาแหลมคมมาก ถ้าเดินเข้าไปโดยไม่ระมัดระวัง จะทิ่มแทงฝ่าเท้า ทำให้เกิดความเจ็บปวดได้
2.เนื่องจากหญ้าคาเป็นวัชพืช สามารถขึ้นได้ตามพื้นที่รกกร้าง ไร่หรือท้องนา ทำให้ชาวไร่ชาวนาส่วนมากไม่ค่อยชอบ
3.เมื่อนำไปมุงหลังคาบ้าน หรือกระท่อม ไม่ค่อยทนทาน และถ้าดูแลไม่ดี อาจจะเกิดอัคคีภัย ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ทรัพย์สินได้
ลักษณะจำเพาะของหญ้าคา
[แก้]1.ไม่ชอบบริเวณที่น้ำแฉะ
2.เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และทุกฤดูกาล
3.ถ้าหากไปเผา-เกี่ยวหรือตัด จะแตกหน่อขึ้นมา จากพื้นดิน อย่างรวดเร็ว
การขยายพันธุ์
[แก้]เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีใน ดินทุกชนิด ทนต่อความร้อน และแสงแดดได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เหง้า หรือเมล็ด
การเป็นพืชพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
[แก้]หญ้าคาเป็นพืชต่างถิ่นรุกราน(invasive alien species) และเป็นวัชพืชอายุหลายปีแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วด้วยการแตกหน่อจากไหลใต้ดินที่มีใบเกล็ดปกคลุมและการกระจายตัวของเมล็ด หญ้าคาสามรถผลิตเมล็ดได้มากถึง 3,000 เมล็ดต่อต้น เจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินที่แห้งและดินที่ชื้นและสามารถขึ้นปกคลุมพื้นที่โล่ง หรือ บริเวณที่ถูกทำลายได้ดีมาก[3]
หญ้าคาสร้างความเสียหายต่อพรรณพืชดั้งเดิมคือ แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำ ทำให้กล้าไม้อื่น ๆ ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้เป็นเหตุทำให้พืชดั้งเดิมลดจำนวนลง บริเวณที่มีหญ้าคาปกคลุม พื้นที่บริเวณนั้นจะไม่มีพืชชนิดอื่น เนื่องจากหญ้าคาจะมีการปล่อยสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชอื่น ประกอบกับระบบรากที่มักแผ่กระจายหนาแน่นปกคลุมดินชั้นบนทำให้ยากแก่การงอกของพืชชนิดอื่น และในช่วงฤดูร้อน หญ้าคาที่แห้งเป็นเชื้อเพลิงได้ดีซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัย ทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ป่าธรรมชาติบริเวณรอบข้างอย่างมาก หญ้าคาระบาดได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างหรือตามพื้นที่เกษตรกรรม พบระบาดมากในทุกพื้นที่ในประเทศไทย ยกเว้นภาคกลางที่มีการระบาดปานกลาง[4]
การกำจัดและป้องกัน
[แก้]1.ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น การถาก ตัดให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง
2.ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น มาร์เก็ต ไกลโฟเสต ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต, ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์) ดามาร์ค (ไกลโฟเลท) ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต ไตรมีเซียมซอลต์)
อนุกรมวิธาน
[แก้]หญ้าคาได้รับการระบุครั้งแรกโดยลินเนียสใน ค.ศ. 1759 ในชื่อดั้งเดิม (basionym) ว่า Lagurus cylindricus.[5] ก่อนที่Palisot de Beauvois นักกีฏวิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จะเปลี่ยนไปใช้ชื่อที่ได้รับการยอมรับเป็น Imperata cylindrica
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Imperata cylindrica". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2016-04-03.
- ↑ Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
- ↑ [ http://chm-thai.onep.go.th/webalien/species.html เก็บถาวร 2016-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน],[1]
- ↑ [2] เก็บถาวร 2016-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,[3],[4]
- ↑ Wunderlin, R. P., and B. F. Hansen. 2008. Imperata cylindrica. Atlas of Florida Vascular Plants <http://www.plantatlas.usf.edu/>.[S. M. Landry and K. N. Campbell (application development), Florida Center for Community Design and Research.] Institute for Systematic Botany, University of South Florida, Tampa.
- ↑ แม่แบบ:WCSP
<ref>
ชื่อ "Mississippi-2020-12-16" ซึ่งนิยามใน <references>
ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า