คอเลกซ์แทรน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Dexide, Nolipid |
AHFS/Drugs.com | International Drug Names |
ช่องทางการรับยา | การรับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
ChemSpider |
|
KEGG | |
ECHA InfoCard | 100.132.944 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C12 H23 NO6 X2[1] |
มวลต่อโมล | 277.315[1] |
7 (what is this?) (verify) | |
คอเลกซ์แทรน (อังกฤษ: Colextran - INN) (ชื่อการค้า Dexide, Nolipid, Rationale, Pulsar)[2] เป็นยาลดไขมันในกระแสเลือดกลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (bile acid sequestrant) โครงสร้างเป็นสารประกอบอีเทอร์ (ether) ของเดกซ์แทรน (dextran) และไดเอทิลเอทาโนลามีน (diethylethanolamine)[3]
ข้อบ้งใช้
[แก้]คอเลกซ์แทรนใช้สำหรับรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low-density lipoprotein cholesterol; LDL-C) ในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร[2][4]
กลไกการออกฤทธิ์
[แก้]คอเลกซ์แทรนออกฤทธิ์โดยจับกับกรดน้ำดีในทางเดินอาหาร โดยประจุบวกของพอลิเมอร์ในโมเลกุลของคอเลกซ์แทรนจะจับกับประจุลบบนหมู่คาร์บอกซิลิกของกรดน้ำดี เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่มีฤทธิ์[5] โดยสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะถูกกำจัดออกมากับอุจจาระในลำดับถัดมา ด้วยกลไกดังกล่าวของคอเลกซ์แทรนทำให้ปริมาณกรดน้ำดีในร่างกายลดลง ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้ตับสร้างกรดน้ำดีเพิ่มโดยการดึงเอาคอเลสเตอรอลที่มีในกระแสเลือดมาสร้างเป็นกรดน้ำดี เป็นผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลดลงได้ในที่สุด[4]
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
[แก้]ขนาดของคอเลกซ์แทรนที่แนะนำ คือ 1.0-1.5 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 8 กรัมต่อวัน[4]
ข้อห้ามใช้
[แก้]ห้ามใช้คอเลกซ์แทรนในผู้ป่วยท่อน้ำดีอุดตัน, ผู้ป่วยทางเดินอาหารอุดกั้น, ผู้ที่แพ้ยานี้, และหญิงตั้งครรภ์[4]
การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา
[แก้]คอเลกซ์แทรนมีผลรบกวนการดูดซึมยาอื่นหลายชนิด เช่น เพนนิซิลิน (Penicillin), ดิจ็อกซิน (Digoxin), ไนโตรฟูแรนโตอิน (Nitrofurantoin) และลดประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นต้น ดังนั้น จึงควรรับประทานยาอื่นก่อนคอเลกซ์แทรนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือรับประทานหลังคอเลกซ์แทรนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Joinhands Science Park. "COLEXTRAN". สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
- ↑ 2.0 2.1 Truven Health Analytics Inc. (January 5, 2011). "Colextran Hydrochloride". สืบค้นเมื่อ December 14, 2014.
- ↑ Drug.com. "Colextran". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Vademecum.es. "Colextrán". สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
- ↑ US Patents and Trademark Office (April 2, 2012). "Formulations of Viable Cells for Oral Delivery: US 20120027811 A1". สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.