ข้ามไปเนื้อหา

เบซาไฟเบรต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบซาไฟเบรต
ข้อมูลทางคลินิก
AHFS/Drugs.comInternational Drug Names
MedlinePlusa682711
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ตัวบ่งชี้
  • 2-(4-{2-[(4-chlorobenzoyl)amino]ethyl}phenoxy)-2-methylpropanoic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.050.498
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC19H20ClNO4
มวลต่อโมล361.819 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C(c1ccc(Cl)cc1)NCCc2ccc(OC(C(=O)O)(C)C)cc2
  • InChI=1S/C19H20ClNO4/c1-19(2,18(23)24)25-16-9-3-13(4-10-16)11-12-21-17(22)14-5-7-15(20)8-6-14/h3-10H,11-12H2,1-2H3,(H,21,22)(H,23,24) checkY
  • Key:IIBYAHWJQTYFKB-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เบซาไฟเบรตต (อังกฤษ: Bezafibrate; ชื่อการค้า Bezalip) เป็นยากลุ่มไฟเบรต (fibrate drug) ที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะไขมันในกระแสเลือดสูง (hyperlipidaemia) เบซาไฟเบรตมีฤทธิ์ในการลดระดับไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในกระแสเลือด และมีผลเพิ่มระดับไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL cholesterol) อีกด้วย

ประวัติการค้นพบ

[แก้]

เบซาไฟเบรตถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบริษัทเบอร์ฮริงเกอร์ มานน์ไฮม์ (Boehringer Mannheim) เมื่อปี คศ. 1977 

กลไกการออกฤทธิ์

[แก้]

เบซาไฟเบรตมีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกันกับยากลุ่มไฟเบรตชนิดอื่นๆ คือ กระตุ้นการทำงานของตัวรับ PPARα จากการศึกษาบางการศึกษาคาดว่าเบซาไฟเบรตอาจมีผลต่อตัวรับ PPARγ และ PPARδ ด้วยเช่นกัน

การใช้ประโยชน์ทางคลินิก

[แก้]

เบซาไฟเบรตมีผลทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงร่วมกันหลายชนิด (combined hyperlipidemia) มีการพัฒนาการของโรคที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเป็นผลมาจากการลดระดับไลโปโปรตีนคอเลสเตอลรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) และเพิ่มระดับไขมันดีที่มีชื่อว่าไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL cholesterol) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1] นอกจากนี้เบซาไฟเบรตยังมีผลลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) อีกด้วย[2] การศึกษาหลายการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การใช้เบซาไฟเบรตในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการทนต่อระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด (impaired glucose tolerance) จะช่วยชะลอการพัฒนาของโรคไปเป็นโรคเบาหวานให้ช้าลงได้[3] และในผู้ป่วยที่มีภาวะดื้อต่อินซูลิน (insulin resistance) พบว่าการใช้เบาไฟเบรตในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวจะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้ โดยวัดจากเกณฑ์ความรุนแรง HOMA (HOMA severity)[4] ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาเชิงสังเกตแบบติดตามไปข้างหน้า (prospective observational study) ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยไขมันในกระแสเลือดสูงและมีภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูงร่วมด้วย พบว่าเบซาไฟเบรตมีผลลดระดับความเข้มข้นของโปรตีนฮีโมโกลบินเอวันซี (haemoglobin A1c; HbA1c) ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับค่า HbA1c พื้นฐานก่อนได้รับการรักษาของผู้ป่วย[5]

อาการไม่พึงประสงค์

[แก้]

อาการพิษที่เกิดจากเบซาไฟเบรตส่วนใหญ่มักจะเป็นการที่ยาดังกล่าวเป็นพิษต่อตับ ส่งผลให้ระดับเอนไซม์ของตับผิดปกติ นอกจากนี้เบซาไฟเบรตอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดการสลายของกล้ามเนื้อชนิด rhabdomyolysis ได้ แต่พบการเกิดได้น้อยมาก

การใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

[แก้]

บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติออสเตรเลียที่มีชื่อว่า กีอาคอนดา (Giaconda) ได้ผลิตยาสูตรผสมระหว่างเบซาไฟเบรตกับกรดคีโนดีออกซิโคลิค (chenodeoxycholic acid) เพื่อใช้ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C) ภายใต้ชื่อการค้า Hepaconda

นอกจากนี้ เบซาไฟเบรตยังมีฤทธิ์ลดการเกิดปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันที่มากเกินไปของโปรตีนเทา (tau protein hyperphosphorylation) และลดการเกิดอาการอื่นๆที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (neurodegenerative signs) ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับโปรตีนเทา (tauopathy)  ในหนูที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic mice) ให้มีโปรตีนเทาที่กลายพันธุ์จากมนุษย์[6]

นอกจากนี้ การศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (University of Birmingham) พบว่า การใช้สูตรผสมของเบซาไฟเบรต ซึ่งเป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือด กับฮอร์โมนคุมกำเนิดอย่างเมดรอกซี่โปรเจสเตอโรน อะซีเตท (Medroxyprogesterone Acetate) มีประสิทธิภาพดีในการรักษามะเร็งบางระยะ[7]

การสังเคราะห์

[แก้]

จากข้อมูลของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ศึกษาเพิ่มเติมในภายหลังพบว่าการเติมหมุ่แทนที่เข้าไปตำแหน่ง para ของโครงสร้างหลักของคลอโรเบนซาไมด์ จำทำให้ได้สารที่มีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในกระแสเลือด ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เบซาไฟเบรต

การสังเคราะห์เบซาไฟเบรต: E. Witte et al., DE 2149070 ; eidem, U.S. Patent 3,781,328 (both 1973 to Boehringer, Mann.).

สารประกอบ p-chlorobenzamide ของไทรามีน (tyramine) จะผ่านการเกิดปฏิกิริยาการสร้างอีเทอร์ของวิลเลียมสัน (Williamson ether synthesis) กับหมู่เอทิล 2-โบรโม-2- เมทิลโพรพิโอเนท (ethyl 2-bromo-2-methylpropionate) หลังการเกิดปฏิกิริยาเสร็จสมบูรณ์ หมู่เอสเทอร์จะถูกไฮโดรไลซ์ใน alkaline reaction medium

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Secondary prevention by raising HDL cholesterol and reducing triglycerides in patients with coronary artery disease: the Bezafibrate Infarction Prevention (BIP) study". Circulation. 102 (1): 21–7. 2000. doi:10.1161/01.cir.102.1.21. PMID 10880410.
  2. Tenenbaum, A; Motro, M; Fisman, EZ; Tanne, D; Boyko, V; Behar, S (2005). "Bezafibrate for the secondary prevention of myocardial infarction in patients with metabolic syndrome". Archives of Internal Medicine. 165 (10): 1154–60. doi:10.1001/archinte.165.10.1154. PMID 15911729.
  3. Tenenbaum, A; Motro, M; Fisman, EZ; Schwammenthal, E; Adler, Y; Goldenberg, I; Leor, J; Boyko, V; และคณะ (2004). "Peroxisome proliferator-activated receptor ligand bezafibrate for prevention of type 2 diabetes mellitus in patients with coronary artery disease". Circulation. 109 (18): 2197–202. doi:10.1161/01.CIR.0000126824.12785.B6. PMID 15123532.
  4. Tenenbaum, A; Fisman, EZ; Boyko, V; Benderly, M; Tanne, D; Haim, M; Matas, Z; Motro, M; Behar, S (2006). "Attenuation of progression of insulin resistance in patients with coronary artery disease by bezafibrate". Archives of Internal Medicine. 166 (7): 737–41. doi:10.1001/archinte.166.7.737. PMID 16606809.
  5. Teramoto T, Shirai K, Daida H, Yamada N. Effects of bezafibrate on lipid and glucose metabolism in dyslipidemic patients with diabetes: the J-BENEFIT study. Cardiovascular Diabetology 2012, 11:29. http://www.cardiab.com/content/11/1/29, PMID 22439599
  6. Dumont M, Stack C, Elipenahli C, Jainuddin S, Gerges M, Starkova N, Calingasan NY, Yang L, Tampellini D, Starkov AA, Chan RB, Di Paolo G, Pujol A, Beal MF (2012). "Bezafibrate administration improves behavioral deficits and tau pathology in P301S mice". Human Molecular Genetics. 21 (23): 5091–5105. doi:10.1093/hmg/dds355. PMID 22922230.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. "Contraceptive,Cholestrol - lowering drugs used to treat cancer. - Science daily".